ข้ามไปเนื้อหา

บุญชง วีสมหมาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายบุญชง วีสมหมาย
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)
ดำรงตำแหน่ง
2 ธันวาคม พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าเดช บุญ-หลง
ถัดไปนิพนธ์ พร้อมพันธุ์
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(1 ปี 3 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
ก่อนหน้าโสภณ เพชรสว่าง
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ถัดไปสุชาติ ตันเจริญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มีนาคม พ.ศ. 2474
อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
เสียชีวิต19 เมษายน พ.ศ. 2546 (อายุ 72 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2495 - 2517)
กิจสังคม (2517 - 2523)
ความหวังใหม่ (2535 - 2545)
ไทยรักไทย (2545 - 2546)
คู่สมรสทันตแพทย์หญิงกรองกาญจน์ วีสมหมาย

นายบุญชง วีสมหมาย (13 มีนาคม พ.ศ. 2474 - 19 เมษายน พ.ศ. 2546) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในสมัยของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกวุฒิสภา

ประวัติ[แก้]

นายบุญชง วีสมหมาย เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2474 เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายเซ่งซอย กับนางบุญ วีสมหมาย มีพี่น้อง 6 คน[2] สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย และระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการ จากวิทยาลัยครูสุรินทร์ สมรสกับท.พญ.กรองกาญจน์ วีสมหมาย อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดศรีสะเกษ มีบุตร-ธิดา 5 คน

นายบุญชง วีสมหมาย เสียชีวิต เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2546 ด้วยอายุ 72 ปี[3]

การทำงาน[แก้]

การศึกษา[แก้]

นายบุญชง วีสมหมาย เป็นผู้ที่มีบทบาทในการผลักดันให้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ โดยริเริ่มขอใช้พื้นที่จากผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อปี พ.ศ. 2537 และได้เริ่มขยายวิทยาเขตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และรับนักศึกษาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540[4]

การเมือง[แก้]

นายบุญชง วีสมหมาย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2519 เป็นสมัยแรก ในสังกัดพรรคกิจสังคม เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2523 และได้กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก 4 สมัย สังกัดพรรคความหวังใหม่ จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี พ.ศ. 2538 และเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2539[5] ต่อมาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 จนกระทั่งถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 บุญชงต้องสิ้นสภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการชั่วคราว ทำให้ตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ต้องสิ้นสุดลงตามไปด้วย[6]

ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายบุญชง วีสมหมาย ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสำคัญหลายฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติระเบียบการปฏิบัติราชการของทบวงมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ[7]

ประวัติการทำงานในสภา[แก้]

  • พ.ศ. 2538 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
  • พ.ศ. 2539 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
  • พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545 รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง[แก้]

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัด พรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัด พรรคความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัด พรรคความหวังใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัด พรรคความหวังใหม่
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัด พรรคความหวังใหม่
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัด พรรคความหวังใหม่พรรคไทยรักไทย


การเชิดชูเกียรติ[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดสร้างอนุสาวรีย์นายบุญชง วีสมหมาย เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงนายบุญชง ผู้ริเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยเริ่มต้นสร้างเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. "บุคคลสำคัญทางวัฒนธรรม จังหวัดศรีสะเกษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-18. สืบค้นเมื่อ 2010-06-21.
  4. ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ[ลิงก์เสีย]
  5. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  6. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๖ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๕
  7. "สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-08-19.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  10. รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไซต์ thaiscouts