ทางรถไฟสายสวรรคโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางรถไฟสายสวรรคโลก
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งจังหวัดอุตรดิตถ์และสุโขทัย
ปลายทาง
จำนวนสถานี7
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟระหว่างเมือง
ระบบรถไฟทางไกล
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
ศูนย์ซ่อมบำรุงโรงรถจักรดีเซลอุตรดิตถ์
ประวัติ
เปิดเมื่อ15 สิงหาคม พ.ศ. 2453
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง28.83 กม. (17.91 ไมล์)
รางกว้างมีเตอร์เกจ

ทางรถไฟสายสวรรคโลก–ชุมทางบ้านดารา หรือ ทางแยกสวรรคโลก[1] เป็นทางรถไฟสายรองในระบบรถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย แยกมาจากทางรถไฟสายเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา ตำบลบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านสถานีรถไฟคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย มาสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีความยาวทั้งหมด29.007 กิโลเมตร[2] เมื่อแรกสร้างมีแผนจะสร้างเส้นรถไฟนี้ต่อไปจนถึงจังหวัดตาก[3] นอกจากจะเป็นระบบขนส่งมวลชนในท้องถิ่นแล้ว ในอดีตทางรถไฟสายนี้ยังทำหน้าที่ลำเลียงไม้ท่อนและของป่าจากแถบนี้ลงไปยังกรุงเทพมหานคร[4]

ประวัติ[แก้]

ทางรถไฟสายสวรรคโลกนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้สร้างทางรถไฟจากเมืองพิษณุโลก แล้วแยกเป็นสองสายที่บ้านดารา สายหนึ่งขึ้นเหนือไปสุดที่เมืองอุตรดิตถ์ และอีกสายหนึ่งไปฝั่งตะวันตกสุดที่เมืองสวรรคโลก[5] เพื่อเชื่อมการเดินไปออกไปทางทิศตะวันตกออกทางเมืองตากในอนาคต ซึ่งในขณะนั้น ทางรถไฟสายนี้ยังเป็นที่ราบเต็มไปด้วยป่ารกทึบ ไม่มีสถานีรายทาง มีเพียงสถานีปลายทางคือสวรรคโลก ใช้รางเกจใหญ่ มีระยะทาง 28.9 กิโลเมตร สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง 840,000 บาท[3] สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เพื่อเปิดทางรถไฟทั้งสองเส้นเมื่อวันที่ 6–7 ธันวาคม พ.ศ. 2452 (นับแบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2453) และประทับรถไฟพระที่นั่งจากปะรำพิธีข้างสถานีรถไฟพิษณุโลกไปยังสถานีรถไฟสวรรคโลกและสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ตามลำดับ หลังจากนั้นพระองค์เสด็จประพาสหัวเมืองรายทางรถไฟแถบเขาพลึง และเมืองสวรรคโลก แล้วจึงเสด็จกลับพระนครในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2453[5]

หลังการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงให้หยุดเดินรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพ–สวรรคโลก–กรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563[6] ต่อมาได้เปิดให้บริการขบวนรถท้องถิ่นที่ 405/406 ศิลาอาสน์-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์ ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

รายชื่อสถานีรถไฟสายสวรรคโลก[แก้]

ช่วงสถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา - สวรรคโลก[แก้]

ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ ชื่อภาษาอังกฤษ เลขรหัส ระยะทางจาก กท. ชั้นสถานี ตัวย่อ อาณัติสัญญาณ ระบบบังคับประแจ ที่ตั้ง หมายเหตุ
ตำบล อำเภอ จังหวัด
ชุมทางบ้านดารา - สวรรคโลก
ชุมทางบ้านดารา Ban Dara Junction 1137 458.31 กม. 3 ดร. หางปลา มีสัญญาณเตือน ไม่ใช้ห่วงทางสะดวก สายลวด บ้านดารา พิชัย อุตรดิตถ์
คลองละมุง Khlong Lamung 1138 466.32 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) ลม. - - ไร่อ้อย เปิดเป็นสถานีในวันที่ 15 สิงหาคม 2453[5] เป็น 1 ใน 4 สถานีรายทางในเส้นทางสายสวรรคโลก[7] ยุบเป็นที่หยุดรถและยุบเลิกในภายหลัง
คลองมะพลับ Khlong Maphlap 1139 470.27 กม. 3 มป. ป้ายเขตสถานี ใช้ห่วงทางสะดวก มือโยก ศรีนคร ศรีนคร สุโขทัย เข้าเขตจังหวัดสุโขทัย
วัดคลองปู Wat Khlong Pu 1140 474.96 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) วู. - - คลองยาง สวรรคโลก
คลองยาง Khlong Yang 1141 479.03 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) คย. - - เปิดเป็นสถานีในวันที่ 15 สิงหาคม 2453[5] เป็น 1 ใน 4 สถานีรายทางในเส้นทางสายสวรรคโลก[7] ยุบเป็นที่หยุดรถและยุบเลิกในภายหลัง
หนองเรียง Nong Riang 1142 483.08 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) นย. - - ในเมือง
สวรรคโลก Sawankhalok 1143 487.14 กม. 3 สว. ป้ายเขตสถานี ใช้ห่วงทางสะดวก มือโยก เมืองสวรรคโลก สิ้นสุดทางรถไฟสายสวรรคโลกที่สถานีนี้

แผนการพัฒนาเส้นทาง[แก้]

ตามที่ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวงรักษาราชการแทน ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการท้ายหนังสือสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ที่ คค 0809.7/1667 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เรื่อง รายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ โดยมอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) รับข้อเสนอการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ ช่วงตาก - สวรรคโลก และ ช่วงศิลาอาสน์ -ภูดู่ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ นั้นของการพัฒนาโครงข่ายรถไฟ โดยแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฯ เส้นทางการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ช่วงตาก - สวรรคโลก และช่วงศิลาอาสน์ - ภูดู่ เป็นเส้นทางรถไฟตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ East - West Economic Corridor อีกเส้นหนึ่ง ที่เชื่อมโยงสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านทางด่านภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์ จะเกิดการเชื่อมต่อทางรถไฟ 3 ประเทศ ที่มีระยะทางสั้นกว่าเส้นทางรถไฟสายอื่นๆและนำมาซึ่งการประหยัดค่าขนส่งและโลจิสติกส์ในการค้าชายแดนและการส่งออกจากประเทศไทยไปยังกลุ่มประเทศอินโดจีนด้วยระบบราง โดยมีระยะมางโครงการ 108 กิโลเมตร เป็นระบบทางเดี่ยว/ขนาดทาง 1.000 เมตร โดยนับเป็นเส้นทางที่มีศักยภาพ มีแผนดำเนินการภายหลังปี พ.ศ. 2585[8]

แนวเส้นทาง[แก้]

แนวคิดการออกแบบโครงการจะเป็นการก่อสร้างทางรถไฟทางเดี่ยว ขนาดทาง 1.000 เมตร โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการที่บริเวณสถานีตาก (ตำบลวังหิน) จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่เขตจังหวัดสุโขทัย แนวเส้นทางรถไฟจะขนานไปกับแนวถนน AH12 ที่อยู่ระหว่างอุทยานแห่งชาติรามคำแหง และอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยไม่ล่วงล้ำพื้นที่ของเขตอุทยาน โดยมีสถานีรถไฟอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประมาณ 3.5กิโลเมตร และสถานีสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณทุ่งทะเลหลวง โดยไม่เข้าไปผ่านย่านชุมชนเมืองที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่มีต่อประชาชน จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าขึ้นสู่ทิศเหนือ ผ่านพื้นที่ท่าอากาศยานสุโขทัย เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางผ่านทางรางและทางอากาศไว้ ณ จุดนี้ โดยสถานีรถไฟท่าอากาศยานสุโขทัย ห่างจากอาคารผู้โดยสารขาเข้า-ขาออกประมาณ 2 กิโลเมตร และจะสิ้นสุดโครงการที่สถานีรถไฟสวรรคโลกแห่งใหม่ โดยจะใช้พื้นที่ของที่หยุดรถไฟหนองเรียง(เดิม) เป็นสถานีสวรรคโลกแห่งใหม่ เนื่องจากจะได้ไม่ต้องทำการเวนคืนพื้นที่สร้างสถานีเพิ่มเติม และเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อชุมชน ประชาชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยสถานีสวรรคโลกแห่งใหม่จะห่างจากตัวเมืองสวรรคโลกประมาณ 3-4 กิโลเมตร

รายชื่อสถานีในโครงการ
สถานี ขนาดสถานี ตำบล อำเภอ จังหวัด หมายเหตุ
ตาก เล็ก วังหิน เมืองตาก ตาก เป็นจุดเริ่มต้นโครงการ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เล็ก เมืองเก่า เมืองสุโขทัย สุโขทัย
สุโขทัย กลาง บ้านกล้วย
ท่าอากาศยานสุโขทัย เล็ก คลองกระจง สวรรคโลก
สวรรคโลกใหม่ เล็ก ในเมือง อยู่บริเวณอดีตที่หยุดหนองเรียง เป็นจุดสิ้นสุดโครงการ

อ้างอิง[แก้]

  1. รายงานฉบับกลาง การจัดทำเอกสาร การนำเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรมเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (ทางรถไฟสายมรณะ) เข้าสู่บัญชีชั่วคราวมรดกโลก (PDF). สมาคมอิโคโมสไทย. 29 มิถุนายน 2561. p. 28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-17.
  2. "การรถไฟแห่งประเทศไทย". กระทรวงคมนาคม. กรกฎาคม 2564. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "คำกราบบังคมทูลรายงาน การเปิดทางรถไฟอุตรดิษฐ์แลสวรรคโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 2063–2071. 26 ธันวาคม 2452.
  4. เมธินีย์ ชอุ่มผล (19 กันยายน 2561). "สถานีรถไฟสวรรคโลก". วารสารเมืองโบราณ. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "การเปิดรถไฟสายเหนือแต่เมืองพิศณุโลก ไปยังเมืองอุตรดิษฐ์แลเมืองสวรรคโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 2059–2063. วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2452
  6. "รถไฟสุโขทัย หยุดเดินรถแล้ววันนี้". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. 1 เมษายน 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 "กรมรถไฟหลวงแบบอักษรย่อ พ.ศ. ๒๔๖๐". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2460
  8. การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) หน้าที่ 594