ข้ามไปเนื้อหา

ทอ.4 จันทรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทอ.4 จันทรา
เครื่องบินจันทรา (บ.ฝ.17)
หน้าที่ เครื่องบินฝึก
ประเทศผู้ผลิต  ไทย
ผู้ผลิต กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศไทย
เที่ยวบินแรก 25 กันยายน พ.ศ. 2515
เริ่มใช้ 26 กันยายน พ.ศ. 2517
ผู้ใช้หลัก กองทัพอากาศไทย
จำนวนที่ถูกผลิต 12
พัฒนาจาก de Havilland Canada DHC-1 Chipmunk

ทอ.4 จันทรา (บ.ฝ.17) เป็นเครื่องบินแบบแรกของกองทัพอากาศไทยที่ผลิตออกมาใช้งานภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพอากาศไทยกำหนดสัญลักษณ์เป็น บ.ฝ.17 หรือ เครื่องบินฝึกแบบ 17 โครงการสร้างเครื่องบินแบบ ทอ.4 เริ่มขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เครื่องต้นแบบบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2515 กรมช่างอากาศได้รับงบประมาณสร้าง ทอ.4 จำนวน 12 เครื่อง สายการผลิต ทอ.4 เริ่มในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 และมีพิธีมอบ ทอ.4 จำนวน 12 เครื่อง เพื่อบรรจุเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2517 เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึกนักบินพลเรือนของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ

เครื่อง ทอ.4 ได้ใช้ฐานแบบมาจาก เครื่องบินแบบ ดี ฮาวิล แลนด์ ชิปมังค์ (บ.ฝ.9) โดยดัดแปลงและพัฒนาให้ดีขึ้น ได้มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์จากเครื่องยนต์ลูกสูบเรียง 4 กระบอกสูบแบบยิปซีเมเจอร์ กำลัง 145 แรงม้ามาเป็นเครื่องยนต์สูบนอน 6 กระบอกสูบแบบคอนติเนนตัล กำลัง 210 แรงม้า มีการเปลี่ยนแปลงลำตัวและชุดหางใหม่ให้มีคุณลักษณะดีขึ้นในการบังคับ มีการสร้างประทุนคลุมที่นั่งนักบินใหม่และติดตั้งระบบเครื่องวัดประกอบการบินเดินอากาศและระบบไฟฟ้าอีเล็คทรอนิกส์ใหม่

ประจำการ[แก้]

 ไทย

รายละเอียด ทอ.4 จันทรา(บ.ฝ.17)[แก้]

  • ผู้สร้าง กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศไทย (ไทย)
  • ประเภท เครื่องบินฝึกหรือธุรการ
  • เครื่องยนต์ ลูกสูบคอนติเนนตัล ไอโอ-360-เอช สูบนอน 6 สูบ กำลัง 210 แรงม้า 1 เครื่อง
  • กางปีก 10.55 เมตร
  • ยาว 7.80 เมตร
  • สูง 2.41 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 744.5 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุก 345 กิโลกรัม
  • น้ำหนักรวมสูงสุด 1,090 กิโลกรัม
  • น้ำหนักรวมสูงสุดนำหรับบินผาดแผลง 1,044 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง 258 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระดับน้ำทะเล
  • อัตราเร็วเดินทาง 225 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระยะสูง 5,000 ฟุต
  • อัตราไต่สูงสุด 365 เมตร/นาที ที่ระดับน้ำทะเล
  • ระยะทางวิ่งขึ้นถึงระยะสูง 50 ฟุต 240 เมตร
  • ระยะทางร่อนลงจากระยะ 50 ฟุต 315 เมตร
  • พิสัยบิน 1,014 กิโลเมตร ที่ระดับน้ำทะล
  • บินทน 4 ชั่วโมง 30 นาที ที่ระดับน้ำทะเล

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • อภิวัตน์ โควินทรานนท์. อากาศยาน 1979 ฉบับเครื่องบิน. กรุงเทพฯ : เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์, พ.ศ. 2522.