พิชิต ชื่นบาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิชิต ชื่นบาน
พิชิต ในปี พ.ศ. 2561
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2567 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
(0 ปี 24 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าพวงเพ็ชร ชุนละเอียด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 มกราคม พ.ศ. 2502 (65 ปี)
อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2552–2561, 2563–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อาชีพนักการเมือง ทนายความ

พิชิต ชื่นบาน (เกิด 22 มกราคม พ.ศ. 2502) เป็นทนายความและนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และอดีตประธานที่ปรึกษากฎหมายของพรรคไทยรักษาชาติ

การศึกษา ​[แก้]

งานการเมือง[แก้]

ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายพิชิต มีบทบาทในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และอยู่เบื้องหลังในการกลั่นกรองระเบียบกฎหมาย ในการสนับสนุนกฎหมายนิรโทษกรรม จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารปี 2557 อีกทั้ง นายพิชิต ก็ยังทำหน้าที่ในฐานะหัวหน้าทีมทนายความต่อสู้คดีโครงการจำนำข้าวให้มาโดยตลอด[1]

ต่อมาปี พ.ศ. 2562 นายพิชิต ได้รับตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษากฎหมายของพรรคไทยรักษาชาติ ขณะที่การเลือกตั้งเมื่อปี 2562 นายพิชิต ยังดำรงตำแหน่งกรรมการสรรหา ของพรรคไทยรักษาชาติ ทั้งนี้ในช่วงของการตั้ง ครม.เศรษฐา 1 นายพิชิต ได้ประกาศไม่ขอรับตำแหน่งรัฐมนตรี หลังมีชื่อได้นั่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมยืนยันว่าคุณสมบัติของตนเองครบถ้วนถูกต้องทุกประการ ไม่ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งการสละตำแหน่งของนายพิชิตในครั้งนั้น เจ้าตัวระบุว่าเพื่อต้องการให้การจัดตั้งรัฐบาลของนายเศรษฐาสำเร็จโดยเร็ว ขณะที่นายเศรษฐา ก็ไม่มีการดึงคนในพรรคเพื่อไทยมานั่งแทน และยังเว้นว่างเก้าอี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อีก 1 เก้าอี้ ไว้รอนายพิชิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนการแต่งตั้ง ครม.เศรษฐา 1 นายพิชิต ยังให้สัมภาษณ์กับสื่อ ภายหลังที่มีชื่อจะได้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้งนั้น ว่า "ตนเองเป็นคนทำงาน อยู่ตรงไหนก็สามารถทำงานได้หมด"[2][3] ต่อมา สว จำนวน 40 คน ยื่นเรื่องประเด็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่าพิชิตขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 160 (4) ส่งผลให้พิชิต ยื่นลาออกในวันที่ 21 พฤษภาคม[4] โดยให้เหตุผลว่าเพื่อไม่ให้กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและให้ประเทศเดินต่อไปได้[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เปิดประวัติ "พิชิต ชื่นบาน" ถอย ครม.เศรษฐา 1 ช่วย นายกฯ ไม่ต้องตอบคำถาม". www.thairath.co.th. 2023-09-02.
  2. "ประวัติ "พิชิต ชื่นบาน" มือกฎหมายตระกูลชินวัตร ผงาดนั่ง รมต.ประจำสำนักนายกฯ". www.thairath.co.th. 2024-04-28.
  3. "รู้จัก "พิชิต ชื่นบาน" มือกฎหมายตระกูลชินวัตร เคยทำธุรกิจที่ไม่มีใครรู้มาก่อน". www.sanook.com/money. 2023-09-03.
  4. https://www.prachachat.net/politics/news-1569040 ด่วน พิชิต ชื่นบาน โชว์สปิริต ลาออกจากรัฐมนตรี...
  5. "เปิดหนังสือ พิชิต ลาออก ย้ำ ไม่อยากให้ปมคุณสมบัติรัฐมนตรี กระทบ นายกรัฐมนตรี". posttoday. 2024-05-21.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๘, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
ก่อนหน้า พิชิต ชื่นบาน ถัดไป
พวงเพ็ชร ชุนละเอียด
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 63)
(27 เมษายน พ.ศ. 2566 — ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ