ข้ามไปเนื้อหา

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University
สถาปนา4 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (41 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เกษรเกศรา
ที่อยู่
เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
สี███ สีแดงชาด
เว็บไซต์https://www.finearts.cmu.ac.th

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2526 เป็นคณะลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติ[แก้]

คณะวิจิตรศิลป์ จัดตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีจุดมุ่งหมายเป็นแหล่งการศึกษาของทุกสาขาวิชาชีพ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ โดยสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ขึ้น เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2525 เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตทางด้านศิลปะ และเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์ สร้างสรรค์ พัฒนา และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ในท้องถิ่นภาคเหนือ และในประเทศไทย รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน

คณะวิจิตรศิลป์ ได้รับอนุมัติหลักสูตรจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2525 และสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีประกาศแบ่งส่วนราชการเป็นคณะ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2526 เป็นคณะลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2526 โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ สาขาวิชาศิลปะไทย และสาขาวิชาจิตรกรรม[1]

ระดับปริญญาตรี

  • ปี 2526 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปะไทย
  • ปี 2526 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาจิตรกรรม
  • ปี 2528 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาพพิมพ์
  • ปี 2529 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาประติมากรรม
  • ปี 2538 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นคณะในกำกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
  • ปี 2540 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการออกแบบ
  • ปี 2551 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ
  • ปี 2553 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
  • ปี 2554 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์
  • ปี 2557 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปะการดนตรีและการแสดง

ระดับปริญญาโท

  • ปี 2542 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา (สาขาวิชาร่วมระหว่างคณะวิจิตรศิลป์ คณะรัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์)
  • ปี 2545 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาภาพพิมพ์
  • ปี 2547 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ (สาขาวิชาร่วมระหว่างคณะ วิจิตรศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะการสื่อสารมวลชน และคณะวิศวกรรมศาสตร์)
  • ปี 2550 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาจิตรกรรม
  • ปี 2550 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาทัศนศิลป์ (ปรับปรุงจากหลักสูตรสาขาวิชาภาพพิมพ์)
  • ปี 2552 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม (สาขาวิชาร่วมระหว่างคณะวิจิตรศิลป์ คณะบริหารธุรกิจ คณะศึกษาศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย)

ระดับปริญญาเอก

  • ปี 2556 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ[2]

โครงสร้างหลักสูตร[แก้]

คณะวิจิตรศิลป์ ทำการเปิดสอนในระดับ หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ปริญญาตรี) ทั้งหมด 9 หลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) ทั้งหมด 3 หลักสูตร หลักสูตรศิลปดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ทั้งหมด 1 หลักสูตร

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาควิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาทัศนศิลป์ หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)
  • สาขาวิชาจิตรกรรม[3]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN PAINTING)

  • สาขาวิชาประติมากรรม[4]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN SCULPTURE)

  • สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์[5]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN PRINTMAKING)

  • สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์[6]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN MULTIDISCIPLINARY ART)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
  • สาขาวิชาทัศนศิลป์[7]

(MASTER OF FINE ARTS PROGRAM IN VISUAL ARTS)

ภาควิชาศิลปะไทย หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)
  • สาขาวิชาศิลปะไทย[8]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN THAI ART)

  • สาขาวิชาการออกแบบ[9]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN DESIGN)

  • สาขาวิชาศิลปะการแสดง[10]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN MUSIC AND PERFORMING ARTS)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
  • สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม[11]

(MASTER OF FINE ARTS PROGRAM IN ART AND CULTURE MANAGEMENT)

ภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAM IN CREATIVE PHOTOGRAPHY)

  • สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ[13]

(BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN MEDIA ARTS AND DESIGN)

หลักสูตรศิลปดุษฎีบัณฑิต (ศล.ด.)
  • สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ[14]

(DOCTOR OF FINE ARTS PROGRAM IN ARTS AND DESIGN)

คณบดี[แก้]

ทำเนียบคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
รองศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ ปานพลอย (รักษาการแทน) พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2528
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2530
อาจารย์ อนันต์ ชันขุนทด พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงศ์เดช ไชยคุต พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538 (วาระที่1)
รองศาสตราจารย์ พงศ์เดช ไชยคุต พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542 (วาระที่2)
อาจารย์ อำนวย กันทะอินทร์ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2547
รองศาสตราจารย์ หม่อมหลวง สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551
รองศาสตราจารย์ สมเกียรติ ตั้งนโม พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2553[15]
รองศาสตราจารย์ พงศ์เดช ไชยคุต พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2557 (วาระที่3)
รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์  บุณยสุรัตน์ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561
รองศาสตราจารย์ อัศวิณีย์  หวานจริง พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2565
รองศาสตราจารย์ สุกรี เกษรเกศรา พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี[16] เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น[17]

ภาควิชาและการแบ่งส่วนงาน[แก้]

ปัจจุบัน คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีภาควิชาทั้งสิ้น 3 ภาควิชา และ สำนักวิชาการบัณฑิต

โดยสำหรับสำนักงานคณะวิจิตรศิลป์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคารสำนักงาน คณะวิจิตรศิลป์ โดยสำนักงานคณะวิจิตรศิลป์ได้แบ่งส่วนงานไว้ดังนี้[18]

  • หอศิลปวัฒนธรรม
  • งานบริหารทั่วไป
    • หน่วยธุรการ
    • หน่วยบริหารงานบุคคล
    • หน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ
  • งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
    • หน่วยทะเบียนและประมวลผล
    • หน่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ
    • หน่วยบัณฑิตศึกษา
    • หน่วยบริการห้องสมุด
    • หน่วยเทคโนโลยีทางการศึกษาและสารสนเทศ
    • หน่วยพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
  • งานบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
    • หน่วยวิเทศสัมพันธ์
    • หน่วยบริหารงานวิจัย
  • งานการเงิน การคลังและพัสดุ
    • หน่วยการเงินและบัญชี
    • หน่วยพัสดุ
  • งานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา
    • หน่วยวางแผนและพัฒนา
    • หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เกี่ยวกับเรา | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-09-13.
  2. "รายงานประจำปี 2558 คณะวิจิตรศิลป์.pdf". Google Docs.
  3. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  4. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาประติมากรรม | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  5. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  6. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  7. "หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  8. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะไทย | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  9. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  10. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ 2022-01-03.
  11. "หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  12. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการถ่ายภาพสร้างสรรค์ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  13. "หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  14. "หลักสูตรศิลปดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-17.
  15. "มะเร็งคร่าสมเกียรติ ตั้งนโมผู้ก่อตั้งเว็บม.เที่ยงคืน". คมชัดลึกออนไลน์. 2010-07-06.
  16. "ผู้บริหาร | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-08.
  17. "ฐานข้อมูลสูจิบัตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่". library.cmu.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-05. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
  18. "โครงสร้างองค์กร | คณะวิจิตรศิลป์ มช". 2018-10-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]