พระเจ้าอุทัยภัทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าอุทัยภัทร
รูปสลักประติมากรรมของพระเจ้าอุทัยภัทร
กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ
มหาราชาหรยังกะองค์ที่ 3
ครองราชย์ป. 460 –  444 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าพระเจ้าอชาตศัตรู
ถัดไปพระเจ้าอนุรุทธะ [1]
สวรรคต444 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์หรยังกะ
พระราชบิดาพระเจ้าอชาตศัตรู
พระราชมารดาวชิระ
ศาสนาเชน, พุทธ

พระเจ้าอุทัยภัทร (ป. 460-444 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นมคธในอินเดียโบราณ ตามเรื่องราวของศาสนาพุทธและเชน พระองค์คือพระราชโอรสและผู้สืบทอดราชบังลังก์ต่อจากพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งหรยังกะ พระเจ้าอุทัยภัทรได้วางรากฐานของเมืองปาฏลีบุตรที่บรรจบกันของแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำซันกับแม่น้ำคงคา พระองค์ย้ายเมืองหลวงจากกรุงราชคฤห์ไปยังปาฏลีบุตร เนื่องจากเวลาต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางจักรวรรดิ

บรรพบุรุษ[แก้]

รายงานจากข้อมูลพุทธ ผู้สืบทอดของพระเจ้าพิมพิสารแห่งมคธได้แก่ พระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าอุทัยภัทร พระเจ้าอนุรุทธะ พระเจ้ามุณฑะ และพระเจ้านาคทาสกะ[2] ธรรมเนียมเชนกล่าวถึงพระเจ้าอุทัยภัทรเป็นพระราชโอรสและผู้สืบทอดของพระเจ้าอชาตศัตรู[3] พระเจ้าพิมพิสาร (ป. 558 –  491 ปีก่อน ค.ศ.) อชาตศัตรู (ป. 492–460 ปีก่อน ค.ศ.) และอุทัยภัทร (ป. 460–440 ปีก่อน ค.ศ.) แห่งราชวงศ์หรยังกะเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาเชน[4] อย่างไรก็ตาม ปุราณะระบุพระนามผู้สืบทอดของพระเจ้าพิมพิสารเป็นอชาตศัตรู, Darshaka, อุทัยภัทร, Nandivardhana และ Mahanandin[2][5] มัสยาปุราณะระบุ Vamsaka เป็นผู้สืบทอดของพระเจ้าอชาตศัตรู[6] เนื่องจากปุราณะรวบรวมขึ้นทีหลัง ทำให้ธรรมเนียมพุทธดูน่าเชื่อถือกว่า[2] พระเจ้านาคทาสกะในพงศาวดารพุทธถูกระบุในปุราณะเป็น "Darshaka"[7]

ศาสตราจารย์ H. C. Seth (1941) ระบุพระเจ้าอุทัยภัทรเข้ากับพระเจ้า Udayana ที่ปรากฏในบทละครสันสกฤต Svapnavasavadatta[6] เสวียนจั้ง นักเดินทางชาวจีน ระบุว่า ลูกหลานรุ่นสุดท้ายของพระเจ้าพิมพิสารสร้างสังฆารามที่ Tiladaka โดย Seth ตั้งทฤษฎีว่าลูกหลานรุ่นสุดท้ายคือ Darshaka และพระเจ้าอุทัยภัทรสถาปนาราชวงศ์ใหม่ ตามข้อบ่งชี้ถึงการย้ายเมืองหลวงจากราชคฤห์ไปยังปาฏลีบุตร[8] Liladhar B. Keny (1943) วิจารณ์ทฤษฎีของ Seth ว่าไม่ถูกต้อง โดยเขารายงานว่า Udayana ใน Svapnavasavadatta เป็นกษัตริย์คนละพระองค์ที่ปกครองอาณาจักรวัตสะ โดยมีโกสัมพีเป็นเมืองหลวง[6]

R. G. Bhandarkar สังเกตว่าพระนาม Darshaka (ทาสกะ) มีคำนำหน้าในพงศาวดารพุทธว่า "นาค" ซึ่งอาจสื่อถึงการสละความเกี่ยวข้องกับผู้สืบทอด และความผูกพันต่อนาคแห่งปัทมวดี สิ่งนี้กล่าวโดยนัยว่าพระองค์อาจมาจากคนละตระกูลและกลายเป็นกษัตริย์ประมาณสามรุ่นหลังจากพระเจ้าอชาตศัตรู ไม่ได้สืบทอดอำนาจจากพระองค์[9]

พระชนม์ชีพและรัชสมัย[แก้]

ธรรมเนียมพุทธระบุว่าพระเจ้าอุทัยภัทรเป็นพระราชโอรสองค์โปรดของพระเจ้าอชาตศัตรู และมีชีวิตในรัชสมัยพระเจ้าพิมพิสาร พระอัยกา เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูพบกับพระโคตมพุทธเจ้า อุทัยภัทรยังคงเป็นเจ้าชายหนุ่ม[7] พระเจ้าอุทัยภัทรครองราชย์ในช่วง ป. 460-444 ปีก่อน ค.ศ.[10] สถาปนาเมืองหลวงที่ปาฏลีบุตรตรงบริเวณที่แม่น้ำซันกับแม่คงคาบรรจบกัน[11] พระราชบิดาของพระองค์สร้างป้มที่นั่นเพื่อผลักการรุกรานที่เป็นไปได้ของปรัทโยตจากอวันตี พระเจ้าอุทัยภัทรย้ายเมืองหลวงไปที่ปาฏลีบุตร อาจเป็นเพราะเมืองนั้นเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรที่กำลังเติบโต[3]

พระองค์เอาชนะ Palaka แห่งอวันตีหลายครั้ง แต่ท้ายที่สุดก็ถูกสังหารโดย Palaka ใน 444 ปีก่อน ค.ศ.[12] ปุราณะกล่าวถึง Nandivardhana เป็นผู้สืบมอดของพระเจ้าอุทัยภัทร อย่างไรก็ตาม พงศาวดารพุทธศรีลังการะบุว่าพระเจ้าอนุรุทธะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ พงศาวดารเหล่านี้ยังระบุด้วยว่า กษัตริย์ทั้งหมดนับตั้งแต่พระเจ้าอชาตศัตรูถึงพระเจ้านาคทาสกะทำการปิตุฆาต[3] ตำราเชนระบุว่าพระเจ้าอุทัยภัทรถูกสังหารโดยมือสังหารของอาณาจักรศัตรู[11] เนื่องพระองค์ไม่มีพระราชโอรสธิดา เหล่าอำมาตย์จึงเลือกนันทะเป็นผู้สืบทอดต่อ[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Anuruddha".
  2. 2.0 2.1 2.2 Keny 1943, p. 61.
  3. 3.0 3.1 3.2 V. K. Agnihotri, บ.ก. (2010). Indian History. Allied Publishers. p. A-168. ISBN 978-81-8424-568-4.
  4. Glasenapp, Helmuth von (1999). Jainism: An Indian Religion of Salvation (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass Publ. ISBN 978-81-208-1376-2.
  5. Upinder Singh 2016, p. 273.
  6. 6.0 6.1 6.2 Keny 1943, p. 63.
  7. 7.0 7.1 Keny 1943, p. 62.
  8. Keny 1943, pp. 61–64.
  9. Bhandarkar, Devadatta Ramkrishna (1918). "Lectures on the ancient history of India, on the period from 650 to 325 B. C." University of Calcutta. pp. 71–72.
  10. R.S. Sharma (2006). India's Ancient Past. Oxford University Press India. p. 158. ISBN 978-0-19-908786-0.
  11. 11.0 11.1 11.2 Natubhai Shah 2004, p. 42.
  12. Kailash Chand Jain 1972, p. 102.

ข้อมูล[แก้]