นครราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โนโกเรียจ (นครราช)
เมืองของพระเจ้าแผ่นดิน
នគររាជ

เพลงชาติของธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา
เนื้อร้องสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ชวน ณาต โชตญาโณ)
ทำนองพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต, F. Perruchot และ J. Jekyll, ค.ศ. 1938
รับไปใช้ค.ศ. 1941
รับไปใช้ใหม่17 เมษายน ค.ศ. 1975
21 กันยายน ค.ศ. 1993
เลิกใช้9 ตุลาคม ค.ศ. 1970
6 มกราคม ค.ศ. 1976
ก่อนหน้ามาร์ชสาธารณรัฐเขมร (1975)
เพลงชาติสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา (1992)
ถัดไปมาร์ชสาธารณรัฐเขมร (1970)
สิบเจ็ดเมษามหาโชคชัย (1976)
ตัวอย่างเสียง
ฉบับเสียงดนตรีโดย U.S. Navy Band (สองบท)

นครราช (เขมร: នគររាជ นครราช [โนโกเรียจ], แปลว่า เมืองของพระเจ้าแผ่นดิน) เป็นชื่อของเพลงชาติกัมพูชาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยอิงจากทำนองเพลงพื้นเมืองกัมพูชาและปรัพันธ์โดยสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ชวน ณาต โชตญาโณ)

ประวัติ[แก้]

"นครราช" มีต้นตอจากกวีพื้นเมืองที่มักขับร้องด้วยจะเป็ยในสมัยโบราณเพื่อเล่าเรื่องและพูดถึงเหตุการณ์ล่าสุด[1][2]

ทำนองเพลง "นครราช" ประพันธ์ขึ้นในช่วง ค.ศ. 1938 ถึง 1939 โดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต (เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จกรมขุนวิสุทธิ์ขัตติยวงศ์ นโรดม สุรามฤต - พระนามเดิมก่อนหน้านั้นคือ นักองเจ้า (หม่อมเจ้า) นโรดม สุรามฤต) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ร่วมกับครูเพลงชาวฝรั่งเศส 2 คน คือ เซอร์ J. Jekyll และ เซอร์ François Perruchot[3][4] ส่วนเนื้อร้องประพันธ์ขึ้นภายหลังการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุเสร็จสิ้นไปได้ไม่เกิน 3 เดือน และสำเร็จเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 โดยสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ชวน ณาต โชตญาโณ)[5] และในปีเดียวกันก็ได้รับการรับรองเป็นเพลงชาติของประเทศอีกครั้งใน ค.ศ. 1947[6]

จากนั้นใน ค.ศ. 1970 ระบอบกษัตริย์ถูกยุบเลิกในสมัยสาธารณรัฐเขมร แล้วมีการแทนที่เพลงชาติใหม่ หลังชัยชนะของคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1975 สัญลักษณ์ต่างของระบอบกษัตริย์เขมร ซึ่งรวมถึงเพลง"นครราช" ได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ต่อมาเขมรแดงจึงแทนที่เพลงนี้ด้วย "สิบเจ็ดเมษามหาโชคชัย" ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1976[7] หลังจากพรรคฟุนซินเปก (FUNCINPEC) พรรคแนวนิยมกษัตริย์ (นิยมเจ้า) เอาชนะอดีตคอมมิวนิสต์ (พรรคประชาชนกัมพูชา) ในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1993 เพลง"นครราช"ก็ได้รับการรับรองเป็นเพลงชาติอีกครั้ง[1]

เนื้อร้อง[แก้]

เนื้อร้องของเพลงนครราชมีอยู่ 3 บท แต่เวลาร้องในประเทศกัมพูชา จะนิยมร้องบทแรกเป็นหลัก สำหรับการออกอากาศผ่านสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ในเวลา 07:00 น. และ 17:00 น. ของทุกวัน นั้น จะเป็นรูปแบบขับร้องบทแรก แต่ในบางกรณี เช่น การปิดสถานีประจำวันของบางสถานี จะเป็นรูปแบบขับร้องครบทั้งสามบท

ภาษาเขมร ถอดอักษร สัทอักษรสากล เสียงอ่าน

I
សូមពួកទេព្តា រក្សាមហាក្សត្រយើង
ឱ្យបានរុងរឿង ដោយជ័យមង្គលសិរីសួស្តី
យើងខ្ញុំព្រះអង្គ សូមជ្រកក្រោមម្លប់ព្រះបារមី
នៃព្រះនរបតីវង្ស ក្សត្រាដែលសាងប្រាសាទថ្ម
គ្រប់គ្រងដែនខ្មែរ បុរាណថ្កើងថ្កាន ។

II
ប្រាសាទសិលា កំបាំងកណ្តាលព្រៃ
គួរឱ្យស្រមៃ នឹកដល់យសស័ក្តិមហានគរ
ជាតិខ្មែរដូចថ្ម គង់វង្សនៅល្អរឹងប៉ឹងជំហរ
យើងសង្ឃឹមពរ ភ័ព្វព្រេងសំណាងរបស់កម្ពុជា
មហារដ្ឋកើតមាន យូរអង្វែងហើយ ។

III
គ្រប់វត្តអារាម ឮតែសូរស័ព្ទធម៌
សូត្រដោយអំណរ រំឭកគុណពុទ្ធសាសនា
ចូរយើងជាអ្នក ជឿជាក់ស្មោះស្ម័គ្រតាមបែបដូនតា
គង់តែទេវតា នឹងជួយជ្រោមជ្រែងផ្គត់ផ្គង់ប្រយោជន៍ឱ្យ
ដល់ប្រទេសខ្មែរ ជាមហានគរ ។


สูม​พวก​เทพฺฎา รกฺสา​มหากฺสตฺร​เยิง
อฺโย​บาน​รุงเรือง โฎย​ชัย​มงฺคล​สิรี​สัวสฺตี
เยิง​ขฺญุ̊​พฺระองฺค สูม​ชฺรก​กฺโรม​มฺลบ̍พฺระ​บารมี
ไน​พฺระ​นรบตี วงฺส​กฺสตฺรา​แฎล​สางบฺราสาท​ถฺม
คฺรบ̍คฺรง​แฎน​ขฺแมร บุราณ​ถฺเกิง​ถฺกานฯ


บฺราสาท​สีลา กํบำง​กณฺตาล​พฺไร
ควร​อฺโย​สฺรไม นึก​ฎล̍​ยส​สักฺติ​มหา​นคร
ชาติ​ขฺแมร​ฎูจ​ถฺม คง̍วงฺส​เนา​ลฺอรึงปึง​ชํหร
เยิง​สงฺฆึม​พร ภัพฺว​พฺเรง​สํณางรบส̍​กมฺพุชา
มหา​รฎฺฐ​เกิต​มาน ยูร​องฺแวง​เหิยฯ


คฺรบ̍​วตฺต​อาราม ฦๅ​แต​สูร​สัพฺท​ธร̲ร̲ม
สูตฺร​โฎย​อํณร รํฦก​คุณ​พุทฺธ​สาสนา
จูร​เยิง​ชา​อฺนก เชือ​ชาก̍​เสฺมาะ​สฺมัคฺรตาม​แบบ​ฎูน​ตา
คง̍​แต​เทพฺฎา นึง​ชัวย​ชฺโรม​ชฺแรง​ผฺคต̍ผฺคง̍บฺรโยชน์​อฺโย
ฎล̍​บฺรเทส​ขฺแมร ชา​มหา​นคร๚

1
[sou̯m puə̯k̚ teːp̚.ɗaː rĕə̯k̚.saː‿m(ɔ).haːk̚.sat̚ jəːŋ]
[ʔao̯j ɓaːn ruŋ.rɨə̯ŋ ɗao̯j cɨj mĕə̯ŋ.kɔːl s(ə)riː suə̯.sɗəj]
[jəːŋ kʰɲom prĕə̯h.ʔɑŋ sou̯m crɔːk̚ krao̯m‿m.lup̚ prĕə̯h ɓaː.rɔːʔ.məj]
[nɨj prĕə̯h nɔːr(u)p̚.p(ɑ)ɗəj ʋŭə̯ŋ kʰsat̚.traː ɗae̯l saːŋ praː.saːt̚ tʰmɑː]
[krup̚.krɔːŋ ɗae̯n kʰmae̯ ɓo.raːn tʰkaə̯ŋ.tʰkaːn]

2
[praː.saːt̚ səj.laː kɑm.ɓaŋ kɑn.ɗaːl prɨj]
[kuə̯ ʔao̯j srɑ.maj nɨk̚ ɗɑl jŭə̯h.sak̚ m(ɔ.)haː.nɔ.kɔː]
[ciə̯t̚ kʰmae̯ ɗou̯c̚ tʰmɑː kɔŋ.ʋɔŋ nɨw‿l.ʔɑː rɨŋ.pəŋ cum.hɑː]
[jəːŋ sɑŋ.kʰɨm pɔː pʰŏə̯p̚ preːŋ sɑm.naːŋ r(ɔ.)ɓɑh kam.p(u.)ciə̯]
[m(ɔ)haː.rŏə̯t̚ kaə̯t̚ miə̯n juː ʔɑŋ.ʋaə̯ŋ haə̯j]

3
[krup̚ ʋŏə̯t̚ ʔaː.raːm lɨː tae̯ sou̯.sap̚ tʰɔə̯]
[sou̯t̚ ɗao̯j ʔɑm.nɑː rum.lɨk̚ kun put̚.tʰĕə̯ʔ.sah.snaː]
[cou̯ jəːŋ ciə̯ nĕə̯ʔ cɨə̯.cĕə̯ʔ smɑh.smak̚ taːm ɓae̯p̚ ɗou̯n.taː]
[kŭə̯ŋ tae̯ teːʋ(ə).ɗaː nɨŋ cuə̯j croːm.crɛːŋ pʰkɔt̚.pʰkɔŋ prɑ.jao̯c̚ ʔao̯j]
[ɗɑl prɑ.teːh kʰmae̯ ciə̯‿m(ɔ).haː.nɔ.kɔː]


โซม ปวก เตฝดา เรียกซา มฮา กสัต เยิง
ออย บาน รุง เรือง ดอย เจ็ย ม็องก็อล เซเร็ย ซัวสเด็ย
เยิง ขญม เปรียะฮ์ ออง โซม ซรก กรอม มลุป เปรียะฮ์ บารอเม็ย
เน็ย เปรียะฮ์ นอรอบอเด็ย ว็อง กสัตรา แดล ซาง ปราสาต ถมอ
กรุป กรอง แดน ขแม็ย โบะราน ทเกิง ทกานฯ


ปราสาต เซ็ยลา ก็อมบัง กอนดาล เปร็ย
กัว ออย ซรอมัย นึก ดอล ยัวฮ์ ซัก มอฮา เนาะกอ
เจียต ขแม็ย โดว็จ ทมอ กุง ว็อง นึวฟ์ ลออ รึง เปิง จุมฮอ
เยิง ซองเคิม ปอ พวบ เปร็ยง์ ซ็อมนาง รอบอฮ์ กอมปูเจีย
มอฮา รัต เกิด เมียน ยู อองแวย์ง เฮยฯ


กรุป ว็อต อาราม ลือ แตย์ โซ ซ็อป เทือร์
โสต ดอย อ็อมนอ รุมลึก กุน ปุต ซาฮ์ซนา
จอ เยิง เจีย เนีย เจือ เจีย ซมอฮ์ ซมะ ตาม แบย์บ โดน ตา
กุง แตย์ เตวดา นึง จวย โจรม แจรง ปกอต ปกอง ปรอยอจ ออย
ดัล ประเตฮ์ ขแม็ย เจีย มอฮา เนาะกอ๚

บทที่ 4 กล่าวถึงการสรรเสริญความเป็นมิตรภาพระหว่างชาวเขมรกับฝรั่งเศสจนกระทั่งสิ้นสุดการเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส มีเนื่อร้องดังนี้:[8]

ภาษาเขมร แปลอังกฤษ
IV

ក្នុងគ្រាក្សេមក្សាន្តដូចគ្រាមានចម្បាំង
កម្ពុជានិងបារាំង ជាមិត្តរួមចិត្តមួយ
យោធាក្លាហានបានបង្ហូរឈាមដោយក្តីទុក្ខព្រួយ
គង់មានថ្ងៃមួយនិងមានជុំនេះដូចដើមវិញពុំខាន
ពួកខ្មែរនិងបានជួបជុំគ្នាវិញ

IV

In peace and in battle

Campuchéa was the friend of France

The blood of their heroes was not shed in vain

Because a day will dawn that will see the triumph

As well as the union of all Khmers

คำแปล[แก้]

ขอเหล่าเทวดารักษามหากษัตริย์เรา
ให้ได้รุ่งเรืองโดยชัยมงคลสิริสวัสดิ์
เราข้าพระองค์ขอพึ่งใต้ร่มพระบารมี
แห่งพระนรบดีวงศ์กษัตราผู้สร้างปราสาทหิน
ครอบครองแดนเขมรโบราณเฟื่องฟู ฯ

ปราสาทศิลาซ่อนอยู่ท่ามกลางไพร
ควรคำนึงหวนให้นึกถึงยศศักดิ์มหานคร
ชาติเขมรดุจหินดำรงวงศ์ละออยืนหยัดถาวร
เราหวังซึ่งพรบุญวาสนาแต่กาลก่อนของกัมพูชา
มหารัฐเกิดมีช้านานมาแล้ว ฯ

ทุกวัดอารามยินแต่ศัพท์สำเนียงเสียงธรรม
สวดโดยยินดีรำลึกคุณพุทธศาสนา
จงเราเป็นผู้เชื่อแน่ในใจจริงตามแบบยายตา
คงแต่เทวดาจะช่วยค้ำจุนบำรุงประโยชน์ให้
แก่ประเทศเขมรเป็นมหานคร ฯ [9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kalmanowitz, Debra; Chan, Siu Mei (2012). Art Therapy in Asia: To the Bone Or Wrapped in Silk (ภาษาอังกฤษ). Jessica Kingsley Publishers. p. 210. ISBN 978-1-84905-210-8.
  2. Koskoff, Ellen (2008). The Concise Garland Encyclopedia of World Music: The Middle East, South Asia, East Asia, Southeast Asia (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-0-415-99404-0.
  3. "Complete National Anthems of the World: 2013 Edition" (PDF). www.eclassical.com. 2012.
  4. Cultures of Independence (ภาษาอังกฤษ). Reyum. 2001. p. 195. ISBN 9781588860378.
  5. "เพลงชาติกัมพูชา ความแตกต่างทางการเมือง ในจุดร่วมแห่งอดีตที่รุ่งเรืองของ "พระนคร"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  6. Shores, Louis (1964). Collier's Encyclopedia: With Bibliography and Index (ภาษาอังกฤษ). Crowell-Collier Publishing Company. p. 153.
  7. "A nation built on the rule of song". PEN/Opp (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
  8. Hymnes et Pavillons d'Indochine (ภาษาฝรั่งเศส). Bibliothèque nationale de France, département Philosophie, histoire, sciences de l'homme, 4-LK10-918: Imprimerie d'Extrême Orient. 1941.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  9. "ธิบดี บัวคำศรี. ความเป็นมาของบท "โนกอร์เรียช" เพลงชาติเขมร : การศึกษาเบื้องต้น. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 2, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2549), น. 63-88" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-13. สืบค้นเมื่อ 2019-04-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]