จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบดัตช์และเฟลมิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบดัตช์และเฟลมิช
"พระเยซูแบกกางเขน" (ค.ศ. 1498)
โดยฮีเยโรนีมึส โบส
ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม
ของเนเธอร์แลนด์และเฟลมิช
เนเธอร์แลนด์เริ่มแรก  (ค.ศ. 1400-1500)
เรอแนซ็องส์แบบดัตช์และเฟลมิช  (ค.ศ. 1500-84)
ยุคทองของเนเธอร์แลนด์  (ค.ศ. 1584-1702)
บาโรกแบบเฟลมิช  (ค.ศ. 1585-1700)
รายชื่อจิตรกรชาวดัตช์
รายชื่อจิตรกรชาวเฟลมิช

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบดัตช์และเฟลมิช (อังกฤษ: Dutch and Flemish Renaissance painting) เป็นจิตรกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นศิลปะที่โต้ตอบศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบอิตาลีของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ศิลปินกลุ่มนี้ที่เริ่มจากจิตรกรจริตนิยมแอนต์เวิร์ป และฮีเยโรนีมึส โบส เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษจนถึงปลายสมัยจิตรกรจริตนิยม เช่น ฟรันส์ โฟลริส (Frans Floris) และกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander) ในตอนปลาย ซึ่งเป็นศิลปะที่วิวัฒนาการมาจากการเขียนแบบใหม่ในอิตาลีและงานเขียนแบบท้องถิ่นของจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก แอนต์เวิร์ปกลายเป็นเมืองศูนย์กลางของศิลปะในบริเวณนั้น จิตรกรหลายคนทำงานให้กับราชสำนักในยุโรปรวมทั้งฮีเยโรนีมึส โบส ผู้ที่มีลักษณะการเขียนที่เป็นที่เลื่องลือ, ยัน มาบูซ (Jan Mabuse), มาร์เติน ฟัน เฮมสแกร์ก (Maarten van Heemskerck), ฟรันส์ โฟลริส (Frans Floris) ต่างก็มีบทบาทในการนำแบบการวาดของอิตาลีเข้ามาผสมกับลักษณะการเขียนของตนเอง

นอกจากนั้นจิตรกรดัตช์และเฟลมิชก็ยังมีบทบาทในการริเริ่มหัวข้อการวาดใหม่ เช่น จิตรกรรมภูมิทัศน์ จิตรกรรมชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่นงานเขียนของโยอาคิม ปาตีนีร์ (Joachim Patinir) ที่มีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการการเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน์ ขณะเดียวกับที่ปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) และปีเตอร์ อาร์ตเซิน (Pieter Aertsen) ช่วยทำให้จิตรกรรมชีวิตประจำวันเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

วิวัฒนาการ[แก้]

อิทธิพลของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเริ่มปรากฏในจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ราว ค.ศ. 1500 แต่ก็ยังลักษณะการเขียนเดิมอยู่เป็นอันมาก ลัทธิจริตนิยมแบบแอนต์เวิร์ปเป็นคำที่ใช้เรียกจิตรกรที่แสดงอิทธิพลของงานเขียนอิตาลี แต่โดยทั่วไปแล้วยังคงเขียนในลักษณะและหัวเรื่องของจิตรกรสำคัญ ๆ ก่อนหน้านั้นของเนเธอร์แลนด์เอง ฮีเยโรนีมึส โบส เป็นศิลปินที่ไม่เหมือนผู้ใด งานของเขามีลักษณะแปลก เต็มไปด้วยภาพจินตนาการที่นอกกรอบของเหตุผลและยากที่จะตีความหมาย[1] แต่ที่น่าประหลาดใจคือมีลักษณะราวกับเป็นศิลปะสมัยใหม่ที่เขียนเกี่ยวกับโลกของความฝันที่มีความเกี่ยวพันกับศิลปะกอทิกมากกว่าที่จะเป็นลักษณะของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบอิตาลี แต่ภาพพิมพ์จากเวนิสในช่วงเดียวกันก็มีลักษณะบางส่วนที่คล้ายกับงานของโบส จิตรกรยุคโรมันนิยม (Romanism) เป็นจิตรกรกลุ่มต่อมาที่รับอิทธิพลจากอิตาลีอย่างเต็มที่

"ภูมิทัศน์และอิคารัสปีกหัก‎" (Landscape with the Fall of Icarus) ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นงานเลียนแบบปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ)

หลังจากปี ค.ศ. 1550 จิตรกรดัตช์และเฟลมิชก็เริ่มแสดงความสนใจในความงามธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ลักษณะการเขียนที่รวมปัจจัยบางอย่างของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่ก็เป็นลักษณะที่ต่างจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สละสลวยและเบาของอิตาลี [2] และเป็นการปูทางโดยตรงไปสู่งานของจิตรกรเฟลมิชและดัตช์สมัยบาโรกคนสำคัญ ๆ เป็นงานในหัวข้อภูมิทัศน์ ภาพนิ่ง และภาพชีวิตประจำวัน[1].

วิวัฒนาการนี้จะเห็นได้จากงานของโยอาคิม ปาตีนีร์ และปีเตอร์ อาร์ตเซิน แต่จิตรกรที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) ผู้มีชื่อเสียงในการวาดภาพธรรมชาติและชีวิตประจำวัน ผู้เลือกที่จะวาดภาพชาวบ้านแทนที่จะวาดเจ้าขุนมูลนาย

"ภูมิทัศน์และอิคารัสปีกหัก‎" ที่ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นงานเลียนแบบของเบรอเคิล แม้ว่าจะเป็นงานที่ไม่เหมือนงานของผู้ใดรวมลักษณะการเขียนหลายอย่างของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือ และเป็นนัยที่แสดงความสนใจใตหัวข้อการวาดของตำนานโบราณ (ตำนานเกี่ยวกับเทพอิคารัส) แต่อิคารัสในภาพนี้ซ่อนอยู่ในฉากหลัง ตัวเอกของภาพคือธรรมชาติและผู้ที่เด่นที่สุดในภาพคือชาวนาผู้ที่มิได้มองขึ้นไปดูเมื่ออิคารัสตกจากฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะของการต่อต้านวีรบุรุษ น่าขัน และบางครั้งก็อัปลักษณ์[2]

จิตรกร[แก้]

"นรก" แผงขวาจากภาพแผง "สวนสำราญ" (The Garden of Earthly Delights) โดย ฮีเยโรนีมึส โบส
"Cornelis Aerentsz van der Dussen" โดยยัน ฟัน สโกเริล (Jan van Scorel) (ราว ค.ศ. 1535)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Janson, H.W. (1997). History of Art (5th, rev. ed.). New York: Harry N. Abrams, Inc. ISBN 0-8109-3442-6. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. 2.0 2.1 Heughebaert, H. (1998). Artistieke opvoeding. Wommelgem, Belgium: Den Gulden Engel bvba. ISBN 90-5035-222-7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

ระเบียงภาพ[แก้]