วงกต มณีรินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงกต มณีรินทร์
ไฟล์:วงกต มณีรินทร์.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2493 (73 ปี)
คู่สมรสดร.สิริกร มณีรินทร์

พลตำรวจเอก วงกต มณีรินทร์ หรือ บิ๊กจั๋ม[1] เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 อดีตสมาชิกวุฒิสภาจากการสรรหา[2] เป็นอดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตราชองครักษ์พิเศษ [3]อดีตผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า[4]

ประวัติ[แก้]

พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2493 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 รุ่นเดียวกันกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และจบโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 รุ่นเดียวกันกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร [5] และปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สมรสกับ ดร.สิริกร มณีรินทร์ (สกุลเดิม : ลีนุตพงษ์) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีบุตรและธิดาได้แก่ นางสาว ชญานุช มณีรินทร์ กรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและ นาย ศุภวุฒิ มณีรินทร์

มีน้องชาย หนึ่งรายได้แก่ พลเอก พอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และป็นลุงของ ร้อยตรี ฉัตรชัย มณีรินทร์

การทำงาน[แก้]

พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ เข้ารับราชการในสังกัดกรมตำรวจ เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า และตำแหน่งสูงสุดคือ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[6] ภายหลังเกษียณอายุราชการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จากการสรรหา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ลือ!...ผบ.ตร.ทางเลือกที่ 3"วงกต มณีรินทร์"[ลิงก์เสีย]
  2. ประวัติและผลงานของสมาชิกวุฒิสภา[ลิงก์เสีย]
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
  4. ประวัติความเป็นมาศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า
  5. ระหว่างการเป็นอาจารย์-นักธุรกิจ-แม่-แม่บ้าน-รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ของ ดร.สิริกร มณีรินทร์[ลิงก์เสีย]
  6. ที่ประชุมก.ต.ช.ตั้งวงกต มณีรินทร์เป็นรอง ผบ.ตร.
  7. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 2014-11-24.