ข้ามไปเนื้อหา

ซินท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซินท์
กำกับดิ๊ก มาส
เขียนบทดิ๊ก มาส
อำนวยการสร้างตอม เด โมล
ดิ๊ก มาส
นักแสดงนำฮึบ สตาเพล
เอจเบิร์ต ยัง วีเบอร์
คาโฮ เลนเซน
เบิร์ต ลูเปส
กำกับภาพคาโด ฟัน เคนเนพ
ตัดต่อเบิร์ต ริเคลฮูเซน
ดนตรีประกอบดิ๊ก มาส
ผู้จัดจำหน่ายอา-ฟิล์ม
วันฉาย31 ตุลาคม ค.ศ. 2010 (เทศกาลภาพยนตร์เรเซอร์รีลแฟนทาสติค)
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 (เนเธอร์แลนด์)
ความยาว85 นาที
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ภาษาดัตช์

"ซินท์" (ดัตช์: Sint) หรือ "เซนต์" (อังกฤษ: Saint ในสหรัฐ) เป็นภาพยนตร์สยองขวัญดัตช์แนวตลกมืดมน ค.ศ. 2010 ที่เกี่ยวกับซินเตอร์คลาส ซึ่งเป็นตัวละครเปรียบได้กับซานตาคลอส ที่มีในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ กำกับภาพยนตร์โดย ดิ๊ก มาส ซึ่งเป็นการหวนกลับคืนสู่ภาพยนตร์สยองขวัญเช่นเดียวกับที่เขาเคยกำกับมาก่อนอย่าง เดอลิฟท์ (ค.ศ. 1983) และ อัมสเทอดัมเน็ด (ค.ศ. 1988)[1] โดยเป็นเรื่องบิดเบือนจากประเพณีนิยมของซินเตอร์คลาส โดยกำหนดให้เป็นผีตนหนึ่งที่กระทำการสังหารผู้คนเป็นจำนวนมากในคืนฉลองประจำปีที่เกิดขึ้นพร้อมกับพระจันทร์เต็มดวง

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1492 แก๊งกลุ่มหนึ่งที่นำโดยอดีตบาทหลวงนิคลาสได้ถูกสังหารโดยกลุ่มชาวบ้านผู้ซึ่งไม่ต้องการที่จะถูกขโมยทรัพย์สินจากแก๊งอีกต่อไป ซึ่งในปีที่แก๊งได้ล้มหายตายจากไปนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับคืนที่มีพระจันทร์เต็มดวง พวกมันได้กลับคืนมาอีกครั้งในฐานะของผีฆาตกร

ผู้คนต่างไม่ทราบถึงอาเพศนี้ และเทศกาลฉลองประจำปีของประเพณีซินเตอร์คลาสที่มีขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งบรรดาผู้ใหญ่ทั้งหลายต่างไม่เชื่อว่ามีซินเตอร์คลาสอยู่จริงแต่พวกเขาก็ทำให้เด็กเล็กๆเชื่อว่าซินเตอร์คลาสเป็นบุคคลผู้ใจดี สวาเต ปีเตน ซึ่งเป็นผู้ช่วยมิได้มีสีผิวดำโดยสัญชาติ หากแต่เป็นผลที่เกิดจากเพลิงไหม้ที่พวกเขาได้ถูกสังหาร ซินเตอร์คลาสยังมีไม้เท้าโครไซเออร์มีขอบที่แหลมคมและใช้เป็นอาวุธ ในวันที่ 5 ธันวาคม ซินเตอร์คลาส และ สวาเต ปีเตน จะมิได้มีความโดดเด่นเมื่อเทียบกับเหล่าผู้คนเป็นจำนวนมากที่แต่งตัวเป็นพวกเขาเพื่อการเฉลิมฉลอง

ครั้งสุดท้ายที่แก๊งปีศาจหวนกลับมาคือปี ค.ศ. 1968 ผู้คนหลายร้อยรายถูกฆ่าตาย รวมถึงครอบครัวของเด็กน้อยที่มีชื่อว่า พัวร์เอท ผู้ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในปัจจุบัน ซึ่งบรรดาเจ้าหน้าที่ต่างมีส่วนร่วมต่อเหตุการณ์นี้ และพวกเขาตลอดจนคริสตจักรโรมันคาทอลิคล้วนต่างได้มีส่วนต่อการเก็บความลับของนิคลาสเอาไว้

เนื่องด้วยเกิดคืนพระจันทร์เต็มดวงในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2010 พัวร์เอทจึงเกิดความกังวลเป็นอย่างมาก และได้แนะให้ห้ามทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับซินเตอร์คลาสทั้งหมด รวมถึงให้มีการเพิ่มการเฝ้าระวัง แต่นั่นก็มิได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ทั้งยังมีการส่งตัวให้ออกไป

ดังที่พัวร์เอทได้คาดการณ์ไว้ พวกมันได้หวนกลับมาและสังหารผู้คนไปหลายร้อยราย ในขณะที่พวกมันล้วนต่างคงกระพันต่อคมกระสุน ซึ่งในท้ายที่สุดพวกมันก็ถูกไล่ล่าออกไปด้วยเปลวเพลิง โดยนอกเหนือจากพัวร์เอทแล้ว ยังมีแฟรงค์ที่เป็นตัวเอกของเรื่องราวนี้ด้วยเช่นกัน

ตัวละครหลัก[แก้]

  • เซนต์นิคลาส (ฮึบ สตาเพล) เป็นบาทหลวงที่ชั่วร้าย ซึ่งถูกสังหารไปเมื่อ 475 ปีก่อน และได้ก่อเหตุฆาตกรรมทุกๆ 23 ปีในวันที่ 5 ธันวาคม
  • แฟรงค์ (เอจเบิร์ต ยัง วีเบอร์) เป็นเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนักฆ่า 5 ธันวา
  • นาตาชา (มาเดอลีฟ บลังเคน) เป็นเพื่อนสนิทของแฟรงค์
  • ลิซ่า (คาโฮ เลนเซน) เป็นแฟนใหม่ของแฟรงค์ที่เชื่อในตำนานบาทหลวงผู้ชั่วร้าย
  • โซฟี (เอสคา ทานีฮาทู) เป็นเพื่อนสนิทของลิซ่า
  • พัวร์เอท (เบิร์ต ลูเปส) - พัวร์เอทวัยหนุ่ม (นีล ฟาน เดน แบร์ก) เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รอดชีวิตจากเหล่ามือสังหารของบาทหลวงในช่วง 40 ปีก่อน และไม่เชื่อเรื่องวันแห่งเทศกาลบาทหลวงนับแต่นั้นมา
  • แม่ของลิซ่า (ซินเทีย อับมา)
  • เจ้าหน้าที่ตำรวจ (เกส โบท)
  • ฮังโค (โยวี ฟาน เด เฟลเดน) เป็นเพื่อนสนิทของแฟรงค์
  • แซนเดอร์ (ยิม แดดเดส) เป็นเพื่อนของแฟรงค์

ประเด็นถกเถียง[แก้]

ในช่วงที่มิได้อนุญาตให้เยาวชนได้ชมภาพยนตร์ชุดนี้ ก็ได้เกิดความกังวลจากผู้ปกครองถึงโปสเตอร์ภาพยนตร์มากกว่า ดังที่ได้พบเห็นตามท้องถนนรวมถึงตามล็อบบี้ของโรงภาพยนตร์ ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงซินเตอร์คลาสที่ไร้ใบหน้าและมีลักษณะที่มุ่งร้าย บางคนมีความกังวลว่าเรื่องนี้อาจสร้างความสับสนรวมถึงความหวาดกลัวสำหรับเด็กเล็กที่ยังคงมีความเชื่อเรื่องซินเตอร์คลาส โดยได้มีการร้องเรียนทางกฎหมายขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 โดยขอร้องให้นำโปสเตอร์ออกไปทั้งหมด ในกรณีของศาลภายหลัง ทาง ดิ๊ก มาส ซึ่งเป็นผู้กำกับ ได้โต้แย้งว่าหากพ่อแม่สามารถทำให้บุตรหลานของตนเชื่อว่ามีซินเตอร์คลาสอยู่จริงได้ พวกเขาก็ควรชี้แจงว่าบุคคลที่อยู่ในโปสเตอร์ไม่ได้มีอยู่จริง ศาลวินิจฉัยเห็นชอบต่อมาส โดยให้ข้อสังเกตว่ามิได้เผยให้เห็นใบหน้าในโปสเตอร์ได้เพียงพอ และได้ปฏิเสธต่อการร้องเรียนนี้[2][3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Brandpunt - Het heerlijk avondje van Dick Maas - Brandpunt - KRO (ดัตช์)
  2. "Sint film poster worries classification body". Dutchnews.nl. สืบค้นเมื่อ 14 November 2010.
  3. "Beslissingen Reclame Code Commissie over de reclame-uitingen voor de film SINT". สืบค้นเมื่อ 14 November 2010. (ดัตช์)
  4. "College van Beroep bevestigt uitspraak: Poster voor de film Sint niet in strijd met Reclamecode". สืบค้นเมื่อ 14 November 2010. (ดัตช์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]