การลอบสังหารราชีพ คานธี

พิกัด: 12°57′37″N 79°56′43″E / 12.9602°N 79.9454°E / 12.9602; 79.9454
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การลอบสังหารราชีพ คานธี
เสาเจ็ดเสาตั้งขึ้นตรงจุดที่เกิดเหตุ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถานราชีพ คานธี ในศรีปรุมปุตตูร
สถานที่ศรีปรุมปุตตูร รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย
พิกัด12°57′37″N 79°56′43″E / 12.9602°N 79.9454°E / 12.9602; 79.9454
วันที่21 พฤษภาคม 1991; 33 ปีก่อน (1991-05-21)
22:10 น. (IST)
เป้าหมายราชีพ คานธี
ประเภทระเบิดฆ่าตัวตาย
อาวุธเข็มขัดระเบิด RDX
ตาย16 (รวมผู้ก่อเหตุ)
เจ็บ43
ผู้เสียหายราชีพ คานธี และบุคคลอื่นอีก 57 ราย
กไลวานิ ราชรัตนัม (Kalaivani Rajaratnam)[1]

ราชีพ คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ถูกลอบสังหารจากระเบิดฆ่าตัวตายในศรีปรุมปุตตูร รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 1991[2] มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้อีก 14 รายนอกจากคานธี รวมถึงผู้ก่อเหตุ[3] ผู้ก่อเหตุเป็นสตรีวัย 22 ปี ชื่อ กไลวานิ ราชรัตนัม (Kalaivani Rajaratnam) หรือเป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อปลอม เตนโมฬี ราชรัตนัม (Thenmozhi Rajaratnam)[4][5] สมาชิกขององค์การกบฏแบ่งแยกดินแดนพยัคฆ์ปลดแอกทมิฬอีฬัมของชาวทมิฬศรีลังกา ณ เวลานั้น อินเดียพึ่งจะเพิกถอนบทบาทในสงครามกลางเมืองศรีลังกาโดยกองกำลังรักษาสันติสุขอินเดีย

ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ ราชีพ คานธี กำลังเดินสายหาเสียงเลือกตั้งร่วมกับจี.เค. มูปนัร ในภาคใต้ของประเทศอินเดีย ในวันที่ 21 พฤษภาคม หลังการหาเสียงในวิสาขาปัฏฏนัม รัฐอานธรประเทศ ทีมหาเสียงออกเดินทางไปยังเมืองศรีปรุมปุตตูร รัฐทมิฬนาฑู หลังเดินทางออกจากนครมัทราส (เจนไนในปัจจุบัน) สองชั่วโมงต่อมา คานธีและคณะหาเสียงออกเดินทางในขบวนรถที่มีการคุ้มกันในรถแอมบาสซาเดอร์ มุ่งหน้าศรีปรุมปุตตูร โดยมีจุดแวะพักหาเสียงรายทางสองสามแห่ง[6]

เมื่อคานธีและคณะเดินทางถึงพื้นที่หาเสียงในศรีปรุมปุตตูร เขาเดินลงจากรถและมุ่งหน้าไปยังเวทีเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ ระหว่างทาง เขารับพวงมาลัยจากผู้หวังดีมากมาย ตลอดจนสมาชิกพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดียและนักเรียน ผู้ก่อเหตุ กไลวานิ ราชรัตนัม แฝงตัวอยู่ในฝูงชนนี้และมุ่งหน้าเข้าเพื่อทักทายกับคานธี เธอก้มลงเพื่อสัมผัสเท้าของคานธี (เป็นวิธีการแสดงความเคารพในอินเดีย) พร้อมทั้งกดจุดระเบิด RDX ซึ่งติดตั้งในรูปเข็มขัดระเบิดที่เธอสวมภายใต้ชุดของเธอ ระเบิดถูกจุดที่เวลา 22:10 ตรง[7] มีผู้เสียชีวิตทันทีจากแรงระเบิดรวม 15 ราย ซึ่งรวมทั้งคานธีและราชรัตนัม มีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรง 43 ราย เหตุการณ์ทั้งหมดถูกบันทึกบนฟิล์มโดยชายท้องถิ่นชื่อ หริบาบู (Haribabu) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์[8] และเสียชีวิตจากแรงระเบิดเช่นกัน กระนั้น กล้องฟิล์มของเขาไม่ได้เสียหายไปด้วย[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kaarthikeyan, D. R. (23 June 2015). The Rajiv Gandhi Assassination: The Investigation. Sterling Publishers Pvt. ISBN 9788120793088.
  2. Assassination in India; Rajiv Gandhi is assassinated in bombing at campaign stop; India puts off rest of voting [1] เก็บถาวร 30 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "1991: Bomb kills India's former leader Rajiv Gandhi". BBC News. 1991-05-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  4. Gopal, Neena (2016-08-16). The Assassination of Rajiv Gandhi (ภาษาอังกฤษ). Penguin UK. ISBN 978-93-86057-68-6.
  5. "Lady With The Poison Flowers". www.outlookindia.com. 5 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 7 August 2018. With Rajiv Gandhi's gruesome assassination, the suicide bomber had well and truly arrived
  6. Barbara Crossette, "Assassination in India; Rajiv Gandhi is assassinated in bombing at campaign stop" เก็บถาวร 13 มกราคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The New York Times, 22 May 1991.
  7. "A look back at Rajiv Gandhi assassination: Rare images from the past". The New Indian Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2019. สืบค้นเมื่อ 12 May 2019.
  8. Supreme Court of India, State Of Tamil Nadu Through vs Nalini And 25 Others on 11 May 1999 [2] เก็บถาวร 13 ธันวาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน