หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
ภาพ A แสดงตำแหน่งของปอดและหลอดลม, ภาพ B คือภาพขยายของหลอดลมปกติ, ภาพ C คือภาพขยายของหลอดลมที่อักเสบ
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10J20-J21
ICD-9466
MedlinePlus001087
eMedicinearticle/297108
MeSHD001991

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (อังกฤษ: Acute bronchitis) หรืออาการ เย็นหน้าอก (อังกฤษ: chest cold) เป็นการอักเสบระยะสั้นที่เกิดกับหลอดลมในปอด[1][2] อาการโดยทั่วไปคือมีอาการไอ[2] และอาการอื่นๆที่อาจเกิดร่วมคือมีเสมหะ, หายใจฟืดฟาด, หายใจลำบาก, มีไข้ และแน่นอก ซึ่งอาจแสดงอาการเพียงไม่กี่วันไปจนถึงสิบวัน[1] แต่อาจแสดงอาการไอต่อไปอีกหลายสัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่อาการไอจะปรากฏอยู่ราวสามสัปดาห์[1][2] บางอาการร่วมอาจแสดงอาการถึงหกสัปดาห์[3]

สาเหตุกว่า 90% ของโรคนี้คือการอักเสบจากไวรัส และไวรัสเหล่านี้สามารถแพร่กระจายในอากาศเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอาทิการได้รับควันบุหรี่ที่ถูกพ่นโดยผู้อื่น, ฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ มีผู้ป่วยจำนวนไม่มากที่เมื่อตรวจแล้วพบว่าได้รับมลพิษทางอากาศและแบคทีเรียในปริมาณสูง เช่นแบคทีเรียชนิด Mycoplasma pneumoniae หรือ Bordetella pertussis[2][4] ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยตามลักษณะอาการที่แสดง[5] ทั้งนี้ สีของเสมหะไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเกิดจากแบคทีเรียหรือไวรัสหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจเกิดได้จากการเป็นโรคอื่นอยู่ก่อนหน้า อาทิ โรคหืด, ปอดบวม, หลอดลมฝอยอักเสบ, โรคหลอดลมพอง และ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง[2][6] โรคนี้สามารถตรวจพบได้โดยการเอกซเรย์ทรวงอก[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "What Is Bronchitis?". August 4, 2011. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Albert, RH (1 December 2010). "Diagnosis and treatment of acute bronchitis". American family physician. 82 (11): 1345–50. PMID 21121518.
  3. Tackett, KL; Atkins, A (December 2012). "Evidence-based acute bronchitis therapy". Journal of pharmacy practice. 25 (6): 586–90. doi:10.1177/0897190012460826. PMID 23076965.
  4. "What Causes Bronchitis?". August 4, 2011. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  5. "How Is Bronchitis Diagnosed?". August 4, 2011. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  6. Wenzel, RP; Fowler AA, 3rd (16 November 2006). "Clinical practice. Acute bronchitis". The New England Journal of Medicine. 355 (20): 2125–30. doi:10.1056/nejmcp061493. PMID 17108344.