CYP2B6

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไซโทโครม P450 2B6)
CYP2B6
Available structures
PDBHuman UniProt search: PDBe RCSB
Identifiers
AliasesCYP2B6, CPB6, CYP2B, CYP2B7, CYP2B7P, CYPIIB6, EFVM, IIB1, P450, cytochrome P450 family 2 subfamily B member 6, Cytochrome P450 2B6
External IDsOMIM: 123930 HomoloGene: 73894 GeneCards: CYP2B6
Gene location (Human)
Chromosome 19 (human)
Chr.Chromosome 19 (human)[1]
Chromosome 19 (human)
Genomic location for CYP2B6
Genomic location for CYP2B6
Band19q13.2Start40,991,282 bp[1]
End41,018,398 bp[1]
Orthologs
SpeciesHumanMouse
Entrez
Ensembl
UniProt
RefSeq (mRNA)

NM_000767

n/a

RefSeq (protein)

NP_000758

n/a

Location (UCSC)Chr 19: 40.99 – 41.02 Mbn/a
PubMed search[2]n/a
Wikidata
View/Edit Human

ไซโทโครม P450 2B6 (อังกฤษ: Cytochrome P450 2B6; ชื่อย่อ: CYP2B6; EC 1.14.14.1[3]) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน "CYP2B6" ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บนแขนด้านยาวของโครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2 [4] โดย CYP2B6 จะทำงานร่วมกับ CYP2A6 ในการเมแทบอไลซ์นิโคติน รวมไปถึงยาหรือสารเคมีอื่น ๆ[4][5]

CYP2B6 มีอยู่ด้วยกันหลายไอโซฟอร์ม แต่ก็ยังไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าไอโซฟอร์มเหล่านั้นถูกสร้างมาจากยีน CYP2B6 หรือยีนเทียมของ CYP2B6 โดยทั้ง CYP2B6 และยีนเทียมของมันมีตำแหน่งอยู่ระหว่างกลางของยีนเทียม CYP2A ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีนขนาดใหญ่ของ cytochrome P450 บนโครโมโซม 9q ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์สกุลย่อย CYP2A, CYP2B และ CYP2F[4]

อณูพันธุศาสตร์[แก้]

เอนไซม์ CYP2B6 ถือเป็นหนึ่งในระบบเอนไซม์ไซโทโครม P450 ซึ่งมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อกระบวนการการเปลี่ยนแปลงยา สารซีโนไบโอติก และสารเคมีอื่น ๆ ในร่างกายมนุษย์ ยีน CYP2B6 ซึ่งเป็นยีนที่ควบคุมเอนไซม์นี้มีความใกล้ชิดกันกับยีนเทียม CYP2B6 เป็นอย่างมาก ทำให้การแยกไอโซฟอร์มของเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ถูกผลิตออกจากมายีนทั้งสองนี้เป็นไปได้อย่างลำบาก โดยยีนทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บนแขนด้านยาวของโครโมโซมคู่ที่ 19 ตำแหน่งโลคัส 19q13.2[4][5] และมียีนบรรพบุรุษร่วมกันกับ CYP2B11, CYP2B10 และ CYP2B1 ที่พบในสุนัข หนูเมาส์ และหนูแรท ตามลำดับ แต่เอนไซม์ CYP2B6 ของมนุษย์ถือเป็นไอโซไซม์เดียวในสกุลย่อย CYP2B ที่สามารถแสดงออกได้ ซึ่งแตกต่างจากเอนไซม์ในสกุลย่อยนี้ที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์อื่น ๆ[6]

ความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic polymorphism) ยีน CYP2B6 และการเหนี่ยวนำ (inducer) หรือยับยั้ง (inhibitor) การทำงานของยีน CYP2B6 จากยาหรือสารเคมีต่าง ๆ ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การทำงานของเอนไซม์ CYP2B6 ในแต่ละบุคคลนั้นมีความผันแปรค่อนข้างสูง ถึงกระนั้นแล้ว ซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึมของ CYP2B6 ก็มีประโยชน์ในการศึกษาเพื่อทำนายการตอบสนองต่อยาและคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาบางชนิด เช่น ยาต้านรีโทรไวรัสอย่างอีฟาวิเรนซ์ และเนวิราพีน เป็นต้น[7][8][9] อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการศึกษาเท่าที่มีในปัจจุบันสามารถบ่งชี้ได้เพียงว่ากลไกทางเภสัชพันธุศาสตร์ของยีนนี้มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ซึ่งปรากฏอยู่ในหลายระดับของการแสดงออกของยีน เริ่มต้นตั้งแต่การถอดรหัสของเอ็มอาร์เอ็นเอไปจนกระทั่งเป็นรูปแบบการต่อ (splice variant; การต่อของ pre-mRNA splicing และการแสดงออกของ mRNA) เพื่อปรับเปลี่ยนโปรตีน และแสดงผลการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่ขึ้นกับซับสเตรต (substrate-dependent effect) และไม่ขึ้นกับซับสเตรต (substrate-independent effects)[7][10][11][12]

การแสดงออกของยีน[แก้]

เอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งรวมถึง CYP2B6 นั้นจัดเป็นเอนไซม์ชนิดมอนอออกซีจีเนส ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเร่งปฏิกิรยาการเกิดเมแทบอลิซึมของยาชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล สเตอรอยด์ และกรดไขมันชนิดอื่น ๆ โดยเอนไซม์เหล่านี้จะอยู่ในร่างแหเอนโดพลาซึม แล้วถูกกระตุ้นด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์ จึงจะสามารถแสดงคุณสมบัติของเอนไซม์นั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ การแสดงออกของ CYP2B6 สามารถเหนี่ยวนำให้เพิ่มขึ้นได้โดยฟีโนบาร์บิทอล โดยเอนไซม์ CYP2B6 ที่ถูกสร้างขึ้นนี้เท่าที่ทราบในปัจจุบันพบว่าสามารถเมแทบอไลซ์สารซีโนไบโอติกได้หลายชนิด เช่น ยาต้านมะเร็งอย่างไซโคลฟอสฟาไมด์ และไอฟอสฟาไมด์ เป็นต้น[4]

ความผันแปรได้ของการควบคุมแสดงออกและการถอดรหัสของยีน[แก้]

ไซโทโครม P450 2B6 มักมีการแสดงออกที่เซลล์เนื้อเยื่อตับเป็นส่วนใหญ่ และมีสัดส่วนในการแสดงออกในกลุ่มเอนไซม์ไซโตโครม P450 ทั้งหมดประมาณร้อยละ 1–10 โดยมีความผันแปรได้ทางพันธุกรรมระหว่างบุคคลในระดับโปรตีนประมาณ 100 เท่า[7] การทดลองทางคลินิกในอดีตพบว่า การแสดงออกของ CYP2B6 นั้นจะพบได้เฉพาะบางส่วนของเนื้อเยื่อตับ แต่การศึกษาล่าสุดกลับให้ผลที่แย้งกัน โดยพบว่าเอนไซม์ดังกล่าวนั้นสามารถตรวจพบได้ในทุกตัวอย่างเนื้อเยื่อตับที่ใช้ในการทดลอง[13] ขณะที่มากกว่า 1 ใน 3 ของเนื้อเยื่อตัวอย่างจากทารกที่ศึกษาไม่สามารถตรวจพบเอนไซม์ดังกล่าวนี้ได้[14] การศึกษาความแตกต่างด้านการเกิดสัณฐานในไมโครโซมอลของตับจากกลุ่มตัวอย่างเด็กที่บริจาคตับ 217 ตัวอย่าง พบว่า ระดับโปรตีน CYP2B6 เฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 2 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่แรกคลอดถึง 30 วันหลังคลอด และความผันแปรของระดับเอนไซม์ดังกล่าวในกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มนั้นสูงมากถึง 25 เท่า[14] ส่วนปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการแสดงออกของ CYP2B6 เมื่อเข้าสู่วัยโตเต็มวัยนั้นอาจขึ้นอยู่กับรูปแบบพันธุกรรมของแต่ละบุคคล[15][16][17][18]

ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อความผันแปรได้ของการแสดงออกของ CYP2B6 ทั้งระหว่างบุคคลและภายในบุคคลคือ ผลจากการเหนี่ยวนำของสารเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ (enzyme inducer) ซึ่งระบบควบคุมการแสดงออกของยีน CYP2B6 จะสังเคราะห์เอนไซม์ข้างต้นเพิ่มขึ้นมามากขึ้นหลังจากมีการสัมผัสกับสารกลุ่มดังกล่าว[19] ทั้งนี้ CYP2B6 สามารถถูกเหนี่ยวนำให้แสดงออกเพิ่มมากขึ้นได้โดยยาหลายชนิด โดยเฉพาะยาเหนี่ยวนำเอนไซม์ที่สำคัญอย่าง ไรแฟมพิซิน เฟนิโทอิน และฟีโนบาร์บิทอล ซึ่งยาเหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นส่วนที่เรียกว่า phenobarbital-responsive enhancer module (PBREM) ที่ -1.7 kb บนยีนส่งเสริม (gene promoter) ของ CYP2B6 และที่ xenobiotics-responsive enhancer module (XREM, -8.5 kb) ส่วนปลาย ซึ่งจะทำให้ตัวรับ pregnane X (PXR, NR1I2) และ/หรือตัวรับ constitutive androstane (CAR, NR1I3) เข้าจับกับสารตัวกลางจนทำให้มีการถอดรหัสพันธุกรรมเพิ่มมากขึ้น[15][16][17] และเนื่องจากยีนอื่นในระบบไซโตโครม P450 บางชนิดนั้นก็ถูกควบคุมโดยตัวรับในนิวเคลียสที่เป็นชนิดเดียวกันกับระบบควบคุมของ CYP2B6 จึงให้ CYP2B6 มักถูกเหนี่ยวนำให้แสดงออกมากขึ้นพร้อมกันกับ CYP2C และ CYP3A4 นอกจากยาเหนี่ยวนำเอนไซม์ 3 ชนิดข้างต้นแล้ว ยังมียาอีกหลายชนิดที่สามารถเหนี่ยวนำ CYP2B6 ได้ แต่เป็นไปในระดับที่มีความแรงลดลงมา เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์[20] ไฮเปอร์ฟอริน[21] อาร์ทีมิซินิน[22][23] คาร์บามาเซพีน[24][25] เมตาไมซอล[26][27] ริโตนาเวียร์[28] N,N-diethyl-m-toluamide (DEET)[29] สแตติน[30] อีฟาวิเรนซ์[31] เป็นต้น ทั้งนี้ การศึกษาทางคลินิกเมื่อไม่นานมานี้ให้ผลการศึกษาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า อิทธิพลของเพศสภาพต่อการเหนี่ยวนำให้ อีฟาวิเรนซ์ เกิดเมแทบอลิซึมด้วยปฏิกิริยา 8-hydroxylation นั้นจะพบในเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย[31] และยังพบว่า สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดมีความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เกิดการแสดงออกที่มากขึ้นของเอนไซม์ CYP2B6 และเอนไซม์ CYP อื่น ๆ ได้ผ่านการเกิดปฏิกิริยาทั้งกับ PXR และ CAR[29] นอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้น ยังมีการตรวจพบการเหนี่ยวนำเพื่อเพิ่มการแสดงออกของ CYP2B6 และเอนไซม์อื่นในไซโทโครม P450 รวมถึงผลกระทบทางคลินิกจากปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ในอีกหลายการศึกษา[32][33]

ความแตกต่างของการแสดงออกของเอนไซม์ที่เป็นผลมาจากความแตกต่างทางเพศสภาพยังถูกค้นพบในอีกหลายการศึกษา จากการศึกษาในกลุ่มประชากรมากกว่า 80 ชาติพันธุ์ พบว่าเนื้อเยื่อตับที่ได้จากผู้บริจาคเพศหญิงมักจะมีปริมาณ mRNA ของ CYP2B6 (3.9 เท่า), โปรตีน (1.7 เท่า) และกิจกรรมของเอนไซม์ (1.6 เท่า) สูงกว่าเพศชาย[34] ส่วนอีกการศึกษาที่ทำในกลุ่มตัวอย่างคอเคเซียนก็ให้ผลไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ เนื้อเยื่อตับที่ได้รับจากผู้บริจาคเพศหญิงจะมีระดับการแสดงออกของ mRNA ของ CYP2B6 มากกว่าเพศชาย 1.6 เท่า อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานี้ไม่ได้กล่าวถึงความแตกต่างของระดับโปรตีนและกิจกรรมของเอนไซม์ระหว่างทั้งสองเพศ และเมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้รับยาก่อนเข้ารับการผ่าตัดพบว่า ความแตกต่างทางเพศไม่ได้ส่งผลให้เกิดความแปรผันได้ใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ CYP2B6[13] นอกจากนี้ ยังมีการตรวจพบความไม่สอดคล้องกันในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับลักษณะทางเภสัชจลนศาสตร์ของสารที่เป็นซับสเตรตของ CYP2B6 ในกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศสภาพแตกต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นเพศหญิงจะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาไฮดรอกซีเลชันที่สูงกว่าเพศชาย สันนิษฐานว่าความไม่สอดคล้องดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากตัวแปรกวนบางอย่าง เช่น อายุ การสูบบุหรี่ เป็นต้น[35] แต่กลับไม่พบความแตกต่างนี้ในผู้ใหญ่[36] ส่วนในกรณีของอีฟาวิเรนซ์ การศึกษาทดลองทางคลินิกหลายการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเพศหญิงจะมีระดับความเข้มข้นของยาดังกล่าวในกระแสเลือดที่สูงกว่าเพศชาย ซึ่งตรงข้ามกับข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการ (in vitro) ที่กล่าวมาก่อนหน้า เป็นไปได้ว่าอาจมีปัจจัยรบกวนอื่นที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ขัดแย้งกันนี้ อาทิ ปริมาณไขมันรวมของร่างกายที่แตกต่างกัน และสัดส่วนการกระจายยา เป็นต้น[37][38][39] อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของเพศต่อการแสดงออกของ CYP2B6 นั้น อาจขึ้นอยู่กับช่วงอายุ เนื่องจากมีเพียงเพศชายเท่านั้นที่มีระดับการแสดงออกของ CYP2B6 ที่เนื้อเยื่อตับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น[40]

นอกจากเนื้อเยื่อตับแล้ว ยังมีการแสดงออกของ CYP2B6 ในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารด้วย อย่างปอดและเยื่อบุโพรงจมูก รวมถึงผิวหนังและไต[41][42][43][44] แต่ความสำคัญของ CYP2B6 ในเนื้อเยื่ออื่นนอกเหนือจากตับนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม CYP2B6 ก็ยังถือเป็นอีกเอนไซม์หนึ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดในการต้านท็อกซินหลายชนิดจากสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ การกระจายของ CYP2B6 ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ นี้อาจเป็นปราการสำคัญที่มีส่วนช่วยป้องกันร่างกายจากสารเคมีดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบ CYP2B6 ในตัวอย่างเนื้อเยื่อสมองของมนุษย์และไพรเมต โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความแปรผันได้ของการแสดงออกของ CYP2B6 ในสมอง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic polymorphism)[45] โดยทั่วไปแล้ว CYP2B6 ในเนื้อเยื่ออื่นนอกเหนือจากตับจะมีปริมาณที่ต่ำกว่าที่พบในตับเป็นอย่างมาก แต่ปริมาณ CYP2B6 ที่พบปริมาณเพียงเล็กน้อยในสมองนี้อาจมีประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงยาที่ใช้ในระบบประสาทส่วนกลางและยาสำหรับระบบประสาทบางชนิดให้อยู่ในรูปแบบที่ออกฤทธิ์หรือไม่มีฤทธิ์ หรือช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์ทางระบบประสาทจากยาและยาเสพติด เช่น ยาอี (1-methyl-4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine; MPTP) เป็นต้น ซึ่งสาเหตุดังข้างต้นอาจช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในระบบประสาทส่วนกลางบางชนิดจึงไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของยาในกระแสเลือด[46][47]

ลิแกนด์ของ CYP2B6[แก้]

ลิแกนด์ของ CYP2B6 นั้นมีอยู่หลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ลิแกนด์ที่เป็นสารซับสเตรต สารเหนี่ยวนำ (enzyme inducer) และสารยับยั้ง (enzyme inhibitor) ดังแสดงรายละเอียดในตารางด้านล่าง โดยความแรงของการเป็นสารยับยั้งนั้นสามารถออกได้เป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่[48]

  • สารยับยั้งอย่างแรง (Strong inhibitor) คือ สารที่เมื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แล้วทำให้ค่า AUC ในกระแสเลือดของซับสเตรตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 เท่าจากปกติ หรือลดการกำจัดซับสเตรตออกจากร่างกายได้มากกว่าร้อยละ 80[49]
  • สารยับยั้งปานกลาง (Moderate inhibitor) คือ สารที่เมื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แล้วทำให้ค่า AUC ในกระแสเลือดของซับสเตรตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่าจากปกติ หรือลดการกำจัดซับสเตรตออกจากร่างกายได้ร้อยละ 50–80[49]
  • สารยับยั้งอย่างอ่อน (Weak inhibitor) คือ สารที่เมื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แล้วทำให้ค่า AUC ในกระแสเลือดของซับสเตรตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1.25 เท่าจากปกติ แต่น้อยกว่า 2 เท่า หรือลดการกำจัดซับสเตรตออกจากร่างกายได้ร้อยละ 20–50[49]
สารซับสเตรต สารยับยั้ง สารเหนี่ยวนำ
สารยับยั้งอย่างแรง:

ไม่ทราบความแรง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 GRCh38: Ensembl release 89: ENSG00000197408 - Ensembl, May 2017
  2. "Human PubMed Reference:".
  3. "ENZYME entry: EC 1.14.14.1". Expasy. Swiss Institute of Bioinformatics.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Entrez Gene: cytochrome P450".
  5. 5.0 5.1 Hoffman SM, Nelson DR, Keeney DS (November 2001). "Organization, structure and evolution of the CYP2 gene cluster on human chromosome 19". Pharmacogenetics. 11 (8): 687–98. PMID 11692077.
  6. Nelson DR, Zeldin DC, Hoffman SM, Maltais LJ, Wain HM, Nebert DW (มกราคม 2004). "Comparison of cytochrome P450 (CYP) genes from the mouse and human genomes, including nomenclature recommendations for genes, pseudogenes and alternative-splice variants". Pharmacogenetics. 14 (1): 1–18. PMID 15128046.
  7. 7.0 7.1 7.2 Zanger UM, Klein K, Saussele T, Blievernicht J, Hofmann MH, Schwab M (July 2007). "Polymorphic CYP2B6: molecular mechanisms and emerging clinical significance". Pharmacogenomics. 8 (7): 743–59. doi:10.2217/14622416.8.7.743. PMID 17638512.
  8. Telenti A, Zanger UM (2008). "Pharmacogenetics of anti-HIV drugs". Annu Rev Pharmacol Toxicol. 48: 227–56. doi:10.1146/annurev.pharmtox.48.113006.094753. PMID 17883329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2018-04-12.
  9. Rakhmanina NY; van den Anker JN (2010). "Efavirenz in the therapy of HIV infection". Expert Opin Drug Metab Toxicol. 6 (1): 95–103.
  10. Ekins S, Wrighton SA (1999). "The role of CYP2B6 in human xenobiotic metabolism". Drug Metab Rev. 31 (3): 719–54. doi:10.1081/DMR-100101942. PMID 10461547.
  11. Turpeinen M, Raunio H, Pelkonen O (2006). "The functional role of CYP2B6 in human drug metabolism: substrates and inhibitors in vitro, in vivo and in silico". Curr Drug Metab. 7 (7): 705–14. doi:10.2174/138920006778520633. PMID 17073575.
  12. Hodgson E, Rose RL (2007). "The importance of cytochrome P450 2B6 in the human metabolism of environmental chemicals". Pharmacol Ther. 113 (2): 420–8. doi:10.1016/j.pharmthera.2006.10.002. PMID 17157385.
  13. 13.0 13.1 Hofmann MH, Blievernicht JK, Klein K, Saussele T, Schaeffeler E, Schwab M, Zanger UM (2008). "Aberrant splicing caused by single nucleotide polymorphism c.516G>T [Q172H], a marker of CYP2B6*6, is responsible for decreased expression and activity of CYP2B6 in liver". J Pharmacol Exp Ther. 325 (1): 284–92. doi:10.1124/jpet.107.133306. PMID 18171905.
  14. 14.0 14.1 Croom EL, Stevens JC, Hines RN, Wallace AD, Hodgson E (2009). "Human hepatic CYP2B6 developmental expression: the impact of age and genotype". Biochem Pharmacol. 78 (2): 184–90. doi:10.1016/j.bcp.2009.03.029. PMID 19464434.
  15. 15.0 15.1 Sueyoshi T, Kawamoto T, Zelko I, Honkakoski P, Negishi M (March 1999). "The repressed nuclear receptor CAR responds to phenobarbital in activating the human CYP2B6 gene". J Biol Chem. 274 (10): 6043–6. doi:10.1074/jbc.274.10.6043. PMID 10037683.
  16. 16.0 16.1 Wang H, Faucette S, Sueyoshi T, Moore R, Ferguson S, Negishi M, LeCluyse EL (เมษายน 2003). "A novel distal enhancer module regulated by pregnane X receptor/constitutive androstane receptor is essential for the maximal induction of CYP2B6 gene expression". J Biol Chem. 278 (16): 14146–52. doi:10.1074/jbc.M212482200. PMID 12571232.
  17. 17.0 17.1 Faucette SR, Wang H, Hamilton GA, Jolley SL, Gilbert D, Lindley C, Yan B, Negishi M, LeCluyse EL (2004). "Regulation of CYP2B6 in primary human hepatocytes by prototypical inducers". Drug Metab Dispos. 32 (3): 348–58. doi:10.1124/dmd.32.3.348. PMID 14977870.
  18. Faucette SR, Zhang TC, Moore R, Sueyoshi T, Omiecinski CJ, LeCluyse EL, Negishi M, Wang H (2007). "Relative activation of human pregnane X receptor versus constitutive androstane receptor defines distinct classes of CYP2B6 and CYP3A4 inducers". J Pharmacol Exp Ther. 320 (1): 78–80. doi:10.1124/jpet.106.112136. PMC 4091905. PMID 17041008.
  19. Remmer H, Schoene B, Fleischmann RA (1973). "Induction of the unspecific microsomal hydroxylase in the human liver". Drug Metab Dispos. 1 (1): 224–30. PMID 4149387.
  20. Gervot L, Rochat B, Gautier JC, Bohnenstengel F, Kroemer H, de Berardinis V, Martin H, Beaune P, de Waziers I (1999). "Human CYP2B6: expression, inducibility and catalytic activities". Pharmacogenetics. 9 (3): 295–306. PMID 10471061.
  21. Goodwin B, Moore LB, Stoltz CM, McKee DD, Kliewer SA (2001). "Regulation of the human CYP2B6 gene by the nuclear pregnane X receptor" (PDF). Mol Pharmacol. 60 (3): 427–31. PMID 11502872.
  22. Simonsson US, Jansson B, Hai TN, และคณะ (2003). "Artemisinin autoinduction is caused by involvement of cytochrome P450 2B6 but not 2C9". Clin Pharmacol Ther. 74 (1): 32–43. doi:10.1016/S0009-9236(03)00092-4. PMID 12844133.
  23. Burk O, Arnold KA, Nussler AK, Schaeffeler E, Efimova E, Avery BA, Avery MA, Fromm MF, Eichelbaum M (2005). "Antimalarial artemisinin drugs induce cytochrome P450 and MDR1 expression by activation of xenosensors pregnane X receptor and constitutive androstane receptor" (PDF). Mol Pharmacol. 67 (6): 1954–65. doi:10.1124/mol.104.009019. PMID 15761118.
  24. Oscarson M, Zanger UM, Rifki OF, และคณะ (2006). "Transcriptional profiling of genes induced in the livers of patients treated with carbamazepine". Clin Pharmacol Ther. 80 (5): 440–56. doi:10.1016/j.clpt.2006.08.013. PMID 17112801.
  25. Desta Z, Saussele T, Ward B, Blievernicht J, Li L, Klein K, Flockhart DA, Zanger UM (2007). "Impact of CYP2B6 polymorphism on hepatic efavirenz metabolism in vitro". Pharmacogenomics. 8 (6): 547–58. doi:10.2217/14622416.8.6.547. PMID 17559344.
  26. Saussele T, Burk O, Blievernicht JK, Klein K, Nussler A, Nussler N, Hengstler JG, Eichelbaum M, Schwab M, Zanger UM (กันยายน 2007). "Selective induction of human hepatic cytochromes P450 2B6 and 3A4 by metamizole". Clin Pharmacol Ther. 82 (3): 265–74. doi:10.1038/sj.clpt.6100138. PMID 17344806.
  27. Qin WJ, Zhang W, Liu ZQ, Chen XP, Tan ZR, Hu DL, Wang D, Fan L, Zhou HH (2012). "Rapid clinical induction of bupropion hydroxylation by metamizole in healthy Chinese men". British Journal of Clinical Pharmacology. 74 (6): 999–1004. doi:10.1111/j.1365-2125.2012.04304.x. PMC 3522813. PMID 22519658. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-03. สืบค้นเมื่อ 2022-03-03.
  28. Kharasch ED, Mitchell D, Coles R, Blanco R (2008). "Rapid clinical induction of hepatic cytochrome P4502B6 activity by ritonavir" (PDF). Antimicrob Agents Chemother. 52 (5): 1663–9. doi:10.1128/AAC.01600-07. PMC 2346649. PMID 18285471. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-19. สืบค้นเมื่อ 2018-04-12.
  29. 29.0 29.1 Das PC, Cao Y, Rose RL, Cherrington N, Hodgson E (2008). "Enzyme induction and cytotoxicity in human hepatocytes by chlorpyrifos and N,N-diethyl-m-toluamide (DEET)". Drug Metabol Drug Interact. 23 (3–4): 237–60. PMID 19326769.
  30. Feidt DM, Klein K, Hofmann U, Riedmaier S, Knobeloch D, Thasler WE, Weiss TS, Schwab M, Zanger UM (2010). "Profiling induction of cytochrome p450 enzyme activity by statins using a new liquid chromatography-tandem mass spectrometry cocktail assay in human hepatocytes" (PDF). Drug Metab Dispos. 38 (9): 1589–97. doi:10.1124/dmd.110.033886. PMID 20551241.
  31. 31.0 31.1 Ngaimisi E, Mugusi S, Minzi OM, และคณะ (2010). "Long-term efavirenz autoinduction and its effect on plasma exposure in HIV patients". Clin Pharmacol Ther. 88 (5): 676–84. doi:10.1038/clpt.2010.172. PMID 20881953.
  32. Pelkonen O, Turpeinen M, Hakkola J, Honkakoski P, Hukkanen J, Raunio H (2008). "Inhibition and induction of human cytochrome P450 enzymes: current status". Arch Toxicol. 82 (10): 667–715. doi:10.1007/s00204-008-0332-8. PMID 18618097.
  33. Mo SL, Liu YH, Duan W, Wei MQ, Kanwar JR, Zhou SF (2009). "Substrate specificity, regulation, and polymorphism of human cytochrome P450 2B6". Curr Drug Metab. 10 (7): 730–53. doi:10.2174/138920009789895534. PMID 19702527.
  34. Lamba V, Lamba J, Yasuda K, Strom S, Davila J, Hancock ML, Fackenthal JD, Rogan PK, Ring B, Wrighton SA, Schuetz EG (2003). "Hepatic CYP2B6 expression: gender and ethnic differences and relationship to CYP2B6 genotype and CAR (constitutive androstane receptor) expression" (PDF). J Pharmacol Exp Ther. 307 (3): 906–22. doi:10.1124/jpet.103.054866. PMID 14551287.
  35. Stewart JJ, Berkel HJ, Parish RC, Simar MR, Syed A, Bocchini JA Jr, Wilson JT, Manno JE (กรกฎาคม 2001). "Single-dose pharmacokinetics of bupropion in adolescents: effects of smoking status and gender". J Clin Pharmacol. 41 (7): 770–8. doi:10.1177/00912700122010564. PMID 11452710.
  36. Hsyu PH, Singh A, Giargiari TD, และคณะ (1997). "Pharmacokinetics of bupropion and its metabolites in cigarette smokers versus nonsmokers". J Clin Pharmacol. 37 (8): 737–43. doi:10.1002/j.1552-4604.1997.tb04361.x. PMID 9378846.
  37. Burger D, van der Heiden I, la Porte C, van der Ende M, Groeneveld P, Richter C, Koopmans P, Kroon F, Sprenger H, Lindemans J, Schenk P, van Schaik R (2006). "Interpatient variability in the pharmacokinetics of the HIV non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor efavirenz: the effect of gender, race, and CYP2B6 polymorphism". British Journal of Clinical Pharmacology. 61 (2): 148–54. doi:10.1111/j.1365-2125.2005.02536.x. PMC 1885008. PMID 16433869. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-03. สืบค้นเมื่อ 2022-03-03.
  38. Nyakutira C, Röshammar D, Chigutsa E, Chonzi P, Ashton M, Nhachi C, Masimirembwa C (2008). "High prevalence of the CYP2B6 516G-->T(*6) variant and effect on the population pharmacokinetics of efavirenz in HIV/AIDS outpatients in Zimbabwe". Eur J Clin Pharmacol. 64 (4): 357–65. doi:10.1007/s00228-007-0412-3. PMID 18057928.
  39. Mukonzo JK, Röshammar D, Waako P, Andersson M, Fukasawa T, Milani L, Svensson JO, Ogwal-Okeng J, Gustafsson LL, Aklillu E (2009). "A novel polymorphism in ABCB1 gene, CYP2B6*6 and sex predict single-dose efavirenz population pharmacokinetics in Ugandans". British Journal of Clinical Pharmacology. 68 (5): 690–9. doi:10.1111/j.1365-2125.2009.03516.x. PMC 2791975. PMID 19916993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
  40. Yang X, Zhang B, Molony C, Chudin E, Hao K, Zhu J, Gaedigk A, Suver C, Zhong H, Leeder JS, Guengerich FP, Strom SC, Schuetz E, Rushmore TH, Ulrich RG, Slatter JG, Schadt EE, Kasarskis A, Lum PY (2010). "Systematic genetic and genomic analysis of cytochrome P450 enzyme activities in human liver" (PDF). Genome Res. 20 (8): 1020–36. doi:10.1101/gr.103341.109. PMC 2909567. PMID 20538623.
  41. Choudhary D, Jansson I, Schenkman JB, Sarfarazi M, Stoilov I (2003). "Comparative expression profiling of 40 mouse cytochrome P450 genes in embryonic and adult tissues". Arch Biochem Biophys. 414 (1): 91–100. doi:10.1016/S0003-9861(03)00174-7. PMID 12745259.
  42. Dutheil F, Beaune P, Loriot MA (2008). "Xenobiotic metabolizing enzymes in the central nervous system: Contribution of cytochrome P450 enzymes in normal and pathological human brain". Biochimie. 90 (3): 426–36. doi:10.1016/j.biochi.2007.10.007. PMID 17997991.
  43. Thelen K, Dressman JB (2009). "Cytochrome P450-mediated metabolism in the human gut wall". J Pharm Pharmacol. 61 (5): 541–58. doi:10.1211/jpp/61.05.0002. PMID 19405992.
  44. Leclerc J, Tournel G, Courcot-Ngoubo Ngangue E, Pottier N, Lafitte JJ, Jaillard S, Mensier E, Lhermitte M, Broly F, Lo-Guidice JM (2010). "Profiling gene expression of whole cytochrome P450 superfamily in human bronchial and peripheral lung tissues: Differential expression in non-small cell lung cancers". Biochimie. 92 (3): 292–306. doi:10.1016/j.biochi.2009.12.007. PMID 20034539.
  45. Miksys S, Lerman C, Shields PG, Mash DC, Tyndale RF (2003). "Smoking, alcoholism and genetic polymorphisms alter CYP2B6 levels in human brain". Neuropharmacology. 45 (1): 122–32. doi:10.1016/S0028-3908(03)00136-9. PMID 12814665.
  46. Meyer RP, Gehlhaus M, Knoth R, Volk B (2007). "Expression and function of cytochrome p450 in brain drug metabolism". Curr Drug Metab. 8 (4): 297–306. doi:10.2174/138920007780655478. PMID 17504219.
  47. Ferguson CS, Tyndale RF (2011). "Cytochrome P450 enzymes in the brain: emerging evidence of biological significance" (PDF). Trends Pharmacol Sci. 32 (12): 708–14. doi:10.1016/j.tips.2011.08.005. PMC 3223320. PMID 21975165.
  48. Center for Drug Evaluation and Research. "Drug Interactions & Labeling - Drug Development and Drug Interactions: Table of Substrates, Inhibitors and Inducers". www.fda.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2016-06-01.
  49. 49.00 49.01 49.02 49.03 49.04 49.05 49.06 49.07 49.08 49.09 49.10 49.11 49.12 49.13 Flockhart DA (2007). "Drug Interactions: Cytochrome P450 Drug Interaction Table". Indiana University School of Medicine. Retrieved on December 25, 2008.
  50. 50.00 50.01 50.02 50.03 50.04 50.05 50.06 50.07 50.08 50.09 50.10 50.11 50.12 Swedish environmental classification of pharmaceuticals - FASS (drug catalog) - Facts for prescribers (Fakta för förskrivare). Retrieved July 2011
  51. Rao LK, Flaker AM, Friedel CC, Kharasch ED (2016). "Role of Cytochrome P4502B6 Polymorphisms in Ketamine Metabolism and Clearance". The Journal of the American Society of Anesthesiologists. 125 (12): 1103–1112. doi:10.1097/ALN.0000000000001392. PMID 27763887.
  52. Meyer MR, Bach M, Welter J, Bovens M, Turcant A, Maurer HH (2013). "Ketamine-derived designer drug methoxetamine: metabolism including isoenzyme kinetics and toxicological detectability using GC-MS and LC-(HR-)MSn". Anal Bioanal Chem. 405 (19): 6307–21. doi:10.1007/s00216-013-7051-6. PMID 23774830.
  53. 53.0 53.1 53.2 53.3 53.4 53.5 Walsky RL, Astuccio AV, Obach RS (2006). "Evaluation of 227 drugs for in vitro inhibition of cytochrome P450 2B6". J Clin Pharmacol. 46 (12): 1426–38. doi:10.1177/0091270006293753. PMID 17101742.
  54. Obach RS, Cox LM, Tremaine LM (2005). "Sertraline is metabolized by multiple cytochrome P450 enzymes, monoamine oxidases, and glucuronyl transferases in human: an in vitro study". Drug Metab. Dispos. 33 (2): 262–70. doi:10.1124/dmd.104.002428. PMID 15547048.
  55. Guo Z, Raeissi S, White RB, Stevens JC (1997). "Orphenadrine and methimazole inhibit multiple cytochrome P450 enzymes in human liver microsomes". Drug Metab. Dispos. 25 (3): 390–3. PMID 9172960.
  56. Volak LP, Ghirmai S, Cashman JR, Court MH (August 2008). "Curcuminoids inhibit multiple human cytochromes P450, UDP-glucuronosyltransferase, and sulfotransferase enzymes, whereas piperine is a relatively selective CYP3A4 inhibitor". Drug Metab. Dispos. 36 (8): 1594–605. doi:10.1124/dmd.108.020552. PMC 2574793. PMID 18480186.
  57. Appiah-Opong R, Commandeur JN, van Vugt-Lussenburg B, Vermeulen NP (2007). "Inhibition of human recombinant cytochrome P450s by curcumin and curcumin decomposition products". Toxicology. 235 (1–2): 83–91. doi:10.1016/j.tox.2007.03.007. PMID 17433521.
  58. 58.0 58.1 58.2 58.3 58.4 Hesse LM, Venkatakrishnan K, Court MH, von Moltke LL, Duan SX, Shader RI, Greenblatt DJ (2000). "CYP2B6 mediates the in vitro hydroxylation of bupropion: potential drug interactions with other antidepressants". Drug Metab. Dispos. 28 (10): 1176–83. PMID 10997936.
  59. Kelly M Makino; Anton P Porsteinsson (2011). "Memantine: A Treatment for Alzheimer's Disease With a New Formulation". Aging Health. 7 (3): 349–362. ISSN 1745-509X.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

บทความนี้รวบรวมข้อมูลจากหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน ซึ่งจัดเป็นสาธารณสมบัติ