ข้ามไปเนื้อหา

อันวาร์ สาและ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อันวาร์ สาและ
อันวาร์ ใน พ.ศ. 2555
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าวัยโรจน์ พิพิธภักดี
ถัดไปวรวิทย์ บารู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 ธันวาคม พ.ศ. 2513 (53 ปี)
จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2548–2564)
พลังประชารัฐ (2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรสอนิศา สาและ

อันวาร์ สาและ (เกิด 4 ธันวาคม พ.ศ. 2513) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี 4 สมัย และอดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์[1]

ประวัติ[แก้]

อันวาร์ สาและ เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของนายเอกชัย และนางเจะลีเมาะ สาและ สำเร็จการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมรสกับนางอนิศา สาและ มีบุตร 3 คน

การทำงาน[แก้]

หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี อันวาร์ได้ทำงานในฝ่ายการตลาด ของ บริษัทสยามบางนาแลนด์ และบริษัทแบ๊ดเตอร์ลิบกิ้ง พรอมเพอร์ตี้ รวมอยู่ประมาณ 3 ปี ก่อนที่จะกลับมาทำธุรกิจส่วนตัวทางด้านธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่บ้านเกิดในเวลาต่อมา

งานการเมือง[แก้]

อันวาร์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 4 สมัย

อันวาร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และอันวาร์มีบทบาทในการแสดงออกหลายครั้งต่อการไม่เห็นด้วยกับการสนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี รวมถึงการลงมติงดออกเสียงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 [2] และการออกมาเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ธรรมนัส พรหมเผ่า ไม่ขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี แม้จะต้องโทษจำคุกในคดียาเสพติดจากออสเตรเลียก็ตาม[3]

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 เขาประกาศลาออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ [4] ก่อนที่จะลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

อันวาร์ สาและ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. หัวขบวนแหกมติพรรค ‘คารม-เดียร์-อันวาร์’ ก้าวไกล-พปชร.-ปชป.
  3. ถอนตัวจากรัฐบาล ส.ส.อันวาร์ ประชาธิปัตย์ กังขา คดีธรรมนัส
  4. เปิดจดหมาย 'อันวาร์' แจงเหตุลาออกเก้าอี้รองเลขาธิการ 'ประชาธิปัตย์'
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]