ธงชาติไอซ์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Iceland
การใช้ธงพลเรือน และ ธงเรือพลเรือน
สัดส่วนธง18:25
ประกาศใช้พ.ศ. 2487
ลักษณะกางเขนนอร์ดิกสีแดงซ้อนทับกางเขนสีขาว บนธงพื้นสีน้ำเงิน
ออกแบบโดยMatthías Þórðarson
การใช้ธงราชการ ธงกองทัพ ธงราชการ และ ธงนาวี
สัดส่วนธง18:32
ลักษณะลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ด้านปลายธงตัดเป็นหางนกแซงแซว 2 แฉก
การใช้ธงราชการ และ ธงเรือราชการ
สัดส่วนธง18:32
ลักษณะลักษณะอย่างเดียวกับธงราชการ ที่มุมบนคันธงมีตัวอักษร"T"สีเทา
การใช้ธงประธานาธิบดีแห่งไอซ์แลนด์
สัดส่วนธง18:37
ลักษณะลักษณะอย่างเดียวกับธงราชการ ที่ตรงกลางจุดตัดเครื่องหมายกากบาทมีตราแผ่นดินของไอซ์แลนด์ภายในสี่เหลี่ยมสีขาว
ธงชาติในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2461 และ พ.ศ. 2487, โทนสีของธงรุ่นนี้มีลักษระเป็นสีนำเงินรอยัลบลู "ultramarine blue." สัดส่วน 25:18.

ธงชาติไอซ์แลนด์ (ไอซ์แลนด์: íslenski fáninn) มีรูปแบบคล้ายธงชาติกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คือ มีรูปกางเขนอยู่ในธงชาติ รูปกางเขนแดงในธงชาติไอซ์แลนด์สะท้อนให้เห็นถึงอดีตที่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศเดนมาร์ก และ ศาสนาคริสต์[1][2] ธงชาติสำหรับใช้ทั่วไปนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนธงราชการและธงทหารนั้น มีลักษณะคล้ายธงชาติ แต่ด้านปลายธงตัดเป็นหางนกแซงแซว 2 แฉก หากธงดังกล่าวมีตราแผ่นดินอยู่ตรงกลางเครื่องหมายกากบาทนั้น แสดงว่าเป็นธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดี

ประวัติ[แก้]

ไอซ์แลนด์เป็นอาณานิคมของพวกไวกิ้งที่มาจากนอร์เวย์ซึ่งโจมตีดินแดนในสมัยศตวรรษที่ 9 ไอซ์แลนด์ได้จัดตั้งรัฐสภาเป็นครั้งแรกในยุโรปเมื่อ ค.ศ. 930 หรือ พ.ศ. 1473 และกษัตริย์นอร์เวย์ได้เข้ายึดปกครองใน ศตวรรษที่ 13-14 ต่อมาเดนมาร์กได้เข้ายึดการปกครองทั้งไอซ์แลนด์และนอร์เวย์ โดยธงชาติผืนปัจจุบันของไอซ์แลนด์ได้รับการประกาศใช้ให้เป็นธงชาติประจำรัฐอิสระแยกการปกครองออกจากเดนมาร์กในปี พ.ศ. 2461 และเป็นธงชาติเมื่อได้รับเอกราชและอิสรภาพอย่างสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2487

อ้างอิง[แก้]

  1. Jeroen Temperman. "State Religion Relationships and Human Rights Law". Martinus Nijhoff Publishers. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31. Many predominantly Christian states show a cross, symbolising Christianity, on their national flag. Scandinavian crosses or Nordic crosses on the flags of the Nordic countries–Denmark, Finland, Iceland, Norway and Sweden–also represent Christianity.
  2. Carol A. Foley. "The Australian Flag: Colonial Relic or Contemporary Icon". William Gaunt & Sons. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31. The Christian cross, for instance, is one of the oldest and most widely used symbols in the world, and many European countries, such as the United Kingdom, Norway, Sweden, Finland, Denmark, Iceland, Greece and Switzerland, adopted and currently retain the Christian cross on their national flags.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]