ข้ามไปเนื้อหา

สงวน นิตยารัมภ์พงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงวน นิตยารัมภ์พงศ์

เกิด18 มีนาคม พ.ศ. 2495
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
เสียชีวิต18 มกราคม พ.ศ. 2551 (55 ปี)
โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
การศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต (พ.บ.)
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
อาชีพแพทย์
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2520 – 2551
มีชื่อเสียงจากแพทย์ผู้ผลักดันโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย
คู่สมรสอพภิวันท์ นิตยารัมภ์พงศ์

นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ (18 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 18 มกราคม พ.ศ. 2551) เป็นแพทย์ชาวไทย อดีตเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท เขาเป็นแพทย์ที่มีผลงานดีเด่นในการบุกเบิกและผลักดันโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า รัฐบาลที่รับเอานโยบายนี้ไปปฏิบัติคือรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ใช้ชื่อนโยบายว่า "30 บาทรักษาทุกโรค"

กลุ่มแพทย์ชนบทและผู้เคยร่วมงานกับสงวน เช่น เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทรุ่นที่ 22 และ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) ยกย่องสงวนว่าเป็น "รัฐบุรุษแห่งวงการสาธารณสุขไทย"[1][2]

ประวัติ[แก้]

สงวนเกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2495 เป็นลูกคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 6 คนในครอบครัวชาวจีนในจังหวัดพระนคร ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ระหว่างที่เรียนมหาวิทยาลัย สงวนเป็นนักกิจกรรม ได้ออกค่ายในช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 ซึ่งทำให้ได้พบประสบการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อน นอกจากกิจกรรมออกค่ายแล้ว จากนิสัยรักการอ่าน ยังเป็นบรรณาธิการหนังสือ "มหิดลสาร" ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย หนังสือที่เขาชอบอ่านคือ วารสารสังคมปริทัศน์ เศรษฐศาสตร์ชาวบ้าน และ หนังสือพิมพ์มหาราช

หลังจากเรียนจบในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 บรรยากาศความตื่นตัวของนักศึกษามีอยู่ทั่วไป นักศึกษาด้านการแพทย์จบใหม่ล้วนมีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และอยากไปทำงานชนบท สงวนก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น จึงเข้าทำงานที่โรงพยาบาลวชิระ กรุงเทพมหานคร อยู่ 1 ปี ก่อนจะออกไปเป็นแพทย์ชนบท ที่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ 5 ปี

บั้นปลายชีวิต สงวนล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด และมีอาการทรุดหนักด้วยอาการน้ำท่วมปอดและไตไม่ทำงานหนึ่งสัปดาห์ ก่อนเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 16.15 น. ของวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี อายุ 55 ปี

ประวัติการศึกษา[แก้]

รางวัลและเกียรติยศดีเด่น[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

เรื่องราวของ นายแพทย์ สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ สร้างเป็นละครโทรทัศน์ ในชื่อ หมอหงวน...แสงดาวแห่งศรัทธา ออกอากาศวันแรกในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ทางทีวีไทย โดยมี จิรายุส วรรธนะสิน รับบทเป็น สงวน ร่วมด้วย ร่มฉัตร ขำศิริ และ ทราย เจริญปุระ[3] กำกับการแสดงโดย วีระศักดิ์ แสงดี [4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01lif08210151&day=2008-01-21&sectionid=0132
  2. http://prachatai.com/05web/th/home/10944
  3. หมอหงวน...แสงดาวแห่งศรัทธา [ลิงก์เสีย]
  4. https://www.youtube.com/watch?v=6E-VrKlD19g&list=PLFFu7E482rIdbj9DxoZt96dceb_Ctku12 [1]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๔, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันอันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม[แก้]

  • Puaksom, D. 2023. Thailand's rural doctor society in the 1970s-80s and its struggles to improve health in the countryside. In V. Neelakantan (ed.), The Geopolitics of Health in South and Southeast Asia: Perspectives from the Cold War to COVID-19 (pp. 98-119). London: Routledge.