สถานีย่อย:วิทยาศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารานุกรมวิทยาศาสตร์

สารานุกรมวิทยาศาสตร์ในวิกิพีเดียไทย เป็นสารานุกรมรวบรวมเรื่องราวในด้านวิทยาศาสตร์ในรูปแบบสถานีย่อย กล่าวคือเป็นหน้าต่างของการเรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ที่ถูกเขียนขึ้นในภาษาไทย ข้อมูลในสารานุกรมวิทยาศาสตร์เป็นข้อมูลเสรี อนุญาตให้แจกจ่าย ทำซ้ำ หรือดัดแปลง ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดได้เสรีตามเงื่อนไขเอกสารเสรีของกนู โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดูเพิ่ม...

ภาพคัดเลือก
ปลาฉนาก


บทความแนะนำ
ภาพแสดงดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ โดยย่อขนาดของดาวตามอัตราส่วนจริง แต่ระยะห่างระหว่างดาวไม่ใช่อัตราส่วนจริง

ระบบสุริยะ (อังกฤษ: Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์

โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่างๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต

กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย

ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส

มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก

สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยะจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน ดูเพิ่ม...


หัวข้อที่สำคัญ

คณิตศาสตร์ : ความน่าจะเป็น · แคลคูลัส · จำนวน · ตรรกศาสตร์ · ตรีโกณมิติ · ทฤษฎีกราฟ · พีชคณิต · เรขาคณิต · สถิติศาสตร์

เคมี : เคมีฟิสิกส์ · เคมีวิเคราะห์ · เคมีอนินทรีย์ · เคมีอินทรีย์ · ชีวเคมี · ตารางธาตุ · พันธะเคมี · วัสดุศาสตร์ · อะตอม · อุณหเคมี

ชีววิทยา : จุลชีววิทยา · นิเวศวิทยา · บรรพชีวินวิทยา · ปรสิตวิทยา · พฤกษศาสตร์ · พันธุศาสตร์ · โภชนาการ · สัตววิทยา · อณูชีววิทยา · อนุกรมวิธาน

ฟิสิกส์: กลศาสตร์ · พลศาสตร์ · พลังงาน · ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ · ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า · ทฤษฎีสัมพัทธภาพ · อุณหพลศาสตร์

ดาราศาสตร์: เอกภพ · ดาราจักร · ระบบสุริยะ · ดาวฤกษ์ · ดาวเคราะห์ · ดาวเคราะห์น้อย · สุริยุปราคา · ดวงอาทิตย์ · ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ · การสำรวจอวกาศ

วิทยาศาสตร์โลก: นิเวศวิทยา · ภูมิศาสตร์ · ธรณีวิทยา · ธรณีสัณฐานวิทยา · วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม · ไฟ · น้ำ · ปรากฏการณ์โลกร้อน

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ : เกษตรกรรม · นาโนเทคโนโลยี · นิติวิทยาศาสตร์ · วิทยาศาสตร์การกีฬา · วิศวกรรมศาสตร์ · เทคโนโลยี · โทรคมนาคม · สถาปัตยกรรม · สารสนเทศ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ : ทันตกรรม · พยาบาล · แพทยศาสตร์ · เภสัชกรรม · สาธารณสุข · สัตวแพทยศาสตร์ · ระบาดวิทยา

คอมพิวเตอร์ : อินเทอร์เน็ต · อีเมล · เครือข่าย · วิทยาการคอมพิวเตอร์ · ซอฟต์แวร์เสรี · ไวรัสคอมพิวเตอร์

รู้ไหมว่า...
คุณช่วยเราได้

นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้ คุณสามารถมีส่วนร่วมในสารานุกรมวิทยาศาสตร์ได้ อย่าลังเล!

"วิทยาศาสตร์" ในโครงการอื่น
วิกิพจนานุกรม
หาความหมาย
วิกิคำคม
คำคม
วิกิตำรา
หนังสือ
วิกิซอร์ซ
ค้นแหล่งเอกสาร
วิกิข่าว
เนื้อหาข่าว
คอมมอนส์
ภาพและสื่อ


หมวดหมู่

สถานีย่อยอื่น