ข้ามไปเนื้อหา

ฐานทัพเรือสัตหีบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐานทัพเรือสัตหีบ
ส่วนหนึ่งของกองทัพเรือไทย
สัตหีบ ชลบุรี
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ประจำการอยู่ภายในฐานทัพเรือสัตหีบ
ฐานทัพเรือสัตหีบตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ฐานทัพเรือสัตหีบ
ฐานทัพเรือสัตหีบตั้งอยู่ในประเทศไทย
ฐานทัพเรือสัตหีบ
พิกัด12°39′25″N 100°53′04″E / 12.65690°N 100.88431°E / 12.65690; 100.88431
ประเภทฐานทัพเรือ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการNaval flag of ไทย กองทัพเรือไทย
ประวัติศาสตร์
สร้าง23 ธันวาคม พ.ศ. 2465; 101 ปีก่อน (2465-12-23)
การใช้งาน23 ธันวาคม 2465 (2465-12-23)–ปัจจุบัน
ข้อมูลสถานี
ผู้บัญชาการ
ปัจจุบัน
พลเรือโท ชยุต นาเวศภูติกร​[1]

ฐานทัพเรือสัตหีบ (อังกฤษ: Sattahip Naval Base) เป็นฐานทัพของกองทัพเรือไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย มีหน้าที่ปกป้องน่านน้ำในสัตหีบและดูแลกองกำลังของกองทัพเรือในสัตหีบ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบคนปัจจุบันคือ พลเรือโท[2]ชยุต นาเวศภูติกร[3]รองผู้บัญชาการ​ได้แก่ พลเรือตรี สมาน ขันธพงษ์ [4]และ พลเรือตรี ทรงศักดิ์ จุมปามัญ[5]

ประวัติ[แก้]

ฐานทัพเรือสัตหีบ เริ่มก่อกำเนิดขึ้นมาด้วยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จประพาสทางชลมารคเลียบฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย โดยเรือพระที่นั่ง มหาจักรี ในปี พ.ศ. 2457 พระองค์ได้เสด็จฯ มาประทับในอ่าวสัตหีบเพื่อทอดพระเนตรการซ้อมรบของกองทัพเรือด้วย ในการเสด็จคราวนั้นพระองค์ได้ทอดพระเนตรหมู่บ้านสัตหีบ เห็นว่าเป็นชัยภูมิอันเหมาะสมที่จะตั้งเป็นฐานทัพเรือ จึงได้มีพระบรมราชโองการด้วยพระโอษฐ์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2457 แก่พระยาราชเสนาผู้แทนสมุหเทศภิบาล มลทฑจันทบุรี และพระยาประชาไศรยสรเดช ผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี ขณะทรงประทับอยู่ในเรือพระที่นั่งว่า มีพระราชประสงค์ที่ดินฝั่งตำบลสัตหีบ และที่ไกล้เคียงตลอดทั้งเกาะใหญ่น้อย บรรดาที่มีอยู่ริมฝั่งน้ำอย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับใบเหยียบย่ำหรือ กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินบนฝั่งหรือเกาะที่สงวนไว้แล้วนั้นเป็นอันขาด

ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2465 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือ ได้ทูลพระบาสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขอนำพื้นที่ที่สงวนดังกล่าวมาตั้งเป็นฐานทัพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ความว่า

การที่จะเอาสัตหีบเป็นฐานทัพเรือนั้นก็ตรงตามความปรารถนาของเราอยู่แล้ว เพราะที่เราได้สั่งหวงห้ามที่ดินไว้ก็ด้วยความตั้งใจจะให้เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือและไม่อยากให้โจทย์กันวุ่น จึงได้กล่าวไว้ว่าต้องการที่ไว้ทำวัง สำหรับเผื่อจะมีผู้ขอจับจองฝ่ายเทศภิบาล จะได้ตอบไม่อนุญาตโดนอ้างเหตุว่า พระเจ้าอยู่หัวต้องพระราชประสงค์ เมื่อบัดนี้ทหารเรือต้องการที่นั่นก็ยินดีอนุญาตให้ (สั่งไปทางมหาดไทยด้วย)

— ราม ร.[a]

นับแต่นั้นเป็นต้นมา ทหารเรือจึงได้ใช้พื้นที่ตั้งเป็นฐานทัพเรือจวบจนทุกวันนี้[6]

โครงสร้างหน่วยงาน[แก้]

ส่วนบัญชาการ หน่วยขึ้นตรง หน่วยสมทบ สวัสดิการภายใน
  • กองกำลังพลทหารฐานทัพเรือสัตหีบ
  • กองยุทธการและข่าว
  • กองส่งกำลังบำรุง
  • กองการเงิน
  • กองโครงการและงบประมาณ
  • กองกิจการพลเรือฐานทัพเรือสัตหีบ
  • แผนกกรรมวิธีข้อมูล กองบัญชาการ ฐานทัพเรือสัตหีบ
  • แผนกพระธรรมนูญกองบัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ
  • กรมโรงงานฐานทัพเรือสัตหีบ
  • โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ฐานทัพเรือสัตหีบ
  • การท่าเรือสัตหีบฐานทัพเรือสัตหีบ
  • กองกิจการพิเศษฐานทัพเรือสัตหีบ
  • กองช่างโยธาฐานทัพเรือสัตหีบ
  • กองอสังหาริมทรัพย์ฐานทัพเรือสัตหีบ
  • สถานีสื่อสารฐานทัพเรือสัตหีบ
  • เรือนจำฐานทัพเรือสัตหีบ
  • กรมขนส่งฐานทัพเรือสัตหีบ
  • กองรักษาความปลอดภัยฐานทัพเรือสัตหีบ
  • สหกรณ์ออมทรัพย์ฐานทัพเรือสัตหีบ
  • กิจการไฟฟ้าฐานทัพเรือสัตหีบ
  • กิจการประปาฐานทัพเรือสัตหีบ
  • กิจการหินสวัสดิการสัมปทาน กองทัพเรือ
  • สำนักงานเจ้าหน้าที่ดูแลอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางกองทัพเรือพื้นที่สัตหีบ

หมายเหตุ[แก้]

  1. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]