ข้ามไปเนื้อหา

พรรคเป็นธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคเป็นธรรม
หัวหน้าปิติพงศ์ เต็มเจริญ
เลขาธิการกัณวีร์ สืบแสง
เหรัญญิกปุณยวีร์ เต็มเจริญ
นายทะเบียนสมาชิกบุญธร อุปนันท์
กรรมการบริหารเข็มมา สีทิ
วีระนุช ธีระภูธร
วราวุธ ทองเกิด
บุญเรือง คำศิลา
สุกิต น้อมศิริ
พงศ์ธารินทร์ บุตรทอง
บุคลากรตำแหน่งอื่นปดิพัทธ์ สันติภาดา (รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1)
คำขวัญประชาธิปไตยต้องเป็นธรรม
ก่อตั้งพรรคกลาง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (5 ปี)
พรรคเป็นธรรม
27 กันยายน พ.ศ. 2563 (3 ปี)
ที่ทำการ245/7 ซอย 7/2 หมู่บ้านชวนชื่น-พาร์คอะเวนิว ถนนกาญจนาภิเษก แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
สมาชิกภาพ  (ปี 2566)10,102 คน[1]
อุดมการณ์สิทธิมนุษยชน
ประชาธิปไตย
สี  น้ำเงิน
สภาผู้แทนราษฎร
2 / 500
เว็บไซต์
fairpartyofficial.com
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเป็นธรรม (ย่อ: ปธ.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยใช้ชื่อเดิมว่า พรรคกลาง จนต่อมาเปลี่ยนมาใช้ชื่อพรรคเป็นธรรมจนถึงปัจจุบันในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2563

ประวัติ[แก้]

พรรคกลาง จัดตั้งขึ้นโดยการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยจดทะเบียนเป็นพรรคการเมือง เลขที่ 34/2561 ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีนายชุมพล ครุฑแก้ว เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายสุขทวี สุวรรณชัยรบ เป็นเลขาธิการพรรค

ต่อมาได้มีการประชุมใหญ่สามัญพรรคกลาง ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2563 เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น "พรรคเป็นธรรม" เปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรค และเลือก นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และอดีตโฆษกพรรคเสรีรวมไทย เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายชุมพล ครุฑแก้ว อดีตหัวหน้าพรรค รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค[2] จากนั้นในวันพุธที่ 27 มีนาคม 2565 นายชุมพลได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคซึ่งในวันเดียวกันทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2565 ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[3][4][5]

ต่อมาในวันพุธที่ 28 ธันวาคม 2565 นายสรยุทธได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค[6][7] จากนั้นในวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 พรรคเป็นธรรมได้จัดการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2566 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค รวมถึงเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ หลังจากที่นายปิติพงศ์ลาออกจากตำแหน่งกลางที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายปิติพงศ์เป็นหัวหน้าพรรคอีกสมัย ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่ประชุมมีมติเลือกนายกัณวีร์ สืบแสง เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[8][9]

บุคลากร[แก้]

หัวหน้าพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
พรรคกลาง
1 ชุมพล ครุฑแก้ว 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 27 กันยายน พ.ศ. 2563
พรรคเป็นธรรม
2 ปิติพงศ์ เต็มเจริญ 27 กันยายน พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
พรรคกลาง
1 สุขทวี สุวรรณชัยรบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 27 กันยายน พ.ศ. 2563
พรรคเป็นธรรม
2 ชุมพล ครุฑแก้ว 27 กันยายน พ.ศ. 2563 27 มีนาคม พ.ศ. 2565
3 สรยุทธ เพ็ชรตระกูล 27 มีนาคม พ.ศ. 2565 28 ธันวาคม 2565
4 กัณวีร์ สืบแสง 21 มกราคม พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

กรรมการบริหารพรรค[แก้]

อันดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1 ปิติพงศ์ เต็มเจริญ หัวหน้าพรรค
2 กัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรค
3 เอษณา จรัสสุริยพงศ์ เหรัญญิกพรรค
4 บุญธร อุปนันท์ นายทะเบียนพรรค
5 เข็มมา สีทิ กรรมการบริหารพรรค
6 ฮากิม พงตีกอ
7 วีระนุช ธีระภูธร
8 วราวุธ ทองเกิด
9 บุญเรือง คําศิลา
10 ว่าที่ร้อยตรี สุกิต น้อมศิริ
11 ฐิติพงษ์ หมื่นหาญ

บทบาททางการเมือง[แก้]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเป็นธรรมส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขตทั้งหมด 11 เขต และระบบบัญชีรายชื่อ 9 คน โดยไม่เสนอชื่อบุคคลให้แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[10] ในช่วงการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดนราธิวาส ได้ให้ผู้สมัครของพรรคเป็นธรรมชี้แจงเกี่ยวกับป้ายหาเสียงของพรรคที่มีข้อความว่า “ปาตานีจัดการตนเอง” ซึ่งพรรคได้ทำหนังสือชี้แจงว่า ข้อความนี้หมายถึงนโยบายการกระจายอำนาจ ส่วนคำว่า “ปาตานี” เป็นคำเรียกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สื่อความหมายถึงอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ ส่งผลให้พรรคเป็นธรรมถูกมองว่ามีนโยบายสนับสนุนการ "แบ่งแยกดินแดน”[11] และภายหลังการเลือกตั้ง ได้มีการเสวนาวิชาการจนนำไปสู่การเสนอข้อเสนอให้มีการทำประชามติเพื่อแยกดินแดนของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีตัวแทนของพรรคเป็นธรรมอยู่ในการเสวนาครั้งนั้นด้วย ในที่สุดพรรคเป็นธรรมจึงมีมติให้กรรมการบริหารพรรคจำนวน 2 คน พ้นจากตำแหน่ง[12]

พรรคเป็นธรรมได้รับเลือกตั้งจำนวน 1 ที่นั่ง ในระบบบัญชีรายชื่อ คือ กัณวีร์ สืบแสง และเป็นพรรคการเมืองที่ถูกกล่าวถึงโดยพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ว่าจะเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล[13] ต่อมาในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 พรรคเป็นธรรมได้ลงมติสนับสนุนพิธาในการลงมติครั้งแรก[14] แต่ภายหลังจากที่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งในการลงมติครั้งที่ 1 และรัฐสภาไทยมีมติไม่ให้เสนอชื่อพิธาซ้ำอีกครั้งในการลงมติครั้งที่ 2 และส่งต่อให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทยจึงยกเลิกบันทึกความเข้าใจที่ทำกับพรรคก้าวไกล กัณวีร์จึงลงมติไม่สนับสนุนเศรษฐา ทวีสิน ในการลงมติครั้งที่สาม ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในสามพรรคการเมืองที่มีสมาชิกลงมติไม่สนับสนุนเศรษฐา[15]

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10:00 น. พรรคเป็นธรรมได้เปิดตัว ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ซึ่งถูกขับออกจากพรรคก้าวไกล มาร่วมงานกับพรรคเป็นธรรมอย่างเป็นทางการ[16] แต่ได้สมัครสมาชิกพรรคและได้รับการรับรองสมาชิกภาพจากกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566[17]

การเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2566
1 / 500
184,817 0.49% เพิ่มขึ้น1 ฝ่ายค้าน ปิติพงศ์ เต็มเจริญ

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคเป็นธรรม (เดิมชื่อพรรคกลาง)
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเป็นธรรม
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเป็นธรรม
  5. ‘พรรคเป็นธรรม’ เปิดตัว ‘สรยุทธ เพ็ชรตระกูล’ นั่งเลขาธิการพรรคคนใหม่
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเป็นธรรม[ลิงก์เสีย]
  7. “สรยุทธ” ลาออกเลขาธิการพรรคเป็นธรรม
  8. พรรคเป็นธรรม จัดประชุมใหญ่ “กัณวีร์” นั่งเลขาธิการฯ
  9. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคเป็นธรรม
  10. สรุปผลการรับสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ
  11. "แบ่งแยกดินแดน"จุดสลบรัฐบาลก้าวไกล?
  12. แบ่งแยกดินแดนพ่นพิษ! พรรคเป็นธรรม ปลด"ฮากิม-ยามารุดดิน"พ้นเก้าอี้
  13. พรรคเป็นธรรมคือใคร ทำไม “พิธา” อยากจับมือจัดตั้งรัฐบาลด้วย
  14. "สแกนครบทุกชื่อ 'ส.ส.-ส.ว.' โหวตพิธา-เป็นนายกฯ 8 พรรคร่วมไม่แตกแถว". มติชน. 2023-07-14. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "กัณวีร์ เป็นธรรม เผย จะโหวตไม่เห็นชอบเศรษฐานั่งนายกฯ ไม่เกี่ยวกับคุณสมบัติ แต่เพราะอุดมการณ์ไม่ตรงกัน". เดอะสแตนดาร์ด. 2023-08-22. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. ""หมออ๋อง" เปิดตัวซบพรรคเป็นธรรม ชูอุดมการณ์ 3 ข้อ". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 2023-10-10. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "'พรรคเป็นธรรม' รับรอง 'ปดิพัทธ์' เข้าพรรคแล้ว". กรุงเทพธุรกิจ. 31 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]