วรยศ ศุขสายชล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วรยศ ศุขสายชล
ศิลปินอาวุโส มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80
เกิด31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี)
บ้านคลองบางขุนศรี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อาชีพนักดนตรี ครูดนตรี นักประพันธ์เพลง
ผลงานเด่นทฤษฎี17 เสียง เพลงตะเลงรัญจวน เถา
บิดามารดา
  • เขียน ศุขสายชล (บิดา)
  • สระสม ศุขสายชล (มารดา)
รางวัลชนะเลิศ การประกวดเครื่องสายไทย ระดับประชาชน กรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2530

วรยศ ศุขสายชล เป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง ศิลปินชาวไทยผู้มีความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายไทย (ซอ) ในแนวทางที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีผลงานการประพันธ์และเรียบเรียงเพลงสำหรับบรรเลงเดี่ยวและรวมวง และมีผลงานการค้นคว้าเรียบเรียงทฤษฎีเสียงดนตรีไทย และพัฒนาต่อยอดขิมไทยที่สามารถบรรเลงได้ทั้งอนุรักษ์และร่วมสมัย เคยร่วมแสดงดนตรีไทยทั้งระดับชาติและนานาชาติ มีผลงานการบันทึกเสียงเพลงไทยแนวอนุรักษ์และร่วมสมัยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

วัยเด็ก[แก้]

วรยศ ศุขสายชล เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 มีชื่อเดิมว่า จงกล เป็นบุตรคนที่ 7 ของ เขียน ศุขสายชล กับ สระสม ศุขสายชล มีพี่น้อง 7 คน คือ ประสงค์, ไพเราะ, ลิขิต, อารีย์, พินิจ, ชาญ และ ไพลิน[1] ครอบครัวเป็นตระกูลนักดนตรีในย่านคลองบางขุนศรี เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร[2]

การศึกษา[แก้]

วรยศ ศุขสายชล เริ่มเข้าศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบางเสาธง ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดปราสาท และสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ด้านดนตรี เมื่อออายุประมาณ 12 - 13 ปี เริ่มเรียนฆ้องวงใหญ่กับบิดา ซึ่งเป็นทหารในสังกัดกองดุริยางค์ทหารเรือ และเป็นศิษย์ของจางวางทั่ว พาทยโกศล แห่งสำนักดนตรีพาทยโกศล จากนั้นฝึกหัดเครื่องดนตรีอื่นในวงปี่พาทย์ จนสามารถบรรเลงออกงานกับคณะปี่พาทย์ของครอบครัวได้ ขณะเดียวกันได้ฝึกหัดขลุ่ยและขิมกับบิดา และฝึกหัดขับร้องกับมารดา จนเมื่ออายุ 17 ปี ได้เริ่มฝึกหัดซอด้วงกับบิดาอย่างจริงจัง เพราะมีความชื่นชอบซอด้วงเป็นพิเศษ เมื่อบิดาเห็นว่ามีความสามารถ จึงพาไปฝากเป็นศิษย์กับ จิตร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ต่อมาบิดาได้พาไปฝากเป็นศิษย์ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ข้าราชการในสังกัดกรมพิณพาทย์หลวง และกรมศิลปากร[3] โดยฝึกหัดตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสูง และได้ฝึกหัดทั้งซอด้วง ซออู้ และซอสามสาย ครบทั้ง 3 ซอ ภายหลังได้เรียนเพลงชุดของวงเครื่องสายปี่ชวาจาก เทียบ คงลายทอง รวมถึงได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการประยุกต์ทำนองปี่สำหรับปรับใช้กับซอ[4] อีกทั้งยังได้รับถ่ายทอดทำนองร้องเพลงทยอยเดี่ยวจาก อุษา สุคันธมาลัย อีกด้วย[5]

ประสบการณ์ทางดนตรี[แก้]

ผลงานทางวิชาชีพ[แก้]

วรยศ ศุขสายชล เริ่มเข้ารับราชการที่กองดุริยางค์ทหารเรือ เมื่อ พ.ศ. 2506[6] ในตำแหน่งกำลังพลนักดนตรี (ซอด้วง) และเริ่มเป็นที่รู้จักในวงการเครื่องสายไทยอย่างเต็มตัวเมื่ออายุ 21 ปี โดยได้เข้าร่วมการประกวดเดี่ยวซอด้วงและขลุ่ยเพียงออ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อ พ.ศ. 2509 ได้รับรางวัลชนะเลิศซอด้วง และรางวัลรองชนะเลิศขลุ่ยเพียงออ[4] จนถึง พ.ศ. 2517 ได้ลาออกจากราชการมาบรรจุเป็นพนักงานประจำวงดนตรีไทยโรงงานสุราบางยี่ขัน จนถึง พ.ศ. 2528 ได้ผันตัวมาเป็นนักดนตรีอิสระ ขณะเดียวกันได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนเครื่องสายไทยในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ได้แก่ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,[7] วิทยาลัยครูสวนสุนันทา,[8] มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,[9] คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,[8] วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,[10] ชมรมดนตรีไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,[8] ชมรมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[4]

เมื่อ พ.ศ. 2530 ได้รวบรวมสมาชิก ได้แก่ ปี๊บ คงลายทอง, สุธารณ์ บัวทั่ง, ธีระ ภู่มณี, พจนีย์ รุ่งเรือง, วิทยา หนูจ้อย, และ อารีย์ (ธัญทิพย์) คงลายทอง ก่อตั้งคณะ "วัยหวาน"[4] เข้าร่วมการประกวดวงเครื่องสายไทย ระดับประชาชน ในรายการประกวดเฉลิมพระเกียรติพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ จัดโดย กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด ได้รับรางวัลชนะเลิศ[11]

วรยศ ศุขสายชล เคยได้รับเชิญจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมงานการแสดงดนตรีระดับชาติที่สำคัญ เช่น

ในด้านการอนุรักษ์เพลงไทย มีผลงานการบันทึกเสียงร่วมกับคณะดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายคณะ เช่น ดุริยประณีต, ดุริยพันธุ์, บัวทั่ง, เสริมมิตรบรรเลง[10] ฯลฯ รวมถึงมีผลงานการบันทึกเสียงออกอากาศทางสถานีวิทยุหลายแห่ง เช่น สถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ ฯลฯ ปรากฏผลงานการบันทึกเสียงในฐานข้อมูลห้องสมุดระดับชาติ เช่น ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร หอสมุดแห่งชาติ, หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,[16] [17] ห้องสมุดดนตรีไทยสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล,[18] [19] ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ[20] ฯลฯ ในด้านดนตรีไทยร่วมสมัย ได้ร่วมงานบันทึกเสียงกับคณะ "ฟองน้ำ" ของ บรูซ แกสตัส และ บุญยงค์ เกตุคง และร่วมงานกับคณะ "กังสดาล" ของ เทวัญ ทรัพย์แสนยากร[21]

วรยศ ศุขสายชล ได้รับเชิญจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีไทยที่สำคัญระดับชาติหลายรายการ เช่น

นอกจากนี้ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษแก่หน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักการสังคีต กรมศิลปากร, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ฯลฯ

ผลงานค้นคว้าและงานทางวิชาการ[แก้]

วรยศ ศุขสายชล มีงานค้นคว้าที่สำคัญคือ ทฤษฎีเสียง โดยอธิบายระบบเสียงในดนตรีไทยผ่านการวิเคราะห์จากเสียงขับร้อง ซึ่งแบ่งระดับเสียงใน 1 ช่วงเสียงออกเป็น 17 เสียงย่อย (Microtone) ได้ตั้งชื่อทฤษฎีว่า "วรยศ" ตามชื่อผู้ค้นคว้า หรือเรียกกันทั่วไปว่าทฤษฎี "17 เสียง"[29] แล้วเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อว่า "ทฤษฎีเสียงดนตรีไทย" ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2541[30] และยังได้ทำการค้นคว้าพัฒนาต่อยอดขิมและซอ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านคุณภาพเสียงและวิธีการบรรเลง โดยเฉพาะขิมได้ปรับเปลี่ยนการใช้วัสดุและปรับขยายสัดส่วนเครื่องดนตรี เพื่อให้ได้ช่วงพิสัยเสียง (Pitch) ที่กว้างมากยิ่งขึ้น และคิดกลวิธีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งการบรรเลงดนตรีไทยแนวอนุรักษ์และแนวร่วมสมัย ขิมที่พัฒนาใหม่นี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ขิมตักกศิลา" หรือเรียกอีกชื่อว่า "ขิมใหญ่"[31]

นอกจากนี้ยังมีผลงานการเรียบเรียงบทความลงเผยแพร่ในวารสารถนนดนตรี ได้แก่เรื่อง "อยากจำเพลงเก่ง ๆ ได้จังเลย"[32] และ "คดีโน้ตเพลง"[33]

การสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชน[แก้]

การประพันธ์และเรียบเรียงเพลง[แก้]

วรยศ ศุขสายชล มีผลงานการประพันธ์เพลงจำนวน 8 เพลง ได้แก่ ตะเลงรัญจวน เถา,[34] พม่าแปลง เถา, โหมโรงชมสมุทร (เที่ยวกลับ),[31] เทพประนมกร (ทางเปลี่ยน),[35] แขกมอญบางช้าง (ทางเปลี่ยน 2 ชั้น และชั้นเดียว)[5] จีนซัวเถา[36] ท่อนนำพม่าเห่ และ ท่อนนำตับจูล่ง มีผลงานการเรียบเรียงเพลงจำนวน 10 เพลง ได้แก่ ชุดระบำแขก,[37] ชุดลำตัดดนตรี, วิลันดาโอด (ประสานเสียง), สิงโตคำรณ, อาลีบาบา, พม่าคะเมีย, แขกเชิญเจ้า, คางคกปากสระ, ซัมเซ และ อาหรับราตรี มีผลงานการปรับทางเพลงสำหรับวงเครื่องสายหลายเพลง เช่น โหมโรงเชิดนอก, ทยอยใน, บุหลัน,[38] แขกโอด,[31] ทยอยเขมร (บันไดเสียงกลางแหบ)[39], บาทสกุณี,[39] ฯลฯ รวมถึงมีผลงานการเรียบเรียงทางเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายหลายเพลง เช่น เดี่ยวซอด้วง นกขมิ้น, ม้าย่อง, พญาครวญ, แขกมอญ, เชิดนอก, กราวใน เดี่ยวซออู้ พญาครวญ, ทะแย, ต่อยรูป, กราวใน เดี่ยวซอสามสาย เชิดนอก, หกบท เดี่ยวขิม มโนราห์บูชายัญ เดี่ยวจะเข้ 2 ตัว กราวใน ฯลฯ[4]

โดยผลงานที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางคือ 1) เพลงตะเลงรัญจวน เถา ประพันธ์เพื่อเข้าร่วมประกวดการแต่งเพลงไทย ในรายการพิณทอง ครั้งที่ 1 ของธนาคารกสิกรไทย เมื่อ พ.ศ. 2524[40] 2) เพลงอาลีบาบา เรียบเรียงสำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงแขกลพบุรี เถา ในการประกวดวงเครื่องสายไทย ระดับประชาชน ในรายการประกวดเฉลิมพระเกียรติพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2530[12] 3) ทางเดี่ยวซอด้วง "กราวใน" ซึ่งได้บรรเลงในงานมหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล เมื่อ พ.ศ. 2531[13] และงานครบ 100 ปี หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) เมื่อ พ.ศ. 2535[14] และ 4) ทางเดี่ยวซอด้วง "นกขมิ้น" ซึ่งได้ถ่ายทอดให้กับ ธีระ ภู่มณี อดีตข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้รับรางวัลชนะเลิศฆ้องทองคำพระราชทานเมื่อ พ.ศ. 2528[41]

การบันทึกเสียง[แก้]

วรยศ ศุขสายชล มีผลงานการบันทึกเสียงดนตรีที่สำคัญ ได้แก่

อัลบั้มเดี่ยวและอัลบั้มที่ควบคุมการบรรเลงด้วยตนเอง

  • "เดี่ยวซอด้วง" ในซีรีส์อัลบั้ม ชุด 13 "สยามสังคีต ดนตรีไทยฉบับบรมครู" โดย เสรี หวังในธรรม (Remaster) (โอเชี่ยนมีเดีย, 2544)[42]
  • "เดี่ยวซออู้ - เดี่ยวซอสามสาย" ในซีรีส์อัลบั้ม ชุด 14 "สยามสังคีต ดนตรีไทยฉบับบรมครู" โดย เสรี หวังในธรรม (Remaster) (โอเชี่ยนมีเดีย, 2544)[43]
  • อัลบั้ม "ดนตรีไทยชนะการประกวด เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ" (กรมประชาสัมพันธ์ และธนาคารกรุงเทพ จำกัด, 2530)

อัลบั้มที่มีส่วนร่วมในการบันทึกเสียง

  • แผ่นเสียง คณะยอดศิลปิน (สิงห์โตแดง, 2510)
  • อัลบั้ม ปี่พาทย์ไม้นวม คณะดุริยพันธุ์ (โรต้า RT.2012)
  • อัลบั้ม มโหรีวงใหญ่ คณะบัวทั่ง (โรต้า RT.2018)
  • อัลบั้ม มโหรีวงใหญ่ คณะดุริยพันธุ์ (โรต้า RT.2017)
  • อัลบั้ม ปี่พาทย์ไม้นวม คณะดุริยพันธุ์ (กมลสุโกศล KCS.44)
  • อัลบั้ม ปี่พาทย์ไม้นวม คณะดุริยพันธุ์ (Golden TS-2038)
  • อัลบั้ม "แหยม" (Siamese Jam) วงกังสดาล (ไพซิสมิวสิค, 2533)[40]
  • "เพลงเรื่องพญาพายเรือ" จากอัลบั้ม "Shiva’s Drum" วงฟองน้ำ (Pacific (TAO), 2531)
  • "ชื่นใจ" จากอัลบั้ม "อ้อน" ของ เทวัญ ทรัพย์แสนยากร (Epic Records, 2536)[21]
  • เดี่ยวซอด้วง "ทยอยเดี่ยว" จากอัลบั้ม "สุดจิตต์ 80 กะรัต" ในโอกาสครบรอบอายุ 80 ปี ของ สุดจิตต์ ดุริยประณีต (มูลนิธิดุริยประณีต, 2551)
  • เดี่ยวซอด้วง ซออู้ "สารถี" ในซีรีส์อัลบั้ม ชุด 19 "สารถีนานาลีลา 1" โดย เสรี หวังในธรรม (โอเชี่ยนมีเดีย, 2558)[44]

การแสดงดนตรี[แก้]

วรยศ ศุขสายชล มีผลงานจัดการแสดงดนตรีในรูปแบบคอนเสิร์ตหลายครั้ง ดังนี้

ปี พ.ศ. ชื่อการแสดง รายการ สถานที่จัดแสดง หมายเหตุ อ้างอิง
3 พฤษภาคม 2539 วงวัยหวาน จุฬาวาทิต ครั้งที่ 62 เรือนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [45]
6 มีนาคม 2541 คณะศิษย์ศุขสายชล จุฬาวาทิต ครั้งที่ 75 เรือนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [46]
7 มกราคม 2554 ครูวรยศ ศุขสายชล จุฬาวาทิต ครั้งที่ 162 เรือนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [31]
15 มิถุนายน 2562 สุนทรียภาพในดนตรีไทย Siam Music Festival ศูนย์ศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป (สยามพารากอน) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล [47]
4 มิถุนายน 2565 An Evening of Thai Classical Music An Evening of Thai Classical Music Seekers Church, Washington, D.C., USA [48]
5 มิถุนายน 2565 Thai Classical Music Concert A Journey through Thailand Motor House, Baltimore, USA [49]
2565 Thai Classical Music Concert Strawberry Festival Sandy Spring Museum, MD, USA จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company [50]
2 กรกฎาคม 2566 Thai Music and Dance Sawasdee DC Thai festival เนื่องในการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-อเมริกา ครบ 190 ปี Washington, D.C., USA จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company [51]
6 กันยายน 2566 Thai Music and Dance Thai Delight : a sweet Journey through a Dessert Making Royal Thai Ambassador’ Resident, Washington, D.C., USA จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company [52]
24 กันยายน 2566 Thai Music and Dance Maryland Flok Festival Downtown Salisbury, MD, USA จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company
1 ตุลาคม 2566 Thai Music and Dance World Culture Festival National mall, Washington. D.C., USA จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company
23 เมษายน 2566 Thai Music and Dance การแสดงละครเด็กเรื่องพระสุธน-มโนราห์ Children’s Theatre-in-the-Woods, Wolf Trap National Park for the Performing Arts, VA, USA จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company
3 พฤษภาคม 2567 Thai Music and Dance Asia North Festival The Parlor Art Center, Baltimore, USA จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company [53]
4 พฤษภาคม 2567 Thai Music and Dance Thai Open House 2024 Royal Thai Ambassador’ Resident, Washington, D.C., USA จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company [54]
23 พฤษภาคม 2567 Thai music and Dance The Somapa Thai Dance Company and Orchestra in Concert Library of Congress, USA จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company [55]

การถ่ายทอดองค์ความรู้[แก้]

วรยศ ศุขสายชล ถ่ายทอดการบรรเลงเครื่องสายไทยทั้งในระบบการศึกษาและแบบตามอัธยาศัย โดยเริ่มถ่ายทอดตั้งแต่ พ.ศ. 2526 จนถึงปัจจุบัน มีศิษย์ที่เป็นศิลปิน ครูอาจารย์ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ กฤษฎาธาร จันทะโก, กันต์ อัศวเสนา, โดม สว่างอารมณ์, ธีระ ภู่มณี,[41] [56] นัฐชา โพธิ์ศรี, นิติธร หิรัญหาญกล้า,[57] พชร ธารีเพียร, เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี,[58] วันชัย เอื้อจิตรเมศ,[9] วรพล มาสแสงสว่าง, วีรศิลป์ ห่วงประเสริฐ, สุรพงษ์ บ้านไกรทอง, สุวรรณี ชูเสน, อำนาจ บุญอนนท์ ฯลฯ และเคยเข้าถวายการแนะนำกลวิธีการสีซอแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[59]

ภายหลังเมื่อ พ.ศ. 2542 ได้ก่อตั้งโรงเรียนดนตรี "ตักกศิลา" เพื่อสอนและให้ความรู้ด้านดนตรีไทยแก่เยาวชนและบุคคลผู้สนใจทั่วไป

ความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประจักษ์ เช่น

  • ธีระ ภู่มณี ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวซอด้วง ในรายการฆ้องทองคำ ครั้งที่ 2 รางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2528 จัดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล[60]
  • นิติธร หิรัญหาญกล้า ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวซอด้วง ระดับประชาชน ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2548 จัดโดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง[61]
  • นัฐชา โพธิ์ศรี ชนะเลิศการบรรเลงเดี่ยวซอด้วง ระดับประชาชนทั่วไป ในการประกวดมหกรรมดนตรีไทยเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลดิถีเฉลิมพระชนมายุครบ 7 รอบ พ.ศ. 2554 จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และมูลนิธิมนตรี ตราโมท ในพระราชูปถัมภ์
  • คณะดุริยางคศิลป์ (สมาชิกที่สำคัญคือ กิตติมา ศุขสายชล, นิติธร หิรัญหาญกล้า, วรพล มาสแสงสว่าง, กันต์ อัศวเสนา) ชนะเลิศการประกวดวงเครื่องสายผสม ระดับประชาชน ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2551 จัดโดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง[62]

การกล่าวถึง[แก้]

วรยศ ศุขสายชล ได้รับการกล่าวถึงในบทความ รายการวิทยุ รวมถึงมีการจัดคอนเสิร์ตเพื่อยกย่องเชิดชู ดังนี้

  • บทสัมภาษณ์ "สนทนากับครูจงกล ศุขสายชล : ศิษย์เอกครูหลวงไพเราะเสียงซอ" ในวารสารถนนดนตรี[63]
  • บทสัมภาษณ์ "จากชีวิตบทเพลงเปล่งสำเนียง ไพเราะเพียงเสียงซอวรยศ" ในวารสารเพลงดนตรี[4]
  • บทวิจารณ์ "ด้วยหลักการของศิลปะส่องทางให้เเก่กัน" โดย เจตนา นาควัชระ[64]
  • รายการวิทยุ "พบครูดนตรีไทย ตอนที่ 113" ดำเนินรายการโดย พูนพิศ อมาตยกุล[65]
  • การแสดง รายการจุฬาวาทิต ครั้งที่ 208 "สายสดับแบบฉบับครูวรยศ" ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[39] จัดโดยคณะศิษย์ ในการสนับสนุนของสำนักศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • การแสดง รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ชุดดนตรีไทยพรรณนา "สายเสียงทิพย์ สำเนียงซอ ครูวรยศ ศุขสายชล" ณ โรงละครแห่งชาติ[66] จัดโดยคณะศิษย์ ในการสนับสนุนของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

วรยศ ศุขสายชล สมรสครั้งแรกกับ มะลิ ฟักเขียว มีบุตร 3 คน คือ อุบล (ชาย), กมลรัตน์ (หญิง) และ วัชระ (ชาย)[67] ต่อมาสมรสกับ สุธารณ์ บัวทั่ง ปัจจุบันสมรสกับ กิตติมา ศุขสายชล

เกียรติประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2545 ได้รับเกียรติเป็นศิลปินอาวุโสคึกฤทธิ์ จากมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • พ.ศ. 2541 ได้รับโล่เกียรติคุณ ในฐานะผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยบูรพา[22]

ลำดับสาแหรก[แก้]

ลำดับสาแหรกของ วรยศ ศุขสายชล เป็นดังนี้[3] [68] [69]

อ้างอิง[แก้]

  1. ชีวประวัติและผลงานของครูเขียน ศุขสายชล ศิลปิน 5 แผ่นดิน. (2527). บพิธการพิมพ์. https://db.sac.or.th/siamrarebooks/books/507/SRB-0507
  2. สาธิต ดอนฉิมพลี. (2560). การศึกษาการสืบทอดความรู้ทางดนตรีของครูเขียน ศุขสายชล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. https://libsearch.swu.ac.th/primo-explore/fulldisplay?docid=ALEPH_MONO000430186&context=L&vid=SWU&lang=en_US&search_scope=library_catalog&adaptor=Local%20Search%20Engine&tab=default_tab&query=any,contains,เขียน%20ศุขสายชล&mode=Basic
  3. 3.0 3.1 พูนพิศ อมาตยกุล และคนอื่นๆ. (2527). เมื่อปู่ให้สัมภาษณ์หลาน. เกียรติธุรกิจ. https://db.sac.or.th/siamrarebooks/books/508/SRB-0508
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 ฤทธีฤาชา เลกะกุล. (2546). จากชีวิตบทเพลงเปล่งสำเนียง ไพเราะเพียงเสียงซอวรยศ. เพลงดนตรี, 9(7), 37-46.
  5. 5.0 5.1 “วัชโรดม” วงเครื่องสายผสมออร์แกนและขิม (Full), สืบค้นเมื่อ 2024-01-10
  6. ชมรมศิษย์เก่าดุริยางค์ทหารเรือ. (2561).  ทำเนียบรุ่นนักเรียนดุริยางค์ทหารเรือ พ.ศ. 2479-ปัจจุบัน. https://www.rtnsm.com/doc/other/ทำเนียบนักเรียนดุริยางค์ทหารเรือ.pdf
  7. วันชัย เอื้อจิตรเมศ. (2563). 50 ปี เครื่องสายไทยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การเรียนการสอนเครื่องสายไทยจากยุควิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สุริยวาทิต, (มกราคม - ธันวาคม 2563), 42-46.
  8. 8.0 8.1 8.2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน. (2533) การประกวดดนตรีไทยระดับนักเรียนภาคตะวันออก ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน.
  9. 9.0 9.1 วันชัย เอื้อจิตรเมศ. (2537). อาศรมศึกษาครูวรยศ ศุขสายชล. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  10. 10.0 10.1 10.2 สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย. (2527). การบรรเลงบทเพลงเชิดชูนักแต่งเพลงไทย ครั้งที่ 2. ศักดิ์โสภาการ. https://apcbpi.com/km_detail.php?id=1135
  11. กรมประชาสัมพันธ์ และธนาคารกรุงไทย. (2530). พิธีพระราชทานรางวัลการประกวดดนตรีไทย สำหรับประชาชน. กรมประชาสัมพันธ์.
  12. 12.0 12.1 Wanchai Uejitmet. (24 ธันวาคม 2561). ประวัติครูวรยศ ศุขสายชล. Issuu. https://issuu.com/wanchai_uejitmet/docs/___________________________________
  13. 13.0 13.1 มหาวิทยาลัยมหิดล. (2531). มหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล. รักสิบป์.
  14. 14.0 14.1 คณะกรรมการจัดงาน 100 ปี หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน). (2535). เสียงทิพย์จากสายซอ. [ม.ป.ท.].
  15. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (6 ตุลาคม 2560). ขอเชิญชมเทปบันทึกภาพการแสดง “ร้อยใจดนตรีไทย น้อมรำลึกองค์อัครศิลปิน” ทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS. [มีรูปภาพแนบ] Facebook. https://www.facebook.com/share/b98jGEbz3eSQvbFj/?mibextid=dD9HTC
  16. Office of Art & Culture. (4 พฤศจิกายน 2563). หอสมุดดนตรีไทย: โครงการบันทึกข้อมูลนักดนตรีไทยอาวุโสเพื่อการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีไทย. Office of Art & Culture. https://www.cuartculture.chula.ac.th/article/5267/ เก็บถาวร 2022-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 ธันวาคม 2561). เผยโฉมครูดนตรี ร้อยคนดนตรี 100 ปี จุฬาฯ ลำดับที่ 53. [มีรูปภาพแนบ]. Facebook. https://www.facebook.com/share/By9E9RskrLHjViPM/?mibextid=dD9HTC
  18. ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์. (2552). รายการพบครูดนตรีไทย. ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์. https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/music-teachers/
  19. ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์. (2552). รายการสังคีตภิรมย์. ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์. https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai-music/
  20. อนุรักษ์ ก้านจันทร์. (2552). พูนพิศ อมาตยกุล : ชีวิตประวัติและผลงาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2552/cd437/4736629.pdf[ลิงก์เสีย]
  21. 21.0 21.1 อานันท์ นาคคง. (2556). การศึกษาวงดนตรีไทยร่วมสมัยและผลงานดนตรีไทยร่วมสมัยในสังคมไทยปัจจุบัน. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม. https://www.ocac.go.th/3d-flip-book/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1/ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":4" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  22. 22.0 22.1 มหาวิทยาลัยบูรพา. (2543). การประกวดดนตรีไทยระดับนักเรียนภาคตะวันออก ครั้งที่ 20. มหาวิทยาลัยบูรพา.
  23. สหพันธ์ประสานงานเพื่อความมั่นคง, ธนาคารกสิกรไทย, และมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ. (2530). พิธีพระราชทานรางวัลการประกวดดนตรีไทยเพื่อความมั่นคงของชาติ ครั้งที่ 3. [ม.ป.ท.].
  24. พูนพิศ อมาตยกุล (บรรณาธิการ). (2554). 25 ปี ประลองเพลง ประเลงมโหรี. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับชิชชิ่ง. https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/file_download/1679390270407-709488592.pdf
  25. ไทยรัฐออนไลน์. (7 พฤศจิกายน 2558). บุคคลในข่าว 07/11/58. ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/content/537507
  26. สถาบันคึกฤทธิ์ Kukrit Institute. (6 พฤศจิกายน 2558). ขอขอบคุณ. [มีรูปภาพแนบ]. Facebook. https://www.facebook.com/share/62udQFLFRpqtCtJK/?mibextid=dD9HTC
  27. ที่ระลึกพิธีไหว้ครูและแจกรางวัลศรทอง. (2532). พิฆเนศ.
  28. มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). (2533). ที่ระลึกพิธีแจกรางวัลศรทอง. มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง).
  29. กันต์ อัศวเสนา. (6 กรกฎาคม 2560). ทฤษฎีวรยศ: ระบบเสียงดนตรีไทย. Kanasva. https://kanasva.com/vorayot-thai-music-modes/ เก็บถาวร 2021-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  30. วรยศ ศุขสายชล. (2541). ทฤษฎีเสียงดนตรีไทย. ห้องภาพสุวรรณ.
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม. (2554). จุฬาวาทิตครั้งที่ 162 วงเครื่องสายผสมครูวรยศ ศุขสายชล. [สูจิบัตร]. [ม.ป.ท.].
  32. วรยศ ศุขสายชล. (2530). อยากจำเพลงเก่ง ๆ ได้จังเลย. ถนนดนตรี, 1(4), 42-45.
  33. วรยศ ศุขสายชล. (2530). คดีโน้ตเพลงไทย. ถนนดนตรี, 1(12), 50-51.
  34. ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้องเพลงเถา. ราชบัณฑิตยสถาน.
  35. มหาวิทยาลัยบูรพา. (2558). สูจิบัตรงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 41. [ม.ป.ท.]. http://thaimusic41.buu.ac.th/application/views/download/doc/Thaimusic41.pdf
  36. พูนพิศ อมาตยกุล. (ผู้ดำเนินรายการ). (ม.ป.พ.). รายการสังคีตภิรมย์ ตอนที่ 600 เพลงจีนเลือกคู่ เถา ออกจีนซัวเถา, จีนขิมใหญ่ สองชั้น [รายการวิทยุ]. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด. https://soundcloud.com/user-427014429/600-2sangkeetpirom
  37. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. (2552). จุฬาวาทิต ครั้งที่ 150 วงเครื่องสาย…เลอเกียรติ [สูจิบัตร]. [ม.ป.ท.].
  38. บุหลัน ๓ ชั้น วงเครื่องสายผสมขิม, สืบค้นเมื่อ 2024-01-10
  39. 39.0 39.1 39.2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม. (2562). จุฬาวาทิต ครั้งที่ 208 "สายสดับแบบฉบับครูวรยศ" [สูจิบัตร]. [ม.ป.ท.].
  40. 40.0 40.1 พูนพิศ อมาตยกุล, เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์, อานันท์ นาคคง, และอัษฎาวุธ สาคริก. (2550). จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล : งานวิจัยเอกสารและลำดับเหตุการณ์ พุทธศักราช 2411-2549. มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง).
  41. 41.0 41.1 เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี, อานันท์ นาคคง, และวรการ ธรรมสังคีติ. (2552). ธีระ ภู่มณี คิดครวญหวนหา [CD-ROM].
  42. วรยศ ศุขสายชล - หัวข้อ. (15 ตุลาคม 2558). อ.เสรี, Vol. 13: เดี่ยวซอด้วง. [Video] YouTube. https://youtube.com/playlist?list=OLAK5uy_mBqtu_hPaoe0V2Et17HXVXQH6OQi8vXEo&si=Gnw71_yKPnEE8-nx
  43. วรยศ ศุขสายชล - หัวข้อ. (15 ตุลาคม 2558). อ.เสรี, Vol. 14: เดี่ยวซออู้ ซอสามสาย. [Video] YouTube. https://youtube.com/playlist?list=OLAK5uy_liyo-OB3ErSIUzGfD3UVEOL-vkLsSUdmo&si=JztxncL_64jtNK_p
  44. วรยศ ศุขสายชล - หัวข้อ. (15 ตุลาคม 2558). อ.เสรี, Vol. 19: สารถีนานาลีลา 1. [Video] https://youtube.com/playlist?list=OLAK5uy_kFU0S_83XbdAkKG4dhmczaH1ZRXfLnDdA&si=X8hOwhReNlsLeS8g
  45. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. (2539). จุฬาวาทิตครั้งที่ 62 เครื่องสายไทย วงวัยหวาน. [สูจิบัตร]. [ม.ป.ท.].
  46. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. (2541). จุฬาวาทิตครั้งที่ 75 วงเครื่องสายไทย คณะศิษย์ศุขสายชล. [สูจิบัตร]. [ม.ป.ท.].
  47. MCGP PARAGON. (19 มิถุนายน 2562). Siam Music Festival: สุนทรียภาพในดนตรีไทย. [มีรูปภาพแนบ]. Facebook. https://www.facebook.com/media/set/?vanity=mcgpparagon&set=a.10158586697213502
  48. Sandy Spring Museum. (2022 June 11). Supporting Partners’ Programs: Enchanted Evening of Thai Classical Music – Masters Vorayot & Kittima Suksaichon. https://www.sandyspringmuseum.org/event/thai-classical-music/ เก็บถาวร 2022-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  49. Allevents. (2022). A Journey through Thailand - Thai Classical Music. Allevents. https://goallevents.com/e/a-journey-through-thailand-thai-classical-music-concert-E10000339354176477
  50. Sandy Spring Museum. (2022). Strawberry Festival Main Stage Schedule. https://www.sandyspringmuseum.org/strawberry-festival-main-stage-schedule/ เก็บถาวร 2022-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  51. Royal Thai Ambassy, Washington D.C. (2566 มิถุนายน 8). ยินดีต้อนรับ!. [Photograph] Facebook. https://www.facebook.com/100064849201720/posts/pfbid0UGWPeHMfBRMvNVybJQQhnxk1gpbvycwX4hfj56ULcwgqnXxKiGxzYrHAJQFo1aP7l/?
  52. สถานเอกอัครราชทูต ณ วอชิงตัน. (2566 กันยายน 7). ภริยาเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันส่งเสริม soft power ไทยและคู่สมรสคณะทูตอาเซียน. https://washingtondc.thaiembassy.org/th/content/thai-delight-asean
  53. Asian Arts & Culture Center. (2024 May 31). Celebrate Asia North Closing Event this Friday June 2 5-9pm. [Photograph] Facebook. https://www.facebook.com/100064848696315/posts/pfbid0qFDauSVsz6nTvVjP2ctmxGcTiRhksX3Q4zKzhGcQvaWoqg8HrVCHE6Xv8owSVbGZl/?
  54. สถานเอกอัครราชทูต ณ วอชิงตัน. (2567 พฤษภาคม 14). สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน จัดงาน Thai Open House 2024. https://washingtondc.thaiembassy.org/th/content/thaiopenhouse2024-news?cate=641a7db08233434b9f23fe05
  55. Library of Congress. (2024). Live! At the Library: Somapa Thai Dance Company in Concert. https://www.etix.com/ticket/p/62042179/liveat-the-librarysomapa-thai-dance-company-in-concert-washington-events-from-the-library-of-congress?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR36cmi3_VLNN4sP5tbYtmYv7RgfR_4h3R0A_zXnIkrXTjnA6dgw6PfCZrA_aem_AWAVjuhnW1Y5uwqZEBIf41wH7vhAohgtb1DSgZsm_hokWG_rgTSaUyC1Z2pv0Zdn4U7Fu6ljkrbTY6aSXEfX82NS
  56. อุมาพร เปลี่ยนสมัย. (2547). อาศรมศึกษาครูธีระ ภู่มณี. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  57. อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่. (2559). อาศรมศึกษา : อาจารย์นิติธร หิรัญหาญกล้า. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  58. วีรศิลป์ ห่วงประเสริฐ. (2559). อาศรมศึกษา : คุณครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  59. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย. (2532). สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี กับการอนุรักษ์มรดกไทย. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
  60. มหาวิทยาลัยมหิดล. (2528). งานเสด็จพระราชดำเนินประชันดนตรีไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 1 และประกวดขับร้อง และบรรเลงเพลงไทย ฆ้องทองคำ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยมหิดล.
  61. วิชาญ จันตะนี. (2548). ผู้ชนะการประกวดดนตรีไทยที่ ม.ร.เชิญชวนคนเล่นดนตรีไทยเล่นดนตรีไทยเพื่อสืบสาน-อนุรักษ์มรดกของไทย. ข่าวรามคำแหง, 35(22), 3. http://www.info.ru.ac.th/Vol35/22_35.pdf
  62. กุศิรา เจริญสุข. (2551). เปิดใจคนรุ่นใหม่ที่มีดนตรีไทยในหัวใจ. ข่าวรามคำแหง, 38(23), 4. http://www.info.ru.ac.th/Vol38/23_38.pdf
  63. กองบรรณาธิการ. (2530). สนทนากับครูจงกล ศุขสายชล : ศิษย์เอกครูหลวงไพเราะเสียงซอ. ถนนดนตรี, 1(6), 16-18.
  64. เจตนา นาควัชระ. (17 มิถุนายน 2562). ด้วยหลักการของศิลปะส่องทางให้เเก่กัน. TRF Criticism Project. http://www.arts.su.ac.th/thaicritic/?p=4110
  65. พูนพิศ อมาตยกุล (ผู้ดำเนินรายการ). (ม.ป.พ.). รายการพบครูดนตรีไทย ตอนที่ 113 ครูวรยศ (จงกล) ศุขสายชล เดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน [แถบบันทึกเสียง]. พูนพิศ อมาตยกุล. https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/music_teacher/worayot-suksaichon/
  66. โรงละครแห่งชาติ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. (16 กุมภาพันธ์ 2562). การแสดงดนตรีไทยรายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ชุด ดนตรีไทยพรรณนา "สายเสียงทิพย์ สำเนียงซอ ครูวรยศ ศุขสายชล". โรงละครแห่งชาติ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. https://ntt.finearts.go.th/Gallery/Gallery.aspx?id=7
  67. ธวัช ศรีศุภจินดารัตน์. (2548). วิวัฒนาการของการสอนซอด้วง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67906
  68. อ่อน บุญญพันธุ์. (2510). พึ่งธรรม. กรมสารบรรณทหารเรือ. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:6902
  69. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 52 เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (16 กรกฎาคม 2459). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 33 ตอน ง หน้า 955-959.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]