จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 style|รูปพยัญชนะ

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |–ั | |–ํ |–ิ |' |"- |–ุ |–ู | | | | |–็ |–่ |–้ |–๊ |–๋ |–์ |–๎ |–ฺ | | | | | เป็นพยัญชนะตัวที่ 6 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก และก่อนหน้า จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำในระบบไตรยางศ์ ออกเสียงอย่าง ค (ควาย) มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฆ ระฆัง"

ฆ มักไม่ถูกใช้เป็นอักษรสำหรับหัวข้อลำดับ เช่นว่า ก. ข. ค. ง. จ. ฯลฯ ซึ่งข้าม ฆ. ไปเลย

เสียง[แก้]

อักษร "ฆ" ตรงกับตัวอักษรเทวนาครีคือ "घ" และตรงกับเสียงเสียงกักเพดานอ่อนก้อง [gʰ] ในภาษาฮินดี

สำหรับภาษาไทยกลาง อักษร ฆ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นพยางค์และพยัญชนะท้ายพยางค์ โดยแทนเสียงหยุด เพดานอ่อน ไม่ก้อง พ่นลม [kʰ] และเสียงหยุด เพดานอ่อน ไม่ก้อง ไม่ระเบิด [k̚] ตามลำดับ

ในการทับศัพท์คำภาษาอาหรับและมลายูใช้ ฆ แทนเสียง [ɣ] และในการทับศัพท์คำภาษาสเปนใช้ ฆ แทนเสียง [x] ทั้งในตำแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์