ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่

พิกัด: 08°06′03″N 98°59′05″E / 8.10083°N 98.98472°E / 8.10083; 98.98472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่
หอบังคับการ สนามบินกระบี่
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
สถานที่ตั้งอ.เหนือคลอง จ.กระบี่
ฐานการบินไทยแอร์เอเชีย การบินไทย
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล25 เมตร / 82 ฟุต
พิกัด08°06′03″N 98°59′05″E / 8.10083°N 98.98472°E / 8.10083; 98.98472
แผนที่
KBVตั้งอยู่ในจังหวัดกระบี่
KBV
KBV
KBVตั้งอยู่ในประเทศไทย
KBV
KBV
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
14/32 3,000 9,843 ยางมะตอย
สถิติ
ผู้โดยสาร4,079,564(2559)
เที่ยวบิน28,063
แหล่งข้อมูล: http://www.aviation.go.th

ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ หรือ สนามบินกระบี่ (อังกฤษ: Krabi International Airport) (IATA: KBVICAO: VTSG) ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองกระบี่กับอำเภอเหนือคลอง ไปทางจังหวัดตรัง เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และเป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[2]

ประวัติ[แก้]

ท่าอากาศยานกระบี่ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2526 โดยภาคเอกชนและเทศบาลเมืองกระบี่ ได้ร่วมลงทุนก่อสร้างสนามบินขนาดเล็กจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2529 เปิดให้บริการการบินด้วยเครื่องบินขนาด 18 ที่นั่ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงมอบสนามบินให้กับกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม พัฒนาให้เป็นสนามบินได้มาตรฐาน เพื่อให้การเดินทางสู่จังหวัดกระบี่ มีความสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น และเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ ตลอดจนให้มีการขยายตัวของธุรกิจ ภายในจังหวัดกระบี่มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น

รัฐบาลได้มีมติให้กรมการขนส่งทางอากาศ สำรวจออกแบบ จัดซื้อที่ดิน และดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานกระบี่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานกระบี่เป็นสนามบินที่มีเที่ยวบินมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของกรมการขนส่งทางอากาศ[3]

ในปี พ.ศ. 2563 ได้มีโครงการพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่ โดยกรมท่าอากาศยาน ก่อสร้างลานจอดเครื่องบิน ขนาด 135 x 1,080 เมตร สามารถจอดเครื่องบินขนาด B737 ได้ 40 ลำ และก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 3 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 8.0 ล้านคนต่อปี เพื่อให้สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัด มีระยะเวลาการดำเนินการเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2565 (งบประมาณปี 2561 – 2565)[4]

การจะให้บริษัทท่าอากาศยานไทยเข้าบริหาร[แก้]

กระทรวงคมนาคมได้มีแผนการที่จะให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เข้าบริหารท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ ในลักษณะการบริหารสัญญาร่วม หรือการจ้าง บมจ. ท่าอากาศยานไทย บริหารจัดการ โดยกรมท่าอากาศยานยังคงความเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน[5][6]

ในเดือนมีนาคม 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคมจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เข้าดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานกระบี่แทนกรมท่าอากาศยาน[7]

ข้อมูลพื้นฐาน[แก้]

ท่าอากาศยานกระบี่ มีทางวิ่งเส้นทางเดียว ขนาดความยาว 3,000 เมตร กว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.50 เมตร ทางขับขนาดยาว 320 เมตร กว้าง 23 เมตร และ ขนาดยาว 43 เมตร กว้าง 23 เมตร ผิวแอสฟัลติกคอนกรีต และลานจอดเครื่องบิน ขนาดยาว 200 เมตรกว้าง 85 เมตร ผิวคอนกรีต พร้อมระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบโทรศัพท์ ระบบประปา ระบบระบายน้ำภายในสนามบิน ลานจอดรถยนต์ ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่รับผู้โดยสารจาก 11 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศรัสเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศจีน ประเทศฟินแลนด์ ประเทศกาตาร์ ประเทศนอร์เวย์ ประเทศอังกฤษ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศสวีเดน โดยประเทศล่าสุดได้แก่ประเทศเกาหลีใต้ในเที่ยวบิน KE9637[8]ท่าอากาศยานกระบี่ มีจำนวนผู้โดยสารตลอดทั้งปี 2561 อยู่ที่ 4,193,099 คน มี 28,639 เที่ยวบิน[9]

รายชื่อสายการบิน[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[10] หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, สมุย ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ระหว่างประเทศ
สกู๊ต สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
เจ็ทสตาร์เอเชีย สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
ไฟล์ดูไบ ดูไบ ระหว่างประเทศ
เสฉวนแอร์ไลน์ เฉิงตู, ฉงชิ่ง ระหว่างประเทศ


สายการบินที่เคยให้บริการ[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[11] หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย ฮ่องกง, สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์ ระหว่างประเทศ

สมุดภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2014-07-20.
  2. ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง รายชื่อสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport) พ.ศ. ๒๕๖๖
  3. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (2017-12-25). "สถิติการขนส่งทางอากาศภายของท่าอากาศยานสังกัดกรมการบินพลเรือน ประจำปี 2014". สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 2019-08-25.[ลิงก์เสีย]
  4. "โครงการพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่ จังหวัดกระบี่" เก็บถาวร 2022-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 1-10-2563
  5. "เบื้องลึกเด้งอธิบดีทย. เซ่นการเมืองขวางทอท.ฮุบสนามบิน". ฐานเศรษฐกิจ. 8 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "คมนาคม เคาะให้ ทอท. เช่าบริหาร 3 สนามบิน ของ ทย. ระบุโอนให้ไม่ได้ไม่มีกฎหมายรองรับ". ข่าวสด. 14 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ""ศักดิ์สยาม" เปิดไทม์ไลน์โอนย้าย 3 สนามบิน จ่อเสนอ ครม. เมษายนนี้". ไทยรัฐ. 21 มีนาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ท่าอากาศยานกระบี่ ข้อมูลพื้นฐาน
  9. 10 อันดับสนามบินภูธร ผู้โดยสารมากที่สุดปี 2561
  10. "Flight Tracker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  11. "Flight Tracker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.