ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567

← พ.ศ. 2557 (เลือกตั้ง) 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567

200 ที่นั่งในวุฒิสภาไทย
  First party
 
พรรค อิสระ

วุฒิสภาก่อนการเลือกตั้ง

ชุดที่ 12

วุฒิสภาหลังการเลือก

ชุดที่ 13

ปฏิทินการเลือก[1]
11 พ.ค.พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือก สว. มีผลบังคับใช้
20–24 พ.ค.วันเลือกและรับสมัครสมาชิกวุฒิสภา
9 มิ.ย.วันเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับอำเภอ
16 มิ.ย.วันเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัด
26 มิ.ย.วันเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับประเทศ
2 ก.ค.วันประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 107 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ภายหลังวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ซึ่งเป็นชุดเฉพาะกาลหมดวาระลงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 โดยวุฒิสภาชุดนี้จะมีจำนวน 200 คน และไม่สามารถร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีได้

การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทยในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้วิธีการเลือกกันเองของประชาชนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 20 กลุ่ม ใน 3 ระดับ คือระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ

เบื้องหลัง[แก้]

วุฒิสภาไทยมีการเปลี่ยนแปลงการได้มาหลายครั้งนับแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490 โดยมีทั้งการเลือกตั้งทางตรงและทางอ้อม หรือคละกัน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ประกาศใช้หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 กำหนดให้มีวุฒิสภาเฉพาะกาลคราวละ 5 ปีโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองที่ปกครองประเทศไทยตั้งแต่รัฐประหารใน พ.ศ. 2557 จนถึง พ.ศ. 2562 ที่มีวุฒิสภา "ถาวร"

วุฒิสภาเฉพาะกาลประกอบด้วยสมาชิกที่ คสช. แต่งตั้ง 250 คน โดยมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายวุฒิสภาเลือกประยุทธ์ จันทร์โอชาอย่างล้นหลามใน พ.ศ. 2562 และเศรษฐา ทวีสินใน พ.ศ. 2566 บทบัญญัตินี้ถูกสาธารณชนตรวจสอบอย่างเข้มงวดในระหว่างการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 เมื่อวุฒิสมาชิกไม่ให้ความเห็นชอบพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ให้คะแนนสนับสนุนก็ตาม[2]

หลังวุฒิสภาเฉพาะกาลหมดวาระในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 วุฒิสภาชุดถัดไปจะได้รับเลือกตั้งทางอ้อมผ่านระบบการเลือกตั้งที่ซับซ้อนอย่างมาก ด้วยจุดประสงค์ในการสร้างสถาบันคตินิยมนักวิชาการ การเลือกสมาชิกวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2567 จะเป็นครั้งแรกที่ใช้ระบบนี้ และวุฒิสภาถาวรชุดนี้จะไม่มีอำนาจในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566[แก้]

รัฐบาลประยุทธ์พ่ายแพ้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย พ.ศ. 2566 แบบแลนด์สไลด์[3][4] พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งมากที่สุด รองลงมาคือพรรคเพื่อไทย แต่ความพยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างทั้งสองฝ่ายกลับล้มเหลว หลังจากพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่เป็นเพราะการคัดค้านจากวุฒิสภาชุดเฉพาะกาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยม[5]

สิ่งนี้ทำให้มีการจัดตั้งรัฐบาลโดยเศรษฐา ทวีสินของพรรคเพื่อไทย[6] คณะรัฐมนตรีเศรษฐาได้รับการสนับสนุนจากพรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา เช่นเดียวกันกับพรรคการเมืองแนวร่วมประยุทธ์อย่างพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติ

ระบบการเลือก[แก้]

กลุ่มบุคคล[แก้]

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 จำแนกกลุ่มบุคคลในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไว้ จำนวน 20 กลุ่ม ดังนี้[7]

  1. กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง เช่น อดีตข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  2. กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  3. กลุ่มการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  4. กลุ่มการสาธารณสุข เช่น แพทย์ทุกประเภท นักเทคนิคการแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  5. กลุ่มอาชีพเกษตรกรทำนา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  6. กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  7. กลุ่มพนักงานลูกจ้างที่ไม่ใช่ราชการหรือหน่วยงานรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  8. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  9. กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อยตามกฎหมาย หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจาก (9)
  11. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการอื่นหรือพนักงานโรงแรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  12. กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  13. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  14. กลุ่มสตรี
  15. กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือผู้ทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น ๆ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  16. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  17. กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์การสาธารณประโยชน์ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  18. กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  19. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
  20. กลุ่มอื่น ๆ

ลักษณะอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน ในที่นี้ เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 และมีผลบังคับใช้ในวันถัดมา (26 เมษายน)[8]

เส้นเวลา[แก้]

หลังจากวาระของวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 สิ้นสุดลงในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ในวันเดียวกัน จะมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือก สว. ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) เสนอเมื่อวันที่ 23 เมษายน โดยคาดว่าจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 11 พฤษภาคม

นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังอนุมัติแผนการจัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา โดยกำหนดวันเลือกและวันรับสมัครในวันที่ 13 พฤษภาคม และจะมีการรับสมัครเป็นเวลา 5 วัน คือจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม จากนั้นอีก 5 วัน (22 พฤษภาคม) จะเป็นการประกาศรายชื่อผู้สมัคร และถัดมาได้กำหนดให้ในวันที่ 9 มิถุนายน จะเป็นวันเลือกระดับอำเภอ, กำหนดให้วันที่ 16 มิถุนายน เป็นวันเลือกระดับจังหวัด และวันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันเลือกระดับประเทศ จากนั้นกำหนดให้วันที่ 2 กรกฎาคม เป็นวันประกาศผลผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา[1]

เมื่อทำการเลือกในระดับอำเภอ อำเภอหนึ่งแต่ละกลุ่มจะมีผู้ได้รับเลือกคะแนนสูงสุด 3 คน 1 อำเภอ 20 กลุ่ม เป็น 60 คน โดยอำเภอทั่วประเทศ คือ 928 อำเภอ เมื่อรวมแล้วจะมี 55,680 คน ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการเลือกระดับจังหวัด เพื่อเลือกผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 2 คนแรกของแต่ละกลุ่ม เป็นผู้ที่ได้รับเลือกไปสู่การเลือกระดับประเทศ รวม 3,080 คน จากนั้นการเลือกระดับประเทศจะเหลือ 200 คน จำนวน 20 กลุ่มๆ ละ 10 คน[9]

สรุปวิธีการเลือกตั้ง[10]
รอบ วันที่ ระดับ ความคืบหน้าของผู้สมัคร วิธีเลือกตั้ง
ในกลุ่ม ทุกกลุ่ม ทั่วประเทศ
1 9 มิถุนายน แต่ละคนใน 928 อำเภอ 5 100 92,800 จำกัดคะแนนเสียง (โหวต 2 คะแนน)
2 3 60 55,680 เสียงเดียวโอนไม่ได้
3 16 มิถุนายน แต่ละคนใน 77 จังหวัด 5 100 7,700 จำกัดคะแนนเสียง (โหวต 2 คะแนน)
4 2 40 3,080 เสียงเดียวโอนไม่ได้
5 26 มิถุนายน ทั่วประเทศไทย 40 800 จำกัดคะแนนเสียง (โหวต 10 คะแนน)
6 10 200 จำกัดคะแนนเสียง (โหวต 5 คะแนน)

ข้อวิจารณ์[แก้]

การเลือกสมาชิกวุฒิสภาในครั้งนี้ จะใช้วิธีการผู้สมัครเลือกกันเอง ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์วุฒิสภาไทย และเมื่อลงลึกในรายละเอียดพบว่า เป็นวิธีการที่ซับซ้อนมากที่สุดอีกด้วย ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ระดับอำเภอ-จังหวัด-ประเทศ[11]

นอกจากนี้ กฎและระเบียบของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง สร้างความไม่สะดวกและไม่อำนวยให้ผู้สมัครได้แนะนำตัว หรือหาเสียง อาทิ ห้ามแจกเอกสารแนะนำตัวด้วยการวาง โปรย หรือติดประกาศในที่สาธารณะ, ห้ามแนะนำตัวทางวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์, และห้ามให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน นักข่าว หรือสื่อโฆษณา ที่เผยแพร่ทางแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ เป็นต้น[12] ซึ่งในการเลือกตั้ง สว. ที่ผ่านมา 4 ครั้ง ไม่เคยมีระเบียบเช่นนี้ออกมาก่อน

ก่อนการเลือก[แก้]

ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 คณะก้าวหน้า ร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw - ไอลอว์) ได้ดำเนินการส่งผู้สมัคร สว. เข้าประกอบในทุกพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และลดอำนาจองค์กรอิสระ โดยมีการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกประมาณ 100 คนทั่วประเทศ[13] โดยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีการเปิดตัวผู้ที่สนใจลงสมัคร 29 คน[14]

หลังจากนั้น ทั้งคณะก้าวหน้าและไอลอว์ยังดำเนินการรณรงค์เพิ่มเติม โดยไอลอว์ร่วมกับเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ ได้เปิดเว็บไซต์ https://senate67.com/ ขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม เพื่อให้ผู้ที่สนใจลงสมัคร สว. มาแนะนำตนเอง และตรวจสอบคุณสมบัติ[15] ส่วนคณะก้าวหน้าได้ออกไปรณรงค์ให้ประชาชนลงสมัคร สว. ตามพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงหลังวันสงกรานต์ และเริ่มต้นแคมเปญนี้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 22 เมษายน[16] พรรณิการ์ วานิช โฆษกคณะก้าวหน้า ปฏิเสธว่า แคมเปญนี้ของคณะก้าวหน้าไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อผลิต "สว. สีส้ม" แต่อย่างใด[17]

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกมาเตือนเมื่อวันที่ 26 เมษายน ว่า การรณรงค์ของคณะก้าวหน้าและไอลอว์ข้างต้นเข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมาย โดยได้รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อมูล และพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว และหากเห็นว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย จะดำเนินการในทันที จึงขอให้ยกเลิกและยุติการกระทำดังกล่าว[18] แต่ไอลอว์ออกมาปฏิเสธทันทีว่าเป็นการข่มขู่ประชาชนด้วยข้อมูลเท็จ เนื่องจากได้ตรวจสอบแล้ว ไม่พบข้อห้ามดังกล่าวในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561[19] อย่างไรก็ตามในวันเดียวกัน กกต. ได้ออกระเบียบว่าด้วยการแนะนำตัว โดยมีผลบังคับใช้ในวันถัดมาคือ 27 เมษายน[20] ส่งผลให้เว็บไซต์ https://senate67.com/ ต้องยกเลิกการเปิดเผยข้อมูลผู้สมัครในวันเดียวกันทันที

24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนระเบียบ กกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 3 ข้อ ดังนี้

    • ข้อ 7 ระบุว่า การใช้เอกสารแนะนำตัวผู้สมัคร ให้ใช้เอกสารขนาดไม่เกิน A4 สามารถระบุข้อความเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ใส่รูปถ่ายของผู้สมัคร ประวัติการศึกษา ประวัติการศึกษา หรือประสบการณ์ในการทำงานในกลุ่มเท่านั้น ไม่เกิน 2 หน้า การแจกเอกสารตามวรรคหนึ่ง จะกระทำในสถานที่เลือกไม่ได้
    • ข้อ 8 ระบุว่า ผู้สมัครสามารถแนะนำตัวโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง โดยให้ใช้ข้อความตามเอกสารแนะนำตัวตาม ข้อ 7 และเผยแพร่แก่ผู้สมัครอื่นในการเลือกเท่านั้น
    • ข้อ 11 (2) ระบุว่า นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา มีผลบังใช้ไปจนถึงวันที่ กกต.ประกาศผลการเลือก ห้ามผู้สมัครหรือผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร แนะนำตัวในกรณี ผู้ประกอบอาชีพทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน หรือโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร เป็นต้น ใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ในการแนะนำตัว

เนื่องจากเห็นว่า ระเบียบดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมประชาชนตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้[21]

หลังจากปิดการรับสมัคร ได้มีการรายงานถึงผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติการลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา โดยจังหวัดบุรีรัมย์มีการตัดสิทธิ์ผู้สมัครเนื่องจากสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งขัดกับเงื่อนไขการรับสมัคร จำนวนทั้งสิ้น 51 คน โดยมีสมาชิกจากพรรคภูมิใจไทยมากที่สุด คือ 11 คน รองลงมาคือพรรคพลังเพื่อไทย จำนวน 7 คน และพรรครวมใจไทย จำนวน 6 คน[22] และในจังหวัดพิจิตรพบผู้สมัครลักษณะต้องห้ามจำนวน 25 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะต้องห้ามคือ เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และ เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นเว้นแต่ได้พ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

ซึ่งผลจากการที่ผู้สมัครที่ถูกตรวจสอบและขาดคุณสมบัติ จะต้องถูกดำเนินการที่มีบทลงโทษผู้กระทำผิดหรือกรณีรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. คือ

  • ผู้ใดฝ่าฝืนรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกไม่ว่าเพราะเหตุผลใดได้สมัครรับเลือกต้องระวางโทษจำคุก 1-20 ปี ปรับ 20,000 -200,000 บาท ให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น มีกำหนด 20 ปี และมีความผิดในข้อหาที่ว่าผู้ใดรับรองหรือเป็นพยาน ซึ่งลงชื่อรับรองเอกสารหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบการสมัครเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 5 ปี[23]

2 มิถุนายน พ.ศ. 2567 มีอดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาที่ถูกตัดสิทธิ์จากมาตรา 14 ชี้แจงต่อ กกต.จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่ามีการชักชวนให้ลงสมัครสมาชิกวุฒิสภาจากผู้นำท้องถิ่นบุคคลหนึ่ง โดยมีค่าจ้างเป็นค่าสมัคร 2,500 บาท และจะช่วยจ่ายเงินเพิ่ม หากว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยยอมรับว่าตนไม่รู้กฎหมายจริง ๆ[24]


บุคคลผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือก[แก้]

ผลการเลือก[แก้]

คาดการณ์ว่าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจะตีพิมพ์รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาที่ผ่านการเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 2 กรกฎาคม


อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ครม.เคาะไทม์ไลน์เลือก สว.รับสมัคร 13 พ.ค.-ประกาศผล 2 ก.ค." ไทยพีบีเอส. 23 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Thailand's Senate could hold key to hopeful election winner". สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
  3. "Thailand election results: Opposition trounces military parties". 14 May 2023. สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
  4. Zhou, Li (May 15, 2023). "Thai voters choose democracy in a stunning election". สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
  5. Ounboriboon, Akarawath (17 May 2023). "What role will senators play in naming Thailand's next PM?". สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
  6. "Thaksin Ally Srettha Elected as New Thai PM, Ending Three-Month Political Impasse". 22 August 2023. สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
  7. "สมัคร สว. ชุดใหม่ ใครกลุ่มไหนใน 20 กลุ่ม". เดอะสแตนดาร์ด. 19 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "ราชกิจจาฯเผยแพร่ ประกาศ กกต. ตีความลักษณะ 20 กลุ่มอาชีพสมัคร สว". ประชาชาติธุรกิจ. 26 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "กกต.เปิดไทม์ไลน์เลือกตั้ง ส.ว. เดือน ก.ค.2567 ได้ตัวจริง 200 คน". ฐานเศรษฐกิจ. 4 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "2024 Thai Senate Selection, Explained". 3 March 2024. สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
  11. ""เลือกกันเอง" ที่มา สว.ชุดใหม่ ครั้งแรกการเมืองไทย". Thai PBS.
  12. boonyanooch (2024-04-26). "อยากสมัคร สว. 67 ดูด่วน กกต. แก้ระเบียบ ผ่อนคลายเงื่อนไขแนะนำตัว แต่ข้อห้ามหลายอย่างยังอยู่". iLaw.
  13. "'ก้าวหน้า-ไอลอว์' ส่งคนชิง สว.สกัดขั้วอำนาจเก่า สื่อ-นักวิชาการเพียบ". กรุงเทพธุรกิจ. 23 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "'พนัส' พร้อมกลุ่มเพื่อน 29 คนเปิดตัวชิง สว. ลุยแก้ รธน.-รื้อองค์กรอิสระ". กรุงเทพธุรกิจ. 27 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "ข้อมูลจากเว็บ 'senate67.com' ผู้ประสงค์แสดงตัวสมัคร สว. เกิน 1,000 คนแล้ว". ประชาไท. 21 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "ธนาธร กางไทม์ไลน์ ชวนประชาชนลงเลือกตั้งสว. ร่วมแกะปมปัญหาการเมือง". ประชาไท. 22 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "เบื้องหลังกลยุทธ์ "ประชาชนจัดตั้งกันเอง" ก่อนคณะก้าวหน้าโดดร่วมแคมเปญเลือก สว. 67". บีบีซีไทย. 7 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "กกต. สั่งหยุดแคมเปญชวนสมัครลงเลือก สว. ยันผิดกฎหมาย โทษจำคุกสูง 10 ปี". ไทยรัฐ. 26 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "ไอลอว์ สวน กกต.เผยข้อมูลเท็จประกาศไม่สามารถจูงใจ-ชวนลงสมัคร ส.ว.ได้ อ้าง กม.ไร้ข้อห้าม". ผู้จัดการออนไลน์. 26 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. "ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศระเบียบ กกต. แนะนำตัว สว. ห้ามออกสื่อทุกช่องทาง". ข่าวสด. 26 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "ศาลปกครองสั่งเพิกถอนระเบียบ กกต.แนะนำตัวเลือก สว. 3 ข้อ". Thai PBS.
  22. "พบ 51 ผู้สมัครส.ว.บุรีรัมย์ ถูกตัดสิทธิ์เหตุเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 'ภูมิใจไทย' มากสุด 11 คน 'พลังเพื่อไทย-รวมใจไทย' ด้วย". matichon.co.th.
  23. "กกต.พิจิตรเชือดผู้สมัครส.ว. 25 ราย มีลักษณะต้องห้าม จ่อเตรียมแจ้งดำเนินคดี". matichon.co.th.
  24. "หนุ่มชาวสวนที่ถูกตัดสิทธิสมัครส.ว. แฉเบื้องหลังรับ 2,500 บาท ลงสมัครส.ว. โอดไม่คุ้มต้องถูกดำเนินคดี". matichon.co.th.
  25. ""ปิงปอง ศิรศักดิ์" หมดสิทธิ์ลงสมัคร สว. - เผยเบื้องหลังการรับสมัคร". pptvhd36.com. 2024-05-19.
  26. เริ่มแล้ว! เวทีมติชนล้อมวง ‘ส.ว.ชุดใหม่ Thailand-Select’ ลุ้นไทยจะเปลี่ยนไหม ?
  27. บรรยากาศรับสมัคร สว.ที่เชียงใหม่คึกคักแม้เป็นวันหยุด ต๊ะ นารากร-กลุ่มชาติพันธุ์ ยื่นใบสมัครด้วย
  28. สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ลงสมัคร สว.เชียงใหม่ – จักรพันธุ์ ยมจินดา ลงระยอง
  29. ศรีวราห์ คัมแบ๊ก จ่อสมัคร ส.ว. อำเภอสามพราน
  30. "อนุมัติ "พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์" คนสนิท "บิ๊กโจ๊ก" ลาออกจากราชการไปลงสมัคร สว". mgronline.com. 2024-05-23.
  31. "ยอดพุ่งสมัคร สว. 34,169 คน "หมอเหรียญทอง" ลงชิงเขตหลักสี่". Thai PBS.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]