ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แม่แบบ:กล่องข้อมูล หน่วยงานในมหาวิทยาลัย

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอิสระสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบัน เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2517 มีชื่อเรียกว่า CUSRI (Chulalongkorn University Social Research Institute) เดิมเป็นหน่วยงานหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อดำเนินการวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศในการพัฒนา โดยเน้นงานวิจัยทางสังคมศาสตร์เป็นพื้นฐาน ในมิติที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย ให้บริการวิชาการแก่สังคมในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเปิดสอนหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายนามผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.จั๊คส์ อัมโยต์ เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการคนแรก (พ.ศ. 2514–2517) สถาบันวิจัยสังคม บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหาร และคณะผู้บริหารสถาบัน นำโดยผู้อำนวยการสถาบันฯ เน้นการทำงานในลักษณะของการประสานงานและความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรภาครัฐและเอกชน ในลักษณะของเครือข่ายทางวิชาการ และงานพัฒนาในระดับประเทศ รวมถึงระดับนานาชาติ อีกทั้งให้บริการฐานข้อมูลทางด้านสังคมแก่ผู้สนใจ ตั้งแต่ก่อตั้งมีผู้อำนวยการดังรายนามต่อไปนี้

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
ดร.จั๊ค อัมโยต์ พ.ศ. 2514–2517
ศ.ดร.พัทยา สายหู พ.ศ. 2517–2521
รศ.ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ พ.ศ. 2521–2529
ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ พ.ศ. 2529–2536 (วาระที่ 1)
ศ.ดร.ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ พ.ศ. 2536–2540
ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ พ.ศ. 2540–2545 (วาระที่ 2)
รศ.ดร.สุวัฒนา ธาดานิติ พ.ศ. 2546–2550
รศ.สุริชัย หวันแก้ว พ.ศ. 2550–2552
ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี พ.ศ. 2552–2555
รศ.ภก.ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์ พ.ศ. 2555–2559
รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง พ.ศ. 2559–2563
รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน
  • ตำแหน่งวิชาการในขณะที่ได้ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

ปัจจุบันสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยนโยบาย ประกอบด้วยกลุ่มวิจัยย่อย 4 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มวิจัยความมั่นคงของมนุษย์กับการพัฒนา
  • กลุ่มวิจัยชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • กลุ่มวิจัยสิทธิและความเป็นธรรมทางสังคม
  • กลุ่มวิจัยพลวัตวัฒนธรรมและชาติพันธุ์

อ้างอิง[แก้]