กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์
กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | สุเทพ เทพรักษ์ |
ถัดไป | หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | สังข์ทอง ศรีธเรศ |
ถัดไป | เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488 อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย |
กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ (เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ 5 สมัย
ประวัติ
[แก้]กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของนายวุฒิพงษ์ และ นางทองพูน เรืองกาญจนเศรษฐ์ จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์ จาก MURRAY STATE UNIVERSITY MURRAY KY ปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์ จาก BALL STATE UNIVERSITY MUNCIE INDI [1]
งานการเมือง
[แก้]กำชัย ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกเรื่อยมารวม 5 ครั้ง
กำชัย ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม.48) [2][3] และ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม.50)[4]
ก่อนที่ต่อมาจะไม่ได้รับเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2544 โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายประดุจ มั่นหมาย จากพรรคไทยรักไทย และวางมือทางการเมืองในที่สุด
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗