ข้ามไปเนื้อหา

ทางรถไฟสายสงขลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางรถไฟสายสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานะยกเลิก
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี15
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟระหว่างเมือง
ระบบรถไฟทางไกล
เส้นทาง1
ประวัติ
เปิดเมื่อ1 มกราคม พ.ศ. 2456
ปิดเมื่อ1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 (65 ปี)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง29 กม. (18.02 ไมล์)
รางกว้างราง 1 เมตร ทางเดี่ยว

ทางรถไฟสายหาดใหญ่–สงขลา[1] หรือ ทางรถไฟสายสงขลา–สุไหงโก-ลก[2] เป็นทางแยกสายหนึ่งของทางรถไฟสายใต้ ที่ชุมทางหาดใหญ่ สุดปลายทางที่สถานีรถไฟสงขลา มีความยาว 29 กิโลเมตร

ประวัติ[แก้]

ทางรถไฟสายสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายใต้ซึ่งในขณะนั้นมีการก่อสร้างเป็นช่วง ๆ เบื้องต้นมีการก่อสร้างเส้นทางสงขลา–พัทลุง ระยะทาง 107 กิโลเมตร กระทรวงคมนาคมจึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เปิดการเดินรถรับส่งผู้โดยสารและสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา[3] กรมรถไฟหลวงก่อสร้างทางรถไฟสายใต้เสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2459 เชื่อมการเดินทางไปถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อยได้[4]

กรมรถไฟหลวงได้ย้ายทางแยกสายสงขลา จากเดิมแยกที่สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาไปยังสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เพื่อให้ชุมทางสายสุไหงโก-ลก และสายปาดังเบซาร์รวมอยู่ที่หาดใหญ่ที่เดียว พร้อมกับยุบเลิกสถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาใน พ.ศ. 2465 ทำให้การเดินทางระหว่างสงขลากับหาดใหญ่เป็นไปอย่างสะดวก และมีการเพิ่มขบวนรถเพื่อรองรับผู้โดยสารที่มีมากขึ้นตามลำดับ[4]

ในเวลาที่ผู้คนนิยมใช้รถไฟในการโดยสาร ใน พ.ศ. 2509 รัฐบาลได้ก่อสร้างทางหลวงเพิ่มขึ้น มีการปรับปรุงผิวทางจราจรให้แข็งแรง การเดินทางด้วยรถยนต์จึงได้รับความนิยมแทนที่รถไฟ[4] ที่สุดคณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยกเลิกการเดินรถไฟสายสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 แต่ให้รักษาเขตทางไว้ก่อน โดยมิได้รื้อทางรถไฟออก ปัจจุบันเส้นทางอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม และมีผู้บุกรุกปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนทับบริเวณเขตทางรถไฟเป็นจำนวนมาก[5] โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครสงขลา

กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนสถานีรถไฟสงขลา พื้นที่ 3 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา เป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2547[6]

สถานี[แก้]

ทางรถไฟสายสงขลาประกอบด้วยสถานี ที่หยุดรถและป้ายหยุดรถดังต่อไปนี้[7]

(เป็นข้อมูลในปี พ.ศ. 2511)

การฟื้นฟู[แก้]

เมื่อเมืองหาดใหญ่และเมืองสงขลามีการพัฒนาเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก จึงมีแนวคิดที่จะฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้ขึ้นมาใหม่ตามโครงการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยงเมืองสงขลา มี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นผู้ให้ทุนและมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาจราจรและขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ศึกษาในปี พ.ศ. 2552 ผลการศึกษาเห็นว่าระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมควรเป็นทางรถไฟรางเดี่ยว ใช้ขบวนรถดีเซลราง โดยมีประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ 5,000 ล้านบาท [8]

กิโลเมตรที่ ผลการสำรวจ
กม.928 จุดเริ่มต้นทางรถไฟสายสงขลา,ลอดใต้สะพานลอยถนนเพชรเกษม,ประแจมือ หมายเลข 96
กม.929 หลักกิโลเมตรที่ 929,ประแจมือหมายเลข 97,ป้ายหยุดรถตลาดหาดใหญ่
กม.930 ลอดใต้สะพานสัจจกุล,มีบ้านบุกรุกคันทาง
กม.931 สะพานไม้ข้ามถนนดำ ความยาว 60 เมตร,จุดตัดถนนลพบุรีราเมศวร์
กม.932 ป้ายหยุดรถคลองแห,สะพานข้ามคลองเตย ความยาว 40 เมตร
กม.933 เลียบคลองชลประทาน,สะพานข้ามถนนคลองเตย-คลองเปล ความยาว 20 เมตร
กม.934 ป้ายหยุดรถคลองเปล,มีการปลูกสับปะรดบนคันทาง
กม.935 จุดตัดซอยกาญจนวนิช 1
กม.936 มีถนนดินเลียบคันทาง,ป้ายหยุดรถบ้านเกาะหมี,จุดตัดทางหลวงชนบท สข.3041,จุดตัดทางหลวงหมายเลข 407 แห่งที่ 1,อดีตสถานีเขาบันไดนาง
กม.937 เลียบทางหลวงหมายเลข 407
กม.938 สะพานความยาว 20 เมตร,จุดตัดทางหลวงชนบท สข.3005,สะพานข้ามคลองน้ำน้อย ความยาว 60 เมตร
กม.939 ป้ายหยุดรถตลาดน้ำน้อย,อดีตสถานีน้ำน้อย
กม.940 จุดตัดทางหลวงหมายเลข 407 แห่งที่ 2
กม.941 จุดตัดถนนลาดยาง แยกมาจากทางหลวงหมายเลข 407
กม.942 ป้ายหยุดรถบ้านกลางนา,จุดตัดถนนลาดยาง แยกมาจากทางหลวงหมายเลข 407
กม.943 จุดตัดทางหลวงหมายเลข 407 แห่งที่ 3
กม.944 อดีตสถานีควนหิน,สะพานข้ามคลองพะวง ความยาว 20 เมตร ปัจจุบันเหลือเพียงซากท้องช้าง
กม.945 ป้ายหยุดรถตลาดพะวง,จุดตัดทางหลวงชนบท สข.3015
กม.946 ไม่ทราบ
กม.947 ไม่ทราบ
กม.948 ที่หยุดรถน้ำกระจาย,จุดตัดทางหลวงหมายเลข 408
กม.949 ไม่ทราบ
กม.950 ป้ายหยุดรถบ้านบางดาน,จุดตัดทางหลวงหมายเลข 407 แห่งที่ 4
กม.951 ไม่ทราบ
กม.952 สะพานความยาว 20 เมตร
กม.953 ไม่ทราบ
กม.954 สะพานข้ามคลองสำโรง ความยาว 20 เมตร
กม.955 ไม่ทราบ
กม.956 จุดตัดถนนเข้าลานจอดรถ ที่โรงแรม Greenworld Palace,จุดตัดถนนเตาหลวง,จุดตัดทางหลวงหมายเลข 407 แห่งที่ 5,ป้ายหยุดรถวัดอุทัย
กม.957 จุดตัดถนนทะเลหลวง,จุดตัดถนนรามวิถีซอย 6,แยกกับทางรถไฟไปยังท่าเรือสงขลา
กม.958 ย่านสถานีสงขลา,อดีตสถานีสงขลา,ป้ายสถานีด้านทิศเหนือ

ต่อมา เส้นทางนี้ได้ถูกนำมาศึกษาเพื่อฟื้นฟู โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟทางคู่ สายสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยมีระยะทางรวม 29 กิโลเมตร ครอบคลุม 2 อำเภอ 9 ตำบล สถานีในแนวเส้นทาง 7 สถานี (ไม่รวมสถานีชุมทางหาดใหญ่)[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 20. 24 กันยายน 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.
  2. "พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2520" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (31 ก): 323. 12 เมษายน 2520.
  3. "ประกาศกระทรวงคมนาคม แพนกรถไฟ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 2218–2219. 28 ธันวาคม 2456.
  4. 4.0 4.1 4.2 ปริญญา ชูแก้ว (5 มีนาคม 2556). "อาคารสถานีรถไฟสงขลา มรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย" (PDF). รถไฟไทยดอทคอม. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ประชาไท (20 มกราคม 2554). รายงานพิเศษ: 50 ชุมชนบนแนวรางคู่สายใต้ กับพัฒนาการต่อสู้บนที่ดินรถไฟ. เรียกดูเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2556
  6. "ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (พิเศษ 52 ง): 4. 10 พฤษภาคม 2547.
  7. http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=524
  8. http://www.songkhlaline.com
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-04. สืบค้นเมื่อ 2017-02-13.