ข้ามไปเนื้อหา

จูเวไนล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท จูเวไนล์ จำกัด
ประเภทบริษัทจำกัด
อุตสาหกรรมโทรทัศน์
ก่อตั้ง8 ตุลาคม 2564 (2564-10-08)
สำนักงานใหญ่154 ซอยลาดพร้าว 107 (ดีสมโชค) ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
  • รติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์
  • กฤษฏ์ ชูพินิจ
  • ฐิติ สุทธิกุลพานิช
ผลิตภัณฑ์สื่อโทรทัศน์ ประเภทละครโทรทัศน์

บริษัท จูเวไนล์ จำกัด เป็นบริษัทผลิตรายการและละครโทรทัศน์ไทยให้กับสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ และบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต ในเครือเจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย ก่อตั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ผ่านการเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก บริษัท สตูดิโอ แอคทีฟ จำกัด บริหารงานโดย รติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์ และ กฤษฏิ์ ชูพินิจ และมี ฐิติ สุทธิกุลพานิช ร่วมเป็นผู้บริหาร

ประวัติ[แก้]

บริษัท จูเวไนล์ จำกัด ก่อตั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ผ่านการเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก บริษัท สตูดิโอ แอคทีฟ จำกัด โดยดำเนินธุรกิจผลิตคอนเทนต์ให้กับพาร์ตเนอร์ของบริษัท ซึ่งประกอบไปด้วย OTT และช่องฟรีทีวี มีผลงานสร้างชื่อ เช่น ซีรีส์ พรุ่งนี้…จะไม่มีแม่แล้ว และ Mother เรียกฉันว่า…แม่ ซึ่งผลิตให้กับ ไลน์ทีวี รวมถึงละคร TEA BOX ชายชรากับหมาบ้า , บุษบาลุยไฟ ผลิตให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ เกมรักทรยศ ผลิตให้กับช่อง 3 เอชดี เป็นต้น

นอกจากผลิตละครและซีรีส์แล้วนั้น ทางบริษัทฯ ยังได้ร่วมกับ บริษัท แบล็คดอท จำกัด ผลิตรายการ PERSPECTIVE (เปอร์สเปกทิฟ) ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี อีกด้วย ผลงานเหล่านี้ได้รับการตอบรับที่ดี รวมไปถึงได้รับรางวัลการันตีจากทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งบริษัท จูเวไนล์ จำกัด ได้รับความไว้วางใจและมีความน่าเชื่อถือจากพาร์ตเนอร์มาตลอดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรับผลิตซีรีส์รีเมคทั้งจากฝั่งญี่ปุ่นและอังกฤษดังผลงานที่ปรากฏ

ผลงาน[แก้]

รายการโทรทัศน์[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ / แพลตฟอร์ม
2562 พรุ่งนี้...จะไม่มีแม่แล้ว 20 มิถุนายน - 10 ตุลาคม 2562 ไลน์ทีวี
2563 Mother เรียกฉันว่า…แม่ 5 มีนาคม - 7 พฤษภาคม 2563 ไลน์ทีวี / พีพีทีวี / จีเอ็มเอ็ม 25
อวสานมนุษย์เงินเดือน 26 ธันวาคม 2563 - 3 มกราคม 2564 ไทยพีบีเอส
2564 จอห์นนี่เดินเยี่ยงไก่ 9 - 17 มกราคม 2564 ไทยพีบีเอส
Tea Box ชายชรากับหมาบ้า 23 - 31 มกราคม 2564 ไทยพีบีเอส
บริษัทบำบัดหนี้ 6 - 14 กุมภาพันธ์ 2564 ไทยพีบีเอส
2565 The Rhythm of Life จังหวะชีวิต...ลิขิตฝัน 14 พฤษภาคม - 9 กรกฎาคม 2565 ไทยพีบีเอส
The Broken Us ณ ขณะเหงา[2] 30 ตุลาคม - 10 ธันวาคม 2565 ไทยพีบีเอส
2566 Letter From The Sun ครั้งนั้น...ไม่เคยลืม 24 - 25 มีนาคม 2566 ไทยพีบีเอส
บุษบาลุยไฟ[a] 18 มิถุนายน - 19 สิงหาคม 2566 ไทยพีบีเอส
ใต้ปีกแห่งฝัน 25 สิงหาคม 2566 ไทยพีบีเอส
เกมรักทรยศ 23 สิงหาคม - 12 ตุลาคม 2566 ช่อง 3 เอชดี
7 อัคนีพิทักษ์จักรวาล 7 ตุลาคม - 9 ธันวาคม 2566 เอแอลทีวี
2567 กล้าทะเล อยู่ระหว่างถ่ายทำ ไทยพีบีเอส
Homeroom 29 ตัวประกัน ไตรมาส 4 / 2567 ทรูไอดี

รางวัลและความสำเร็จที่ได้รับ[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง รางวัล สาขารางวัล สถานะ
2562 พรุ่งนี้...จะไม่มีแม่แล้ว MAYA AWARDS 2019 ละครส่งเสริมสังคมและครอบครัวยอดเยี่ยม ชนะ
24th Asian Television Awards นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress in a Leading Role)

มากิ-มาชิดา สุทธิกุลพานิช

เสนอชื่อเข้าชิง
LINE TV AWARDS 2020 ฉากดราม่ายอดนิยม "วันนี้เป็นวันสุดท้าย" เสนอชื่อเข้าชิง
2563 Mother เรียกฉันว่า...แม่ คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 17 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม

มากิ-มาชิดา สุทธิกุลพานิช

ชนะ
25th Asian Television Awards Best Script Writing เสนอชื่อเข้าชิง
Asian Academy Creative Awards 2020 ซีรีส์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (Best Adaptation of an Exisiting Format)

เพียงไพฑูรย์ สาตราวาหะ

ชนะ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress in a Leading Role)

แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์

ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress in a Supporting Role)

มากิ-มาชิดา สุทธิกุลพานิช

ชนะ
2564 TEA BOX ชายชรากับหมาบ้า คมชัดลึก Awards ครั้งที่ 18 ละครโทรทัศน์และซีรีส์ยอดเยี่ยม สาขาละคร/ซีรีส์ สร้างสรรค์สังคม ชนะ
ผู้กำกับยอดเยี่ยม

วิรดา คูหาวันต์

เสนอชื่อเข้าชิง
โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 36 ละครสร้างสรรค์สังคมดีเด่น ชนะ
2565 The Rhythm of Life จังหวะชีวิต...ลิขิตฝัน รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 14 ผู้กำกับยอดเยี่ยม

บุณณ์ญาณ์ อริยศรีวัฒนา

เสนอชื่อเข้าชิง
2566 Letter From The Sun ครั้งนั้น...ไม่เคยลืม เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Innovative International Film Festival (IIFF) ครั้งที่ 6 Special Mention Award ชนะ[3]
บุษบาลุยไฟ รางวัล”โทรทัศน์ไทย“ เกียรติคุณ “อัตลักษณ์แห่งสยาม” บุคคลผู้สร้างผลงานดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 ละครอิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยม ชนะ
นักแสดงดาวรุ่งหญิงยอดเยี่ยม

เฌอปราง อารีย์กุล

ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม

ภัทรสุดา อนุมานราชธน

ชนะ
ผู้กำกับละครอิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยม

สุประวัติ ปัทมสูต

ชนะ
PANTIP TELEVISION AWARDS ครั้งที่ 3 กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ชนะ
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ชนะ
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15 ละครยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับยอดเยี่ยม

สุประวัติ ปัทมสูต

เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม

เฌอปราง อารีย์กุล

เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

โทนี่ รากแก่น

เสนอชื่อเข้าชิง
บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม

ทิพย์ธิดา ศรัทธาทิพย์ (ปราณประมูล)

เสนอชื่อเข้าชิง
เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม

กิจจา ลาโพธิ์ และ จิตร์สุดา แซ่ฉั่ว

เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับภาพยอดเยี่ยม

ทยา นิ่มเจริญพงษ์

ชนะ
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม

ประเวช อุดมลาภ

เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ รางวัล “พิฆเนศวร” ครั้งที่ 12 ประจำปี 2567 ละครส่งเสริมวัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม ชนะ
บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม

ทิพย์ธิดา ศรัทธาทิพย์ (ปราณประมูล)

ชนะ
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 20 ละคร-ซีรีส์ยอดเยี่ยม ประเภทละคร-ซีรีส์ไทยยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประเภทละคร-ซีรีส์ไทยยอดเยี่ยม

เฌอปราง อารีย์กุล

เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม ประเภทละคร-ซีรีส์ไทยยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
บทละครยอดเยี่ยม ประเภทละคร-ซีรีส์ไทยยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
เกมรักทรยศ รางวัล”โทรทัศน์ไทย“ เกียรติคุณ “อัตลักษณ์แห่งสยาม” บุคคลผู้สร้างผลงานดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม

แอน ทองประสม

ชนะ
PANTIP TELEVISION AWARDS ครั้งที่ 3 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม

แอน ทองประสม

ชนะ
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม

ชนะ
ผู้กำกับยอดเยี่ยม

วิรดา คูหาวันต์ และ บุณณ์ญาณ์ อริยศรีวัฒนา

ชนะ
กำกับภาพยอดเยี่ยม ชนะ
บันทึกและผสมเสียงยอดเยี่ยม ชนะ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ชนะ
ออกแบบไตเติ้ลยอดเยี่ยม ชนะ
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15 ละครยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับยอดเยี่ยม

วิรดา คูหาวันต์ และ บุณณ์ญาณ์ อริยศรีวัฒนา

เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม

แอน ทองประสม และ ธัญชนก กู๊ด

ชนะ
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม

ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม

มาชิดา สุทธิกุลพานิช

เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม

ณัฐพัชร์ นิมจิรวัฒน์

เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ รางวัล “พิฆเนศวร” ครั้งที่ 12 ประจำปี 2567 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม

ธัญชนก กู๊ด

ชนะ
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม

ชนะ
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 20 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประเภทละคร-ซีรีส์ไทยยอดเยี่ยม

แอน ทองประสม

ชนะ
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ประเภทละคร-ซีรีส์ไทยยอดเยี่ยม

ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ

ชนะ
ละคร-ซีรีส์ยอดเยี่ยม ประเภทละคร-ซีรีส์ไทยยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทละคร-ซีรีส์ไทยยอดเยี่ยม

อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม

เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ประเภทละคร-ซีรีส์ไทยยอดเยี่ยม

ธัญชนก กู๊ด

เสนอชื่อเข้าชิง
Perspective PANTIP TELEVISION AWARDS ครั้งที่ 3 รายการทอล์คโชว์ยอดเยี่ยม ชนะ
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15 รายการวาไรตี้และทอล์คโชว์ยอดเยี่ยม ชนะ
พิธีกรยอดเยี่ยม

สุวิกรม อัมระนันทน์

ชนะ

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 รับโอนมาจากเจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย มาผลิตต่อในนามจูเวไนล์[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jan (2022-06-30). "JSL ประกาศยุติดำเนินงานบางส่วน 1 ก.ค.นี้ หลังขาดทุนต่อเนื่อง โยกรายการให้บริษัทลูก 'จูเวไนล์' รับไม้ต่อ". Brand Buffet. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30.
  2. "ไทยพีบีเอส บวงสรวง 3 ละครใหม่ แคมเปญ Voice of Youth นักแสดงมากฝีมือร่วมงานคับคั่ง". www.thairath.co.th. 2022-06-03.
  3. "Letter from the Sun ครั้งนั้น ... ไม่เคยลืม รับรางวัล Special Mention Award". Thai PBS. 2024-01-19.