ผู้ใช้:Stirz117/ทดลองเขียน10

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายชื่อการยิงเป้าจากการเผยแพร่ของอรรถยุทธพวงสุวรรณกับเนื้อหาที่โดเด่นไม่เพียงพอจะเป็นบทความ

วาด ขุนจันทร์(อ้างอิงน้อย)[แก้]

วาด ขุนจันทร์ เป็นผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนที่ 284 ของประเทศไทยด้วยการยิงเป้า ในความผิดฐานวางเพลิงบ้านพักคนงานก่อสร้างเพื่อสังหารหมู่ครอบครัวแก้วเกลี้ยงจนเป็นเหตุให้นางสาววันดี แก้วเกลี้ยง อายุ 16 ปี เสียชีวิต และนายจำนงค์ แก้วเกลี้ยง อายุ 40 ปี กับเด็กหญิง สายสุณี แก้วเกลี้ยง อายุ 13 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัส

วาด ขุนจันทร์
เกิดพ.ศ 2517
ตำบลควนชะริส อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
เสียชีวิต19 กรกฎาคม พ.ศ.2542 (อายุ 25 ปี)
เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการยิง
ชื่ออื่นเขียว, จุล
อาชีพคนงานก่อสร้าง
สถานะทางคดีถูกประหารชีวิต
เหตุจูงใจล้างแค้น
ข้อหาวางเพลิงโรงเรือนที่คนอยู่อาศัยเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
บทลงโทษประหารชีวิต
รายละเอียด
วันที่25 สิงหาคม พ.ศ.2538
ประเทศประเทศไทย
รัฐจังหวัดสงขลา
ตำแหน่งหมู่บ้านวาสนาวิลเลส หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านพลุ อำเภอหาดใหญ่
เป้าหมายครอบครัวแก้วเกลี้ยง
ตายนางสาววันดี แก้วเกลี้ยง อายุ 16 ปี
บาดเจ็บนายจำนงค์ แก้วเกลี้ยง อายุ 40 ปี
เด็กหญิง สายสุณี แก้วเกลี้ยง อายุ 13 ปี
วันที่ถูกจับ
29 กันยายน พ.ศ.2538

ประัวิตอาชญกรรมก่อนหน้า[แก้]

วาด ขุนจันทร์เป็นชาวตำบลควนชะริส โดยเขาเคยถูกจับกุมในคดีกระทำผิดฐานบุกรุกและกระทำอนาจาร โดยถูกตัดสินจำคุก 2 ปี และถุกตัดสินจำคุก 2 เดือนฐานหลบหนีการควบคุม ก่อนจะพ้นโทษออกจากเรือนจำเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2538 หลังจากที่เขาพ้นโทษเขาได้ไปทำงานเป็นคนงานก่อสร้างที่หมู่บ้านจัดสรรในอำเภอหาดใหญ่ ทำให้เขารู้จักกับครอบครัวแก้วเกลี้ยง หลังจากที่เขาได้พบกับวันดี แก้วเกลี้ยวเขาก้รู้สึกชอบเธอจึงพยายามจีบ แต่เธอไม่ได้สนใจ ส่วนพ่อของเธอแสดงความรังเกียจวาด ทำให้เขาจึงเก็บความแค้นเอาไว้ ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2538 วาดได้บุกเข้าไปในบ้านของวันดีซึ่งเธอไม่สบายทำให้ต้องนอนอยู่บ้าน วาดจึงใช้มีดจี้วันดีและได้ข่มขืนเธอจนสำเร็จความใคร่ไป 2 ครั้ง และสั่งวันดีว่าเรื่องที่ข่มขืนไปบอกใครอย่างเด็ดขาด แต่วันดีไม่เชื่อวาดและได้นำเรื่องดังกล่าวบอกพ่อของเธอพร้อมกับแจ้งความ วาดจึงส่งจดหมายมาข่มขู่วันดีว่า"เตือนแล้วไม่เชื่อก็อย่าอยู่ร่วมโลกกันอีกเลย" และเขาก็หาโอกาสล้างแค้นครอบครัวของวันดี

การก่อเหตุ[แก้]

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2538 วาดได้วางแผนล้างแค้นครอบครัววันดีโดยการเผาให้หมดทั้งครอบครัว เขาจึงไปซื้อน้ำมันและเตรียมโซ่กับกุญแจเพื่อล็อกประตูห้อง หลังจากนั้นเขาได้ไปดื่มเหล้าเพื่อย้อมใจจนคนในครอบครัววันหลับทั้งหมด วาดจึงใช้กุญแจและโซ่ปิดทางออกก่อนจะใช้น้ำราดจนทั่วแล้วจุดไฟเผาก่อนจะหลบหนีไป หลังจากเกิดไฟไหม้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องใช้เวลาควบคุมเพลิงเป็นเวา 1 ชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่สามารถช่วยเหลือจำนงค์กับสายสุณีได้ แต่ไม่สามารถช่วยเหลือวันดีได้ หลังจากควบลคุมเพลิงได้พบว่าบ้านพักคนงานก่อสร้างถูกเผาไป 11 ห้องและพบศพของันดีในที่เกิดเหตุ จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทำให้ทราบชื่อผู้ก่อเหตุคืนวาด ขุนจันทร์

การจับกุม การพิจารณาคดีแและการประหารชีวิต[แก้]

วาดถูกจับกุมเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2538 โดยวาดได้ปฎิเสธทุกข้อกล่าวหาในชั้นสืบสวน ต่อมาศาลจังหวัดสงขลาได้ตัดสินประหารชีวิตวาด และเชื่อว่าวาดได้กระทำผิดจริงตามฟ้อง และมีพฤติการณ์ที่โหดเหี้ยมอำมหิต ตั้งใจที่จะฆ่าคนให้ตายอย่างทรมาน โดยการปิดล็อกประตูห้องซึ่งเป็นทางออก แล้วทำการจุดไฟเพื่อวางเพลิงเผาบ้านในขณะที่มีคนนอนหลับอยู่ข้างใน จนมีคนตายและบาดเจ็บสาหัส อีกทั้งยังได้เคยกระทำการข่มขืนผู้ตายอีก เมื่อผู้ตายแจ้งความเอาผิด ยังได้เคยกระทำการข่มขู่อาฆาตผู้ตาย โดยการเขียนจดหมายมาข่มขู่อีกด้วย และยังได้เคยก่อเหตุลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน จนถูกตัดสินลงโทษให้จำคุกมาแล้ว แต่เมื่อพ้นโทษออกมาได้ไม่นาน กลับมาก่อเหตุซ้ำขึ้นอีก แสดงว่าไม่มีความหลาบจำต่อโทษทัณฑ์ที่ได้รับ ไม่ยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง มีสันดานเป็นผู้ร้ายก่อเหตุซ้ำซ้อน เจตนาที่จะฆ่าได้แม้กระทั่งผู้หญิงและเด็กซึ่งไม่มีทางต่อสู้ เห็นควรให้ลงโทษขั้นสูงสุด คือประหารชีวิต ต่อมาวาดถูกศาลอุทธรณ์แต่เขาไม่ยื่นฎีกาประหารชีวิต เขาทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวก็ถูกยก

วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2542 เวลา 16.00น. วาดถูกเบิดตัวจากห้องขังในแดน 1 เพื่อนำตัวไปประหารชีวิต ในระหว่างการเบิกตัววาดมีอาการตัวสั่นและหน้าซีดพร้อมกับขอตัวไปเข้าห้องน้ำก่อน เมื่อนำตัววาดออกจากห้องขังเขามีอาการเข่าอ่อนทำให้ต้องพยุงตัวมายังหมวดผู้ช่วยเหลือ เพื่อตรวจสอบประวัติบุคคลและพิมพ์ลายนิ้วมือนักโทษ หลังจากที่เจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือเสร็จ เวรผู้ใหญ่ได้เข้ามาทำการอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นได้ให้ทำพินัยกรรมและเขียนจดหมายตามสะดวก เขาได้เขียนจดหมายมีใจความว่า “ลูกหมดเวรกรรมที่ได้ก่อมาแล้ว ขอฝากให้น้องๆช่วยกันดูแลพ่อแม่ด้วย” วาดได้ขออาหารมื้อสุดท้ายเป็นแกงไตปลากับข้าวเหนียวสังขยา เจ้าหน้าที่ราชฑัณฑ์คนหนึ่งซึ่งมาดูนักโทษประหารทั้งสามคนได้ยกกับข้าวมื้อเย็นซึ่งประกอบดด้วยแกงไตปลาและข้าวเหนียวสังขยา วาดจึงกล่าวขอบคุณและกินอาหารจนหมด โดยวาดได้กล่าวว่า “คนใต้อย่างผม แกงไตปลาถือว่าเป็นอาหารโปรดที่สุด ขอขอบคุณทุกคนมากครับ” วาดถูกประหารชีวิตเมื่อเวลา 17.05 น. โดยใช้กระสุนจำนวน 9 นัด เชาวเรศน์ จารุบุณย์เป็นเพชณฆาต หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวของเก้า ปั้นหยัด นักโทษปะหารในคดีฆ่าข่มขืนเด็กหญิงอายุ 10 ขวบ ที่จังหวัดนครปฐม เข้าสู่ห้องประหารเป็นคนที่ 2 หลังจากนั้นประหารชีวิตเก้าได้นำตัวของอุทัย กัญชนะกาญจน์ มือปืนรับจ้าง มาประหารชีวิตเป็นคนสุดท้าย

ก่อนหน้า
เดชา สุวรรณสุก
บุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย
วาด ขุนจันทร์ , เก้า ปั้นหยัด และ อุทัย กัญชนะกาญน์
ถัดไป
นพดล แขกเต้า

อุทัย กัญชนะกาญจน์[แก้]

อุทัย กัญชนะกาญจน์
เกิดพ.ศ. 2504
ป. จังหวัดนครศรีธรรมราช
เสียชีวิต19 กรกฎาคม พ.ศ.2542 (อายุ 38 ปี)
เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการยิง
ชื่ออื่นชื่อ:อนุรักษ์,ทัย
สกุล:กัญชนะกาญจน์,กัญจนกาญจน์
อาชีพมือปืนรับจ้าง
สถานะทางคดีถูกประหารชีวิต
ข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา (2525)
ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (2 กระทง) (2535)
บทลงโทษไม่ทราบลดโทษเหลือจำคุกน้อยกว่า 7 ปี (ติดจริง 7 ปี) (2525)
ประหารชีวิต (2535)
รายละเอียด
ผู้เสียหาย5 (ถูกพิจารณาคดี)
8+ (รวมคดีที่ถูกอายัดไว้)
50+ (กล่าวอ้าง)
ระยะเวลาอาชญากรรม
ประมาณพ.ศ. 2520–20 พฤษภาคม พ.ศ.2535
ประเทศประเทศไทย
รัฐจังหวัดนครศรีธรรมราช (ถูกตัดสิน)
จังหวัดระนอง (ถูกตัดสิน)
ตำแหน่งภาคใต้ของประเทศไทย
อาวุธปืน
วันที่ถูกจับ
20 พฤษภาคม พ.ศ.2535 (เป็นครั้งสุดท้าย)

อุทัย กัญชนะกาญจน์ เป็นมือปืนรับจ้างและผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนที่ 286 ของประเทศไทยด้วยการยิงเป้า ในความผิดฐานจากยิงนายเอียด พรหมนุชจนเสียชีวิต ที่อำเภอกระบุรี เมื่อวันที่20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และถูกศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตในคดีฆาตกรรมในพื้นที่สถานีภูธรราชกรูด อำเภอเมืองระนอง แต่เขาถูกยกฎีกาและประหารชีวิตจากคดีฆาตกรรมที่อำเภอกระบุรี โดยเขายังมีคดีฆาตกรรมที่ถูกอายัดเอาไว้แล้วยังไม่ได้ฟ้องอีกอย่างน้อย 3 คดี ก่อนการประหารชีวิตเขายังอ้างว่าเขาฆ่ามาคนมาอย่างน้อย 50 ศพ

ประวัติ[แก้]

ในช่วงวัยรุ่นอุทัยได้มีเรื่องกับกลุ่มวัยรุ่น และเขาได้ก่อเหตุฆาตกรรมวัยรุ่นคนหนึ่งระหว่างการทะเลาะวิวาท เขาจึงหนีการจับกุมของตำรวจไปอยู่กับผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งผู้ใหญ่คนดังกล่าวให้ความช่วยเหลือเขามาโดยตลอด เนื่องจากผู้ใหญ่คนดังกล่าวมีศัตรูมาก เขาจึงรับงานฆ่าเพื่อตอบแทนบุญคุณ ในบางครั้งผู้ใหญ่ได้มอบหมายงานนอกให้ทำ ซึ่งเขาได้ทำงานฆ๋าสำเร็จทำครั้งโดยไม่เคยพลาดเลย จนกระทั่งเขามือชื่อเสียงโด่งดังในวงการมือปืน ต่อมาผู้ใหญ่คนดังกล่าวถูกยิงเสียชีวิตทำให้เขาไร้ที่พึ่งพิงและถูกตำรวจับกุมในปีพ.ศ.2525 ก่อนจะถูกศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชตัดสินในคดีฆ่าคนตาย 3 คดี และพ้นโทษออกจากเรือนจำเมื่อ 25 ตุลาคม พ.ศ.2532 หลังจากพ้นโทษเขาได้ไปทำงานให้ซุ้มมือปืนชื่อดังในภาคใต้ และรับงานฆ่าคนหลายคนโดยในบางครั้งได้รับค่าจ้างสูงถึง 1 ล้านบาท และยังมีหมายจับในคดีฆาตกรรมที่ตำบลราชกรูด

เหตุฆาตกรรมเอียด พรหมนุช[แก้]

วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้มีรถกระบะยี่ห้อนิสสันสีดำจอดรอเอียด พรหมนุชที่ร้านกาแฟในตลาดทับหลี ได้มีชายคนหนึ่งเข้ามานั่งรอเอียดในร้านกาแฟ เมื่อเอียดเดินทางมาถึง ชายคนดังกล่าวจึงทำท่าคล้ายจะชักอาวุธออกจากหน้าท้อง ส่งผลให้ให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งเห็นความผิดปกติจึงได้วิทยุขอกำลังมาตรวจสอบชายคนดังกล่าว แต่ชายคนดังกล่าวไหวตัวทันและหลบหนีขึ้นรถไป วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ระหว่างที่เอียดกำลังขับรถจักรยานยนต์ถนนเพชรเกษม ที่อำเภอกระบุรี ได้มีชาย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายขับรถเข้าประกบรถของเอียด ก่อนที่ชายคนซ้อนท้ายจะใช้ปืนจ่อยิงเอียดจนเสียชีวิต แล้วขับรถจักรยานยนต์ออกจากจากที่เกิดเหตุ ก่อนจะเปลี่ยนไปขับรถกระบะยี่ห้อนิสสันสีดำซึ่งไม่ติดทะเบียนหลบหนีไป ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถหยุดรถกระบะคันดังกล่าวที่ถนนเพชรเกษมขณะมุ่งหน้าไปยังจังหวัดชุมพร โดยพบแผ่นทะเบียนซ่อนอยู่ใต้ที่นั่งและอุทัย กัญชนะกาญน์ กับนายศรีพัฒน์ กัญชนะกาญน์ อยู่บนรถยนต์ ซึ่งเขากับศรีพัฒน์ได้ปฎิเสธว่าไม่มีส่วนร่วมกับการฆาตกรรม ก่อนนำนำตัวของทั้งสองไปยังสถานีตำรวจและนำพยานมาชี้ตัว จากการสอบสวนทราบว่าเอียดมีหน้าที่ดูแลบ่อนการพนันในประเทศพม่าให้นายแก้ว ข้าราชการอำเภอกระบุรี ต่อมานายสุขสวัสดิ์ ข้าราชการของอำเภอกระบุรีอีกคน ได้เปิดบ่อนการพนันขึ้นในประเทศพม่าเช่นกัน แต่สู้บ่อนที่เอียดดูแลอยู่ไม่ได้ จึงขอร้องในายประเทืองบอกนายแก้วให้ปิดบ่อนการพนัน เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาเล่นที่บ่อนแห่งใหม่ แต่ก็นายแก้วถูกปฎิเสธ

การพิจารณาคดีและการประหารชีวิต[แก้]

ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องศรีพัฒน์และอุทัยในคดีฆาตกรรมเอียด และทั้งคู่ยังคงถูกฝากขังที่เรือนจำจังหวัดระนอง ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดระนองได้ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้พิพากษาประหารชีวิตอุทัย ส่วนศรีพัฒน์พิพากษษยืนยกฟ้อง และย้ายตัวอุทัยจากเรือนจำจังหวัดระนองไปเรือนจำกลางบางขวาง เขาจึงยื่นฎีกา แต่ศาลฏีกาพิพากษายืนประหารชีวิต ส่วนคดีฆาตกรรมในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรราชกรูดเขาถูกตัดสินประหารชีวิตแต่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ ส่วนคดีอื่นๆถูกอายัดไว้ไม่ได้ฟ้อง เขาจึงทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวก็ถูกยก

วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2542 เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้เบิกตัวของอุทัย, เก้า ปั้นหยัด นักโทษประหารในคดีฆ่าข่มขืนเด็กหญิงอายุ 10 ขวบ ที่จังหวัดนครปฐม และ วาด ขุนจันทร์ ในคดีวางเพลิงบ้านพักคนงานก่อสร้างที่จังหวัดสงขลา เพื่อล้างแค้นเนื่องจากผู้เสียหายนำเรื่องที่ถูกข่มขืนไปแจ้งความ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บสาหัส 2 คน ระหว่างการเบิกตัวอุทัยได้มีสีหน้ายิ้มแย้มและสามารถเดินได้ตามปกติ เมื่อนำตัวเขามาถึงหมวดผู้ช่วยเหลือเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือและตรวจสอบประวัติอาชญกรรม ระหว่างการพิมพ์ลายนิ้วมือได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจถามอุทัยว่า “คุณอุทัย คุณถูกตัดสินประหารชีวิตถึง 2 คดีเชียวหรือ แล้วรู้สึกว่าจะมีคดีอายัดอีกตั้งหลายคดี” อุทัยตอบว่า “ใช่ครับ ผมถูกตัดสินมาถึงสองประหาร แล้วยังมีคดีอายัดที่ยังไม่ได้ฟ้องอีก ถ้ารอให้ตัดสินหมดทุกคดี ผมคงจะมีถึง 5 หรือ 6 ประหารเป็นอย่างต่ำ ก็ผมเป็นมือปืนอาชีพนี่ครับ” เมื่อพี่เลี้ยงได้ถามเขาว่า “อุทัยเคยฆ่าคนมาแล้วกี่ศพพอจะจำได้ไหม” ้ เขาตอบว่า “เท่าที่ผมพอจะจำได้คิดว่าไม่ต่ำกว่า 50 ศพ บางคดีเรื่องก็เงียบไปเลย บางคดีตำรวจตามเต็มที่ ผมทำคดีดังๆมาเยอะ งานมันง่ายเงินก็ดี แค่เดินเข้าไปหาเหยื่อแล้วกดโป้งเข้าให้ เสร็จแล้วเก็บตัวสักพักรอเรื่องเงียบ ค่อยออกมาใช้เงินอย่างสบายใจ มือปืนอาชีพอย่างพวกผม ไปหลบอยู่ที่ไหนก็มีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือดูแลตลอดแหละครับ ถ้าไม่พลาดซะอย่างตำรวจทำอะไรไม่ได้ง่ายๆหรอกครับ”

เขาได้อ้างว่าเขาไม่ได้ก่อคดีฆ่าเอียด แต่ก่อคดีฆาตกรรมที่ตำบลราชกรูด ซึ่งในระหว่างเกิดเหตุเขาอยู๋บริเวณจังหวัดระนอง โดยเขาไปรับงานยิงคนอีกคนแต่ยังไม่ได้ก่อเหตุ เมื่อเกิดเหตุพยานได้บอกรูปพรรณสัณฐานของมือปืนให้ตำรวจฟัง ทำให้ตำรวจคิดว่าเป็นเขาเพราะคนร้ายที่ฆ่าเอียดมีรูปร่างคล้ายกับเขา และสามารถจับตัวเขากับศรีพัฒน์ทั้งที่บนรถไม่มีหลักฐาน เขากับศรีพัฒน์จึงปฎิเสธข้อกล่าวหาไป ส่วนคนที่ฆาตกรรมเอียดถูกตัดสินขำคุกตลาดชีวิตจากคดีที่ไม่ได้ก่อ และถูกคุมขังที่แดน 2 ของเรือนจำกลางบางขวาง อทุยได้กล่าวเสริมว่า"แต่ถ้ามาเปรียบเทียบดูแล้ว ระหว่างชีวิตคนที่ผมฆ่าตั้ง 50 กว่าศพ ส่วนผมแค่ชีวิตเดียวเท่านั้น ผมว่าผมคุ้มมากๆ ผมตายแค่ครั้งเดียวเท่านั้นจะกลัวอะไร ถ้าคดีนี้ไม่ประหารผม คดีอื่นก็ต้องประหารผมอยู่ดีแหละครับ"

พี่เลี้ยงคนดังกล่าวจึงถามว่า “อุทัยฆ่าคนมามากขนาดนี้ไม่กลัวบาปกรรมบ้างหรือ” เขาหัวเราะแล้วตอบว่า “บาปหน้าตาเป็นยังไงหรือครับ ผมเองก็นับถือพุทธ แต่ผมไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์อะไรหรอกครับ คนตายไปแล้วก็เป็นอันสิ้นสุด ไม่มีใครย้อนกลับมาเกิดใหม่ได้หรอกครับ ที่จริงคนที่ผมฆ่าบางคน เลวยิ่งกว่าอะไรทั้งนั้น สิ่งไหนที่ผิดกฎหมายมันเอาหมด บางคนต่อหน้าทำตัวดูเป็นนักบุญ แต่เบื้องหลังมันค้าทั้งยา ค้าผู้หญิง บ่อนซ่องเป็นของมันหมด เวลาผมยิงกบาลมัน เห็นสมองมันกระจาย ผมรู้สึกสะใจดีพิลึกครับ เวลาตายมันก็นอนตายเหมือนหมา ไม่เห็นมันจะมีอะไรพิเศษกว่าคนอื่น ผมยังไม่เคยเห็นผีคนที่ผมฆ่ามาหาผมสักที ไม่มีหรอกครับเรื่องบาปกรรม คนเราสมมุติกันขึ้นมาเองมากกว่า ถ้าคนตายแล้วเกิดใหม่ได้ ป่านนี้คนล้นโลกไปแล้วละครับเชื่อผมเถอะ” หลังจากพิมพ์ลายนิ้วมือ เวรผู้ใหญ่ได้เข้ามาอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรีและให้เซ็นทราบในคำสั่งนั้นตามระเบียบ หลังจากนั้นให้ทำพินัยกรรมและเขียนจดหมาย เขาได้เขียนจดหมายถึงพ่อแม่โดยมีใจความว่า “เมื่อพ่อและแม่ได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ลูกได้จากโลกนี้ไปแล้ว ขอให้พ่อและแม่ดูแลตัวเองให้ดี ลูกขอลาก่อน ลูกทำผิดมามาก สมควรแล้วที่จะต้องมาถูกประหาร ขอให้พ่อและแม่มาจัดการเรื่องศพของลูกด้วย” หลังจากเขียนจดหมาย เขาปฎิเสธอาหารมื้อสุดท้ายและดื่มน้ำเย็นเท่านั้น ถัดจากนั้นจึงนำทั้งหมดไปฟังเทศนาธรรมจากพระสงฆ์ทุกคนได้ตั้งใจฟังอย่างสงบ หลังจากนั้นได้นำตัววาดไปประหารชีวิตก่อน แล้วนำตัวเก้าไปประหารชีวิตต่อเป็นคนที่ 2 ก่อนจะนำตัวของเขามาประหารชีวิตเป็นคนสุดท้าย

ในระหว่างที่ผูกมัดอุทัยกับหลักประหารอุทัยได้พูดกับอรรถยุทธ พวงสุวรรณ ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงนักโทษประหารว่าว่า “ช่วยเร่งให้เสร็จเร็วๆหน่อยเถอะครับ จะได้ตายให้สิ้นเรื่องสิ้นราวไปสักที” อรรถยุทธตอบว่า “นึกถึงพระไว้นะอุทัย” เขาพูดว่า “ครับหัวหน้า ผมแค่ชีวิตเดียวเท่านั้น คุ้มเหลือเกินครับ” อุทัยถูกประารีชวิตเมื่อเวลา 18.23 น. ใช้กระสุนจำนวน 8 นัด โดยเพชรฆาตเชาวเรศน์ จารุบุณย์ และเป็นบุคคลที่ 287 ที่ถูกประหารชีวิตโดยประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478

ก่อนหน้า
เดชา สุวรรณสุก
บุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย
วาด ขุนจันทร์ , เก้า ปั้นหยัด และ อุทัย กัญชนะกาญน์
ถัดไป
นพดล แขกเต้า

อาหารมื้อสุดท้ายของนักโทษในไทย[แก้]

ชื่อ อาชญกรรม ศาล ปี วิธีการประหารชีวิต อาหารมื้อสุดท้าย
ฉลาด หิรัญศิริ บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน,ร่วมกันเป็นตัวการสำคัญในการสะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อเป็นกบฎ, ฆ่าเจ้าพนักงานโดยทารุณโหดร้าย ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี 2520 ยิงเป้า น้ำส้ม 1 ขวด

คำพูดก่อนประหาร[แก้]

ชื่อ อาชญกรรม ศาล ปี วิธีการประหารชีวิต คำพูด
ณ เณร ตาละลักษมณ์ กบฎ ศาลพิเศษ 2482 ยิงเป้า เมื่อยเต็มที เมื่อไหร่จะยิง
ครอง จันดาวงศ์ บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ประหารตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี(สกลนคร) 2504 ยิงเป้าเป็นชุด ของผมยังดีอยู่ จะยิงก็ยิงเร็วๆ เถอะ
ฉลาด หิรัญศิริ บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน,ร่วมกันเป็นตัวการสำคัญในการสะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อเป็นกบฎ, ฆ่าเจ้าพนักงานโดยทารุณโหดร้าย ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี 2520 ยิงเป้า ถ้าพร้อมแล้วบอกนะ
กิ่งแก้ว ลอสูงเนิน ลักพาตัวเด็กเพื่อเรียกค่าไถ่, ฆ่าคนตายโดยเจตนา ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี 2522 ยิงเป้า หาหมอ หาหมอ
สมศักดิ์ พรนารายณ์ ฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน,ข่มขืนกระทำชำเรา เลย 2542 ยิงเป้า ครับหัวหน้า
สำรวย โตสุข ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย สิงห์บุรี 2542 ยิงเป้า ทำไมผูกแน่นจังเลย ผมจะหายใจไม่ออกแล้ว
เดชา สุวรรณสุก ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปีจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายหรือทรมาน มีนบุรี 2542 ยิงเป้า ผมขออโหสิกรรมให้ทุกคน รวมทั้งตำรวจที่มาจับกุมผมด้วย ผมไม่ขอมีเวรกรรมกับใครอีก แต่ผมขอยืนยันครั้งสุดท้ายว่าไม่ได้ทำน้องนุ่น
วาด ขุนจันทร์ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปีจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายหรือทรมาน สงขลา 2542 ยิงเป้า ผมกลัวจังเลยครับหัวหน้า อย่าให้ผมต้องทรมานนะครับ
อุทัย กัญชนะกาญจน์ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ระนอง 2542 ยิงเป้า ครับหัวหน้า ผมแค่ชีวิตเดียวเท่านั้น คุ้มเหลือเกินครับ
นพดล แขกเต้า ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน สุราษฎร์ธานี 2542 ยิงเป้า หัวหน้าต้องโทรให้ได้ภายในวันนี้นะครับ บอกด้วยว่าผมคิดถึงบ้านคิดถึงทุกคนผมอยากกลับบ้าน อย่าลืมมารับผมกลับบ้านด้วย หลังจากที่ถูกยิงชุดแรกนพดลไม่เสียชีวิตจากการยิงชุดแรกและส่งเสียงร้อง
สุรศักดิ์ ยิคซัง ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้, ชิงทรัพย์จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย กาญจนบุรี 2542 ยิงเป้า โอย โอย ปวดเหลือเกิน โอย (สุรศักดิ์หลังจากถูกยิงชุดแรกซึ่งเขาต้องยิงถึง 3 ชุดจึงจะเสียชีวิต)
สมพร เชยชื่นจิตร ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตรัง 2542 ยิงเป้า ต้องขอโทษหัวหน้าด้วยครับที่ต้องช่วยกันหิ้วปีกผมมา ผมพยายามทำใจให้เข้มแข็งแล้ว แต่จู่ๆขาของผมมันอ่อนทรุดลงไปเอง รีบๆยิงผมเถอะครับ ผมเสียวเหลือเกิน เอาให้ตายทันทีเลยนะครับ ผมไม่อยากทรมาน ผมขออโหสิกรรมให้หัวหน้าทุกคนครับ
สมัย ปานอินทร์ ผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย อาญากรุงเทพ 2542 ยิงเป้า จะให้ท่องในใจใช่ไหม ได้ตกลง
ประยุทธ์ ผลพันธ์ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พัทลุง 2542 ยิงเป้า ปอยโว้ย ผู้หญิงได้ไปรอเราอยู่แล้ว เราตาม…
ตะปอยโฮ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ สีคิ้ว 2542 ยิงเป้า ขอให้หัวหน้าโชคดีมีเงินมากๆผมขอลาก่อน
ลี ยวน กวง ร่วมกันครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป อาญากรุงเทพ 2544 ยิงเป้า ผงซี้เลี้ยวทังบุงให้ล่วย
บุญเกิด จิตปราณี อาญากรุงเทพ 2544 ยิงเป้า เฮียเขาไปแล้วใช่ไหมครับ
วิเชียร แสนมหายักษ์ นำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย และครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป เชียงราย 2544 ยิงเป้า ทำไมนานเหลือเกิน ผมเสียวหลังจนไม่รู้ว่าจะเสียวยังไงแล้ว จะฆ่าจะแกงก็รีบๆทำเถอะ มันทรมานจิตใจผมเหลือเกิน
รอมาลี ตาเย๊ะ จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน นราธิวาส 2544 ยิงเป้า ขอโทษทีเพื่อนที่ให้รอ ผมละหมาดนานไปหน่อย
โปร่ง เกตุศิริ ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป อาญากรุงเทพ 2544 ยิงเป้า ครับหัวหน้า ผมขออโหสิกรรมให้กับทุกคน ผมขอลาก่อนนะครับ
อำไพ ไสโพธิ์ กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย, พรากผู้เยาวน์เพื่อการอนาจาร และฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน บุรีรัมย์ 2544 ยิงเป้า หัวหน้าครับ ฝากเตือนคนทั่วไปด้วยนะครับ เหล้ายาเป็นสิ่งไม่ดี เป็นต้นเหตุของความผิดหลายๆอย่าง ถ้าใครเลิกได้ก็ขอให้เลิกซะ แต่ถ้าเลิกไม่ได้ ก็ขอให้กินอย่างมีสติ อย่าให้เหมือนอย่างผมเลยนะครับ
สุรกิจ ลิ้มเจริญวงศ์ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน, ทำลายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย, กักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และร่วมกันปล้นทรัพย์โดยผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย สีคิ้ว 2545 ยิงเป้า กลัวแล้ว อย่ายิงผมเลยครับ ผมกลัวแล้ว อย่ายิ…
จาย ส่างออ ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป อาญากรุงเทพ 2545 ยิงเป้า หยุดร้องได้หรือยังวะ จะตายกันอยู่แล้วยังจะร้องอยู่ได้ เสียสมาธิหมด มันก็กลัวกันทุกคนแหละวะ จะร้องไปทำไม
กุลชนก อินเทศราช 2545 ยิงเป้า ป่านนี้ไอ้จายมันไปรอเราอยู่แล้ว พวกเราตามมันไปเป็นเพื่อนกันเถอะวะ
เนตรน้อย ส่างคิด 2545 ยิงเป้า ตกลง
คง สุเพือน กักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายเพื่อให้ได้ค่าไถ่จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย สุรินทร์ 2545 ยิงเป้า ที่เหนอะหนะอยู่นี่คือเลือดพี่ชาติใช่ไหมครับ
จิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย อาญากรุงเทพ 2552 ฉีดสารพิษ เฮียครับ ผมลาก่อน ผมขออโหสิกรรมให้เฮีย และขอให้เฮียอโหสิกรรมให้ผมด้วย เราจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อกันอีกต่อไปนะเฮีย

บทความที่น่าจะโดดเด่นพอ[แก้]

นั่นคือนักโทษคนสุดท้านที่ถูกยิงเป้าซึ่งผมจะเขียนภายในสัปดาห์นี้คดีของสุดใจมีความน่าสนใจหลายขั้นตอน ซึ่งอตนนี่้มีคำพิพกาษาคดีและข้อมูลจากหนังสือของเชาว์เรศน์ จารุบุศย์ ซึ่งจะเขียนได้ในเร็วๆนี้ ส่วนสุพจน์ เพ็งคล้าย ตำรวจสถานีตำรวจป่าพยอม ที่ยิงชายคนหนึ่งจนเสียชีวิต และ 2 คนได้รับบาดเจ็บ ก่อนจะหลบหนีไปเป็นเวลา 1 เดือน ก่อนจะขว้างะเบิดมือใส่ตำรวจจนได้รับบาดเจ็บหลายราย ตอนนี้คดียังอยู่ระหว่างหาข้อมูล ซึ่งจะเขียนร่างในทดลองเขียนเพราะอ้างอิงมีแค่ของแอมเนสตี้เท่านั้น กับหนังสือพิมพ์ในงานวิจัยโทษประหาร ซึ่งยืนยันได้อีกขั้นว่าข้อมูลคดีจากแอมเนสตี้น่าจะถูกโดยมีคำพิพากษษคดีอยู่ แต่สุพจน์ไม่น่ามีข้อมู,มากพอจะเขียนในบทความ แต่สุดใจชนะน่าจัะเป็นบทความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2527[แก้]

คดีของสน่ัน อำกอง จำเลยจะข่มขืนกระทำชำเรา น. เด็กหญิงอายุ 13 ปีน. ไม่ยอม จำเลยฟัน น. ถึง 8 แผล ส. น้องชาย อายุ 11 ปีเข้าช่วย จำเลยฟัน ส. 4 แผล ซึ่งแต่ละแผลถูกอวัยวะสำคัญเช่น คอ ศีรษะ คอเกือบขาด แม้ ส. จะร้องว่ากลัวแล้วไหว้แล้ว จำเลยก็ไม่หยุดยั้งดังนี้ จำเลยกระทำโดยเจตนาฆ่าด้วยจิตใจอำมหิต ขาดความเมตตาเท่านั้นมิใช่เป็นการกระทำทารุณโหดร้ายต่อผู้ตายทั้งสองตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5) คงมีความผิดตาม มาตรา 288 โจทก์ - พนักงานอัยการจังหวัดชุมพร สืบค้นจากเว็บไซค์ศาลฎีกาโดยใช้ำค้นหาว่าสนั่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2509[แก้]

น้อย แหลมไธสงและผู้ก่อเหตุร่วม 3 คน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเองเป็นผู้ใช้มีดเชือดคอเด็กหญิงอายุ 5 ขวบถึงแก่ความตาย และจำเลยยังร่วมกับจำเลยอื่นกระทืบเด็กชายอายุ 8 เดือน ทั้งได้ใช้ผ้าอุดจมูกจนหายใจไม่ออกตาย นอกจากนี้ยังใช้ยาพิษกรอกปากกับใช้มีดเชือดคอมารดาของเด็กทั้งสองผู้ตายจนหลอดเสียงขาด เพื่อจะฆ่าให้ตายด้วย การกระทำของจำเลยดังกล่าวนี้จึงถือได้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2526[แก้]

นายประเสริฐหรือหมัน ฉิมเจริญ จำเลยสมัครใจดื่มสุราเองและขณะกระทำความผิดก็มีความรู้ผิดชอบเป็นอย่างดีจะอ้างว่าได้กระทำความผิดไปด้วยความไร้สติ ไม่รู้ผิดรู้ชอบและไม่สามารถบังคับตนเองได้อันเนื่องมาจากจำเลยดื่มสุรา เป็นข้ออ้างให้ศาลลดหย่อนผ่อนโทษหาได้ไม่

หลังจากผู้ตายร้องให้ช่วยประมาณ 5 นาทีเศษ ว. กับพวกได้ไปยังที่เกิดเหตุพบรอยหญ้าราบจากไหล่ถนนลงไปในคูน้ำ มีจำเลยซ่อนอยู่ใต้ผิวน้ำ และต่อมาได้พบศพผู้ตายอยู่ห่างจากที่จำเลยซ่อนตัวอยู่ประมาณ 1 ศอกที่ตัวผู้ตายและตัวจำเลยมีบาดแผล แสดงว่าผู้ตายต่อสู้ขัดขวางจำเลย เมื่อตรวจศพผู้ตายหลังจากเกิดเหตุประมาณ 7 ชั่วโมงเศษก็พบน้ำอสุจิและตัวอสุจิในช่องคลอดผู้ตายจำนวนมาก สาเหตุที่ตายเพราะขาดอากาศเนื่องจากถูกบีบคอและสำลักน้ำ ข้อเท็จจริงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายและฆ่าผู้ตายโดยวิธีกดให้จมน้ำจนสำลักน้ำตายเพื่อปกปิดความผิดของจำเลย โดยไม่จำเป็นต้องนำคำรับสารภาพของจำเลยมาประกอบการพิจารณา ดังนั้น การที่จำเลยให้การรับสารภาพจึงหาเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอันจะเป็นเหตุให้ได้รับการบรรเทาโทษไม่ เพราะจำเลยให้การรับสารภาพโดยจำนนต่อพยานหลักฐาน

การกระทำความผิดครั้งแรกมิใช่เหตุบรรเทาโทษที่จะลดโทษได้

เกริ่น[แก้]

ในปีพ.ศ. 2477 ได้มีการแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการตัดศีรษะเป็นการยิงด้วยปืน และเปลี่ยนผู้มีอำนาจการสั่งโทษจากพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่[note 1] โดยประกาศใช้กฎหมายนั้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2478[1] ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาในปี พ.ศ. 2499 ยังคงให้ใช้การยิงด้วยปืนเป็นวิธีการประหารชีวิต[2] ปืนที่ใช้ในการประหารชีวิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2520 คือเอ็มเพ 18 หรือ เบิร์กมันน์ เอ็มเพ 18 ซึ่งใช้ในการประหารชีวิตสิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2478 หลังจากการประหารชีวิตปังจอง แซ่อึ้ง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ได้มีการเปลี่ยนปืนกลมือจากเบิร์กมันน์เป็นเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ 5 หรือ ปืนกลมือเอ็มพี 5 เอสดี 3 และใช้เป็นครั้งแรกในการประหารชีวิตปลั่ง ยิ่งสกุล กับ วิเชียร อ่างแก้ว ในอีก 23 วันถัดมา และเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ 5ถูกใช้จนกระทั่งการประหารชีวิตสุดใจ ชนะซึ่งเป็นบุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า[3][4]

หลังจากการประหารชีวิตสมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และ สุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ในความผิดฐานฆาตกรรม ประเทศไทยได้ไม่มีการประหารชีวิตเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ก่อนจะกลับมาประหารชีวิตใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นการประหารชีวิตพรหมมาศ หรือจุน เลื่อมใส เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539[5][6] และมีการประหารชีวิตอีก 42 ครั้งหลังจากพรหมาศ ในปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้มีการเสนอแก้พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546 โดยแก้ไขมาตรา 19 ว่า " ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย"ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายน 2546 โดยเป็นการเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงเป้าเป็นการฉีดสารพิษ[7]

รายชื่อบุคคลที่ถูกยิงเป้าตั้งแต่ปีพ.ศ.2478 - พ.ศ 2520[แก้]

นี่คือรายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตโดยเพชณฆาตของกรมราชทัณฑ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 - พ.ศ.2530 โดยไม่รวมถึงการประหารชีวิตนอกเรือนจำโดยเพชณฆาตซึ่งเป็นตำรวจหรือทหาร หลังจากการแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ว่าด้วยการประหารชึวิตจากการ "ให้เอาไปตัดศีรษะเสีย" เป็น "ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย" ในปี พ.ศ. 2477 ซึ่งรายชื่อดังกล่าวถูกรวบรวมตามข้อมูลที่บันทึกไว้โดยเรือนจำกลางบางขวางและเผยแพร่ผ่านทางเฟสบุ๊ค แฟนคลับยุทธ บางขวาง เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 โดยอรรถยุทธ พวงสุวรรณ อดีตเจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญงาน เรือนจำกลางบางขวาง และเป็นอดีตพี่เลี้ยงนักโทษประหาร

ลำดับที่ ชื่อ อายุ เพศ วันที่ถูกประหารชีวิต ศาล/คำสั่งนายกรัฐมนตรี ความผิดฐาน เพชณฆาต นายกรัฐมนตรี
1 สวัสดิ์ มะหะหมัด[note 2][8][9] - ชาย 11 กันยายน พ.ศ 2478[10][11] ศาลพิเศษ ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล ทิพย์ มียศ พระยาพหลพลพยุหเสนา
2 เขียน บุญกันสอน[12] 40 ชาย 12 กรกฎาคม พ.ศ 2480[note 3] พิษณุโลก สมคบคิดกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
3 เคลิ้ม น้ำทอง - ชาย 27 กันยายน พ.ศ 2481 อ่างทอง ฆ่าคนด้วยกระทำทรมาน หรือแสดงความดุร้ายทำแก่ผู้ตายให้ได้ความลำบากอย่างสาหัส
4 คูณ นกอิน 41 ชาย 16 ธันวาคม พ.ศ 2481 สุโขทัย ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย
5 เขียว จ้อยขำ 32 ชาย 7 มกราคม พ.ศ 2481[note 4] นครนายก ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น แปลก พิบูลสงคราม
6 นิตย์ อินสมุทร์ - ชาย 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2481[note 4] สมุทรปราการ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
7 สมบุญ พรรณขาม 41 ชาย 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 ราชบุรี ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย,ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, วางเพลิงและเผาเคหะสถาน เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
8 เจียม ใจเลิศ 26 ชาย สุพรรณบุรี ร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น ทิพย์ มียศ
9 จอม ใจเลิศ 24 ชาย
10 เบี่ยง สังข์พันธ์เคราะห์ 27 ชาย เพชรบุรี ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
11 หับ พัดริน - ชาย 29 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 สุราษฎร์ธานี ฆ่าคนตายโดยเจตนา ทิพย์ มียศ
12 พุด วงษ์เจริญ 37 ชาย ชลบุรี ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเพื่อจะเอาผลประโยชน์และสะดวกในการปล้น เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
13 ชม พึ่งยนต์ 31 ชาย นครนายก ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย
14 ปาน จุนทอง 36 ชาย พัทลุง ฆ่าคนตายโดยเจตนา
15 พระสุวรรณชิต (วร กังสวร) - ชาย 30 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 ศาลพิเศษ สมคบกันกระทำการประทุษร้ายเพื่อจะทำลายรัฐบาล[13] ทิพย์ มียศ
16 เผ่าพงษ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
17 ผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - ชาย ทิพย์ มียศ
18 บุญมาก ฤทธิสิงห์ - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง


19 ขุนคลี่พลพฤณฑ์ (คลี่ สุนทรารชุน) - ชาย 1 ธันวาคม พ.ศ 2482 ทิพย์ มียศ
20 แม้น เลิศนาวี - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
21 หลวงมหิทธิโยธี (สุ้ย ยุกตวิสาร) - ชาย ทิพย์ มียศ
22 พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธ์ประภาส) - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
23 แสง วัณณะศิริ - ชาย 2 ธันวาคม พ.ศ 2482 ทิพย์ มียศ
24 ขุนไววิทยาศร (เสงี่ยม ไวยวิทย์) - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
25 ขุนนามนฤนาท (นาม ประดิษฐานนท์) - ชาย ทิพย์ มียศ
26 จรัส สุนทรภักดี - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
27 สัย เกษจินดา - ชาย 3 ธันวาคม พ.ศ 2482 ทิพย์ มียศ
28 ทง ช่างชาญกล - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
29 เสริม พุ่มทอง - ชาย
30 พวง พลนาวี - ชาย ทิพย์ มียศ
31 ณเณร ตาละลักษณ์ - ชาย ทิพย์ มียศ[note 5]
32 ลี บุญตา - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
33 หยุง ซิมแซ 34 ชาย 5 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] กาญจนบุรี ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย ทิพย์ มียศ
34 มิ่ง อิ่มอ้น 41 ชาย สุโขทัย ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
35 หง แซ่เซียว 26 ชาย กาญจนบุรี ฆ่าคนตายโดยเจตนา ทิพย์ มียศ
36 มัด ศรีมัย - ชาย 6 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] อุตรดิตถ์ ฆ่าคนตายโดยเจตนา
37 ค่ำ สระทองสังข์ 47 ชาย นครปฐม ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
38 ผาย อุทัยวรรณ 36 ชาย พิจิตร ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา ทิพย์ มียศ
39 ยัง เม่นรักษ์ 48 ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
40 นงค์ ขันอาษา 28 ชาย ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาและฉุดคร่าเพื่อทำอนาจาร ทิพย์ มียศ
41 เทียบ เขียวไปรเวศ 28 ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
42 เหลา โกฏละออง 33 ชาย 8 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] สวรรคโลก ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย ทิพย์ มียศ
43 กราน ใจแน่ 37 ชาย พิษณุโลก ฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
44 แคล้ว สังข์ลอย 31 ชาย ราชบุรี ร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น ทิพย์ มียศ
45 เถา อารมย์ดี 31 ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
46 ใบ เพ็ชร์นิลบุตร์ 43 ชาย ทิพย์ มียศ
47 นวม ขันอาษา 31 ชาย ประจวบคีรีขันธ์ ฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
48 สังข์ สว่างใจ 33 ชาย 10 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] ธนบุรี ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย ทิพย์ มียศ
49 ใช้ วะตัญญู 40 ชาย ราชบุรี ฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
50 จันทา สายทัน 29 ชาย อุบลราชธานี ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย และด้วยกระทำทรมาน หรือแสดงความดุร้ายทำแก่ผู้ตายให้ได้ความลำบากอย่างสาหัส ทิพย์ มียศ
51 ชั้น น้ำจันทร์ 26 ชาย ชัยนาท ฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
52 วัน มายัง 31 ชาย พิจิตร สมคบคิดกันปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น ทิพย์ มียศ
53 สวัสดิ์ ชูนาม 28 ชาย ราชบุรี ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมายและลักทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปด้วย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
54 อันตรา คาน 29 ชาย 15 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] พิษณุโลก ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา ทิพย์ มียศ
55 หลวงทิพอักษร (ทิพ รัตตะพันธ์) - ชาย 22 มกราคม พ.ศ. 2484 ศาลพิเศษ กบฏภายนอกราชอาณาจักร
56 ทอง สุทธิโสภา - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
57 เจริญ แซ่ลี้ - ชาย 3 มีนาคม พ.ศ. 2484 กบฏภายนอกราชอาณาจักร ทิพย์ มียศ
58 งาม ใยบัวเทศ 40 ชาย 7 มีนาคม พ.ศ. 2484 อาญากรุงเทพ ฆ่าคนตายโดยเจตนาและพยายามลักทรัพย์
59 มงคล อินสอน 25 ชาย สรรคโลก ฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
60 ไปล่ บุญเพ็ชร์ 48 ชาย สุโขทัย ร่วมกันฆ่าวางเพลิงและฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย ทิพย์ มียศ
61 ย้อย แสงอ่ำ 48 ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
62 ปัน ธรรมวงศ์ 40 ชาย ลำพูน ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมายเพื่อจะปกปิดการกระทำผิดและหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญา ทิพย์ มียศ
63 เม้า ดิษฐวงษ์ - ชาย 1 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ศาลพิเศษ กบฏภายนอกราชอาณาจักร
64 อิ๊ด เป้าจินดา 41 ชาย 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 นครปฐม ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดและปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์
65 ใย สนบำรุง 62 หญิง เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
66 มี เจนสาริกิจ 41 ชาย อุทัยธานี ฆ่าคนตายโดยเจตนา ทิพย์ มียศ
67 พุด สานะเสน - ชาย 14 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ศาลมลฑลทหารบกที่ 3[note 6] ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าเจ้าพนักงานผู้ประจำหน้าที่
68 สวัสดิ์ นิ่มละม่อม - ชาย 24 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ศาลมลฑลทหารบกที่ 5[note 6] ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อที่จะเอาผลประโยชน์อันเกิดแต่การกระทำผิดอย่างอื่นมาเป็นของมัน หรือเพื่อจะปกปิดการกระทำผิดอย่างอื่น หรือเพื่อจะหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิด
69 หมู มูนดา - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 4[note 6] ฆ่าบิดามารดา หรือฆ่าญาติที่สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
70 มี มินโสด - ชาย ศาลทหารกรุงเทพ[note 6] ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและฆ่าเจ้าพนักงานผู้ประจำหน้าที่ ทิพย์ มียศ
71 สนอง คชริทธิ์ - ชาย 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ศาลมลฑลทหารบกที่ 4[note 6] ฆ่าคนตายโดยเจตนา
72 ตุง แซ่หว่อง 28 ชาย 15 เมษายน พ.ศ. 2486 เลย ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมายและซ่อนเร้นศพ เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
73 อ่อน แดงกูล - ชาย กาญจนบุรี ปล้นทรัพย์, ฆ่าคนตายโดยเจตนา และพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน
74 กุลยา มันคาล - ชาย 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ปัตตานี ฆ่าคนตายโดยเจตนา
75 น้อย ลังกะวงส์ - ชาย 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ศาลทหารกรุงเทพ[note 6] ฆ่าคนตายโดยเจตนา
76 แอ๊ว ชูนาม[note 7] - ชาย 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 ฆ่าเจ้าพนักงาน
77 พัน จูจัน - ชาย ฆ่าเจ้าพนักงาน และหลบหนีที่คุมขัง ทิพย์ มียศ
78 โปร่ง สมบุญ - ชาย 12 กรกฎาคม พ.ศ 2486 ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมาย
79 ก๋อ สมบุญ - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
80 สอน กันสิริ - ชาย ทิพย์ มียศ
81 เปล่ง สมบุญ - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
82 หวน สานุสิส - ชาย 30 ตุลาคม พ.ศ 2486 ศาลมลฑลทหารบกที่4[note 6] ฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมายและละทิ้งเด็ก ทิพย์ มียศ
83 ผิน เจริญสุข - ชาย ศาลทหารกรุงเทพ[note 6] ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
84 แสง ปัญญาวุทโท หรือ สังวาล กสิรัต - ชาย 4 มกราคม พ.ศ 2487 ฆ่าคนตายโดยเจตนา
85 อุดม บุนนาค - ชาย 10 มีนาคม พ.ศ 2487 ฆ่าเจ้าพนักงาน
86 ฉาย ยิ้มสุข - ชาย 19 เมษายน พ.ศ 2487 ฆ่าคนตายโดยเจตนา
87 สุชิต เหล็งสิทธิ - ชาย 24 พฤษภาคม พ.ศ 2487 ฆ่าคนตายโดยเจตนา
88 แว่ว อำพันภูธร - ชาย 1 กรกฎาคม พ.ศ 2487 ฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมาย
89 กี่ โพธิ์สลัก - ชาย 1 พฤศจิกายน พ.ศ 2494 ตราด ฆ่าคนตายโดยเจตนา
90 จิตต์ ศิริสวัสดิ์ - ชาย สงขลา ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์
91 บุรี ศรีรอดบาง - ชาย
92 เฉลียว ปทุมรส 52 ชาย 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 อาญากรุงเทพ สมคบกันประทุษร้ายต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[14]
93 บุศย์ ปัทมศริน 55 ชาย
94 ชิต สิงหเสนี 50 ชาย
95 สิงห์ อินทนนท์ 26 ชาย 11 มิถุนายน พ.ศ. 2498 เชียงใหม่ ฆ่าคนตายโดยเจตนาและพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนา
96 ประถม อุบลอิ่มชัย - ชาย 31 สิงหาคม พ.ศ. 2499 บุรีรัมย์ ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา
97 ประยูร กกประโคน - ชาย
ไม่ถูกนับ ศุภชัย ศรีสติ[15] 34 ชาย 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 กระทำการร้ายเพื่อบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์, คุกคามความสงบภายในประเทศไทย ป. เพี้ยน คนแรงดี[note 8] สฤษดิ์ ธนะรัชต์
98 ซีอุย แซ่อึ้ง[16][17][18] 32 ชาย 16 กันยายน พ.ศ. 2502 ระยอง ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย เพี้ยน คนแรงดี
99 โฉม ฉิมมา - ชาย 30 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 ร่วมกันฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์
100 ใจ ฉิมมา - ชาย
101 เชื่อม เมฆอ่ำ - ชาย 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 ศาลมลฑลทหารบกที่ 4 ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ มุ่ย จุ้ยเจริญ
102 ดุ่ย ศุภรังษี - ชาย ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
103 ม้วน คล้ายสกุล - ชาย นครสวรรค์ ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น,ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพี้ยน คนแรงดี
104 กอง ผาวัน - ชาย อุบลราชธานี ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
105 บัน ใจกล้า - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่7 ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
106 อั้น แซ่พู่ - ชาย 19 สิงหาคม พ.ศ.2503 ระนอง เป็นโจรสลัดปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ มุ่ย จุ้ยเจริญ
107 เล็ก วิเชียรลักษณ์ - ชาย เพี้ยน คนแรงดี
108 สง ทองสองแก้ว - ชาย 11 ตุลาคม พ.ศ.2503 ศาลมลฑลทหารบกที่5 ฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ มุ่ย จุ้ยเจริญ
109 เลี้ยงฮ้อ แซ่เล้า[19] - ชาย 29 สิงหาคม พ.ศ.2504 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย
110 ลี อยู่พงษ์[note 9][20] - ชาย 31 ตุลาคม พ.ศ.2504 ศาลทหารกรุงเทพ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย เพี้ยน คนแรงดี
111 เฟือง มากศิริ - ชาย ปากพนัง ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน มุ่ย จุ้ยเจริญ
112 เฉลียง ไวทยาพิศาล - ชาย นราธิวาส ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพี้ยน คนแรงดี
113 ฟ้อน คำภินวม - ชาย 16 มีนาคม พ.ศ.2505 ศาลมลฑลทหารบกที่ 4 ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
114 อั้น องอาจ - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
115 อิน ชาญสูงเนิน - ชาย สวรรคโลก ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
116 ราม หริอ รวม วงศ์พันธ์[21][22][23] 40 ชาย 24 เมษายน พ.ศ.2505 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ มุ่ย จุ้ยเจริญ
117 สำเนียง ต้นแขม - ชาย 12 พฤษภาคม พ.ศ.2505[note 10] นครสวรรค์ ฆ่าผู้อื่นเพื่อเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน เพี้ยน คนแรงดี
118 ประเสริฐ โพธิ์ทอง - ชาย 10 กรกฎาคม พ.ศ.2505 ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดของตน
119 นุกูล ปานเทศ - ชาย 1 ตุลาคม พ.ศ.2505 นครศรีธรรมราช ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
120 สำลี ฤทธิ์รื่น - ชาย หล่มสัก ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย ,ฆ่าผู้อื่นเพื่อเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน เพี้ยน คนแรงดี
121 เขียว ทาคำมา - ชาย เชียงราย ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น มุ่ย จุ้ยเจริญ
122 เจือ กาญจนรักษ์ - ชาย ฉะเชิงเทรา ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ เพี้ยน คนแรงดี
123 แอ๊ว คำสัตย์ - ชาย 26 ธันวาคม พ.ศ.2505 ศาลมลฑลทหารบกที่ 4 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น มุ่ย จุ้ยเจริญ
124 บุญยืน แสงชมพู - ชาย 9 เมษายน พ.ศ. 2506 เชียงใหม่ มีวัตถุระเบิดสําหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม และฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา[note 11] เพี้ยน คนแรงดี
125 ปัญญา หงส์ป้อง - ชาย กบินทร์บุรี พาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ หรือใช้กำลังประทุษร้าย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา มุ่ย จุ้ยเจริญ
126 สุวรรณ สวัสดี หรือ ชิต เรืองสวัสดิ์ - ชาย ฉะเชิงเทรา ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ เพี้ยน คนแรงดี
127 พวน บำเพ็ญทาน - ชาย อ่างทอง ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา มุ่ย จุ้ยเจริญ
128 ประจวบ พันธ์เจริญ - ชาย 25 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพี้ยน คนแรงดี
129 เลย ทาวรรณ์ - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 7 ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ มุ่ย จุ้ยเจริญ
130 สี เย็นจิตร - ชาย ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ เพี้ยน คนแรงดี
131 สมพงษ์ ละอองสะอาด - ชาย 14 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานลักทรัพย์
132 คล่อง ทองแก้ว - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มุ่ย จุ้ยเจริญ
133 หนม เจริญสุข - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์
134 โฉม ม่วงวงศ์ 59 ชาย 28 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ศาลมลฑลทหารบกที่ 4 จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพี้ยน คนแรงดี
135 ทรวง ดวงนภา - ชาย 10 ตุลาคม พ.ศ. 2506 อาญากรุงเทพ[note 12] ร่วมกันฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย(ทรวง,สุวรรณ และซ้อน)/ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน(เตี้ย) [note 13]
136 สุวรรณ อุยะตุง - ชาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
137 ซ้อน ผลวานิช - ชาย เพี้ยน คนแรงดี
138 เตี้ย วิรัช - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 2[note 14] มุ่ย จุ้ยเจริญ
139 อนันต์ เกิดบ้านใหม่ - ชาย 26 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ เพี้ยน คนแรงดี
140 ห้อย อยู่ยา - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 4 ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
141 สวัสดิ์ ศิริศรี - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
142 จำลอง แจ่มจำรัส - ชาย 21 มกราคม พ.ศ. 2508 ศาลทหารกรุงเทพ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิด และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตน
143 ปิ่น ศรัทรา - ชาย 10 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าบุพการีโดยไตร่ตรองไว้ก่อน,ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิด
144 จง ศรีงามฉ่ำ - ชาย 24 กันยายน พ.ศ. 2508 สุพรรณบุรี ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
145 ฉลวย ทับวิเศษ - ชาย 4 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ศาลทหารกรุงเทพ ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น เพี้ยน คนแรงดี
146 เซ่ง ศิริพัน - ชาย 4 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 จับคนเพื่อได้มาซึ่งค่าไถ่เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปถึงแก่ความตาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
147 เย็น วงค์ใน - ชาย 10 มีนาคม พ.ศ. 2509 ศาลมลฑลทหารบกที่ 7 จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพี้ยน คนแรงดี ถนอม กิตติขจร
148 หลั่น ดอกดิน - ชาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
149 บุญมี เชี่ยวบางยาง[24][25] 26 ชาย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ปล้นทรัพย์, ฆ่าคนตาย บ่อนทำลายและคุกคามความสงบภายในราชอาณาจักรและกระทบกระเทือนต่อการปกครอง เพี้ยน คนแรงดี
150 เสี่ยงเอี้ยว แซ่เซียว - ชาย 10 มีนาคม พ.ศ. 2510 ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย เพี้ยน คนแรงดี
151 จิ้วซิว แซ่ฉั่ว - ชาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
152 น้อย แหลมไธสง[26] - ชาย 15 มีนาคม พ.ศ. 2510 นครราชสีมา ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิด เพี้ยน คนแรงดี
153 เชื่อม เหมือนนรุธ - ชาย 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 ศาลทหารกรุงเทพ ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา มุ่ย จุ้ยเจริญ
154 ถนอม ฝากฝัง - ชาย เพี้ยน คนแรงดี
155 วิชิต เกตุคำศรี[27][28][29] - ชาย 1 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์
156 ก๊กง้วน แซ่ฉั่ว - ชาย 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย มุ่ย จุ้ยเจริญ
157 บุญมี ดวงภูเขียว - ชาย 18 มีนาคม พ.ศ. 2511 ขอนแก่น ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ เพี้ยน คนแรงดี
158 ถนอม โรจนภัทร์ภาษิต - สุราษฎร์ธานี ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ มุ่ย จุ้ยเจริญ
159 เขียด สุระกำแหง - ชาย 4 มิถุนายน พ.ศ. 2512 นครศรีธรรมราช ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย,ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
160 บุญธรรม โพธิ์รอด - ชาย 9 กันยายน พ.ศ. 2512 สุพรรณบุรี หลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขัง,ทำร้ายร่างกาย และร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
161 สัมฤทธิ์ พวงเนียม - ชาย
162 ฟ่อน พิทักษ์ - ชาย 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 สงขลา ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดของตน
163 ดีน เหล้หวัน 30 ชาย 21 มกราคม พ.ศ. 2514 สงขลา ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย,ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
164 วินัย โพธิ์ภิรมย์ 19 ชาย 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ปล้นทรัพย์และฆ่าคนตายโดยเจตนา
165 เสน่ห์ อ่อนแก้ว 21 ชาย 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตายโดยเจตนา
166 ซ้งหลี แซ่ตั้ง 20 ชาย ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์[note 15]
167 ปิยะ อำพันปอง 27 ชาย
168 เจริญ ยิ้มละมุน 34 ชาย 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ลพบุรี ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
169 สมศักดิ์ ปาทาน 26 ชาย ชลบุรี สมคบกันปล้นทรัพย์, ร่วมกันโทรมหญิง, สมคบกันฆ่าคนตายโดยเจตนา, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติหน้าที่ และมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
170 ธวัช สุธากุล หรือ เปี๊ยก เฉลิมไทย 26 ชาย
171 หงี ลิ้มประเสริฐ - ชาย 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาด้วยความทารุณโหดร้ายและไตร่ตรองไว้ก่อน
172 จำเนียร จันทรา 19 ชาย 19 มิถุนายน พ.ศ. 2515 สมคบกันพยายามลักทรัพย์ และฆ่าคนตายโดยเจตนา
173 ธนูชัย มนตรีวัต 19 ชาย
174 สนอง โพธิ์บาง 20 ชาย
175 ชู ภักดี 36 ชาย 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและพยายามฆ่าคนเพื่อปกปิดความผิด
176 ไส้ออก ชื่นบุญ 34 ชาย
177 ชัยยศ สมบูรณ์ 19 ชาย 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ชิงทรัพย์และฆ่าคนตาย
178 จุ่งเพ้ง แซ่ตียว - ชาย 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ร่วมกันผลิตและจำหน่ายเฮโรอีน
179 ซ้ง แซ่เอี่ยว - ชาย
180 ภิญโญ ชูช่วยสุวรรณ - ชาย 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าคนตายโดยเจตนา สัญญา ธรรมศักดิ์
181 สมยศ ปิ่นเกตุ - ชาย ชุมพร ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
182 บัณฑิต รักษ์พันธิ์ - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 ข่มขืนกระทำชำเรา และฆ่าคนตายโดยเจตนา
183 สุพรรณ์ บุญศัทธา - ชาย 11 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ศรีสะเกษ ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
184 น้อย วิลากลาง - ชาย 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ศาลมลฑลทหารบกที่ 7 สมคบคิดกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
185 มนัส อุนจะนำ - ชาย เพี้ยน คนแรงดี
186 สมจิตร สำเนียงดี - ชาย อาญากรุงเทพ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
187 สม จันทร์ติ๊บ - ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 7 ปล้นทรัพย์โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพี้ยน คนแรงดี
188 ชาญ เอ่งฉ้วน - ชาย กระบี่ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และพาอาวุธไปในเมือง มุ่ย จุ้ยเจริญ
189 อำคา ฟองดี - ชาย 4 มีนาคม พ.ศ. 2517 ลพบุรี ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
190 ประเสริฐ ซื่อสัตย์ - ชาย 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ศาลมลฑลทหารบกที่ 7 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพี้ยน คนแรงดี
191 ธรรมศิริ ซื่อสัตย์ - ชาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
192 ศรีนวล นาวาระ - ชาย เพี้ยน คนแรงดี
193 สำรอง นิรโส 34 ชาย 31 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
194 นิรันดร์ เกิดผิวดี 22 ชาย ศาลมลฑลทหารบกที่ 3 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
195 ไฉน พบพิมาย 30 ชาย ปล้นทรัพย์โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

รายชื่อบุคคลที่ถูกยิงเป้าในช่วงปีพ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2530[แก้]

หลังจากธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการใช้มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2519 ต่อมาพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ได้ทำรัฐประหารธานินทร์ กรัยวิเชียรแล้วให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการใช้มาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2520 และ มาตรา200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2521[30] ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำใดๆก็ได้ เช่นประหารชีวิตในกรณีที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวน หรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายในหรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร[31] โดยการประหารชีวิตในท้องที่เกิดเหตุในช่วงเวลาดังกล่าวต่างจากการประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17[32] ซึ่งการประหารโดยอำนาจมาตรา 17 จะเกิดในที่สาธารณะ และดำเนินการโดยเพชณฆาตที่เป็นทหารหรือตำรวจ[33] ส่วนการประหารชีวิตในช่วงการใช้มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2519 จนถึง มาตรา200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2521 การประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีในท้องที่เกิดเหตุจะเกิดขึ้นภายในเรือนจำของจังหวัดท้องที่เกิดเหตุ และประหารชีวิตโดยเพชณฆาตจากกรมราชฑัณฑ์ หลังจากการประหารชีวิตพลทหารสายทอง แสงแก้ว เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ที่เรือนจำจังหวัดอุดรธานี การประหารชีวิตถัดจากนั้นทั้งหมดได้เกิดที่เรือนจำกลางบางขวางจนถึงปัจจุบัน หลังจากการประหารชีวิตคำพัน อรรถศรี และ สุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ก่อนจะว่างเว้นการประหารชีวิตไปเกือบ 9 ปี ก่อนจะกลับมาประหารชีวิตใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นการประหารชีวิตพรหมมาศ หรือจุน เลื่อมใส อายุ 38 ปี เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539[34]

ลำดับที่ ชื่อ อายุ เพศ วันที่ถูกประหารชีวิต ศาล/คำสั่งนายกรัฐมนตรี สถานที่ประหารชีวิต ความผิดฐาน เพชรฆาต นายกรัฐมนตรี
196 ถาวร อุดมรีเดด หรือ เอ็งจือ แซ่โค้ว 44 ชาย 14 เมษายน พ.ศ 2520 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 21 เรือนจำกลางบางขวาง ยาเสพติด ประถม เครือเพ่ง ธานินทร์ กรัยวิเชียร
197 ฉลาด หิรัญศิริ[35][36][37][38] 54 ชาย 21 เมษายน พ.ศ 2520 บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน , ร่วมกันเป็นตัวการสำคัญในการสะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อเป็นกบฎ, ฆ่าเจ้าพนักงานโดยทารุณโหดร้าย
198 สมปอง พุมวงศ์ 21 ชาย 21 พฤษภาคม พ.ศ 2520 เรือนจำจังหวัดนครนายก ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย
199 หมั่นโคก บุญประเสริฐ - ชาย 14 มิถุนายน พ.ศ 2520 เรือนจำจังหวัดปราจีนบุรี บังอาจกระทำความผิดต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง[39][40]
200 อยู่ จาก - ชาย
201 เตี้ย จันทร์ตรา - ชาย
202 อัศวิน พูนเต่า[41] 24 ชาย 1 กรกฎาคม พ.ศ 2520 เรือนจำกลางบางขวาง ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน[note 16]
203 สมพร สีม่วง 19 ชาย 26 สิงหาคม พ.ศ 2520 เรือนจำจังหวัดหนองคาย ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย ประถม เครือเพ่ง
204 วิชิต ปานนท์ 25 ชาย เรือนจำกลางนครสวรรรค์ ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
205 อุดร อำรินทร์ 23 ชาย เรือนจำจังหวัดระยอง ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย เรียบ เทียมสระคู
206 ดอน เกิดเป็ง 21 ชาย 7 กันยายน พ.ศ 2520 เรือนจำกลางเชียงใหม่ ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย ประถม เครือเพ่ง
207 เล่าฝั่น แซ่ย่าง หรือ ฝั่น ชูเสียง 39 ชาย 3 พฤศจิกายน พ.ศ 2520[note 17] เรือนจำกลางบางขวาง ยาเสพติด สงัด ชลออยู่
208 ชาญ ศรีผดุงกุล - ชาย
209 วิเชียร ชูทอง - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด, ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
210 คำหล้า คำลือวงศ์ หรือ หล้า สอนขันธ์ 28 ชาย 23 มิถุนายน พ.ศ 2521 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 27 ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย ประถม เครือเพ่ง เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
211 ซิม ผึงหว่าง - ชาย 3 สิงหาคม พ.ศ 2521 ร่วมกันผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายและมีไว้ครอบครอบโดยผิดกฎหมาย
212 ฮีเซี้ยม แซ่เฮ้ง - ชาย
213 ปังจอง แซ่อึ้ง หรือ อึ้งปังจอง, พังฉ่าง 42 ชาย 4 ตุลาคม พ.ศ 2521 มียาเสพติดให้โทษไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย
214 ปลั่ง ยิ่งสกุล 37 ชาย 27 ตุลาคม พ.ศ 2521 ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดของตน
215 วิเชียร อ่างแก้ว 22 ชาย ข่มขืนกระทำชำเรา, ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดคามผิดของตน, ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
216 แสวง อินปรางค์ 50 ชาย 23 พฤศจิกายน พ.ศ 2521 ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าชิงทรัพย์
217 กิ่งแก้ว ลอสูงเนิน[42] 28 หญิง 13 มกราคม พ.ศ 2522 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 200 ร่วมกันจับคนเพื่อได้มาซึ่งค่าไถ่และฆ่าคนตายโดยเจตนา[43]
218 เกษม สิงห์ลา - ชาย
219 ปิ่น พึ่งญาติ 30 ชาย
220 สมคิด ศรีบัวขาว - ชาย 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2520 เรือนจำกลางอุดรธานี ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิงและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิง
221 นิยม แก้วมาตย์ - ชาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
222 คำสิงห์ อาจหาญ - ชาย
223 สายทอง แสงแก้ว - ชาย 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2522[note 18] ประถม เครือเพ่ง
224 มะดะโอ๊ะ แวมายอ - ชาย 21 กรกฎาคม พ.ศ 2523 ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 เรือนจำกลางบางขวาง ฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เปรม ติณสูลานนท์
225 น้อม จำปาทอง[note 19] 61 ชาย 24 พฤศจิกายน พ.ศ 2523 นครปฐม ร่วมกันเอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปถึงแก่ความตาย
226 อรรณพ จำปาทอง 31 ชาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
227 จรูญ คงระเรื่อย 32 ชาย 8 เมษายน พ.ศ 2524 สุราษฏร์ธานี ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ประถม เครือเพ่ง
228 ประกอบ สกุลจันทร์ หรือ น้อย ชาสูงเนิน 22 ชาย 22 พฤษภาคม พ.ศ 2524 ศาลมณฑลทหารบกที่ 3 พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต, ปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายวัตถุระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายวัตถุระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
229 สมบัติ เกตุจันทร์ 30 ชาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
230 จ้อย โนนกระโทก 24 ชาย
231 ชลอ อยู่หล่ำ - ชาย 9 มิถุนายน พ.ศ 2524 พิษณุโลก ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, พยายามฆ่า,หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก และกระทำความผิดอีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ หรือ ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ประถม เครือเพ่ง
232 บรรจง สว่างจิตร - ชาย 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2525 ศาลทหารกรุงเทพ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
233 เล็ก เพชรบูรณ์ - ชาย 8 มีนาคม พ.ศ 2525 ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 จ้างวานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
234 วัน ถวิลรัมย์ - ชาย 29 เมษายน พ.ศ 2525 ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์
235 บุญธรรม ขวัญสุข - ชาย ศาลทหารกรุงเทพ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
236 ถาวร พูลศิลป์ - ชาย
237 สมนึก สุขศรี - ชาย 30 มกราคม พ.ศ 2527 นครสวรรค์ กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตนจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย, พรากผู้เยาวน์เพื่อการอนาจาร และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตน ประถม เครือเพ่ง
238 ชัยพร ไชยมหาพรหม - ชาย 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2527 พะเยา ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
239 เชาวลิต เกลี้ยงขำ หรือ ฆธาวุฒิ รัตนวงศ์ - ชาย นครศรีธรรมราช ปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
240 ประเสริฐ ฉิมเจริญ 33 ชาย 2 พฤษภาคม พ.ศ 2527 สมุทรสาคร ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตนเอง, ข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้าย และพกพาอาวุธ ประถม เครือเพ่ง
241 บุญส่ง ตาละคำ - ชาย 5 มิถุนายน พ.ศ 2527 กาญจนบุรี ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
242 ชวลิต มีสมยา - ชาย 12 มิถุนายน พ.ศ 2527 ศาลทหารกรุงเทพ พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
243 ละมัย โพธิ์สุวรรณ[44] 27 ชาย 3 กรกฎาคม พ.ศ 2527 สมุทรปราการ ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้ายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย
244 จำลอง ปัญญาวงษ์ - ชาย ตราด ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ ธิญโญ จันทร์โอทาน
245 มนตรี อินทรัตน์ - ชาย 11 ตุลาคม พ.ศ 2527 ทุ่งสง ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดของตนเอง, ข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้าย
246 ฉลอง อำภา - ชาย 9 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 เชียงใหม่ ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน
247 ณรงค์ ปิ่นแก้ว 30 ชาย 9 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 อาญากรุงเทพ ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย[45]
248 สำราญ ปิ่นแก้ว 34 ชาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
249 หลี แดงอร่าม 49 ชาย
250 สด เปล้ากระโทก - ชาย 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 นครราชสีมา ฆ่าบุพการี และพยายามฆ่าบุพการี ธิญโญ จันทร์โอทาน
251 สิงห์ อนันทภักดิ์ - ชาย 25 ธันวาคม พ.ศ 2527 จันทบุรี ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ เชาวเรศน์ จารุบุณย์
252 สมศักดิ์ ฉั่วตระกูล หรือ อับดุลลา 27 ชาย 15 มีนาคม พ.ศ 2528 อาญากรุงเทพ ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อสะดวกในการกระทำผิดและปกปิดความผิดให้พ้นจากคดีอาญา และพกพาอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต ธิญโญ จันทร์โอทาน
253 แก้วมณี ปั้นมาดี - ชาย 27 มีนาคม พ.ศ 2528 พิจิตร มีอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
254 ชูชาติ เมฆสุทัศน์ 36 ชาย 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2529 ศาลทหารกรุงเทพ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
255 จรูญ ฉายวงษ์ 34 ชาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
256 วรา วรดิลก หรือ ไข่ดำ ทับเหลียว 35 ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ธิญโญ จันทร์โอทาน
257 สนั่น อำกอง[46] 54 ชาย 20 สิงหาคม พ.ศ 2529 ชุมพร ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
258 เกรียง พิมพ์ทอง - ชาย 24 ธันวาคม พ.ศ 2529 เชียงใหม่ ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์สินเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
259 วัฒนา ทิพวรรณ - ชาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
260 หล่ง ยินดี 35 ชาย 26 มกราคม พ.ศ 2530 พะเยา ร่วมกันฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, พยามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา[note 20]
261 เสนอ โพธิ์ยงค์ - ชาย สุราษฏร์ธานี ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, ลักทรัพย์โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ประถม เครือเพ่ง
262 เฉ่วเหงียน แซ่ว่อง - ชาย สุพรรณบุรี ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์,ปล้นทรัพย์ ธิญโญ จันทร์โอทาน
263 กมล เอี่ยมน้อย หรือ ศักดิ์สิทธิ์ พรประเสริฐ - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 4 ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เชาวเรศน์ จารุบุณย์
264 เจริญ แก้วบางพระ - ชาย 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ทุ่งสง ร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้อาวุธ, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, วางเพลิงโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย ธิญโญ จันทร์โอทาน
265 ทองพูน ชะลอนันท์[note 21] - ชาย 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ศาลทหารกรุงเทพ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
266 อุส่าห์ ทะเดช - ชาย ทุ่งสง ลักทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
267 สุชาติ ประสาททอง หรือ สานนท์ สังข์ทอง - ชาย 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ศาลทหารกรุงเทพ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
268 สำรวม ชะเอมไทย - ชาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
269 อินสอน ชัยมูล - ชาย 11 มิถุนายน พ.ศ. 2530 เชียงใหม่ ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ธิญโญ จันทร์โอทาน
270 ไข่ พนาลี - ชาย 17 มิถุนายน พ.ศ. 2530 นครศรีธรรมราช ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
271 สมศักดิ์ อุดมโสภกิจ หรือ อ้อ โสภากิจ - ชาย 9 กันยายน พ.ศ. 2530 ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 พาอาวุธปืนที่ไม่มีใบอนุญาตติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, ฆ่าคนตายโดยเจตนา, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
272 สมโภชน์ ชื่นชม - ชาย 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
273 ไพริน ณ วันดี - ชาย สมุทรปราการ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตองไว้ก่อน, มีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เชาวเรศน์ จารุบุณย์
274 คำพัน อรรถศรี - ชาย อาญากรุงเทพ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตองไว้ก่อน ธิญโญ จันทร์โอทาน
275 สุวรรณ คำภูษา - ชาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์

เชิงอรรถ[แก้]

  1. แต่ไม่ตัดสิทธิ์ของผู้ต้องโทษที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
  2. ผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนแรกที่ถูกประหารด้วยการยิง ตามคำพิพากษาของศาลพิเศษในคดีกบฏนายสิบ โดยถูกประหารชีวิตที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า เนื่องจากยังไม่มีพื้นที่ประหารชีวิตเป็นการเฉพาะ หลังจากการประหารครั้งนี้ อาคารสถานที่หมดทุกข์ (อาคารประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า) ในเรือนจำกลางบางขวางสร้างแล้วเสร็จ ผู้ถูกประหารรายต่อ ๆ มาจะถูกประหารในอาคารนั้น เว้นแต่มีคำสั่งเป็นอื่นไป
  3. เป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในอาคารสถานที่หมดทุกข์ (อาคารประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 ในปีพ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวัน 1 เมษายน จนกระทั่งในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ แทนวันที่ 1 เมษายน ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2483 มี 9 เดือน
  5. ทิพย์ มียศทำหน้าที่เป็นเพชณฆาตมือหนึ่งยิงเป้าณเณรที่หลักประหารหลักที่ 1 ส่วนเหรียญ เพิ่มกำลังเมืองเพชณฆาตมือสองยิงเป้าลี หลังจากการยิงชุดแรกลีได้เสียชีวิต แต่ณเณรยังไม่เสียชีวิตและเขาได้ตะโกนว่าผมยังไม่ตาย..ยิงผมอีก ทิพย์เกิดอาการมือไม้สั่นและผงะออกจากแท่นปืน ทำให้เหรียญ เพิ่มกำลังเมืองต้องทำหน้าที่แทนทิพย์และยิงณเณรจากแท่นปืนของทิพย์จำนวน 1 ชุดและณเณรก็เสียชีวิตจากการยิงในชุดที่สอง
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกและจัดตั้งศาลทหารระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จนถึง วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2489 โดยมีการนำคดีของพลเรือนหลายประเภทมาขึ้นศาลทหาร ซึ่งนักโทษจะไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา
  7. แอ้วหรือชั้น,สน ชูนาม พี่ชายของสวัสดิ์ ผู้สมรุร่วมคิดของสวัสดิ์ ชูนาม ได้ร่วมกันก่อคดีฆาตกรรมผล ชูนาม ลูกพี่ลูกน้องของเขา ที่จังหวัดราชบุรี สวัสดิ์ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิตในปี พ.ศ 2482 แต่แอ้วหลบหนีไปและได้ก่อคดีไว้หลายคดี และแอ้วยังได้ก่อเหตุฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลบหนีการจับกุม ก่อนที่เขาจะถูกจับกุมในปี พ.ศ. 2486 แอ้วถูกศาลทหารกรุงเทพตัดสินประหารชีวิตโดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก แอ้วถูกตัดสินประหารชีวิตในคดีฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและถูกประหารชีวิตในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 พร้อมกับพัน จูจันในคดีฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งคนละคดีกัน
  8. ข้อมูลบางแหล่งระบุว่าศุภชัยถูกประหารชีวิตที่ท้องสนามหลวง แต่คำสั่งประหารชีวิตศุภชัยให้ทำในบริเวณเรือนจำบางขวาง หากการประหารชีวิตเกิดขึ้นภายในเรือนจำกลางบางขวาง เพชณฆาตน่าจะเป็นเพี้ยน คนแรงดี เนื่องจากเขาเป็นคนเดียวที่ปฎิบัติหน้าที่เป็นเพชณฆาตในช่วงเวลาดังกล่าว
  9. เฉลิม กัปตันแดงผู้สมรุร่วมคิดของลีซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตได้แหกคุกเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2504 สำเร็จ โดยถูกพบเห็นเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ที่ป่าในจังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นเขาอีกเลย
  10. หนึ่งในสามนักโทษประหารแหกคุกที่สามารถหลบหนีออกจากเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ก่อนจะถูกจับกุมในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 และถูกนำกลับไปคุมขังที่เรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ก่อนจะมีคำสั่งให้ประหารชีวิตในอีกสองวันต่อมาและการประหารชีวิตเกิดขึ้นเมื่อเวลา01.24 น.ของวันถัดมา
  11. หนึ่งในสามนักโทษประหารแหกคุกที่สามารถหลบหนีออกจากเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ก่อนจะถูกจับกุมในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2505
  12. สำหรับทรวง,สุวรรณ และซ้อน ซึ่งถูกจับกุมมาก่อน ศาลชั้นต้นได้พิพากษาจำคุกตลอดชีวิตทั้งสามตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญามาตรา250(3)ในปี พ.ศ. 2500 ศาลเห็นว่าคดีเกิดก่อนการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย จึงยังใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาพิจารณาคดี ต่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2506 ศาลฎีกาได้แก้คำตัดสินจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิต
  13. ทรวง ,สุวรรณ,ซ้อน,เตี้ย และสิบตำรวจตรีทรงศักดิ์ วัจวาทินได้ร่วมกันพาพ่อค้าวัวควายผิดกฎหมาย 4 คนไปยังตำบลไร่วุ้ง อำเภอเกาะกง จังหวัดกำปอด เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ 2498 เมื่อเดินทางเข้าไปถึงป่ารกในเกาะกง ทั้ง 5 คนได้ใช้ปืนจี้พ่อค้าวัวควายและปลดทรัพย์สินก่อนจะยิงทั้ง 4 คนจนเสียชีวิต
  14. เตี้ยหนึ่งในผู้ก่อเหตุฆาตกรรมพ่อค้าวัวควายผิดกฎหมาย 4 คนที่อำเภอเกาะกง เตี้ยถูกจับกุมในปีพ.ศ. 2506 ในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในระหว่างช่วงที่สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการประกาศใช้กฏอัยการศึก ซึ่งผู้ที่กระทำความผิดจะถูกพิจารณาคดีโดยศาลทหารโดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา เขาถูกตัดสินตามประมวลกฎหมายอาญาในปี พ.ศ. 2499
  15. ปิยะได้พาพรรคพวกรวม 7 คนบุกเข้าปล้นธนาคารไทยพัฒนา เมื่อปีพ.ศ. 2515 ระหว่างการประกาศใช้กฎอัยการศึกโดยคณะปฎิวัติ เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คนแต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
  16. ประถม เครือเพ่งเพชณฆาตมือหนึ่งได้มอบหมายให้ธิญโญ จันทร์โอทาน เพชณฆาตมือสองทำหน้าที่แทน แต่ในบันทึกการประหารชีวิตระบุว่าประถมเป็นผู้ทำหน้าที่เพชณฆาต
  17. เล่าฝั่น แซ่ย่าง และชาญ ศรีผดุงกุล พ่อค้ายาเสพติด ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 21 ในช่วงเช้า ส่วนวิเชียร ชูทอง ฆาตกรฆ่าข่มขืนที่จังหวัดพังงาซึ่งถูกตัดสินโดยศาลทหารถูกประหารชีวิตในช่วงเย็นของวันเดียวกัน
  18. พลทหารสายทอง แสงแก้ว หนึ่งในสี่ผู้ร่วมก่อเหตุโทรมหญิงและฆาตกรรมที่อำเภอโนนสัง ซึ่งถูกคุมขังที่เรือนจำทหารจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2522 เวลา 04.30 น. เขาถูกเบิกตัวออกจากห้องขังรวมไปยังห้องควบคุมพิเศษเพื่อรอเจ้าหน้าที่ตำรวจจากจังหวัดอุดรธานีรับตัวไปประหารชีวิต เมื่อนำตัวสายทองเข้าไปในห้องขัง เขาไปพบขวดน้ำปลาเก่าอยู่ในห้องจึงทุบเป็นปากฉลามแล้วพยามยามฆ่าตัวตายด้วยการแทงจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากเขาทราบว่าตัวเองกำลังจะถูกประหารชีวิต ผู้คุมเรือนจำทหารจึงนำตัวสายทองส่งโรงพยาบาลค่ายสุรนารีและแพทย์ได้ผ่าตัดจนรอดชีวิต แต่ต้องให้น้ำเกลือและออกซิเจนตลอดเวลาเนื่องจากอาการยังอยู่ในขั้นวิกฤต ส่งผลให้มีคำสั่งให้ประหารชีวิตสมคิด,นิยม และคำสิงห์ ในวันเดียวกัน หลังจากแพทย์ได้รักษาสายทองจนพ้นขีดอันตราย ในตอนแรกการประหารชีวิตสายทองจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ แต่วันดังกล่าวเป็นวันมาฆบูชาจึงเลื่อนการประหารชีวิตไปเป็นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ และประหารชีวิตสายทองเมื่อเวลา 17.45 น. การประหารชีวิตสายทองนับเป็นการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นนอกเรือนจำกลางบางขวาง
  19. ในตอนแรกน้อมและอรรณพจะถูกประหารพร้อมกัน แต่น้อมได้ขอร้องให้นำตัวเขาไปประหารก่อนเพียงคนเดียวเพราะเขาทำใจไม่ได้ที่จะรู้ว่าลูกชายต้องมาตายอยู่ด้วยกันใกล้ๆ น้อมจึงถูกนำตัวไปประหารชีวิตก่อน หลังจากประหารชีวิตน้อมได้นำตัวอรรณพเข้ามาประหารชีวิต
  20. ถูกตัดสินประหารชีวิตเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 จากคดีฆาตกรรมสุริยัน ส่องแสง นักร้องเพลงลูกทุ่งที่สนามโรงเรียนบ้านจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และยังถูกตัดสินประหารชีวิตในคดีฆ่านายเสา หวนอารมณ์ที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยา แต่เขาถูกยกฎีกาและประหารชีวิตจากคดีฆาตกรรมสุริยัน ส่องแสง
  21. สุชาติกับสำรวมผู้สมรุร่วมคิดของทองพูนซึ่งตัดสินประหารชีวิตในคดีเดียวกันแต่ถูกประหารชีวิตหลังจากทองพูน 3 วันเนื่องจากคำสั่งประหารตกมาไม่พร้อมกัน

ดูเพิ่ม[แก้]

ลิงก์จากภายนอก[แก้]

บันทึกการประหารชีวิตซึ่งถูกบันทึกไว้โดยเรือนจำกลางบางขวางและเผยแพร่ผ่านทางเฟสบุ๊ค โดยอรรถยุทธ พวงสุวรรณ[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2549). The Last Executioner Memoirs of Thailand's Last Executioner (ภาษาอังกฤษ). Maverick House. ISBN 9781905379262.
  • 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2549). เพชฌฆาตคนสุดท้ายเล่มที่ 1. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789749244463.
  • 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2553). บันทึก.....แดนประหาร คุกบางขวาง. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789746907576.
  • อรรถยุทธ พวงสุวรรณ (2565). คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร. กรุงเทพ: เพชรประกาย. ISBN 9786165786645.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. s:พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาชญา พุทธศักราช 2477 (ฉะบับที่ 6) ประกอบกับs:คำสั่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 29 เมษายน 2478 (ฉบับที่ 3)
  2. ประมวลกฎหมายอาญา
  3. "การประหารชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-24. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
  4. สถิติการประหารชีวิต เก็บถาวร 2009-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เรือนจำกลางบางขวาง, สืบค้นวันที่ 19 พ.ย. 2552
  5. Thailand: Executions / fear of further executions
  6. Thailand: Fear of imminent execution: one unnamed prisoner
  7. รายงานพิเศษ : เปิดประวัติศาสตร์การลงทัณฑ์ประหาร
  8. 3 ส.ค.2478 "กบฏนายสิบ" จบแต่ยังไม่เริ่ม!
  9. กบฏนายสิบ
  10. กลุ่มนายสิบรวมหัวทำรัฐประหาร ชิงอำนาจถวายคืนพระปกเกล้าฯ!สังเวยชีวิตเพื่อราชบัลลังก์!!
  11. ย้อนรอย “ประหารชีวิต” ก่อนนับหนึ่งใหม่ ฟื้นโทษฉีดยาพิษรอบ 9 ปี
  12. การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหารและความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทยหน้าที่ 116 - 118
  13. 20 พ.ย.2482 18 กบฏ โทษประหาร โดยศาลพิเศษ
  14. ลาก่อนชีวิต... ลาก่อนแม้แต่สิ่งอันสุดที่รัก !
  15. ประหารชีวิต "ศุภชัย ศรีสติ" วิศวะนักเรียนนอก วัย 34ปี ปลุกระดมต้านรัฐบาล
  16. ปิดตำนาน “คนกินคน” 60 ปีข่าวสยองขวัญ “ซีอุย”
  17. ปิดตำนาน 61 ปี ตีตรา " ซีอุย มนุษย์กินคน"
  18. ซีอุย : ฌาปนกิจร่าง "ซีอุย แซ่อึ้ง" ปิดตำนานผู้ที่ถูกสังคมตั้งฉายา "มนุษย์กินคน"
  19. สฤษดิ์ลุยปราบสารเสพติด เบื้องหลังยกเลิก “ฝิ่น” ถึงประหารชีวิตพ่อค้า “เฮโรอีน” ด้วย ม.17
  20. หนังสือพิมพ์อาณาจักรไทย วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ราคา 1 บาท
  21. 'ประธานผู้ลี้ภัย' งัวเงียตื่น! ควัก ม. 17 คำสั่ง 'สฤษดิ์' ประหารผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
  22. การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2501-2506
  23. "ปืนปิดปาก ประหารชีวิต" ปราบคอมมิวนิสต์ยุค "สฤษดิ์ ธนะรัชต์" ที่สุดของเผด็จการ
  24. “หากทำผิดแล้ว ผมจับไม่ไว้หน้าใครทั้งนั้น”
  25. สูญเสียปูชนียบุคคล
  26. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2509
  27. ตำนานนักโทษประหาร
  28. โจรผยองปิดตลาดปล้น! นายกฯใช้ ม.๑๗ สั่งปล้นที่ไหนยิงเป้าที่นั่นโดย ๖ นาย ตร.ประกบ ๖ โจร!!
  29. [หนังสือประวัติ อำเภอท่าเรือ เรียบเรียงโดยสุรศักดิ์ พุ่มวันเพ็ญ ]
  30. มาตรา 17 พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ จะมีอยู่ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ?
  31. มีอะไรใน รัฐ/ธรรมนูญชั่วคราว ฉบับ คณะรัฐประหาร
  32. ความล่มสลายของสถาบันรัฐประหาร (ตอนที่ 1): รัฐประหารในประเทศไทยและการทำให้รัฐประหารเป็นสถาบันทางการเมือง
  33. การใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญไทย
  34. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  35. คณะทหารหนุ่ม (16) | ทำไมต้องประหาร พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
  36. ข้าพเจ้าเห็นการยิงเป้า
  37. 26 มี.ค.2520 เหตุการณ์ที่นำมาสู่ การประหารชีวิตกบฏคนสุดท้าย!
  38. รัฐประหารซ้ำซ้อน ฉีก”รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2519 (ฉบับที่ 11)EP.10
  39. The Last Executioner Page 8
  40. The Last Executioner Page 9
  41. “ผมมันคนชอบทำไม่เหมือนชาวบ้าน เวลาแกะรอยตามคดีต่าง ๆ”
  42. ไทยรัฐออนไลน์ (17 พฤศจิกายน 2562). "3 นาทีคดีดัง : เรื่องจริง "กิ่งแก้ว" นักโทษประหารหญิง ยิงเป้าไม่ยอมตาย (คลิป)". กรุงเทพมหานคร: ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  43. จารุบุณย์, เชาวเรศน์ (2015). The Last Executioner: Memoirs of Thailand's Last Executioner (ภาษาอังกฤษ). Maverick House. p. 100. ISBN 978-1-908518-41-5.
  44. นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่243 ของไทย "ไอ้ม้าซาดิสม์"
  45. The Last Executioner Page 10
  46. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2527

เฉลิม กัปตันแดง[แก้]

เฉลิม กัปตันแดง
เกิดพ.ศ. 2466
ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศสยาม
สาบสูญ19 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (38 ปี)
จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
สถานะศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2509
เสียชีวิตประเทศกัมพูชา
อาชีพนักฆ่า
นายจ้างกงวาล วีรนนท์(เคยทำงานให้)
สถานะทางคดีเสียชีวิต
ข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
บทลงโทษประหารชีวิต
คู่หูลี อยู่พงษ์
รายละเอียด
ประเทศประเทศไทย/ประเทศกัมพูชา
วันที่ถูกจับ
พ.ศ.2504

















เฉลิม กัปตันแดง

ดัด ภูมลา[แก้]

ดัด ภูมลา (พ.ศ.2493-1 ธันวาคม พ.ศ. 2515) เป็นฆาตกรหมู่ชาวไทยผู้ก่อเหตุสังหารหมู่ด้วยระเบิดมือที่วัดสระบัว ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 คน และบาดเจ็บ 13 คน และถูกประหารชีวิตตามมาตรา 17 ของรัฐบาลจอมพลถนอม กติขจร[1]

ดัด ภูมลา
เกิดพ.ศ.2493
ตำบลผึ่งแดด อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
เสียชีวิต1 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (22 ปี)
สนามบินพาณิชย์ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุด
พลเมืองไทย
การศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4
อาชีพทหารรับจ้าง
ปีปฏิบัติงาน2513 - พฤษภาคม พ.ศ. 2515
นายจ้างประเทศลาว
มีชื่อเสียงจากก่อเหตุขว้างระเบิดมือจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
สถานะทางคดีประหารชีวิตตามคำสั่งถนอม กิตติขจร
เหตุจูงใจล้างแค้นคู่อริทีชกปาก
ข้อหาฆ่าผู้อ่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและกระทำทารุณโหดร้าย
รายละเอียด
วันที่8 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
ประเทศประเทศไทย
รัฐจังหวัดนครพนม
ตำแหน่งร้านน้ำแข็งใสในวัดสระบัว ตำบลผึ่งแดด อำเภอมุกดาหาร
เป้าหมายกลุ่มวัยรุ่นคู่อริที่ชกหน้าเขา
ตาย9
บาดเจ็บ13
อาวุธระเบิดมือ
วันที่ถูกจับ
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
จำคุกที่สถานีตำรวจภูธรเมืองนครพนม

ประวัติ[แก้]

ดัดเป็นคนมุกดาหาร เขาเป็นลูกคนที่ 5 จากทั้งหมด 6 คน เขาจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำงาน เขามีนิสัยชอบลักเล็กขโมยน้อยและทำตัวเป็นอันธพาล ต่อมาในปีพ.ศ.2513 เขาได้หนีคดีไปเป็นทหารรับจ้างที่ประเทศลาว ต่อมาในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 เขาหนีทหารจากประเทศลาวกลับมาที่มุกดาหารพร้อมกับนำปืนและระเบิดมือกลับมาด้วย เขามีนิสัยเกเรเมื่อเมาสุราเขาจะทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นเป็นประจำ

การก่อคดี[แก้]

ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ 2515 ดัดได้เดินทางมาเที่ยวงานทำบุญประจำปีที่วัดสระบัว อำเภอมุกดาหาร และหาเหล้าดื่ม เมื่อเดินทางไปถึงเวทีนางรำ เขาได้เข้าไปโค้งนางรำ จึงเกิดความกระทบกระทั่งกับกลุ่มวัยรุ่นที่รำวงอยู่บนเวที ทำให้ถูกวัยรุ่นคนหนึ่งชกปากจนล้มลง เมื่อเขาลุกขึ้นและพบว่ากลุ่มวัยรุ่นมีมากกว่า เขาจึงเดินทางออกจากงานแล้วกลับไปเอาระเบิดมือซึ่งใช้ในยามสงครามจากบ้าน ในช่วงกลางดึกย่างเข้าสู่วันที่ 8 พฤษภาคม ดัดเดินหากลุ่มวันรุ่นจบพบกลุ่มวัยรุ่นนั่งกินน้ำแข็งใสอยู่ที่ร้านค้า เขาได้ดึงสลักระเบิดและขว้างใส่ร้านค้าก่อนที่ระเบิดจะทำงานทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต แล้วดัดได้หลบหนีออกจากที่เกิดเหตุ ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ได้เข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยพบว่ามีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 9 คน รวมถึงเจ้าของร้านและเด็ก และบาดเจ็บสาหัส 3 คน ไม่สาหัส 10 คน

การจับกุมและการประหารชีวิต[แก้]

ในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เดินทางไปที่บ้านดัดเพื่อจับกุม แต่พบว่าดัดหลบหนีไปยังประเทศลาว เจ้าหน้าที่ตำรวจมุกดาหารได้ร่วมมือติดตามกับตำรวจลาวไปจับกุมดัดที่ประเทศลาวได้ในช่วงเช้าของวันเดียวกัน ดัดได้ให้การรับสารภาพว่าได้โยนระเบิดใส่คนในงานวัดจริงเพื่อล้างแค้นคู่อริที่ชกปากในเวทีรำวง เมื่อเจอคู่อรินั่งกินน้ำแข็งใสจึงโยนระเบิดใส่ และมีพยานยืนยันตัวของดัดเป็นคนร้าย ก่อนจะนำตัวดัดไปขังไว้สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครพนม

หลังจากนั้นตำรวจจังหวัดนครพนมได้ส่งมอบสำนวนการสอบสวนและพยานหลักฐานให้คณะปฎิวิติเนื่องจากดัดกระทำความผิดโดยไม่คิดถึงชีวิตของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้หญิงที่ไปเที่ยวงานอย่างไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน เป็นคนมีจิตใจเหี้ยมโหดอำมหิต มีนิสัยเป็นนักเลงอัทธพาลในหมู่บ้าน นับเป็นบุคคลที่เป็นอันตรายต่อสังคมจึงเสนอให้คณะปฎิวัติลงโทษสถานหนักเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร ลงนามในคำสั่งให้ประหารชีวิตดัด ภูมิลา โดยเห็นว่าเป็นการก่อคดีอาญาที่สยดสยอง และเขย่าขวัญประชาชน พฤติกรรมที่กระทำไปนอกจากเป็นการอุอาจไม่เกรงกลัวต่ออาญาแผ่นดินยังแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีจิตใจโหดเหี้ยมอำมหิตปราศจากมนุษย์ธรรม นับได้ว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมอย่างร้ายแรง โดยกำหนดให้สนามบินพาณิชย์จังหวัดนครพนมเป็นสถานที่ประหารชีวิตดัดซึ่งจะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น

ดัดรู้ตัวว่าตนเองจะถูกประหารชีวิตจึงนอนกระสับกระส่ายตลอดทั้งคืน เขาขอให้ตำรวจซื้อเบียร์มาให้กินเป็นครั้งสุดท้าย แต่ไม่สามารถซื้อให้ได้เนื่องจากเปนของมึนเมา เขายังได้ขอเสื้อสีขาวจากเพื่อนผู้ต้องหามาใส่ในวันประหารชีวิต

ในวันที่ 1 ธันวาคม เวลา 07.00 น. ดัดถูกเบิกตัวไปยังกองกำกับการตำวจภูธรเพื่อดำเนินตามขั้นตอน โดยเริ่มอ่านคำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติแล้วให้เซ็นทราบในคำสั่ง ตามด้วยการยืนยันตัวบุคคลว่าเป็นบุคคลเดียวกับในคำสั่ง แล้วนำอาหารมื้อสุดท้ายมาแต่ดัดไม่รับประทาน ถัดจากนั้นตำรวจได้นิมนต์พระครูอาธาน พนมกิจ มาเทศนาเรื่องกฎแห่งกรรม โดยเขารับฟังอย่างสงบ หลังจากนั้นได้ให้ทำพินัยกรรม แต่ดัดไม่ทำพินัยกรรม แต่เขียนจดหมายถึงพ่อ และไม่บริจาคร่างกาย เวลา 12.00 น. เจ้าหน้าที่นำตัวของเขาขึ้นรถไปยังสนามบินพาณิชย์ เมื่อถึงสนามบิน เขาถูกพาตัวไปมัดกับหลักประหารโดยหันเข้าหาหลักแล้วตั้งเป้าตาวัว พันตำรวจตรีอรุณ ประสานสิทธิ์ ผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรมุกดาหาร ได้ออกคำสั่งให้เรียกแถวเพชณฆาต 5 นายซึ่งเป็นตำรวจ มาหยุดยืนตั้งแถวหน้ากระดานหน้ากล่องหลักประหาร หลังจากนั้นอรุณได้ออกคำสั่งให้ยิง ดัดถูกประหารชีวิตเมื่อเวลา 12.32 น. กระสุนเข้าลำตัวทุกนัดรวม 50 นัด หลังจากนั้นนายแพทย์อารี มูลพันธ์ได้เข้าไปตรวจสอบร่างของดัดและแจ้งว่าเสียชีวิตแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงนำศพของเขาลงจากหลักประหารแล้วพิมพ์ลายนิ้วมือก่อนจะนำศพไปเก็บไว้ที่วัดศรีเทพประดิษฐารามเนื่องจากไม่มีผู้มาขอรับศพ

อ้างอิง[แก้]

  1. พวงสุวรรณ, อรรถยุทธ (2021-02-04). "ประหารที่จังหวัดนครพนม". สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.

ธีรศักดิ์ บุญเรือง[แก้]

ธีรศักดิ์ บุญเรือง หรือ ต้อย (พ.ศ. 2523 - 27 เมษายน พ.ศ. 2567) เป็นฆาตกรหมู่ชาวไทยผู้ก่อเหตุฆาตกรรมเด็กนักเรียนม.6 จำนวน 3 คน ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ เนื่องจากหลอนยาเสพติด และยังได้ทำร้ายเพื่อนผู้ต้องขังขณะถูกคุมขังในสถานีตำรวจ[1] เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจค้นและยึดทรัพย์เครือข่ายค้ายาเสพติดในจังหวัดกระบี่[2][3]

ธีรศักดิ์ บุญเรือง
เกิดพ.ศ. 2523
อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
เสียชีวิต27 เมษายน พ.ศ. 2567 (44 ปี)
โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
สาเหตุเสียชีวิตภาวะพิษเหตุติดเชื้อ
ชื่ออื่นเสี่ยต้อย
ไอ้ต้อย
อาชีพเจ้าของร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์
สถานะทางคดีเสียชีวิต
เหตุจูงใจหลอนประสาทจากยาบ้า
พิพากษาลงโทษฐาน
  • ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
  • มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • พกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร
  • ยิงปืนในที่สาธารณะ
  • เสพยาเสพติดประเภท 1
บทลงโทษประหารชีวิตลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตเปลี่ยนเป็นยกฟ้อง (2562)
ประหารชีวิต (2565)
รายละเอียด
วันที่6 กันยายน พ.ศ. 2565
7 กันยายน พ.ศ. 2565
ประเทศประเทศไทย
รัฐจังหวัดกระบี่
ตำแหน่งริมทางหลวงหมายเลข 4156 ตำบลพรุเตียว อำเภอเขาพนม
สถานีตำรวจภูธรเขาพนม ตำบลเขาพนม อำเภอเขาพนม
ตาย3
บาดเจ็บ1
อาวุธปืนลูกซอง
รถบีเอ็มดับเบิลยูรุ่น525I
วันที่ถูกจับ
6 กันยายน พ.ศ. 2565
จำคุกที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช

ประวัติ[แก้]

ธีรศักดิ์เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็นชาวจังหวัดกระบี่ เขาเสพและติดยาบ้ามาเป็นเวลานานแล้ว แม่ของธีรศักดิ์เคยส่งเขาไปบำบัดยาเสพติดแต่หลังจากบำบัดเขาก็กลับมาเสพยาบ้าอีก ต่อมาเขามีภรรยาและลูกที่ตำบลเขาดิน ในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2562 เขาเคยถูกจับกุมในจ้างวานฆ่าผู้หญิงคนหนึ่งในพื้นที่อำเภอเหนือคลองเนื่องจากมือปืนรับจ้างซัดทอดว่าเขาเป็นผู้จ้างวาน ศาลจังหวัดกระบี่ได้ตัดสินประหารชีวิต ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต แต่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง[4] ในระหว่างเมายาเสพติดเขาเคยใช้ปืนพกขนาด.38 กับปืนลูกซองยาวยิงประตูบ้านตนเองจนเป็นรูพรุนทั้งบาน และเคยใช้สีสเปร์ยพ่นที่ประตูหน้าบ้านว่า "ขาย มีปัญหาภายในครอบครัว" ทั้งๆที่ไม่ได้มีปัญหาอะไร[5][6] เขามีพฤติกรรมชอบขับรถไปชนผู้อื่น เขาเคยขับรถไปชนพ่อตาของญาติหนึ่งในผู้เสียชีวิต ตอนแรกเขาตกลงจ่ายค่าเยียวยา 60,000 บาท แต่เขาจ่ายจริงน้อยกว่า[7][8]

การก่อคดี[แก้]

ในช่วงกลางคืนของวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565 ธีรศักดิ์ได้ชวนลูกและภรรยาให้ไปนอนที่ร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ในตำบลพรุเตียว แต่เขาออกรถมาก่อนทำให้ลูกและภรรยาไม่เดินทางมาด้วย เขาขับรถเก๋งยี่ห้อบีเอ็มดับเบิลยูสีดำ รุ่น525I ไปตามทางหลวงหมายเลข 4156 ต่อมาในเวลา 01.00 น. ของวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565 นายนนทภัทร อุดมศรี อายุ 18 ปี, นางสาวภัณธิรา ชูทอง อายุ 18 ปี และนางสาวณัชนิชา พันเซ่ง อายุ 18 ปี ทั้งสามเป็นโรงเรียนพนมเบญจา ได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านของภัณธิชาที่ตำบลพรุเตียวเพื่อเดินทางไปนอนที่บ้านของณัชนิชาที่ตำบลเขาพนม[9] เมื่อเข้าใกล้โค้ง เขาได้ขับรถเบี่ยงเข้าเลนที่ทั้งสามขับรถจักรยานยนต์แล้วพุ่งชนประสานงากับรถจักรยายนต์ทำให้รถจักรยานยนต์ตกลงข้างทาง ธีรศักดิ์ได้ลงจากรถมาพร้อมกับปืนลูกซองยาวแล้วยิงทั้งสามคนจนเสียชีวิต ก่อนจะขับรถไปตามอำเภอลำทับ[10][11]

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงพื้นที่และสอบสวนพยานที่เห็นเหตุการณ์และชาวบ้าน ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบชื่อคนร้ายคือธีรศักดิ์ บุญเรือง[12]

การจับกุม[แก้]

ในเวลา 07.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยสวาทของสถานีตำรวจภูธรเขาพนมนำกำลังจำนวน 20 นาย ล้อมร้านเปลี่ยนยางของธีรศักดิ์ที่ริมทางหลวงหมายเลข 4156 ตำบลพรุเตียว หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเจ้าของร้านคือธีรศักดิ์ เมื่อเดินทางไปถึงตำรวจได้พบรถเก๋งยี่ห้อบีเอ็มดับเบิลยูสีดำ รุ่น525I อยู่ในโรงรถข้างร้าน รถเก๋งมีสภาพกระจกด้านข้างคนขับแตกจากการกระแทกและด้านหน้าพังเสียหาย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เรียกธีรศักดิ์ซึ่งเป็นเจ้าของร้าน แต่เขาไม่ยอมเปิดประตู เมื่อพ่อแม่ของเขามาร่วมเจรจา หลังจากผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง เขาได้เปิดประตูแง้มออกมาดู 1 ครั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงวิ่งเข้าไปจับกุม เขาได้วิ่งหนีไปทางประตูด้านข้างพร้อมกับถือปืนพกขนาด.357 เมื่อเขาเห็นพ่อยืนอยู่ข้างตำรวจ เขาจึงโยนปืนทิ้งและยอมให้จับกุม[13] ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจค้นห้องนอนในบ้านของเขา โดยพบปืนลูกซองยาว 1 กระบอก และปลอกกระสุนปืนขนาด .357 กระจายอยู่ตามพื้นห้อง ตามลานในร้าน และยังพบรูกระสุนจำนวนมากบนผนังของร้าน[14] เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบถามธีรศักดิ์ เขาได้ให้การวกวน และยอมรับว่าเมื่อคืนเขาเสพยาบ้ามาจำนวน 2 เม็ด จากนั้นได้ขับรถคันดังกล่าวจากบ้านของภรรยาที่ตำบลเขาดิน เพื่อมุ่งหน้ากลับบ้านมาเพียงคนเดียว เมื่อถึงที่เกิดเหตุ เขาได้ขับรถพุ่งชนรถจักรยานยนต์เนื่องจากคิดว่ากลุ่มคนที่ขับรถมาจะฆ่าเขา หลังจากนั้นเขาจอดรถแล้วใช้ปืนลูกซองยิงใส่กลุ่มของผู้เสียชีวิต จำนวน 3 นัด ส่วนรถจักรยานยนต์ที่ไฟไหม้นั้นเกิดไฟลุกไหม้ขณะชนกัน เขาได้ปฎิเสธว่าไม่ได้เผา[15]

ในเวลา 17.30 น. ชุดสืบสวนของสถานีตำรวจภูธรเขาพนมได้นำตัวเขาไปส่งพนักงานสอบสวนและแจ้งข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, ยิงปืนในที่สาธารณะ, พกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร, มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และเสพยาเสพติดประเภท 1 หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวเขาเข้าห้องขังรวมที่สถานีตำรวจภูธรเขาพนม[16] เมื่อปลอดเจ้าหน้าที่ตำรวจ เขาได้ล็อกคอเพื่อนผู้ต้องขังคนหนึ่งแล้วจับหัวโขกพื้นจนได้รับบาดเจ็บสาหัส[17] เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงใช้ไม้ง่ามเพื่อควบคุมตัวของเขา แล้วนำตัวไปคุมขังที่ห้องขังเดี่ยว[18] โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้คัดค้านประกันตัวและขออนุมัติศาลจังหวัดกระบี่ฝากขังเพื่อฝากขังในวันที่ 7 กันยายน[19] ต่อมาในวันที่ 8 กันยายน เวลา 09.30 น.เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวของธีรศักดิ์ขึ้นรถควบคุมผู้ต้องหาเพื่อนำไปฝากขังที่แดนที่ 1 ของเรือนจำจังหวัดกระบี่ โดยแยกออกจากผู้ต้องขัง 8 คนซึ่งถูกจับกุมหลังจากขยายผลในคดีของเขา ตามการให้การออกเขาที่ให้การว่าเขาไปซื้อยาบ้าจากบุคคลกลุ่มดังกล่าว ระหว่างที่นำตัวของเขาออกจากห้องขัง เขามีสภาพอิดโรย เมื่อผู้สื่อข่าวได้พยามสอบถามเขาว่ามีอะไรจะพูด หรืออยากจะฝากอะไรถึงครอบครัวผู้เสียชีวิต เขาไม่ได้ตอบจนถูกนำตัวขึ้นรถ หลังจากที่ศาลปิดทำการเขาก็ถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำจังหวัดกระบี่[20] ในวันที่ 9 กันยายน ผู้สื่อข่าวได้ไปสอบถามเจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดกระบี่เกี่ยวกับการควบคุมตัวของธีรศักดิ์ เจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลว่า ธีรศักดิ์นอนสงบดี ไม่มีอาการโวยวายหรือหลอนใดๆ โดยถูกเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงดูแลอยู่ในแดนที่ 1[21]

ปฎิกิริยาต่อคดีและการจับกุมอื่นๆหลังจากนั้น[แก้]

เหตุการณ์ดังกล่าวและคดีสะเทือนขวัญในจังหวัดกระบี่ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 7 วันโดยยาเสพติดมีส่วนเกิดข้องกับการก่อคดี ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องจากชาวบ้านในจังหวัดกระบี่ให้รัฐบาลเพิ่มมาตรการจัดการปัญหายาเสพติดยิ่งขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันยาเสพติดมีราคาถูก และหาซื้อง่ายจนมีคนติดยาเสพติดเพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างปัญหาให้สังคมหนักมากยิ่งขึ้นทุกวัน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครองได้ออกปฎิบัติการณ์กวาดล้างยาเสพติด[22]

ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ 2565 สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมกับมอบหมายให้ทางสำนักงานยุติธรรมจังหวัดกระบี่ประสานกับญาติผู้เสียชีวิตเพื่อแจ้งสิทธิตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ซึ่งจะเร่งพิจารณาให้ และได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจค้น สืบสวน ขยายผลและยึดทรัพย์เครือข่ายค้ายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดกระบี่ทั้งหมดเพื่อตัดวงจรเครือข่ายค้ายาเสพติด และได้เชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันแจ้งเบาะแสยาเสพติด ที่สายด่วน ป.ป.ส.1386 โดยผู้แจ้งจะได้รับการคุมครองความปลอดภัยพร้อมกับข้อมูลทั้งหมดดจะถูกเก็บเป็นความลับและจะได้เงินรางวัลนำจับร้อยละ 5 จากทรัพย์สินที่ยึดได้[23]

ในวันที่ 8 กันยายน เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 8 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเขาพนมได้ปิดล้อม 4 เป้าหมายและสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 1 คนพร้อมกับยาบ้าจำนวนหนึ่ง[24] ในวันต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมหญิงชื่อว่าจารีย์ เนื่องจากธีรศักดิ์ได้ซัดทอดว่าก่อนก่อเหตุเขาซื้อยาบ้าจากจารีย์จึงจำนวน 10 เม็ด[25] ซึ่งการจับกุมจารีย์จะทำให้หลักฐานในคดีของธีรศักดิ์แน่นขึ้น[26] ในเวลา 10.00 น. ของวันเดียวกัน มะโน เครือแก้ว กำนันตำบลกระบี่น้อย พร้อมกับประชาชนจำนวน 200 คนได้เดินทางมารวมตัวกันหน้าศาลากลางจังหวัดกระบี่เพื่อยื่นหนังสือถึงพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ผ่านทางพลเอกสมบัติ สืบท้วม รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกระบี่ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องยาเสพติดอย่างเป็นระบบ และเห็นผลอย่างแท้จริง หลังจากเกิดคดีสะเทือนขวัญในจังหวัดกระบี่ถึง 3 คดี ในระยะเวลา 7 วัน โดยมีข้อเสนอให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ค้าและเสพติดยาเสพติดให้เด็ดขาด, ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติดขึ้นมาเป็นพิเศษ และเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกกรณีโดยเด็ดขาด พลเอกสมบัติได้รับปากว่าจะเสนอไปยังพลเอกประวิตรโดยตรงและจะดำเนินการอย่างเร่งด่วน[27] วันที่ 14 กันยายน นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ และพล.ต.ต.ชัยวัฒน์ อุ้ยคำ ผู้บังคับบัญชาตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่ ปล่อยแถวเจ้าหน้าที่ตำรวจและกองอาสารักษาดินแดนเพื่อออกปฎิบัติการกวาดล้างยาเสพติด โดยขอหมายศาลเข้าตรวจค้น 60 จุด และสามารถจับกุมผู้เสพยาเสพติดและผู้ค้ายาเสพติดได้กว่า 100 คน[28] โดยผู้เสพจะถูกส่งไปบำบัด ส่วนผู้ค้าจะถูกส่งไปพิจารณาคดีต่อไป พุฒิพงศ์ยังได้กล่าวอีกว่า"การปราบปรามการก่ออาชญากรรม และยาเสพติดเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย เนื่องจากจังหวัดกระบี่เป็นเมืองท่องเที่ยว"[29]

การพิจารณาคดี และเสียชีวิต[แก้]

ศาลจังหวัดกระบี่ได้ตัดสินประหารชีวิตธีรศักดิ์ในปีพ.ศ. 2566 และเรือนจำจังหวัดกระบี่ได้ย้ายตัวของเขาไปยังเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566[30]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 เขาติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ระหว่างการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในเรือนจำจังหวัดนครศรีธรรรมราช[31] เรือนจำจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงส่งตัวของเขาไปยังโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ในช่วงเช้าของวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 เขาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชหลังจากอาการทรุดตัวลงประกอบกับอาการติดเชื้อในกระแสเลือด หลังจากนั้นญาติของเขาได้รับศพของเขากลับไปประกอบพิธีทางศาสนาที่บ้านของเขาใน ตำบลพรุเตียว อำเภอเขาพนม[32][33]

อ้างอิง[แก้]

  1. มือยิงนักเรียนดับ 3 ศพ เสียชีวิตในเรือนจำนาพรุ ป่วยไข้หวัดจนติดเชื้อในกระแสเลือด ญาติรับศพมาทำพิธีที่บ้าน
  2. เอาจริงเสียที
  3. ยาบ้าระบาดหนัก ไล่ไทม์ไลน์ 3 คดีฆาตกรรมสุดโหดรอบ 7 วันที่ "กระบี่"
  4. สารภาพหลอนยา! จับแล้ว เสี่ยร้านล้อแม็ก ยิงเด็ก ม.6 ดับ 3 ศพที่กระบี่
  5. คลั่งไม่เลิก! ‘ไอ้ต้อย’ อาละวาดทำร้ายผู้ต้องขัง ตร.จับแยกขังเดี่ยว ครอบครัวเด็กวอนประหารชีวิต
  6. อัปเดต! บุกจับ "เสี่ยต้อย" แล้ว ยิงดับ 3 ศพ นักเรียน ม.6 คาด ผตห. หลอนเสพยาบ้า
  7. แม่เด็ก ถูก “ไอ้ต้อย” ขับรถพุ่งชนเสียชีวิต ร่ำไห้! ลั่นแค่ขอโทษไม่ได้ ต้องชดใช้ เอาให้ตาย ประหารได้ยิ่งดี
  8. ด่วน! ตำรวจเขาพนม กระบี่ สนธิกำลังสืบสวนภาค 8 ปิดล้อมสยบ 'หนุ่มคลั่ง' มือปืนฆ่าอำมหิต กระหน่ำยิงนักเรียน 3 ศพ ที่แท้เจ้าของอู่-ลูกเศรษฐีในพื้นที่
  9. บีบใจยายบอกรัก "คิมหันต์" หน้าโลง นั่งลูบริสแบนด์แทนตัว ฉะไอ้คลั่งฆ่าดับฝันเป็นครู (คลิป)
  10. เก๋งดำโหด! ชน จยย.เด็กนักเรียน ชักปืนยิงดับ 3 ศพทิ้งข้างทางเผารถอำพรางคดี
  11. ภาพวงจรปิด คนร้ายซิ่งรถเร็วก่อนชนจยย.นักเรียน ม.6 คดีสะเทือนขวัญยิงดับ 3 ศพ
  12. จับเสี่ยต้อย เมายาบ้าฆ่า นร. 3 ศพ คลั่งยิงบ้านพรุน เมียบอกผัวเสพมาตลอด (คลิป)
  13. จับเสี่ยต้อย เมายาบ้าฆ่า นร. 3 ศพ คลั่งยิงบ้านพรุน เมียบอกผัวเสพมาตลอด (คลิป)
  14. อัปเดต! บุกจับ "เสี่ยต้อย" แล้ว ยิงดับ 3 ศพ นักเรียน ม.6 คาด ผตห. หลอนเสพยาบ้า
  15. อัปเดต สอบปากคำแม่-เมีย "ต้อย" คดียิงดับ 3 ศพ-เปิดประวัตินร.คุณภาพ เหยื่อทาสยานรก
  16. แจ้ง 5 ข้อหาหนักมือยิงนักเรียนดับ 3 ศพ
  17. เสี่ยต้อย’ พลิกลิ้น! ปัดไม่รู้ว่ายิงเด็กตาย 3 ศพ เกิดคลั่งทำร้ายผู้ต้องขังรายอื่น
  18. คลั่งไม่หยุด! แยกขัง “ไอ้ต้อย” มือสังหารนักเรียนดับ 3 ศพ หลังจับผู้ต้องหาอื่นหัวโขกพื้น
  19. คุมตัว ‘เสี่ยต้อย’ ฝากขัง ด้านป้ารุดเยี่ยม ยันตอนไม่คลั่งยาหลานชายเป็นคนดี
  20. เสี่ยต้อย 3 ศพคอตกเข้าคุก แม่น้องแพรเจอเหตุทำขนลุก เชื่อวิญญาณมาหาคู่แฝด
  21. ส่ง "ไอ้ต้อย" นอนคุกคืนแรก! "น้องน้ำฝน" นักเรียน 1 ในเหยื่อสิงร่างน้าร่ำไห้
  22. ยาบ้าระบาดหนัก ไล่ไทม์ไลน์ 3 คดีฆาตกรรมสุดโหดรอบ 7 วันที่ "กระบี่"
  23. "สมศักดิ์" สั่งเยียวยาครอบครัว 3 นักเรียน เหยื่อคมกระสุน "เสี่ยต้อย"
  24. ป.ป.ส.รับลูก ยธ.ปิดล้อมเครือข่ายค้ายาบ้าให้ "เสี่ยต้อย" 4 จุดที่กระบี่
  25. จับแล้วเอเยนต์สาวขายยาบ้าให้ "ไอ้ต้อย"
  26. จับแล้ว! เอเย่นต์ยาขายให้ "ไอ้ต้อย" มือยิงนักเรียน ม.6 เสียชีวิต 3 ศพ
  27. ชาวกระบี่ แต่งดำ ยื่น 3 ข้อเรียกร้อง จี้ "ลุงป้อม" แก้ปัญหายาเสพติดเร่งด่วน
  28. กันไว้ดีกว่าแก้
  29. ตื่นแล้ว! ผวจ.กระบี่ เปิดแผนปฏิบัติการลุยปราบยาเสพติด ค้นเป้าหมาย 60 จุด ขณะ “ไอ้ต้อย” ถูกขังเดี่ยว
  30. มือยิงโหดนักเรียนดับ 3 ศพ เสียชีวิตแล้วในเรือนจำ หลังป่วยไข้หวัดใหญ่
  31. "ไข้หวัดใหญ่" ระบาดเรือนจำนครศรีธรรมราช 3,442 คน ตาย 2 คน
  32. มือยิงนร.ดับ 3 ศพ ตายแล้วในเรือนจำนาพรุ หลังป่วยไข้หวัดจนติดเชื้อในกระแสเลือด
  33. มือยิงนักเรียนดับ 3 ศพ เสียชีวิตในเรือนจำนาพรุ ป่วยไข้หวัดจนติดเชื้อในกระแสเลือด ญาติรับศพมาทำพิธีที่บ้าน

พรหมมาศ เลื่อมใส[แก้]

พรหมมาศ หรือ จุ่น เลื่อมใส (มกราคม พ.ศ. 2501 - 28 มกราคม พ.ศ. 2539) เป็นฆาตกรต่อเนื่องชาวไทย ผู้ก่อเหตุฆาตกรรมคน 3 คนระหว่างปีพ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531 เขาถูกตัดสินประหารชีวิตจากการฆาตกรรมสุพจน์ ทองบริสุทธิ์ พลเมืองดีระหว่างการปล้นร้านขายยาที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา​ ในปีพ.ศ. 2528 และถูกประหารชีวิตในปีพ.ศ. 2539 เขานับเป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในรอบเกือบ 9 ปี หลังจากการประหารชีวิตสมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และสุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530

พรหมมาศ เลื่อมใส
เกิดมกราคม พ.ศ. 2501
ตำบลเกาะลอย อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต26 มกราคม พ.ศ. 2539 (38 ปี)
เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการยิง
ชื่ออื่นจุ่น
อาชีพลูกเรือประมง
มีชื่อเสียงจากบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในรอบเกือบ 9 ปี
สถานะทางคดีถูกประหารชีวิต
พิพากษาลงโทษฐาน
  • ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
  • ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่
  • พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
  • ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
  • พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
  • พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
บทลงโทษประหารชีวิต
รายละเอียด
ระยะเวลาอาชญากรรม
30 มิถุนายน พ.ศ. 2528–28 มีนาคม พ.ศ. 2531
ประเทศประเทศไทย
รัฐจังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี
ตำแหน่งร้านขายยาอี้เซ้ง ตำบลลาดขวาง อำเภอบ้านโพธิ์
ร้านอาหารโต้รุ่ง ตลาดช่องแสมสาร ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ
บ้านเนินไผ่ ตำบลหน้าประดู่ อำเภอพานทอง
ตายสุพจน์ ทองบริสุทธิ์ อายุ 32 ปี
สมบูรณ์ พลอยประเสริฐ อายุ 26 ปี
พลวิษณุ บุญเผย อายุ 28 ปี
บาดเจ็บเกียรติ สุขประเสริฐ
อาวุธปืนลูกซองยาว
ปืนพกขนาด .38
วันที่ถูกจับ
28 มีนาคม พ.ศ. 2531
จำคุกที่เรือนจำกลางบางขวาง

การก่อคดี[แก้]

การปล้นร้านขายยาอี้เซ้ง[แก้]

วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2528 พรหมมาศได้พาคนร้ายจำนวน 5 คนนั่งเรือหางยาวมาตามคลองลาดขวางแล้วจอดที่ท่าเรือห่างจากบ้านครอบครัวเจริญสุข 20 เมตร ถัดจากนั้นพรหมมาศและคนร้ายอีก 2 คนซึ่งใส่หมวกไหมพรมคลุมหน้าได้ลงจากเรือพร้อมกับมีด, ปืนขนาด.38 และปืนลูกซอง แล้วเดินเข้ามาหานางสาวศิริพร เจริญสุข อายุ 17 ปี ซึ่งกำลังแล้วขายของอยู่หน้าร้าน กลุ่มคนร้ายได้ใช้ปืนขู่ศิริพรเพื่อไม่ให้ขัดขืน ก่อนจะแยกย้ายกันรื้อค้นทรัพย์สิน ระหว่างที่คนร้ายรื้อค้นทรัพย์สิน ศิริพรได้ตะโกนขอความช่วยเหลือ นงนุชแม่ของศิริพรที่กำลังกินข้าวอยู่ในครัวหลังบ้านจึงกระโดดออกจากหน้าต่างแล้ววิ่งหนีไปปีนรั้วหลังบ้านเพื่อขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านและตะโกนว่า"ช่วยด้วย...ช่วยด้วย...ไฟไหม้" ทำให้ปราณีแม่ของศิริพรซึ่งนอนอยู่ชั้นสองได้รีบลงมายังชั้นล่างทำให้เธอถูกหนึ่งในคนร้ายใช้ปืนจ่อศรีษะ ในเวลาเดียวกันนายสุพจน์ ทองบริสุทธิ์ อายุ 32 ปี ชาวบ้านที่อยู่ห่างจากร้านขายยาเล็กน้อยได้คิดว่าได้เกิดไฟไหม้จริงๆ จึงวิ่งออกจากบ้านเพื่อมาช่วยดับไฟ พรหมมาศซึ่งถือปืนลูกซองและเป็นหัวหน้าสั่งการลูกน้องอยู่จึงใช้ปืนยิงออกจากร้าน ส่งผลให้สุพจน์เสียชีวิตในทันที เมื่อคนร้ายได้ทรัพย์สินมูลค่า 4,000 บาท ซึ่งประกอบด้วยเข็มขัดเงินน้ำหนัก 14 บาท จำนวน 1 เส้น แว่นตา 1 อัน กลุ่มคนร้ายจึงออกจากร้านไปพร้อมกับแบกเอาตู้เก็บเครื่องสำอางกับตู้ใส่แว่นไปด้วย ระหว่างที่ออกจากร้านกลุ่มคนร้ายได้ใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าจำนวน 5 นัดเพื่อขู่ชาวบ้าน ก่อนจะวิ่งกลับไปที่เรือหางยาวก่อนจะขับหลบหนีไป

จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านโพธิ์ทำให้ทราบชื่อผู้ก่อเหตุยิงสุพจน์คือพรหมมาศ เลื่อมใส ตำรวจจึงออกหมายจับพรหมมาศแต่เขาได้หลบหนีไปทำงานเป็นลูกเรือประมง เมื่อไม่ได้ออกเรือเขามักจะไปเล่นพนันตามวงไพ่หรือไฮโล

การฆาตกรรมที่ร้านอาหารโต้รุ่ง ตลาดช่องแสมสาร[แก้]

ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 เขาได้ไปกินเหล้าที่ร้านอาหารโต้รุ่งตลาดช่องแสมสาร เขาได้มีปากเสียกับสมบูรณ์ พลอยประเสริฐและเกียรติ สุขประเสริฐ นายท้ายเรือประมงซึ่งมานั่งดื่มเหล้าที่โต๊ะตรงข้าม เมื่อพบว่าไม่น่าจะสู้ได้ เขาจึงกลับไปเอาปืนลูกซองจากบ้าน ในเวลา 01.00 น. เขาได้ใช้ปืนลูกซองยิงเกียรติจนได้รับบาดเจ็บสาหัส สมบูรณ์จึงลุกขึ้นมาแย่งปืนลูกซองจากพรหมมาศ เมื่อสมบูรณ์เสียหลักล้มลง เขาจึงใช้ปืนยิงที่ศรีษะของสมบูรณ์จนเสียชีวิตแล้วหลบหนีไป เจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิฐานว่าคนร้ายน่าจะเคยมีเรื่องโกรธกันมาก่อน จากการสืบสวนพยานที่เหตุการณ์ทำให้ทราบชื่อของคนร้ายคือพรหมมาศ เลื่อมใส

การฆาตกรรมครั้งสุดท้ายและการจับกุม[แก้]

วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2531 เวลาประมาณ 12.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอพานทองจำนวน 9 นายได้เข้าจับกุมผู้เล่นพนันรัมมี่ที่บ้านเนินไผ่ อำเภอพานทอง ระหว่างที่พลวิษณุ บุญเผย, สิบตำรวจตรีชาพุมาตร ศรีคุมแก้ว และดาบตำรวจถาวร สวัสดิผล กำลังวิ่งไล่ตามนักพนันจำนวน 3 คน เมื่อพรหมมาศหนึ่งในนักพนันจวนตัว เขาจึงหันกลับมาแล้วใช้ปืนยิงวิษณุจำนวน 2 นัด ทำให้วิษณุเสียชีวิต ถาวรและชาพุมาตรจึงเปลี่ยนจากการติดตามนักพนันคนอื่นมาติดตามเขา เมื่อเขาเห็นถาวรและชาพุมาตรเข้าใกล้จึงยิงใส่ทั้งสอง 2 นัดแต่กระสุนไม่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ชาพุมาตรจึงใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าจำนวน 3 นัด เขาจึงโยนปืนลงคูน้ำและยอมจำนนเนื่องจากกลัวจะถูกวิสามัญฆาตกรรมและไม่มีกระสุนเหลือ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควบคุมตัวเขามายังสถานีตำรวจภูธรพานทองเพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายและแจ้งข้อหาพกอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่, พยามยามฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน

การพิจารณาคดี และการประหารชีวิต[แก้]

ในปีพ.ศ. 2531 ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราได้ตัดสินประหารชีวิตพรหมมาศในความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายจากคดีฆาตกรรมสุพจน์ ทองบริสุทธิ์ที่อำเภอบ้านโพธิ์ และย้ายตัวเขาไปยังเรือนกลางบางขวาง ส่วนคดีฆาตกรรมที่จังหวัดชลบุรีไม่พบข้อมูลคำตัดสินว่าได้รับโทษอย่างไร เขาได้ใช้สิทธิ์ขอยื่นอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้พิพากษายืนประหารชีวิต หลังจากนั้นเขาได้ใช้สิทธิ์ขอยื่นฎีกา แต่ศาลฏีกาก็พิพากษายืนประหารชีวิตตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เขาจึงถวายฎีกาทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2536 แต่ฎีกาดังกล่าวได้ถูกกระทรวงมหาดไทยสั่งยกในปีพ.ศ. 2538 เนื่องจากเขามีพฤติกรรมเป็นอาชญากร ประกอบกับการก่ออาชญากรรมหลายครั้ง ประพฤติตัวเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และไม่มีทางแก้ไขให้กลับตัวเป็นคนดีได้ ต่อมาในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2538 หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยได้กล่าวว่าชายคนหนึ่งซึ่งไม่ได้มีการเปิดเผยชื่อ กำลังจะถูกประหารชีวิตเพื่อยับยั้งการก่ออาชญกรรม โดยชายคนดังกล่าวถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆาตกรรม 3 ครั้งในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2528 ถึง 2530 จริงๆบุคคลดังกล่าวก็คือพรหมมาศแต่ยังไม่ได้มีการเปิดเผยชื่อว่าพรหมมาศคือชายที่กำลังจะถูกประหารชีวิต

วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลาประมาณ 16.00 น. เจ้าหน้าที่ได้นำตัวพรหมมาศออกจากหมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1 อย่างเงียบๆเพื่อไม่ให้นักโทษประหารคนอื่นแตกตื่น เมื่อนำตัวมาถึงหมวดผู้ช่วยเหลือฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้เข้าไปพิมพ์ลายนิ้วมือของเขาและตรวจสอบประวัติอาชญากร เมื่อเจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือของเขาเสร็จ เวรผู้ใหญ่ได้ทำการอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้และให้เซ็นลงในคำสั่ง ถัดจากนั้นได้ให้เขาเขียนพินัยกรรมโดยเขาได้เขียนจดหมายถึงแม่ หลังจากเขียนพินัยกรรมและจดหมายพี่เลี้ยงได้ยกอาหารมื้อสุดท้ายซึ่งประกอบด้วยข้าวเปล่า, น้ำพริกปลาทู และแกงจืดมะระยัดไส้มา เขามีอาการกลัวจนเดินไม่ไหวและเหงื่อออก เขาได้ขอบุหรี่มาสูบเพื่อลดความหวาดกลัว ในเวลา17.00 น. เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงนำเขาเข้าไปเพื่อฟังเทศนาธรรมจากพระครูอินทสรานุรักษ์ซึ่งเทศนาเรื่องกฎแห่งกรรม ระหว่างฟังเทศน์เขามีสีหน้าซีดเผือกและหวาดกลัวมาก พระครูอินทสรานุรักษ์เห็นใบหน้าของเขาจึงเทศน์ให้ให้มีสติตั้งมั่นในหลักธรรมคําสอนเรื่อง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นของธรรมดาสุดแต่เวรแต่กรรม มิให้ยึดถือโกรแค้น ทำให้ความหวาดกลัวของเขาลดลงและสงบนึ่งมากขึ้น โดยยังมีน้ำตาคลอหน้าอยู่บ้าง หลังจากการเทศน์ระยะเวลาประมาณ 10 นาที เขาได้ถวายเงินติดกัณฑ์เทศน์ ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้พาเขาไปยังศาลาเย็นในเพื่อเตรียมการประหารชีวิต โดยระหว่างเดินเขาร้องไห้และคอพับอ่อนจนเดินไม่ไหว เขาถูกนำตัวเข้าสถานที่หมดทุกข์และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อเวลา 18.48 น. โดยเพชณฆาตเชาวน์เรศน์ จารุบุศย์ ซึ่งเขาเสียชีวิตจากการยิงเพียงชุดเดียว หลังจากการประหารชีวิต 3 นาทีพี่เลี้ยงและแพทย์ได้ตรวจสอบร่างของเขาและยืนยันว่าเขาเสียชีวิตก่อนปลดเขาออกจากหลักประหารแล้วนำศพของเขาคว่ำหน้าไว้ ก่อนนำศพของเขาไปพิมพ์ลายนิ้วมือ ในวันถัดมานักโทษซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานได้ตัดตรวนสองชั้นที่ขาของเขาออกแล้วอาบน้ำกับเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ก่อนบรรจุลงไปในโลงศพ แล้วนำศพของทั้งสองออกไปทางประตูเเดงของวัดบางแพรกใต้ ก่อนนำศพไปเก็บที่ช่องเก็บศพนักโทษประหาร แล้วโบกปูนและเขียนชื่อของนักโทษที่ถูกประหารชีวิตไว้ด้านหน้าของช่องเก็บศพ ในอีกสองวันต่อมาญาติของเขาได้เดินทางมารับศพกลับไปประกอบพิธีกรรมตามศาสนาที่อำเภอพานทอง

พรหมมาศนับเป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในรอบเกือบ 9 ปี นับตั้งแต่การประหารชีวิตสมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และสุวรรณ คำภูษา ในปีพ.ศ. 2530 และนับเป็นผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนที่ 276 ของประเทศไทยด้วยการยิงเป้า

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า
สมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และสุวรรณ คำภูษา
บุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย
พรหมมาศ เลื่อมใส
ถัดไป
บุญโชติ พงศ์พราหมณ์ และ พนม ทวีสุข