พูดคุย:วิกิพีเดีย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 6 วันที่ผ่านมา โดย สมศักดิ์ พกเนตร ในหัวข้อ วิถีชีวิตภาพสักบ้านเรา
วิกิพีเดีย เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิกิไอที โดยพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพ รวบรวมเรื่องราวเนื้อหาสาระ ครอบคลุมเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เน็ตเวิร์ก ซอฟต์แวร์
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมในโครงการ สามารถดูวิธีการที่หน้าโครงการวิกิไอที และสถานีย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศ
 บทความคุณภาพ คุณภาพ  บทความนี้อยู่ที่ระดับคุณภาพ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ชื่อไทย[แก้]

wikipedia == "วิกิสารานุกรม" ? จากเดิมที่เป็น "วิกิพีเดีย". ที wiktionary ยังเป็น "วิกิพจนานุกรม" เลย. เปล่าหรอก, แค่รู้สึกว่า "วิกิสารานุกรม" มันเท่ห์กว่า "วิกิพีเดีย" หนะ :) --Ans 11:58, 28 มี.ค. 2005 (UTC)

น่าสนใจนะครับ ชอบคำไทย ๆ มากกว่า แต่ถ้าเปลี่ยนแล้วจะมีอะไรยุ่งยากไหม? รอรับฟังความเห็นสมาชิกท่านอื่น ๆ หน่อย --PaePae 13:35, 1 เม.ย. 2005 (UTC)
จากความรู้สึกส่วนตัว รู้สึกน่าสนใจเช่นกันครับ -- จุง 14:26, 1 เม.ย. 2005 (UTC)
ผมกลับคิดในทางกลับกันว่า ชื่อโครงการอื่น ๆ ของวิกิมีเดีย ควรจะเป็นคำทับศัพท์เหมือน วิกิพีเดีย มากกว่า :) เท่าที่สังเกตจากวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ (เท่าที่ผมพอแกะตัวหนังสือออก) พบว่าทุกภาษาใช้คำว่า Wikipedia เป็นชื่อโครงการสารานุกรมทั้งหมด ต่างกันเพียงแต่เขียนด้วยตัวหนังสือที่ภาษาของตนใช้เท่านั้น ดูได้จาก meta:Wikipedia_in_other_languages ครับ สำหรับโครงการอื่น ๆ เช่น Wiktionary หรือ Wikisource ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกอย่างหนึ่ง ผมเห็นว่าชื่อโครงการต่าง ๆ ของวิกิมีเดียเป็นชื่อเฉพาะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเขียนชื่อเฉพาะในภาษาไทยจะใช้การทับศัพท์ (หรือแม้แต่คงรูปเป็นอักษรโรมันไว้) เว้นแต่เจ้าของชื่อนั้น ๆ จะได้แปลชื่อดังกล่าวเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ยินดีรับฟังความเห็นของชาววิกิฯ ทุกคนครับ --Phisite 15:16, 1 เม.ย. 2005 (UTC)
ผมชอบอะไรที่มันสั้นๆ อ่ะครับ .. วิกิพีเดีย มันสั้นกว่า วิกิสารานุกรม น่ะ. แต่ถ้าเป็น วิกชันนารี อืมม ... ฟังแล้วคล้ายๆ มิชชันนารี แฮะ :P เอาเป็น พจนวิกิ มั๊ยล่ะ ... ไปกันใหญ่. แต่ วิกิซอร์ส นี่โอเคนะ สำหรับผม. — คือขอให้มัน สั้นๆ เข้าใจง่ายๆ น่ะ — อย่างตอนนี้สำหรับผมนะ ชื่อที่อ่านแล้วขัดใจ มันอยู่สองอัน คือ วิกิพจนานุกรม (ยาว), คอมมอนส์ (นึกไม่ออกว่าคืออะไร ยิ่งถ้าไม่รู้ภาษาอังกฤษ ยิ่งนึกไม่ออก) -- bact' 22:18, 1 เม.ย. 2005 (UTC)

เพิ่งไปค้นเจอครับ

I would prefer that all wikipedias use the same name entirely, but little differences are acceptable, as long as the unity is recognised.

จาก [1] --PaePae 08:37, 3 เม.ย. 2005 (UTC)

"วิการานุกรม" เป็นไง อิอิ

เข้าเรื่องดีกว่า : เห็นที่ให้ทับศัพท์เลยว่า "วิกิพีเดีย" อย่างในกรณีข่าวผมก็เห็นว่าควรทับศัพท์เช่นกันว่า "วิกินิวส์" ตอนนี้เห็นใช้ "วิกิข่าว" อยู่ เชยจัง 555 ให้มันทันสมัยแบบ "สำนักข่าวจีจีนิวส์" "ไทยเรดิโอนิวส์" เขาก็ใช้กับอยู่นะครับ

เข้าใจว่าที่หารือคือชื่อที่ใช้เป็น Head ของเว็บไซต์ใช่ไหม ? แบบป้ายชื่อร้านอะไรจำพวกนี้ หรือชื่อของน.ส.พ.หน้าหนึ่ง ที่เขาดีไซน์ฟ้อนท์สวย ๆ ว่า "มติชน" หรือ "ไทยรัฐ" แต่ถ้าเราจะนำมาเขียนเป็น essay อย่างเป็นทางการ ต้องเขียนเต็มนะครับ เช่น "น.ส.พ.มติชน" หรือ "หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" (จะย่อหรือเต็มก็ได้) ส่วนใหญ่เวลานี้เขียนกันสั้น ๆ เรียกเฉพาะชื่อ "มติชน" หรือ "ไทยรัฐ" ไปเลย ฉะนั้น เวลาเราจะเขียนถึง "วิกิพีเดีย" ควรจะเขียนว่า "สารานุกรมวิกิพีเดีย" เช่นเดียวกันกับ "สำนักข่าววิกินิวส์" หรือ "ศูนย์ข่าววิกินิวส์" ก็ว่ากันไป... : > Golffee 15:38, 6 มกราคม 2006 (UTC)

Ok Banja33 (คุย) 09:15, 18 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ย้ายข้อมูลจากหน้าหลัก[แก้]

ไม่รู้่ว่ายังมีใช้กันอยู่หรือเปล่านะครับ และผู้ใช้ไม่มีชื่อในภาษาไทย และก็เลิกใช้งานวิกิพีเดียภาษาอังกฤษตั้งแต่ เม.ย. 2547

คำขวัญภาษาไทยของวิกิพิเดีย[แก้]

(อย่างไม่เป็นทางการ)

"สารานุกรมเสรี มากมีความรู้แบ่งปัน หลุดพ้นความสามัญสู่ปัญญาเลิศ"

โดย Suphawut จาก Wikipedia:Logos_and_slogans

ชื่อไทย วิกิ / วิกี[แก้]

ทำไมชื่อภาษาอังกฤษอ่านว่า วิกีพีเดีย (สระอี) แต่ชื่อไทยเหมือนชื่อญี่ปุ่น วิกิพีเดีย (สระอิ)

  • ผมว่าวิกิดีแล้วฮะ วิกีดูแปลๆ ไม่คล้องจองด้วย เงิกๆ ส่วนเหตุผล ต้องให้คนที่อยู่ต้องแต่ต้นๆ บอกงับ เอิกๆ--明 アキラ - คุย 17:14, 28 กันยายน 2006 (UTC)

เสียงอ่านจริงๆ ของ wikipedia พยางค์แรกยาวกว่าพยางค์ที่สอง (/ˌwiːkiˈpiːdiə/ วีกิพีเดีย) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 09:49, 2 ธันวาคม 2007 (ICT)

เสียงอ่านจริงๆ นี่จริงตามไหนครับ ตามคนอังกฤษ คนอเมริกัน หรือคนไทย ดีครับ --Manop | พูดคุย 16:30, 21 เมษายน 2551 (ICT)

วิกิพีเดียในข่าว[แก้]

คุ้นๆ เคยเจอหน้าที่ เป็น การกล่าวถึง วิกีพีเดียในสื่อต่างๆ แต่ หาไม่เจอแล้ว มีข่าว ข้างล่าง อยากเอาไปรวม

http://www.komchadluek.net/2007/11/20/h001_172903.php?news_id=172903

-- I am Liger ( ~ /|\ ~ ) คุยกันได้ 13:09, 20 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

วิกิพีเดีย:เพื่อนวิกิพีเดีย ครับ - ('-' )( '-' )( '-') - 13:38, 20 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

เรื่องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์[แก้]

เรื่องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ยังขาดอยู่ ผมใส่โครงไว้ เผื่อใครเห็นจะได้ช่วยเติม --ธวัชชัย 20:46, 5 มกราคม 2551 (ICT)

ผมเพิ่มไปบางส่วนครับ แต่อาจต้องเพิ่มเติมอีก และตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลบางส่วนผมแปลมา (และบางอย่างไม่รู้จักดีเท่าไร) --Manop | พูดคุย 16:30, 21 เมษายน 2551 (ICT)

วิถีชีวิตภาพสักบ้านเรา[แก้]

ขอนำประวัติต้นกำเนิดหมู่บ้าน ท่าสักตำบลท่าสักอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

จากหนังสือวิถีชีวิต100 ปีท่าสักบ้านเรา มาให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้

1 ประวัติหมู่บ้านท่าสัก

2 ประวัติวัดท่าสัก

3 ประวัติหลวงพ่อสุวรรณวัดท่าสัก

4 ประวัติท่านขุนภักดีราชกิจ นัด รัญจวน

5 ประวัติศาลเจ้าแม่เทียนโง้ว

6 ประวัติโรงเรียนบ้านท่าสัก

7  ประวัติโรงพยาบาลสุขภาพตำบลท่าสัก

****************************

1  หมู่บ้านท่าสัก

หมู่ ๑ ตำบล ท่าสัก  อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

  ในอดีตหมู่บ้านท่าสัก มี มาตั้งแต่เริ่มสร้างหมู่บ้านยังไม่มีชื่อ  สันนิษฐานตามแผนที่ของกรมมหาดไทยยุคก่อน มีตำบลเต่าไห ขึ้นตรงกับ แขวงเมืองพิชัย  มนฑลพิษณุโลก

การเดินทางสัญจรไปมา สมัยก่อนใช้เส้นทางแม่น้ำน่าน เป็นหลัก บริเวณแถบนี้ยังอุดมไปด้วยป่าไม้จำพวก ไม้สัก (เป็นจำนวนมาก) ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้รัง ไม้ประดู่ ขึ้นอยู่ทั่วไปในรัศมีบริเว้นกว้างนับ 10 กม. จึงมีการทำไม้และชักลากซุงมาลงแม่น้ำน่านและช่วงน้ำหลาก

ในช่วงน้ำหลาก จะมีพ่อค้าไม้ซุง จากทางเหนือ ล่องตามทางแม่น้ำน่าน มารวมกัน ทำมาค้าขายยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑ บริเวณเป็นที่ตั้งหยุดพักแรม แพไม้ซุงต่างๆ สันนิฐาน สาเหตุก็มาจาก ที่ตรงนั้นเป็นทางโค้งของแม่น้ำ  เวลาน้ำหลากแรงน้ำ จะพัดแพไม่ซุงมาติดริมตลิ่งด้านตะวันตก  พ่อค้าไม้ซุงเลยพักผ่อนค้างแรม  ทำเป็นท่าไม้ซุง  ซึ่งส่วนมากจะเป็นไม้สัก เลยเรียกกันว่า "บ้านท่าสัก"

ข้อมูลอ้างอิง กำเนิดหมู่บ้านท่าสัก

-อ้างอิง ข้อมูลในสมุด "บันทึกประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น ๑๐ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง" ได้กล่าวถึงประวัติท่าน "ขุนภักดีราชกิจ (นัด รัญจวน)"  ว่าท่านเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่หลวงพระยาอำมาตย์ อธิบดี เจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ ในสมัย "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่  ๕ ท่านได้เป็นผู้รวบรวมไม้สักทั้งหมดส่งให้กับ"หลวงประเทศชุมพล" เจ้ากรมการเมือง สวรรคโลก เป็นผู้ทำไม้ที่คลองละมุง ซึ่งมีศักดิ์ เป็นพี่เขย ของท่านขุนภักดีราชกิจ  นัด รัญจวน)  

ในปีพุทธศักราช  ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  ๕ เสด็จมายังเมืองพิษณุโลก โดยเสด็จประพาสทางน้ำ เพื่อมาหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร  ซึ่งในครั้งนั้น "หลวงพระยาอำมาตย์อธิบดี "ได้มอบหมายให้  "หลวงประเทศชุมพล" และ "ขุนภักดีราชกิจ (นัด รัญจวน) "ไปถวายการต้อนรับ จึงพอสรุปได้ว่าหมู่บ้านท่าสัก มีมาช้านานช่วงประมาณปี พ.ศ. 2444 ซึ่งทางการมอบหน้าที่ให้ ขุนภักดีราชกิจ นัด รัญจวน  มาปฎิบัติราชการดูแลป่าไม้ ซึ่งเต็มไปด้วยไม้สัก และไม้นานาชนิด ขุนภักดีราชกิจ ท่าน มาสร้างครอบครัวที่นี่ มีภรรยาชื่อนางสัมฤทธิ์ หอยศรีจันทร์  ทายาทสายพระยาพิชัยเชียงแสน ระดับ 6 เป็นคนหมู่บ้านเต่าไห  แขวงเมืองพิชัย มณฑล พิษณุโลก เป็นหมู่บ้านเก่าแก่  ปัจจุบัน กำเนิดมา ประมาณ ๑๕๐ กว่า ปี  (อ้างอิงจาก วัดเต่าไห มีอุโบสถหลังเก่าสร้างลักษณะรูปทรงโบราณ  

- ท่านขุนภักดีราชกิจ  นัดรัญจวน ได้สร้างครอบครัวขึ้น เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ โดยมีภรรยา เป็นคนบ้านเต่าให คุณยายสัมฤทธิ์  หอยศรีจันทร์ (เป็นทายาทชั้นที่ 6 ของพระยาพิชัยดายหัก สายพระยาพิชัยเชียงอสนเป็นภรรยา อ้างอิ่งในประวัติท่านขุนภักดีราชกิจ  นัด รัญจวน )  และท่านขุนภักดี ราชกิจ ได้ร่วมกับชาวหมู่บ้านใกล้เคียง ตั้งเป็นหมู่บ้าน ยังไม่มีชื่อ จนมีพ่อค้าไม้สักล่องแพมาทางลำน้ำน่าน มารวมกัน ทำการซื้อขายไม้ซุงนานาชนิด ที่บริเวณคุ้งน้ำเป็นทางโค้ง แพล่องซุงจากเหนือจะ มาติดบริเวณนั้น และพักแรมค้างคืนกัน จึงเกิดหมู่บ้าน ขยายใหญ่ขึ้น และเรียกกันว่า บ้านท่าไม่สัก

-ปี ๒๔๖๙ ได้มีการแต่งตั้งผู้นำท้องถิ่นขึ้น หมู่บ้านเต่าไห ยังไม่มีผู้ปกครองดูแลท้องถิ่นจึงได้มีการแต่งตั้งนายเทียบ อายะนันท์  เป็นกำนันตำบลเต่าไห คนแรกมีสาขา หมู่บ้านดารา หมู่บ้านท่าสัก  และพอดีการสร้างทางรถไฟ สายเหนือกำลังก่อสร้าง เมื่อมีสถานีรถไฟ จึงใช้ชื่อหมู่บ้านท่าไม้สัก มาเป็นชื่อสถานีท่าสัก และใช้ชื่อว่าบ้านท่าสัก จนถึงปัจจุบันนี้

-Cr.สมชาย เดือนเพ็ญ ผู้เรียบเรียง ข้อมูลประวัติ ขุนภักดีราชกิจ นัด รัญจวน

-สมศักดิ์ พุกเนตร อ้างอิงข้อมูลเ จากหมู่บ้านเต่าไห มาเพิ่มเติม

ปีพุทธศักราช 2448

ได้มีการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ เริ่มก่อสร้าง กว่าจะแล้วเสร็จใช้เวลานานเนื่องจากเป็นทางราบสูงมีภูเขาสูงชัน ในช่วงทางราบที่สร้างเสร็จแล้ว

-ปี ๒๔๕๒) วันที่ ๗ ธันวาคม  กรมรถไฟเปิดให้รถไฟวิ่งบริการโดยสารได้จากพิษณุโลก-ปางต้นผึ้ง  บ้านท่าสัก เป็นที่เส้นทางรถไฟผ่าน เดิมเป็นป้ายที่หยุดรถ ท่าสัก ยังไม่มีสถานี เมื่อสร้างทางสายเหนือเสร็จ

หมู่บ้านท่าสัก เริ่มเจริญขึ้น มีผู้คน มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย เอกชน บริษัทป่าไม้กิตติ โดยนายกิตติ  เล็กอุุทัย  มา สร้างโรงเลลื่อยจักร  จึงได้มีการสร้างสถานีรถไฟขึ้น เมื่อสร้างเสร็จ ทางกรมรถไฟจึงใช้ชื่อ บ้านท่าสัก เป็นชื่อสถานีท่าสัก ตามชื่อหมู่บ้าน มีนายจรัส   ดิษบรรจง เป็นนายสถานี  เริ่มมีร้านค้าห้องแถวสร้างเพิ่มขึ้นขอเช่าที่ในเขตุของกรมรถไฟ  แต่ก่อนบริเวณนั้นยังเป็นหลุมบ่อ เกิดจากการนำดินไปถมสร้างทางรถไฟ การสร้างห้องแถว  จะยกสูงขึ้นบนพื้นดินเนื่องจากมีน้ำจากแม่น้ำน่านไหลท่วม บ่อยครั้ง

-การปกครอง การพัฒนาท้องถิ่นบ้านท่าสักแต่เดิมเป็น หมู่บ้านขึ้นกับตำบลเต่าไห ซึ่งปกครองดูแล หมู่บ้านดารา และหมู่บ้านท่าสัก

-ปี ๒๔๖๕

นายเทียบ อายะนันทน์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกำนันตำบลเต่าไห  ผู้ใหญ่บ้านท่าสัก ควบ ๒ ตำแหน่ง

-ปี ๒๔๗๑ ร่วมกับสร้างวัดท่าสัก ในที่ดินของท่าน"ขุนภักดีราชกิจ"รัญจวน มี บ้านทรงไทย สร้างในที่ดิน ให้บุตรสาว ใว้เป็นเรือนหอ เมื่อขบวนรถไฟขึ้นล่องวิ่งผ่านไปมา หริอหยุดที่สถานีท่าสักจะมีผู้โดยสาร  ยกมือไหว้ประจำ  กำนันเทียบ อายะนันทน์ และเพื่อนๆ ๔-๔ คนได้มาหารือกัน ที่บ้านท่านขุนภักดีราชกิจ นัดรัญจวน  ว่าตำบลของเรายังไม่มีวัด  ท่านขุนภักดีฯ กับบุตรสาว ว่าทีบุตรเขย   จึงคิตว่าควรมีวัด โดยขอเอาเรือนหอ ของเราที่คนเขายกมือไหว้นี่ยกให้ด้วย เพื่อนๆ 4-5 คนบอกว่า จะต้องมีการซื้อขายกัน ให้เป็นวัด ได้ประเมินราคาขายกัน ก็ประมาณ ๓,๐๐๐ บาท ท่านขุนภักดีฯ และครอบครัว จึงอยากจะมีส่วนร่วมกันบ้าง จะขอรับเงินเพียงส่วนเดียว คือ ๑,๕๐๐ บาท ส่วนบ้านทรงไทย เป็นไม้ทั้งหลังมอบ ยกให้เป็นของวัด

ปี  2476   ท่านคหบดี ผู้ใจบุญจากเมืองหลวงกรุงเทพมหานครฯ ชื่อ "นายเซียวซองแป็ะ  สีบุญเรือง" นำพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์พร้อม องค์สาวก เพื่อทำบุญอุทิศให้นางเนื่อง  สีบุญเรือง ภรรยาผู้วายชนม์ เมื่อปี ๒๔๗๕  ได้ส่งมาทางรถไฟ มาลงที่สถานีรถไฟท่าสัก จะนำถวายแด่วัดเต่าไห โดยนำเกวียนลาก มาทำการบรรทุก  เมื่อทำการบรรทุกเสร็จวัวไม่ยอมนำเกวียนออกเดินทาง  ชาวบ้านจึงตั้งใจอธิฐาน ถ้าวัวไม่ยอมออกเดินทาง ขอยกให้เป็นของวัดท่าสัก  แต่วัวก็ไม่ยอมออกเดินทางอีก ชาวบ้านท่าสักจึงอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ.วัดท่าสัก (สถานภาพยังเป็นสำนักสงฆ์)

-ปี  ๒๔๗๖ กลางปี

สร้างถนนจากบ้านท่าสักไปยังบ้านวังสะโม ถึงบ้านดารา เป็นเส้นทางไม่กว้างนัก ได้ระยะทาง ๔ กม.

-ปี ๒๔๗๖ ปลายปี กำนันเทียบ อายะนันทน์ ได้ขอลาออก ไปทำธุระกิจส่วนตัว ที่ภาคเหนือตอนบน

-ปี ๒๔๗๗   นายจิตตินฯ เป็นชาวต่างชาติ ได้มีภรรยาเป็นคนไทย ถือสัญชาติไทย  ได้รับแต่งตั้งเป็นกำนัน และต่อมาได้ย้ายที่อยู่แบะลาออกไป

- นายแดง วัชรากูล ได้รับแต่งตั้ง เป็นกำนัน คนต่อมา และเริ่มมีการสร้าง โรงน้ำน้ำตาลแห่งที่ ๑  และ ๒ และยังมีโรงหีบอ้อย ทำน้ำเชือมป้อนส่งโรงงานน้ำตาลอีกหลายแห่ง ในหมู่บ้านตำบลท่าสัก

-ปี ๒๔๘๗ ทางกรมมหาดไทย ได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่ ให้ยกเลิกตำบลเต่าไห อ.พิช้ย เขตูมณฑลพิษณุโลก ให้หมู่บ้านท่าสักเป็นตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์  โดยแต่งตั้งให้

-นายเทียบ อายะนันทน์ ได้กลับมาอาศัยอยู่หมู่บ้านท่าสัก  เป็นกำนันรอบที่สอง  

มีนายเลื่อน ทิพย์พรม เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑

กำนันเทียบ อายะนันท์ ปกครอง ควบคุมดูแลหมู่บ้านเต่าไห  หมู่บ้านดารา หมู่บ้านวังสะโม

-ปี ๒๔๙๐  ด้านทิศเหนือ

เดิมหมู่บ้านท่าสักกับหมู่บ้านหาดสองแคว เดินทางติดต่อกัน จะมีเส้นทางเดินเลาะริมตลิ่งติดแม่น้ำน่านเท่านั้น   มาข้ามคลอง ที่เรียกกันว่าคลองตาเนียร ผ่านหน้าศาลเจ้าเก่าบริเวณโรงเลื่อยจักร ท่าสัก ผ่านมายังตลาดท่าสัก มีสถาพชำรุด เกิดจากแม่น้ำน่านใหลท่วมล้นตลิ่ง ทำให้เส้นทางเดินชำรุด จึงร่วมมีอกับกำนันตำบลหาดสองแคว หัวหน้านิคมบึงพาด และชาวบ้านทั้งสองตำบลสร้างถนนเชื่อมต่อกันตัดข้ามคลองตาเนียน เลาะที่ดินติดเส้นทางรถไฟ ผ่านหน้าบ้านป้าเฉลียวบุตรขุนภักดีฯ มาบริเวณทางตัดถนนข้ามทางรถไฟ

-ปี ๒๔๙๐  ทางการให้งบประมาณ จัดหาเงินซื้อที่ดินสร้างสถานีอนามัยชั้น ๒ โดยติดต่อซื้อที่ดินของนายฟ้อน นางเจียม  มณีนุ่ม ในราคา ๑,๐๐๐ บาท และ สร้างที่พักสายตรวจได้พักอาศัย โดยได้รับบริจาคที่ดินประมาณ ๒๕ ตารางวา จากคุณยายโอ  คำแห้ว และชาวบ้านกันสร้าง

-ปี ๒๔๙๒  ถนนเส้นทางข้างวัดด้านทิศใต้ จากจากเขตุรถไฟไปทางชำหนึ่ง ระยะทางประมาณ ๔๐๐ เมตร เป็นทางอาศัยที่เอกชน แคบมากเป็นหลุมบ่อ  ต้องอาศัยที่ผ่านหน้าวัดออกไปทางหลังวัดผู้ใหญ่เลื่อนฯ ท่านจึงมอบที่ดินบางส่วนเพื่อขยายเส้นทางให้กว้างขึ้น

-ปี ๒๔๙๕

พลเมืองเพิ่มมากขึ้นโรงเรียนยังอาศัยวัดท่าสักเป็นที่เรียน และคับแคบขึ้น จึงควรมีโรงเรียนประจำหมู่บ้านท่าสัก   นายแหยม  นางสุ่ม  กิ่งจันทร์   เห็นถึงความก้าวหน้า  ของการศึกษา จึงมอบที่ดินจำนวน ๑๒ ไร่ เพื่อสร้างโรงเรียน

-ปี ๒๕๐๐  สร้างโรงไฟพ้าประจำท้องถิ่นให้มีไฟฟ้าใช้ในหมู่บ้าน บริเวณด้านใต้ ฝังตะวันตกของทางรถไฟ

-ปี ๒๕๐๒  หมู่บ้านดารา ได้แยกออกตำบลท่าสักไปเป็นตำบลบ้านดารา ขึ้นตรงต่ออำเภอพิช้ยโดนตรง)

-ปี ๒๕๐๒

สร้างถนน จากบ้านท่าสักไปบ้านแหลมคูณระยะทาง ๖ กม.

-บี ๒๕๐๔

ปรับปรุง สร้างถนนจากบ้านท่าสักไปบ้านหาดสองแคว  และสร้างถนนจากบ้านท่าสักไปบ้านหนองบัว

ได้ระยะทาง ๒ สาย รวม ๔ กิโลเมตร

-บี  ๒๕๑๐

ปรับปรุงเพิ่มสร้างถนนให้กว้างขึ้น จากแยกบ้านดารา เข้าหมู่บ้านเต่าไห ร่วมกับชาวบ้าน และพ่อค้าได้ระยะทาง ๔ กม.

-ในส่วนทางน้ำ มีท่าเรือ (ชื่อเรียกกันว่าท่าเรือตาหล่อ) บริการส่งข้ามฝากแม่น้ำน่าน และที่พักเรือโดยสารประจำทางหมู่บ้าน จากต่างตำบล เช่นอื่นๆ บ้านแก่ง บ้านน้ำอ่าง ผู้สัญจรจากต่างพื้นที่ จะเดินทางมาขึ้นโดยสารรถไฟ และซื้อขายสินค้าปลีกส่ง ร้านในตลาดท่าสักกันอย่างมาก

ในช่วงฤดูฝนแม่น้ำน่าน จากเหนือใหลลงมาก จะมีเรือบรรทุกสินค้า ที่เรียกกันว่าเรือมอญจากกรุงเทพฯนำสินค้าขึ้นมาค้าขายเป็นประจำที่ท่าเรือแห่งนี้

- ต่อมาเมื่อมีพลเมืองเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สถานการศึกษาและอื่นๆเกิดขึ้น เช่น  

โรงเรียน สว่างอุปถัม โรงเรียนอรุณีศึกษา รองรับนักเรียนมีมากขึ้น  มีโรงลิเก โรงหนัง แห่งที่ ๑ และ ๒

ปี  ๒๕๓๗  กำนันมงคล  ตำนานวาน ได้รับงบสนับสนุนจากทางรัฐบาล ให้ก่อสร้างอาคารทดแทนหลังเก่า โดยเป็นแบบสถานีอนามัยขนาดใหญ่  โดยได้รับบริจาคที่ดินในการก่อสร้างจาก

1 นายบุญทังนางบุญรวย สังข์บัวชื่น

2 นายบรรจง นางระเบียบ

มนต์ชัยกุล

3 นายวิทยา นางบุญเสริมบัวอ่วม

รวมเนื้อที่ 3

ไร่ 54 ตารางวา

-ปี ๒๕๐๕ การบริหารดูแลทุกข์สุข ของชาวบ้าน ทางการเปลี่ยนแปลงใหม่ ให้มี สุขาภิบาล ตำบล เลือกกรรมการ มาบริหารสุขาภิบาล ชุดแรก 4 คนมี

นายจิตต์ พุกเนตร

นายบัว เนียมประเสริฐ

นายสมาน ธรรมขัย

นายศิริ  ชงบางจาก

-ต่อมาในปี  2542 ทางรัฐบาลได้เปลี่ยนการบริหารเป็นเทศบาลตำบลท่าสักโดยจากการเลือกตั้ง ได้คณะบริหารชุดแรก คือ

นายสุวิทชา  อมรนพรัตนกุล  เป็นนายกเทศบาลตำบลท่าสัก พร้อมรองนายก ที่ปรึกษา เลขาธิการนายก

และมีคณะบริหารชุดต่อมา จนถึงทุกวันนี้

ในส่วนตำบลท่าสักมีการปกครอง ตามลำดับชั้น ตรงจาก อำเภอพิชัย  ตำบลท่าสัก มีหมู่บ้านดูแลหมู่ที่ ๑ -๖ ก่อน และต่อมาพลเมืองเพิ่มมากขึ้นจึงเพิ่มหมู่บ้านมาเป็น ๑๐ หมู่บ้านปัจจุบันนี้

-หมู่บ้านท่าสัก มีผู้นำทองถิ่นเริ่มแต่อดีต ถึงปัจจุบัน ดังนี้..

๑.นายเทียบ อายะนันทน์ กำนัน(ครั้งที่ ๑)

๒.นายจิตติน   กำนันตำบลท่าสัก

๓.นายแดง วัชรากูล กำนัน ตำบลท่าสัก

๔.นายเลื่อน  ทิพย์พรหม ผู้ใหญ่บ้าน ปี ๒๔๘๗

๕.นายเทียบ อายะนันทน์เป็นกำนัน ครั้งที่ ๒ ปี ๒๔๘๗-๒๕๑๐

๖.นายนิตย์ เส็งพานิช เป็น กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ปี ๒๕๑๑ - ๒๕๒๗

๗.นายมงคล ตำนานวาน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ปี ๒๕๒๘-๒๕๔๑

๘.นายยิ่งใหญ่ อายะนันท์  ผู้ใหญ่บ้าน ปี ๒๕๔๑-๒๕๔๓

๙.นายสุชาติ หล่อตระกูล  ผู้ใหญ่บ้าน  ปี ๒๕๔๓-๒๕๕๒

๑๐.นายบุญธรรม โปร่งเจ็ก ผู้ใหญ่บ้าน  ปี ๒๕๕๒-๒๕๖๒

๑๑.นายศราวุธ คงคลิป ผู้ใหญ่บ้าน ปี ๒๕๖๒ ปัจจุบันนี้

****************

วัดภักดีราษฏร์บูรณาราม (วัดท่าสัก) สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๑ สมัย สงครามโลกครั้งที่ ๒  ปัจจุบัน วัดท่าสักสร้างมานานครบ ๙๔ ปี ตั้งอยู่ในใบทะเบียนบ้าน เลขที่ ๓๐๙ หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย มีพื้นที่ ๑๔ ไร่ ๒๙ ตรางวา อาณาเขตทิศเหนือยาว ๓๒๓ เมตรทิศใต้ยาว เมตร ๓๒๐ ทิศตะวันออก ยาว ๙๐ เมตรติดกันที่ดิน รถไฟ ทิศตะวันตกยาว ๒๕๐ เมตรโดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๑๑๙ เป็นหลักฐานพื้นที่วัดเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีทางรถไฟสายเหนือผ่าน เป็นที่ดินของท่านขุนภักดีราชกิจ(นัด  รัญจวน) มี บ้านทรงไทย สร้างในที่ดิน ให้บุตรสาว บุตรเขย ใว้เป็นเรือนหอ เมื่อขบวนรถไฟขึ้นล่องวิ่งผ่านไปมา หริอหยุดที่สถานีท่าสักจะมีผู้โดยสารยกมือไหว้ประจำ โดยคิดว่าเป็นวัด  กำนันเทียบ อายะนันทน์ และเพื่อนๆ ๔-๔ คนได้มาหารือกัน ที่บ้านท่านขุนภักดีราชกิจ(นัด รัญจวน) หมู่บ้านท่าสักของเรา ยังไม่มีวัด ท่านขุนภักดีราชกิจ  นัดรัญจวน  กับบุตรสาว  บุตรเขย จึงคิตว่าควรมีวัด โดยขอเอาเรือนหอ ของเราที่คนเค้ายกมือไหว้นี้แหละ เพื่อนๆ 4-5 คนบอกว่า จะต้องมีการซื้อขายกัน ให้เป็นวัด ประมาณราคากัน  ๓,๐๐๐ บาท ท่านขุนภักดีราชกิจ นัดรัญจวน และครอบครัว จึงอยากจะมีส่วนร่วมกันบ้าง จะขอรับเงินเพียงส่วนเดียว คือ ๑,๕๐๐ บาท ส่วนบ้านทรงไทย เป็นไม้ทั้งหลัง) มอบให้ทางวัด จึงใช้บ้านทรงไทย  นั้นเป็นที่ พิธีทางศาสนา  คณะกรรมการยุคนั้น จึงร่วมลงมติขนานนามให้ใช้ชื่อวัดท่าสักเป็นชื่อ"วัดภักดีราษฎร์บูรณาราม  สถานะยังเป็นสำนักสงฆ์

โดยมีกรรมการ ผู้เริ่มจัดสร้างวัดดังนี้...

๑ นายแพร  เทียมกลิ่น

๒ นายกรวย  ตรีวิมล

๓ นายผัด ฯ

๔ นายเทียบ  อายะนันทน์

๕ ท่านขุนภักดีราชกิจ  นัด รัญจวน

-การพัฒนาบูรณะวัดท่าสัก ..

-ปี ๒๔๗๖ มีท่านคหบดี อาศัยอยู่กรุงเทพมหานครฯ ชื่อคุณเซียวซองแปะ  สีบุญเรือง ที่อยู บ้านถนนสีลม

ได้นำพระพุทธรูป มาถวาย ให้แก่วัดเต่าไห เพื่อสร้างอุทิศกุศลให้นางเนื่อง  ศรีบุญเรื่อง ภรรยา ผู้วายชนม์

ส่งโดยรถไฟ จากกรุงเทพฯมาลงที่สถานีรถไฟท่าสัก

-เป็นพระพุทธรูป  ทรงปางมารวิชัย  พร้อมอัครสาวก จึงตั้งชื่อนามว่าหลวงพ่อสุวรรณ

ต่อมา คณะกรรมการวัดแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้บูรณะสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มขึ้น

-ปี ๒๔๗๖ ก่อสร้างศาลาวัด  นำโดยนายทองสุข  หิรัญโรจน์ กับคณะกรรมการ ร่วมกันกับชาวบ้านจัดงานวัด เพื่อหาเงินก่อสร้างศาลาการเปรียญจนสำเร็จ

-ปี ๒๔๘๑ นายทองสุข เป็นหัวหน้าชักชวนชาวบ้านก่อสร้างกุฏิ ๒ หลัง

และวิหาร เป็น โครงสร้างไม้ ทั้งหมด และนำหลวงพ่อสุวรรณ ประดิษฐานใว้ให้ชาวบ้านกราบไหว้บูชา

-ปี ๒๔๗๖

สร้างสระน้ำ ๑ สระ

-ปี ๒๔๘๗

จัดให้มีสถานศึกษาโรงเรียนขึ้นโดยใช้วัดท่าสักเป็นที่เรียน

-ปี  ๒๔๙๔

นายทองสุข  หิรัญโรจน์ ร่วมคณะกรรมการวัด

สร้างสระเพื่มอีก ๑ สระ

และสร้างกุฏิอีก ๓ หลัง

-ปี ๒๔๙๗

นายทองสุข หิรัญโรจน์ ร่วมคณะกรรมการวัด บูรณะสร้างศาลาใหม่ บริเวณด้านใต้ติดรั่ววัด

-ปีิ ๒๔๙๘

วัดท่าสัก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

(จากเดิม สถานะยังเป็นสำนักสงฆ์) ให้เป็น"วัดภักดีราษฏร์บูรณาราม" โดยสมบูรณ์ และสามารถสร้างพระอุโบสถได้

เขตพื้นที่ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร

-ปี  ๒๕๐๐ เริ่มวางแผนสร้างพระอุโบสถ จึงนำหลวงพ่อสุวรรณประดิษฐาน ณที่ก่อสรัาง โดยใช้โครงสร้างมุงด้วยสังกะสีก่อน

-ปี  ๒๕๐๒ วันที่ ๐๙ เดือน มีนาคม  ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถ และทำพิธีจัดงานฝังลูกนิมิต และทำการก่อสร้างจนเสร็จ

-ปี ๒๔๙๘ ก่อสร้างศาลาการเปรียญ หลังใหม่บริเวณริมกำแพงวัดด้านทิศใต้

-ปี  ๒๕๒๒

สร้าง เมรุเผาศพ

-ปี ๒๕๒๖

สร้างซุ้มประตู ๒ ช่อง  

-ปี  ๒๕๒๙

สร้างหอสวดมนต์ กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๑ เมตร  

-ปี  ๒๕๓๑  สร้างศาลาธรรมสังเวช หลังแรก

-ปี  ๒๕๓๖

สร้างศาลาการ เปรียญใหม่ เป็น ๒ ชั้น แทนหลังเก่า ที่เดิมด้านใต้ริมกำแพงวัดด้านใต้ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๖ เมตร

-ปี  ๒๕๓๙ สร้างห้องน้ำ - ห้องสุขา

-ปี  ๒๕๔๒ สร้างกุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๔ หลัง เป็นอาคารไม้และคอนกรีต เสริมเหล็ก และหอระฆัง

-ปี  ๒๕๔๔

สร้างศาลาเริงใจบนสระน้ำ (ที่อ่านหนังสือ)

-ปี  ๒๕๖๑ สร้างศาลาธรรมสังเวช หลังที่ ๒ เงินกฐินสามัคคี นำโดย คุณประสิทธิ์ คุณสุรางค์ คุณสิริลักษณ์ ศมานุกร   เครือญาติ  และประชาบนทั่วไป

-ปี  ๒๕๖๒

สร้างบูรณะไฟฟ้าบริเวณวัดทั้งหมด เงินกฐินสามัคคี  นำโดยคุณละม้าย คุณนิวัตร ศิริสานต์ เครือญาติ และประชาชนทั่วไป

-ปี  ๒๕๖๓ สร้างหลังคาคุม เมรุเผาศพ ใช้เงินงานกฐินสามัคคี นำโดยคุณแม่เพ็ญศรี  อมรนพรัตนกุล เครือญาติและประชาชนทั่วไป

-ปี  ๒๕๖๓ สร้าง รั่วสะแตนเลส รอบพระอุโบสถ จากเงินจองบริจาค ของประชนทั่วไป

-ปี  ๒๕๖๓

ปูกระเบื้องรอบพระอุโบสถ ใช้เงินกฐินสามัคคี นำโดยคุณก๊อต  นีระพ้นธ์ และประชาชนทั่วไป

-ปี  ๒๕๖๔ บูรณะปฏิสังขรหลังคา และภายในตัวอาคาร ศาลาการเปรียญ ใช้เงินกฐินสามัคคี สมทบต่อเนื่อง นำโดยคุณบรรจง คุณระเบียบ มนต์ชัยกุล เครือญาติ และประชาชนทั่วไป

-ปี  ๒๕๖๕ สร้างจิตกรรมฝาผนัง รูปวาดพุทธประวัติ รับจองบริจาค คุณพัฒนี หิรัญโรจน์ (ลูกหลาน) ท่านขุนภ้กดีราชกิจ (นัด รัญจวน) และรับจองบริจาค ชาวบ้านทั่วไป

-ปี  ๒๕๖๕

บูรณะปฏิสังขรหลังคา และภายใน ศาลาการเปรียญ สบทบทุนสะสมต่อเนื่อง ใช้เงินกฐินสามัคคี นำโดย  และประชาชนทัวไป

-การปกครอง วัดภักดีราษฏร์บูรณาราม แต่อดีต มีเจ้าอาวาส ตามลำดับ ดังนี้...

รูปที่ ๑ พระเลี้ยง พ.ศ.๒๔๗๑ - ๒๔๗๓

รูปที่ ๒ พระบัว  ปี พศ  ๒๔๗๔-๒๔๘๘

รูปที่ ๓ พระอธิการวิเชียร ปี พศ ๒๔๘๙-๒๔๙๒

รูปที่ ๔ พระอธิการบุญธรรม  สุเมโธ ปี พศ ๒๔๙๓ - ๒๔๘๕

รูปที่ ๕ พระครูพิชัยศีลวัตร (รื่น สีลสาโร) แี พศ ๒๔๙๖ - ๒๕๔๐

รูปที่ ๖ พระครูสุขุมธรรมรส พศ ๒๕๔๑ - ๒๕๕๓

รูปที่ ๗ พระอธิการสังเวียน ระวิวัณโณ  ปี พศ .๒๕๕๔ - ๒๕๕๘

รูปที่ ๘ พระอธิการภิรมย์  อัคคปันโณ ปี พศ  ๒๕๕๙ - ปัจจุบัน

-ข้อมูลจากบันทึกหมายเหตุ ตระกูลหิรัญโรจน์ ....

ร.อ. ธนชาต  หิรัญโรจน์ หลานท่านขุนภักดีราชกิจ (นัด รัญจวน) (ผู้เรียบเรียง)

ประวัติวัดท่าสัก หรือวัดภักดีราฎร์บูรณาราม พ่อกับแม่เล่าให้ฟังว่า

ครั้งแรกเลย ที่วัดนี้เป็นเรือนหอ ที่คุณตาท่านขุนภักดีราชกิจ นัด รัญจวน สร้างให้กับ  คุณแม่เฉลียว รัญจวน กับคุณพ่อทองสุก หิรัญโรจน์ ในวันแต่งงาน

แม่กับพ่อเล่าว่า รถไฟผ่านไป-มา ก็จะมีคนในรถไฟ ยกมือไหว้ คิตว่าเรือนหอแม่เป็นวัด คุณตา คุณตาท่านขุนภักดีราชกิจ (นัด รัญจวน) พ่อทองสุกกับแม่เฉลียว และเพื่อนๆ  โดยมีนายเทียบ  อายะนันทน์  จะมาหารือกันที่บ้านเป็นประจำ ว่าตำบลเราไม่มีวัด คุณตาขุนภักดีราชกิจฯ คุณแม่กับคุณพ่อ จึงคิดว่าควรมีวัด โดยเอาเรือนหอ ของเรา ที่คนเขายกมือไหว้นี่แหละ เพื่อนๆ 4-5 คนบอกว่าจะต้องมีการซื้อขายกัน ให้เป็นวัด พวกเราอยากจะมีส่วนร่วมกันบ้างนิดหน่อยก็ยังดี  แต่คุณตาขุนภักดีราชกิจ ก็จะรับเพียงส่วนเดียว ซึ่งมี บ้านเป็นทรงไทยมอบถวายด้วย ลักษณะบ้านส่วนมากเป็นไม้สัก ใหญ่โตพอสมควรเลย เพราะเราจำได้ว่า ทางวัด ได้เอาเรือนหอ ของ แม่มาเป็นที่ทำการพิธีสงฆ์มาตลอด

คุณพ่อทองสุข หิรัญโรจน์

ก็เป็นมรรคทายก คือผู้นำสวดของวัด จนท่านได้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดนี้ในนาม หลวงพ่อทองสุก สนฺตทจิตฺต  หรือหลวงพ่อสุกรีย์ หิรัญโรจน์ (ท่านเปลี่ยนชื่อ จากทองสุกเป็น สุกรีย์ หิรัญโรจน์) จนท่านมรณภาพในผ้าเหลือง

พวกเราชาวบ้านท่าสักทุกคน ขอกราบคาราวะ ท่านขุนภักดีราชกิจ (นัด รัญจวน)  และคณะกรรมการชุดแรก เป็นผู้ที่มีคุณูประการ อย่างสูง สร้างวัด ที่กล่าวใว้ข้างต้น เป็นปูชนียบุคคล อย่างยิ่ง ที่ได้เสียสละ ร่วมกันสร้างวัดภักดีราษฏร์บูรณาราม (วัดท่าสัก) ในสถานที่เหมาะสม สวยงามอย่างยิ่ง เป็นวัดซึ่งอยู่ใกล้ที่ชุมชน มีเส้นทางในอดีต  เดินทางสะดวก  ทางน้ำ ทางรถไฟ และเส้นทางถนนในปัจจุบัน

ประวัติหลวงพ่อสุวรรณ

วัดภักดีราษฏร์บูรณาราม (วัดท่าสัก) ก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ.๒๔๗๑ ยังไม่มีพระพุทธรูปประจำวัด นับว่าเป็นบุญบารมี ของชาวท่าสักบ้านเรา ที่มีปูชนียวัตถุ ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง

-ปี พศ ๒๔๗๖

มีท่านคหบดี ผู้ใจบุญจากเมืองหลวงกรุงเทพมหานครฯ ชื่อ "นายเซียวซองแป็ะ  สีบุญเรือง" นำพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์พร้อม องค์สาวก เพื่อทำบุญอุทิศให้นางเนื่อง  สีบุญเรือง ภรรยาผู้วายชนม์ เมื่อ ปี ๒๔๗๕  ได้ส่งมาทางรถไฟ มาลงที่สถานีรถไฟท่าสัก จะนำถวายแด่วัดเต่าไห โดยนำเกวียนลาก มาทำการบรรทุก  เมื่อทำการบรรทุกเสร็จวัวไม่ยอมนำเกวียนออกเดินทาง  ชาวบ้านจึงตั้งใจอธิฐาน ถ้าวัวไม่ยอมออกเดินทาง ขอยกให้เป็นของวัดท่าสัก  แต่วัวก็ไม่ยอมออกเดินทางอีก ชาวบ้านท่าสักจึงอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ.วัดท่าสัก (สถานภาพยังเป็นสำนักสงฆ์) แรกเริ่มยังไม่มีอุโบสถ จึงได้สร้าง เป็นโครงหลังคามุงสังกะสี ตั้งใว้ให้ชาวบ้านท่าสักได้กราบไหว้บูชา ชั่วคราว   พระพุทธรูปที่นายนาย"เซียวซองแป๊ะ  สีบุญเรือง" มาถวาย เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ที่สวยงามมาก ชาวบ้านเลย ตั้งชื่อขนานนามว่า

"หลวงพ่อสุวรรณ"

-ปี พศ ๒๔๘๑  

นายทองสุก หิรัญโรจน์(สุกรีย์) เป็นผู้นำร่วมกับกรรมการ จัดงานวัด เชิญชาวบ้าน ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนสร้างวิหารได้จนสำเร็จ จึงนำหลวงพ่อสุวรรณไปประดิษฐาน ในวิหาร ให้ชาวบ้าน กราบใหว้บูชา

-ปี พ.ศ.๒๔๙๘

เดือน กันยายน วัดภักดีราษฏร์บูรณาราม(วัดท่าสัก) ได้รับพระราชทาน วิสงคามสีมา อนุญาตจากสำนักสงฆ์ (สถานภาพเดิม) ให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ จึงนำ "หลวงพ่อสุวรรณ" ประดิษฐาน ตั้งใว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถและทำการก่อสร้าง จัดงานพิธีฝังลูกนิมิต ดำเนินสร้างเสร็จ จนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบัน"หลวงพ่อสุวรรณ" เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธ์ ราษฎรในตำบลท่าสัก และตำบลใกล้เคียง จะเข้ามา กราบไหว้บูชา ขอพร มีผู้มาเยือน ทุกวันมิได้ขาด และอนาคต จะพัฒนาเป็น สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของผู้แสวงบุญ ในช่วงออกพรรษาถึงเพ็ญเดือน ได้มาท่องเที่ยวและทำบุญไหว้พระ 9 วัดตามประเพณี กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อไป

-หลวงพ่อสุวรรณ์ ปัจจุบัน กรมศิลปกรณ์ กำลังเสนอ ให้เป็นวัตถุโบราณร่วมสมัย อยู่ในพระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภันฑสถานแห่งชาติ ตามหนังสือที่ วธ ๑๔๐๗/ ๒๓

สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

@นายเซียวซองแป๊ะ   สีบุญเรือง  ผู้สร้าง ถวายองค์หลวงพ่อสุวรรณ แด่วัดท่าสัก

-ชาวตำบลท่าสัก ขอกราบน้อมคาราวะ เคารพท่านเป็นคุณูแระดาร อย่างสูง ที่ได้ให้วัดภักดีราษฏร์บูรณาม (วัดท่าสัก) ของเราได้มีพระพุทธรูป ที่สวยงามใว้คู่ บ้านตำบลท่าสักบ้านเรา ตลอดกาล

#ประวัติหลวงพ่อสุวรรณ์

*******************

หลวงพ่อ สุุวรรณ์

- วัดภักดีราษฎร์บูรณาราม (วัดท่าสัก) ก่อสร้าง ขึ้นมาในปี พ.ศ.๒๔๗๑ ยังไม่มีพระพุทธรูปประจำวัด  มีแต่ องค์รูปปูนปั้น ชาวบ้าน สร้างกันเอง เท่านั้น

-  ปี  พ.ศ.๒๔๗๖  มีท่านคหบดี  

ผู้ใจบุญจากเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร ชื่อ "นายเซียวซองแป๊ะ  สีบุญเรือง"  สร้างพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์พร้อมองค์อัคครสาวก เพื่อทำบุญอุทิศให้นางเนื่อง สีบุญเรือง ภรรยาผู้ถึงแก่กรรมไปแล้ว เมื่อปี ๒๔๗๕  ได้ส่งพระพุทธรูปมาทางรถไฟ ลงที่สถานีรถไฟท่าสัก ตั้งใจจะนำถวายวัดเต่าไห  ชาวบ้านนำเกวียนมาบรรทุก  เมื่อบรรทุกเสร็จ วัวไม่ยอมนำเกวียนออกเดินทาง  ชาวบ้านจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า  “ ถ้าวัวไม่ยอมออกเดินทาง จะยกพระพุทธรูปให้เป็นของวัดท่าสัก”  ปรากฏว่าวัวก็ไม่ยอมออกเดินทาง ชาวบ้านท่าสักจึงขออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดท่าสัก (สถานภาพยังเป็น

สำนักสงฆ์)แรกเริ่มยังไม่มีอุโบสถ จึงได้สร้าง เป็นโครงหลังคามุงสังกะสี ตั้งไว้ให้ชาวบ้านท่าสักได้กราบไหว้บูชาชั่วคราว พระพุทธรูปที่นายเซียวซองแป๊ะ  สีบุญเรือง มาถวายเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยที่สวยงามมาก ชาวบ้านจึงขนานนามว่า "หลวงพ่อสุวรรณ"  

-  พ.ศ.๒๔๘๑ นายทองสุก (สุกรีย์) หิรัญโรจน์ และกรรมการวัด จัดงานเชิญชาวบ้าน ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนสร้างวิหารได้จนสำเร็จ จึงอัญเชิญหลวงพ่อสุวรรณไปประดิษฐานในวิหาร

-  พ.ศ.๒๔๙๘ เดือน กันยายน วัดภักดีราษฎร์บูรณาราม

(วัดท่าสัก) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เปลี่ยนจากสำนักสงฆ์ (สถานภาพเดิม) ให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ จึงนำ "หลวงพ่อสุวรรณ" ประดิษฐาน ตั้งไว้เป็นพระประธานและทำการก่อสร้างพระอุโบสถ  

-  พ.ศ.2502 จัดงานพิธีฝังลูกนิมิต ดำเนินการสร้างจนแล้วเสร็จ  

ปัจจุบัน"หลวงพ่อสุวรรณ" เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในตำบลท่า

สัก และตำบลใกล้เคียง จะเข้ามากราบไหว้บูชา  

ขอพร มีผู้มาเยือน ทุกวันมิได้ขาด และอนาคตจะพัฒนาให้เป็นสถานที่ศึกษาทางศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของผู้แสวงบุญ เพื่อเป็นศิริมงคล

-  หลวงพ่อสุวรรณ ปัจจุบันเป็นพระพุทธรูปในโครงการศึกษาศิลปกรรมพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ท้องถิ่นภาคกลางที่มีจารึกกำหนดอายุสมัยการสร้าง ตามหนังสือ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ วธ q๔๐๗/๒๗๗๐ ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒

นายเซียวซองแป๊ะ สีบุญเรือง ผู้สร้าง ถวายองค์หลวงพ่อสุวรรณ แด่วัดท่าสัก

- ชาวตำบลท่าสัก ขอกราบน้อมคาราวะ เคารพท่านเป็นอย่างสูง ที่ได้ให้วัดภักดีราษฎร์บูรณาราม (วัดท่าสัก) ได้มีพระพุทธรูป ที่สวยงามไว้คู่บ้านตำบลท่าสักตลอดกาล

นับว่าเป็นบุญบารมี ของชาวท่าสักบ้านเรา ที่มีปูชนียวัตถุ ที่ทรงคุณค่าอย่าทงยิ่ง

**********************

#ประวัติคุณตาขุนภักดีราชกิจ (นัด รัญจวน)            *********************************

    ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๔ ที่บ้านป่ากุ่มเกาะ ตำบลศรีสัชนาลัย เมืองสวรรคโลก มณฑลพิษณุโลก  ในยุครัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๙ - ๒๔๘๒  (ปัจจุบัน อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย )  เป็นผู้ปฎิบัติหน้าที่ให้กับหลวงพระยาอำมาตย์อธิบดี เจ้ากรมมหาดไทย ฝ่ายเหนือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ห้ว (รัชกาลที่ ๕) ท่านมีหน้าที่รวบรวมไม้สัก บริเวณบ้านท่าสัก  (ในอดิตซึ่งยังไม่เป็นหมู่บ้าน) ส่งให้ หลวงประเทศชมพล เจ้ากรมการเมือง สวรรคโลก ซึ่งเป็นผู้ทำไม้ที่คลองละมุง และมีศักดิ์เป็นพี่เขยของท่านขุนภักดีราชกิจ(นัด รัญจวน) และเข้ามาอยู่ที่บ้านท่าสัก ก่อนปี พ.ศ.๒๔๔๔

      ท่านเป็นผู้ที่สำคัญมากท่านหนึ่ง ในการเริ่มสร้างหมู่บ้าน (ยังไม่มีชื่อ ชาวบ้าน เรียกว่า " บ้านท่าไม้สัก"  ยุคสมัยนั้น เป็นหมู่บ้านขึ้นกับตำบลเตาไห เมืองพิชัย  มณฑลพิษณุโลก  ซึ่งเป็นที่พักแรมค้างคืน ของ แพไม้ซุง ในลำแม่น้ำน่าน ช่วงฤดูน้ำหลาก ส่วนมากจะเป็นไม้สัก จากเหนือ ) ท่านเริ่มสร้างครอบครัวขึ้น ที่หมู่บ้าน "ท่าไม้สัก" นี้ จนมีผู้คนเริ่มเข้ามาตั้งหลัก ปลักฐานมากขึ้น  กลายเป็นหมู่ชื่อ "บ้านท่าสัก" ในปัจจุบัน  

        ท่าน ขุนภักดีราชกิจ (นัด รัญจวน) มีภรรยาชื่อ นางสัมฤทธิ์ หอยศรีจันทร์ (บุตรนายศรี นางเทศ) ทายาทพระยาพิชัยดาบหัก ลำดับชั้นที่ ๖  สถานะยุคสมัยนั้น บ้านตำบลเต่าไห เมืองพิชัย  มณฑลพิษณุโลก  มีบุตร ธิดารวม ๒ คน เสียชีวิต ๑ คน เหลือ ๑ คน ชื่อ นางเฉลียว หิรัญโรจน์(รัญจวน)

        ท่านเป็นผู้มีคณูประการเป็นอย่างสูง มอบที่ดินของท่าน และผู้ศรัทธาขอร่วมบริจากทรัพย์ส่วนหนึ่ง พร้อมกับมอบเรือนไทยหลังใหญ่ที่เป็นเรือนหอของลูกสาว ให้สร้างเป็นวัด จนคณะกรรมการในยุคนั้นได้แก่ คุณพ่อทองสุก หิรัญโรจน์ กำนันเทียบ อายะนันทน์ และเพื่อนอีก ๔-๕ คน

ซึ่งเป็นแกนนำสำคัญ รวมกันตั้งชื่อจากเดิมที่เป็นสำนักสงฆ์ ให้เป็นวัด ชื่อ” วัดภักดีราษฎร์บูรณาราม”

(วัดท่าสัก) อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

       ท่านขุนภักดีราชกิจ (นัด รัญจวน)เสียชีวิต ปี พ.ศ.๒๔๗๘ รวมอายุ ๖๔ ปี

*********************************

#ประวัติหลวงพ่อสุวรรณ์

*******************

หลวงพ่อ สุุวรรณ์

- วัดภักดีราษฎร์บูรณาราม (วัดท่าสัก) ก่อสร้าง ขึ้นมาในปี พ.ศ.๒๔๗๑ ยังไม่มีพระพุทธรูปประจำวัด  มีแต่ องค์รูปปูนปั้น ชาวบ้าน สร้างกันเอง เท่านั้น

-  ปี  พ.ศ.๒๔๗๖  มีท่านคหบดี  

ผู้ใจบุญจากเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร ชื่อ "นายเซียวซองแป๊ะ  สีบุญเรือง"  สร้างพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์พร้อมองค์อัคครสาวก เพื่อทำบุญอุทิศให้นางเนื่อง สีบุญเรือง ภรรยาผู้ถึงแก่กรรมไปแล้ว เมื่อปี ๒๔๗๕  ได้ส่งพระพุทธรูปมาทางรถไฟ ลงที่สถานีรถไฟท่าสัก ตั้งใจจะนำถวายวัดเต่าไห  ชาวบ้านนำเกวียนมาบรรทุก  เมื่อบรรทุกเสร็จ วัวไม่ยอมนำเกวียนออกเดินทาง  ชาวบ้านจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า  “ ถ้าวัวไม่ยอมออกเดินทาง จะยกพระพุทธรูปให้เป็นของวัดท่าสัก”  ปรากฏว่าวัวก็ไม่ยอมออกเดินทาง ชาวบ้านท่าสักจึงขออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดท่าสัก (สถานภาพยังเป็น

สำนักสงฆ์)แรกเริ่มยังไม่มีอุโบสถ จึงได้สร้าง เป็นโครงหลังคามุงสังกะสี ตั้งไว้ให้ชาวบ้านท่าสักได้กราบไหว้บูชาชั่วคราว พระพุทธรูปที่นายเซียวซองแป๊ะ  สีบุญเรือง มาถวายเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยที่สวยงามมาก ชาวบ้านจึงขนานนามว่า "หลวงพ่อสุวรรณ"  

-  พ.ศ.๒๔๘๑ นายทองสุก (สุกรีย์) หิรัญโรจน์ และกรรมการวัด จัดงานเชิญชาวบ้าน ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนสร้างวิหารได้จนสำเร็จ จึงอัญเชิญหลวงพ่อสุวรรณไปประดิษฐานในวิหาร

-  พ.ศ.๒๔๙๘ เดือน กันยายน วัดภักดีราษฎร์บูรณาราม

(วัดท่าสัก) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เปลี่ยนจากสำนักสงฆ์ (สถานภาพเดิม) ให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ จึงนำ "หลวงพ่อสุวรรณ" ประดิษฐาน ตั้งไว้เป็นพระประธานและทำการก่อสร้างพระอุโบสถ  

-  พ.ศ.2502 จัดงานพิธีฝังลูกนิมิต ดำเนินการสร้างจนแล้วเสร็จ  

ปัจจุบัน"หลวงพ่อสุวรรณ" เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในตำบลท่า

สัก และตำบลใกล้เคียง จะเข้ามากราบไหว้บูชา  

ขอพร มีผู้มาเยือน ทุกวันมิได้ขาด และอนาคตจะพัฒนาให้เป็นสถานที่ศึกษาทางศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของผู้แสวงบุญ เพื่อเป็นศิริมงคล

-  หลวงพ่อสุวรรณ ปัจจุบันเป็นพระพุทธรูปในโครงการศึกษาศิลปกรรมพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ท้องถิ่นภาคกลางที่มีจารึกกำหนดอายุสมัยการสร้าง ตามหนังสือ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ วธ q๔๐๗/๒๗๗๐ ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒

นายเซียวซองแป๊ะ สีบุญเรือง ผู้สร้าง ถวายองค์หลวงพ่อสุวรรณ แด่วัดท่าสัก

- ชาวตำบลท่าสัก ขอกราบน้อมคาราวะ เคารพท่านเป็นอย่างสูง ที่ได้ให้วัดภักดีราษฎร์บูรณาราม (วัดท่าสัก) ได้มีพระพุทธรูป ที่สวยงามไว้คู่บ้านตำบลท่าสักตลอดกาล

นับว่าเป็นบุญบารมี ของชาวท่าสักบ้านเรา ที่มีปูชนียวัตถุ ที่ทรงคุณค่าอย่าทงยิ่ง

**********************

ขอกราบคาราวะขอบพระคุณข้อมูล

-คุณแม่หมอจำลอง นิยมสำรวจ อายุ ๙๓ อดีตพยบ.ผดุงครรภ์

- คุณปู่ไล้ กิ่งจันทร์  อายุ ๙๔ ปี

-คุณปู่ฉลวย เพชรเกิด อายุ ๙๓ ปี

- คุณยายฟื้น คชสีห์ คนสูงอายุ ๑๐๒ ปี บ้านเต่าไหหมู่ ๔

-คุณพิมพัชชา  บุญทิตานนท์(หิรัญโรจน์)

-คุณธนชาต หิรัญโรจน์

คณะผุ้จัดทำประวัติ และเรียบเรียง

-อาจารย์ บุญมี พุกเนตร

- อาจารย์ ศักดิชัย ตั้งเจริญไพศาล  

-อาจารย์ กรกนกเจริญศรี

-อาจารย์ อัจฉรา บุรณะวัณณะ อดีตอาจารย์โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี

-อาจารย์วิช้ย โล่ประเสริฐ อดีตศึกศานิเทสถ์ จังหวะดอุตรดิตถ์

-อาจารย์.กาญจนา ภูสมศรี

-อาจารย์นิมนวล  ศิบป์วัฒนสกุล

-คุณมลิวัลย์  ศรีหา อดีตปลัดอำเภอ

-คุณบุญธรรม โปร่งเจ็ก อดีตผู้ใหญ่บ้าน ม.1

-คุณสุทัศน์ อมรนพรัตนกุล รองประธานกรรมศาลเจ้าแม่เทียนโหว

-คุณสมศักดิ์ พุกเนตร อดีตพนักงาน การรถไฟ สมศักดิ์ พกเนตร (คุย) 17:39, 26 พฤษภาคม 2567 (+07)ตอบกลับ