ไฮเดิลแบร์ค

พิกัด: 49°25′N 08°43′E / 49.417°N 8.717°E / 49.417; 8.717
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฮเดิลแบร์ค
ตราราชการของไฮเดิลแบร์ค
ตราอาร์ม
ที่ตั้งของไฮเดิลแบร์ค
แผนที่
ไฮเดิลแบร์ค ตั้งอยู่ในเยอรมนี
ไฮเดิลแบร์ค
ไฮเดิลแบร์ค
ไฮเดิลแบร์ค ตั้งอยู่ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
ไฮเดิลแบร์ค
ไฮเดิลแบร์ค
พิกัด: 49°25′N 08°43′E / 49.417°N 8.717°E / 49.417; 8.717
ประเทศเยอรมนี
รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
จังหวัดคาร์ลสรูเออ
พื้นที่
 • ทั้งหมด108.83 ตร.กม. (42.02 ตร.ไมล์)
ความสูง114 เมตร (374 ฟุต)
ประชากร
 (2020-12-31)[1]
 • ทั้งหมด158,741 คน
 • ความหนาแน่น1,500 คน/ตร.กม. (3,800 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+01:00 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+02:00 (CEST)
รหัสไปรษณีย์69115–69126
รหัสโทรศัพท์06221
ทะเบียนพาหนะHD
เว็บไซต์heidelberg.de

ไฮเดิลแบร์ค (เยอรมัน: Heidelberg) เป็นเมืองในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่บนแม่น้ำเน็คคาร์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เมืองไฮเดิลแบร์คตั้งอยู่ทางทิศใต้ของนครแฟรงก์เฟิร์ตไปราว 78 กิโลเมตร

ไฮเดิลแบร์คเป็นเมืองใหญ่อันดับห้าในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์คซึ่งสถาปนาขึ้นในปีค.ศ. 1386 เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และได้รับการยอมรับที่สุดของยุโรป และยังมีสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติมากมายตั้งอยู่ในเมืองแห่งนี้ อาทิ สมาคมมักซ์พลังค์[2] ทำให้เมืองแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองมหาวิทยาลัย ประชากรกว่าหนึ่งในสี่เป็นนักศึกษา[3] นอกจากนี้ อาคารสิ่งก่อสร้างในเมืองยังก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมศิลปะจินตนิยม (Romanticism) และบารอก (Baroque) ทำให้ไฮเดิลแบร์คถูกขนานนามว่าเป็น "เมืองโรแมนติก" ซึ่งดึงดูดผู้คนกว่า 3.5 ล้านคนมาเยือนในทุกปี ประชากรราว 80% ของเมืองนี้ทำงานในภาคบริการ มีเพียง 20% เท่านั้นที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม

ไฮเดิลแบร์คเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคนาซีในช่วงการเลือกตั้งก่อนปี 1933 ไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังฮิตเลอร์ครองอำนาจ คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่มีเชื้อสายอารยันทั้งหมดถูกไล่ออก และภายในปี 1939 บุคลากรกว่าหนึ่งในสามถูกกีดกันให้ออกจากงานด้วยเหตุผลด้านเชื้อชาติและทางการเมือง ไฮเดิลแบร์คเป็นไม่กี่เมืองใหญ่ที่รอดพ้นการโจมตีทางอากาศของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากไฮเดิลแบร์คไม่ใช่เมืองอุตสาหกรรม อีกทั้งกองกำลังสหรัฐมีแผนจะใช้เมืองนี้เป็นที่ตั้งของกองทหารรักษาการณ์ของตนเองภายหลังสงคราม

หลังสงครามสิ้นสุดลงในปี 1945 มหาวิทยาลัยกลับมาเปิดทำการได้อย่างรวดเร็วจากการรวมพลังกันคณาจารย์กลุ่มเล็กๆ[4] กองกำลังสหรัฐมีการจัดตั้งกองทหารรักษาการณ์ขึ้นในเมืองแห่งนี้ ไฮเดิลแบร์คกลายเป็นศูนย์ใหญ่ของกองกำลังสหรัฐในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นที่ตั้งของหลายหน่วยงานทางทหารของสหรัฐ กองกำลังสหรัฐได้ย้ายออกจากไฮเดิลแบร์คทั้งหมดภายในปี 2016 โดยมอบอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆให้รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของไฮเดิลแบร์ค
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 3.78
(38.8)
6.11
(43.0)
10.89
(51.6)
15.39
(59.7)
19.89
(67.8)
23
(73.4)
25.5
(77.9)
25.11
(77.2)
21.5
(70.7)
15.28
(59.5)
8.5
(47.3)
4.78
(40.6)
15
(59.0)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 2.4
(36.3)
3.7
(38.7)
7.4
(45.3)
11.2
(52.2)
15.5
(59.9)
18.1
(64.6)
20.6
(69.1)
20.1
(68.2)
16.1
(61)
11.5
(52.7)
6.3
(43.3)
3.3
(37.9)
11.4
(52.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -1.39
(29.5)
-0.72
(30.7)
1.89
(35.4)
4.89
(40.8)
8.89
(48.0)
12.22
(54.0)
14
(57.2)
13.78
(56.8)
10.61
(51.1)
6.72
(44.1)
2.39
(36.3)
-0.39
(31.3)
6.06
(42.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 56
(2.2)
53
(2.1)
53
(2.1)
61
(2.4)
79
(3.1)
86
(3.4)
71
(2.8)
66
(2.6)
53
(2.1)
58
(2.3)
66
(2.6)
66
(2.6)
770
(30.3)
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 46 78 118 173 206 215 233 219 157 101 50 35 1,631
แหล่งที่มา 1: Intellicast[5]
แหล่งที่มา 2: Deutscher Wetterdienst[6]

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย[แก้]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ส่งพระราชโอรสคือพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ มาทรงศึกษาต่อที่เมืองนี้ และในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อปี 2450 เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ทราบว่าสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จประพาสถึงเยอรมนีแล้ว จึงได้กราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จประพาสเมืองไฮเดิลแบร์คระหว่างวันที่ 4–6 มิถุนายน 2450

นอกจากนี้เมืองไฮเดิลแบร์คยังเป็นที่เสด็จพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2468

อ้างอิง[แก้]

  1. "Bevölkerung nach Nationalität und Geschlecht am 31. Dezember 2020" [Population by nationality and sex as of December 31, 2020] (CSV). Statistisches Landesamt Baden-Württemberg (ภาษาเยอรมัน). มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2021.
  2. Stiefel, Catherine. "Non-University Research Institutions - Heidelberg University". www.uni-heidelberg.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-09. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
  3. Albers, Jürgen. "Daten und Fakten - Studierende und Wissenschaftlicher Nachwuchs - Universität Heidelberg". www.uni-heidelberg.de. สืบค้นเมื่อ 2017-01-12.
  4. Remy 2002, p. 240
  5. "Heidelberg historic weather averages". Intellicast. สืบค้นเมื่อ October 21, 2009.
  6. "Deutscher Wetterdienst - weather and climate, 1981-2010". Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ February 21, 2015.