ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:แพทยศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฉันชอบวิชาปกครอง แต่ฉันไม่เรียน เพราะวิชาดังกล่าวเป็นวิชาที่ฉันมองเห็นว่าล้วนแต่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนยังความทุกข์ร้อนให้แก่ผู้อื่น ฉันเกิดเป็นคนควรจะทำตนให้มีค่า หมายถึงว่าทำตนให้เป็นที่หลั่งออกซึ่งประโยชน์ต่อผู้อื่น ให้ผู้อื่นได้รับความสุขจากเรา ฉะนั้น ฉันจึงเลือกเรียนวิชาแพทยศาสตร์

— พระราชดำรัส สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย
แก้ไข   

ส ถ า นี ย่ อ ย : แ พ ท ย ศ า ส ต ร์
P o r t a l : M e d i c i n e

ยินดีต้อนรับสู่ สถานีย่อย:แพทยศาสตร์
สารานุกรมเสรีทางการแพทย์ในภาษาไทยที่ทุกคนร่วมสร้างได้
ก่อตั้งเมื่อ 17 เมษายน 2551

แพทยศาสตร์ เป็นสาขาของวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและรักษาสุขภาพของมนุษย์ โดยผ่านการศึกษา การวินิจฉัยและการเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ ของร่างกายและความรู้เกี่ยวกับโรค รวมทั้งทักษะประยุกต์อย่างสูง

แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์เก่าแก่ที่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค


สารบัญหน้านี้: บทความแนะนำ | ภาพแนะนำ | รู้ไหมว่า... | คุณช่วยเราได้ | หัวข้อที่สำคัญ | หมวดหมู่ในแบบแผนภูมิต้นไม้ | โครงการวิกิพีเดียที่เกี่ยวข้อง | แพทยศาสตร์ในโครงการวิกิมีเดียอื่นๆ | สถานีย่อยอื่น ๆ
โครงการวิกิพีเดียที่เกี่ยวข้อง: โครงการวิกิแพทยศาสตร์ | โครงการวิกิกายวิภาคศาสตร์
สุ่มบทความและภาพแนะนำอื่นๆ/ล้างเซิร์ฟเวอร์แคช
แก้ไข   

บทความแนะนำ

แผนภาพเปรียบเทียบระหว่างสมองของผู้สูงอายุปกติ (ซ้าย) และสมองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (ขวา) มีการชี้แสดงลักษณะที่แยกระหว่างทั้งสอง
แผนภาพเปรียบเทียบระหว่างสมองของผู้สูงอายุปกติ (ซ้าย) และสมองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (ขวา) มีการชี้แสดงลักษณะที่แยกระหว่างทั้งสอง

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นโรคการเสื่อมของระบบประสาทเรื้อรังที่ปกติเริ่มต้นช้า ๆ และค่อย ๆ มีอาการหนักขึ้นตามเวลา เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุดคือประมาณ 60–70% อาการเริ่มแรกที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ การจำเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ค่อยได้ เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น อาการอาจมีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา ความงุนงงสับสน (รวมทั้งหลงทางง่าย) อารมณ์แกว่ง เสียแรงจูงใจ ไม่ดูแลตนเองและมีปัญหาพฤติกรรม เมื่ออาการของบุคคลเสื่อมลง ผู้ป่วยมักปลีกตัวออกจากครอบครัวและสังคม การทำงานของร่างกายจะค่อย ๆ เสื่อมลงจนนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด แม้การลุกลามของโรคอาจมีความเร็วแตกต่างกันได้ แต่อายุคาดหมายการคงชีพตรงแบบหลังวินิจฉัยแล้วอยู่ที่ 3 ถึง 9 ปี อ่านต่อ...

แก้ไข   

ภาพแนะนำ

ปมประสาทด้านหลัง (dorsal root ganglion) จากเอ็มบริโอของไก่ (ประมาณระยะัวันที่ 7) หลังจากเลี้ยงในตัวกลางกระตุ้นการเจริญของเซลล์ประสาท NGF growth medium
แก้ไข   

รู้ไหมว่า...

แก้ไข   

คุณช่วยเราได้


นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้ คุณสามารถมีส่วนร่วมพัฒนาสถานีย่อยนี้ได้ อย่าลังเล!

ดูเพิ่มเติมได้ ที่หน้าโครงการวิกิแพทยศาสตร์

แก้ไข   

หัวข้อที่สำคัญ

กายวิภาคศาสตร์

การแพทย์เฉพาะทาง

นิติเวชศาสตร์

Caduceo โรค

วิชาชีพทางด้านสาธารณสุข

การรักษาทางการแพทย์

เภสัชวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

แก้ไข   

หมวดหมู่ในแบบแผนภูมิต้นไม้

แก้ไข   

โครงการวิกิพีเดียที่เกี่ยวข้อง


ใน สถานีย่อย:แพทยศาสตร์ แห่งนี้ มีหน้าโครงการที่ทำหน้าที่บริหารเฉพาะในการจัดการบทความเกี่ยวกับแพทยศาสตร์ ซึ่งคุณสามารถเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ โดยการศึกษานโยบาย แนวทางการเขียนบทความที่ถูกต้อง และเข้าร่วมกิจกรรมที่คุณสามารถช่วยเหลือเราได้! ในหน้าโครงการดังนี้

แก้ไข   

แพทยศาสตร์ในโครงการวิกิมีเดียอื่นๆ

wikt: วิกิพจนานุกรม
พจนานุกรมและอรรถาภิธานการแพทย์
b: วิกิตำรา
ตำราและคู่มือวิทยาศาสตร์สุขภาพ
q: วิกิคำคม
คำคม สุภาษิตเกี่ยวกับการแพทย์
s: วิกิซอร์ซ
เอกสารต้นฉบับเกี่ยวกับการแพทย์
n: วิกิข่าว
ข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ
commons:หน้าหลัก คอมมอนส์
สื่อเกี่ยวกับการแพทย์
แก้ไข   

สถานีย่อยอื่น ๆ

สถานีย่อยคืออะไร?