เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004

พิกัด: 14°56′48″N 99°27′10″E / 14.94667°N 99.45278°E / 14.94667; 99.45278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004
OE-LAV อากาศยานที่ประสบอุบัติเหตุ ภาพถ่ายใน พ.ศ. 2532
สรุปอุบัติเหตุ
วันที่26 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 (1991-05-26)
สรุปเครื่องแตกหักกลางอากาศหลัง thrust-reverser เปิดใช้งานแบบไม่มีคำสั่ง
จุดเกิดเหตุป่าในเขตอุทยานแห่งชาติพุเตย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
14°56′48″N 99°27′10″E / 14.94667°N 99.45278°E / 14.94667; 99.45278
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ
ประเภทอากาศยานโบอิง 767-3Z9ER
ชื่ออากาศยานโมทซาร์ท
ดําเนินการโดยเลาดาแอร์
หมายเลขเที่ยวบิน IATANG004
หมายเลขเที่ยวบิน ICAOLDA004
รหัสเรียกLAUDA 4
ทะเบียนOE-LAV
ต้นทางท่าอากาศยานไขตั๊ก บริติชฮ่องกง
จุดพักท่าอากาศยานกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา เวียนนา ประเทศออสเตรีย
จำนวนคน223
ผู้โดยสาร213
ลูกเรือ10
เสียชีวิต223
รอดชีวิต0

เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 (NG004/LDA004) เป็นเที่ยวบินผู้โดยสารระหว่างประเทศตามกำหนดเวลาปกติจากกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ไปยังเวียนนา ประเทศออสเตรีย ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 โบอิง 767-300ER ที่บินตามเส้นทางเกิดตกลงจากการใช้งาน thrust reverser โดยไม่ได้สั่งของเครื่องยนต์หมายเลข 1 ระหว่างช่วงไต่ระดับ ทำให้อากาศยานเข้าสู่สภาวะร่วงหล่น ดิ่งแบบควบคุมไม่ได้ และแตกหักกลางอากาศ ทำให้ผู้โดยสาร 213 คนและลูกเรือ 10 เสียชีวิตทั้งหมด ถือเป็นอุบัติเหตุทางอากาศที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดของโบอิง 767 (ไม่นับอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 หรือยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175) และเป็นอุบัติเหตุทางอากาศที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย (ณ พ.ศ. 2567) อุบัติเหตุนี้ถือเป็นอุบัติการณ์ร้ายแรงครั้งแรกและอุบัติเหตุที่ตัวเครื่องจนซ่อมแซมไม่ได้ครั้งที่สามของโบอิง 767[1][2][3] หลังเหตุการณ์ นิกิ เลาดา เจ้าของสายการบินและผู้ชนะการแข่งรถฟอร์มูลาวัน ได้เดินทางมาอำนวยการค้นหาร่างของผู้เสียชีวิตด้วยตัวเอง

อากาศยาน[แก้]

อากศยานนี้มีทะเบียน OE-LAV และตั้งชื่อตาม โมทซาร์ท[4]: 21 

ประวัติการบิน[แก้]

วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 เวลาประมาณ 23:02 น. ตามเวลาท้องถิ่น เที่ยวบิน NG004 ซึ่งบินมาจากท่าอากาศยานไคตั๊กที่ฮ่องกง ด้วยเครื่องบิน โบอิง 767-3Z9ER ทะเบียน OE-LAV ได้ออกจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มุ่งสู่ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา มีผู้โดยสาร 213 คน และลูกเรือ 10 คน ภายใต้การควบคุมของกัปตันโทมัส เจ. เวลช์ ชาวอเมริกัน และนักบินผู้ช่วยโยเซ็ฟ ทัวร์เนอร์ ชาวออสเตรีย[4]: 4 [5][6][7][8][9]

เวลา 23:08 เวลช์และทัวร์เนอร์ได้รับสัญญาณภาพเตือนว่ามีความผิดพลาดทางระบบที่อาจทำให้ระบบผันกลับแรงขับ (Thrust Reverser) ที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 ทำงานขณะบิน หลังจากได้ศึกษาคู่มือแล้ว ทั้งสองลงความเห็นว่าสัญญาณเตือนนั้นเป็นเพียงเหตุการณ์ปกติและไม่ได้จัดการใด ๆ กับสัญญาณเตือน[1]

เวลา 23:17 ระบบผลักดันแรงขับที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 ทำงานระหว่างที่เครื่องบินอยู่เหนือพื้นที่ป่าและภูเขาบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้ปีกซ้ายของเครื่องบินสูญเสียแรงยก คำพูดสุดท้ายของทัวร์เนอร์ที่บันทึกไว้ได้คือ "Oh! Reverser's deployed!"[10][4]: 55 

ในวินาทีต่อมา เครื่องบันทึกเสียงห้องนักบินได้บันทึกเสียงการสั่นของโครงเครื่องบิน ตามด้วยเสียงการหักของโลหะ เครื่อง 767 ฉีกออกเป็นส่วน ๆ กลางอากาศที่ระดับความสูงต่ำกว่า 3,000 เมตร (10,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล ซากเครื่องบินส่วนใหญ่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ป่ขนาดเกือบหนึ่งตารางกิโลเมตร ความสูง 600 เมตร (2,000 ฟุต) ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ซากตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือทางตอนเหนือของพุเตย ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร (4 ไมล์; 3 ไมล์ทะเล)[4] ใกล้กับชายแดนไทย-พม่า[11][12] ทีมกู้ภัยพบร่างของกัปตันเวลช์ยังคงติดอยู่กับที่นั่งของนักบิน[13]

การกู้คืน[แก้]

หลังอุบัติเหตุ ได้มีผู้มาขโมยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอัญมณี[14] ทำให้ญาติผู้เสียชีวิตไม่สามารถเรียกคืนทรัพย์สินส่วนตัวได้[15]

ผู้โดยสารและลูกเรือ[แก้]

สัญชาติ ผู้โดยสาร ลูกเรือ รวม
ออสเตรีย 74 9 83[16][17]
ฮ่องกง 52 0 52[17][18]
ไทย 39 0 39
อิตาลี 10 0 10
สวิตเซอร์แลนด์ 7 0 7
จีน 6 0 6
เยอรมนี 4 0 4
โปรตุเกส 3 0 3
ไต้หวัน 3 0 3
ยูโกสลาเวีย 3 0 3
สหรัฐ 2 1[a] 3
ฮังการี 2 0 2
ฟิลิปปินส์ 2 0 2
สหราชอาณาจักร 2 0 2
ออสเตรเลีย 1 0 1
บราซิล 1 0 1
โปแลนด์ 1 0 1
ตุรกี 1 0 1[17][19]
รวมทั้งหมด 213 10 223

ผู้ประสบภัยที่มีชื่อเสียง ได้แก่:

ผลที่ตามมา[แก้]

สุสานเลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004

ความสามารถในการขนส่งของสายการบินหายไปถึง 1 ใน 4 จากผลของการตก[23] หลังเหตุการณ์เครื่องบิน รหัส OE-LAV ตก ทางสายการบินไม่ได้ให้บริการบินไปซิดรีย์ในวันที่ 1, 6 และ 7 มิถุนายน ก่อนที่จะดำเนินตามปกติด้วยโบอิง 767 อีกลำในวันที่ 13 มิถุนายน[24]

ในบริเวณที่เครื่องบินตก ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านทาเข้าอุทยาน มีการสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่ออุทิศแด่เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย[25] อนุสรณ์และสุสานอีกแห่งตั้งอยู่ที่วัดสระแก้วศรีสรรเพชญ ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองสุพรรณบุรีประมาณ 90 กิโลเมตร (56 ไมล์; 49 ไมล์ทะเล)[26]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Accident description at the Aviation Safety Network.
  2. Ranter, Harro. "Boeing 767". Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 2019-03-06.
  3. Ranter, Harro. "Thailand air safety profile". Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 2019-03-06.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Accident Report". rvs.uni-bielefeld.de. Aircraft Accident Investigation Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2011. สืบค้นเมื่อ 14 February 2014.
  5. "Excerpts from Lauda News Conference on Crash of Boeing 767 With AM-Thailand Crash". AP NEWS. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2020-05-25.
  6. Lewis Jr. M.D., Joseph W. (2016-10-28). Last and Near-Last Words of the Famous, Infamous and Those In-Between (ภาษาอังกฤษ). AuthorHouse. ISBN 978-1-5246-4787-2.
  7. "Two Doomed 767S Were Partners On Assembly Line". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ 2020-05-25.
  8. "Lauda 004 air crash". Pilotfriend. สืบค้นเมื่อ 2020-05-25.
  9. "Lauda Air 004 CVR Transcript". Cockpit Voice Recorder Database. สืบค้นเมื่อ 2020-05-25.
  10. Job, Macarthur (1996). Air Disaster Volume 2, Aerospace Publications, ISBN 1-875671-19-6, pp. 203–217.
  11. Tummachartvijit, Tavorn. "Cause of airliner explosion Sought". Associated Press The Dispatch. 27 May 1991. 1A and 6A.
  12. "More Than 200 Believed Killed As Plane Crashes in Thai Jungle". Associated Press. 27 May 1991. Retrieved on 27 January 2013.
  13. 13.0 13.1 "UN drug man 'not Thai bomb target'". The Independent. Thursday 30 May 1991. Available on LexisNexis.
  14. Johnson, Sharen Shaw. "Scavengers complicate crash probe". USA Today. 29 May 1991. News 4A.
  15. Krausz, Tibor (10 December 2019). "Pilgrimage to Thai plane crash site for aunt killed 28 years ago: 'I'm here for you. You're no longer alone.'". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
  16. Traynor, et al. "Crash teams investigate plane blast". The Independent. 28 May 1991.
  17. 17.0 17.1 17.2 Wallace, Charles P. "'All Evidence' in Thai Air Crash Points to Bomb". Los Angeles Times. 28 May 1991. 2. Retrieved 15 February 2013.
  18. Finlay, Victoria. "Jet tragedy families wait on pay". South China Morning Post. 25 May 1993. Retrieved 27 January 2013.
  19. "Pilots' Final Words". Associated Press. The Seattle Times. 6 June 1991. Retrieved 15 February 2013.
  20. "Lauda Air-Absturz in Thailand jährt sich zum 20. Mal". [Lauda Air Crash in Thailand marks its 20th anniversary] (ในภาษาเยอรมัน) Die Presse. 26 May 2011. Retrieved on 14 February 2013.
  21. Parschalk and Thaler, p. 394(ในภาษาเยอรมัน) "Sechs der zehn Südtiroler Opfer sind Studenten der Innsbrucker Fakultät für Wirtschaftswissenschaften aus Klausen, Gröden, Olang, Mals und Kiens, die unter der Leitung von Clemens August Andreae an einer Exkursion nach Fernost teilgenommen hatten. Die anderen vier Südtiroler Todesopfer – alle aus Bozen – sind zwei Beamte sowie ein Berufsmusiker mit seiner chinesischen Frau und dem in Bozen geborenen Töchterchen der beiden." [English: Six of the ten victims of South Tyrol are students of the Innsbruck Faculty of Economics from Klausen, Val Gardena, Olang, Mals and Kiens, who had participated in an excursion to the Far East under the guidance of Clemens August Andreae. The other four South Tyrolean fatalities – all from Bolzano – are two civil servants and a professional musician with his Chinese wife and the Bolzano-born daughter of the two."]
  22. รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่. Chiang Mai Province Official Site. สืบค้นเมื่อ 17 March 2017.
  23. Traynor, Ian. "Lauda's driving ambition brings triumph and disaster in tandem". The Independent. 28 May 1991.
  24. Aircraft, Volume 71. p. 44. "LAUDA AIR/LDA: Following the still unexplained loss of B767-329ER OE-LAV [24628] Mozart, there were no flights to Sydney by the Austrian carrier on 1, 6 and 7 June. Services resumed on 13 June with B767-3T9 (ER) OE-LAU [23765 xN6009F]
  25. "Truly Unseen: Phu Toei National Park | Thai Blogs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2010.
  26. "Lauda Air Crash, 26 May 1991: Thailand's Worst Ever | Thai Blogs" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-09-29.

ข้อมูล[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน