จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 style|รูปพยัญชนะ

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |–ั | |–ํ |–ิ |' |"- |–ุ |–ู | | | | |–็ |–่ |–้ |–๊ |–๋ |–์ |–๎ |–ฺ | | | | | (จุฬา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก (หีบ) และก่อนหน้า (อ่าง) ออกเสียงอย่าง ล (ลิง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฬ จุฬา"

อักษร ฬ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /l/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/

ปัจจุบัน ฬ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ มีเพียงใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีเท่านั้น (ซึ่งจะปรากฏกลางคำหรือท้ายคำ เช่น กีฬา นาฬิกา กาฬ วาฬ) คำโบราณที่เคยใช้ ฬ ก็เปลี่ยนไปใช้ ล แทนเช่น

  • †ฬา → ลา
  • †ฬ่อ → ล่อ
  • †บาฬี → บาลี
  • †เฬิง → เลิ้ง [1]
  • †ฬส ย่อมาจาก โสฬส

วิธีเขียน[แก้]

วาดวงกลมแล้วลากเส้นตั้งลงมา ลากเส้นเฉียงไปทางขวาขึ้นและลง ลากเส้นตั้งขึ้น แล้ววาดเส้นโค้งไปทางซ้าย ตวัดลงตัดกับเส้นตั้ง[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติชุมชนนางเลิ้ง เก็บถาวร 2009-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คำให้การผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมท้องถิ่น, สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.