กแดโดโมฟมูย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กแดโดโมฟมูย?
คำแปล: บ้านของฉันนั้นคือที่ใด
Kde domov můj?
สกอร์เพลงกแดโดโมฟมูย?
เนื้อร้องโจเซฟ คาเจตัน ไทล์
ทำนองแฟรนติเซก ชโกรพ
รับไปใช้ในเชกโกสโลวาเกีย:
พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918)
ในสาธารณรัฐเช็ก:
พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)
ตัวอย่างเสียง
กแดโดโมฟมูย (บรรเลง)

กแดโดโมฟมูย? (เช็ก: Kde domov můj?; เสียงอ่านภาษาเช็ก: [ˈɡdɛ ˈdomof ˈmuːj]) บ้านของฉันนั้นคือที่ใด? เป็นเพลงชาติเชโกสโลวาเกียและเช็กเกีย ผลงานประพันธ์โดย แฟรนติเซก ชโกรพ เรียบเรียงทำนองโดย โจเซฟ คาเจตัน ไทล์.

ผลงานชิ้นนี้ที่ได้ประพันธ์ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งละครเวทีเบาสมอง เรื่อง นักเล่นซอหรือไม่มีความโกรธและไม่มีการต่อสู้ (เช็ก: Fidlovačka aneb Žádný hněv a žádná rvačka; อังกฤษ: Fidlovačka, or No Anger and No Brawl) กำกับการแสดงโดย Karel Strakatý ละครเวทีเรื่องนี้ได้จัดแสดงครั้งแรกที่โรงละครแห่งชาติ กรุงปราก เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม, พ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834). บทร้องดั้งเดิมนั้นมีสองบท (ที่แสดงข้างล่างนี้). ต่อมาJ. K. Tyl ได้พิจารณาทั้งบทร้อง และ ทำนอง ที่บรรเลงร่วมกับวงดุริยางค์, มีความไม่ลงตัวบางประการ, ช่วงต่อมาเพลงดังกล่าวนี้ได้รับความนิยมในหมู่ชาวเช็ก และ ความเป็นอัตลักษณ์ ในช่วงสมัยของราชวงศ์ฮับสบูร์ก.[1]

หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2461 ประเทศเชโกสโลวาเกียได้รับการสถาปนา โดยได้นำเนื้อร้องบทแรกของเพลง กแดโดโมฟมูย? และ นาดทาโทรซาบลีซกา (สาธารณรัฐสโลวัก) รวมเป็นเพลงเดียวกัน ในดินแดนเช็กนั้น มีกลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันและฮังการี โดยได้แปลเนื้อร้องเป็นภาษาฮังการีและเยอรมัน

ภายหลังจากการสลายของเชโกสโลวาเกีย โดยแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวัก ในปี พ.ศ. 2535 ยังคงใช้เนื้อร้องเดิม และ บทแรกของ นาดทาโทรซาบลีซกา ได้กลายมาเป็นเพลงชาติสาธารณรัฐสโลวัก

บทร้อง[แก้]

เพลงชาติเช็กเกีย[แก้]



เพลงชาติเชโกสโลวาเกีย[แก้]



บทร้องดั้งเดิม[แก้]



อ้างอิง[แก้]

  1. Article 7 of Czech law n° 3/1993 Sb. on statehood emblems
  2. (Lyrics according to Appendix 6 of Czech Act No. 3/1993 Coll., as adapted by Act No. 154/1998 Coll.)
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ transl
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ kuczyn

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วีดิทัศน์