ไครสต์เชิร์ช

พิกัด: 43°31′48″S 172°37′13″E / 43.53000°S 172.62028°E / -43.53000; 172.62028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไครสต์เชิร์ช

Ōtautahi
ตตามเข็มนาฬิกาจากข้างบน: เส้นขอบฟ้าของเมืองไครสต์เชิร์ชที่มีเทือกเขาแอลป์ใต้เป็นฉากหลัง, นิวไบรตันกับพอร์ตฮิลล์ส, รถรางของเมือง, หอศิลป์ไครสต์เชิร์ช, เซนต์เจมส์ปาร์คในฤดูใบไม้ร่วง, น้ำพุนกยูง (Peacock Fountain) ในสวนพฤกษศาสตร์ไครสต์เชิร์ช และอาสนวิหารไครสต์เชิร์ชในแชเทอร์ดัลสแควร์
สมญา: 
The Garden City
คำขวัญ: 
Fide Condita Fructu Beata Spe Fortis
อังกฤษ:
Founded in Faith, Rich in the Fulfillment thereof, Strong in Hope for the Future
ไครสต์เชิร์ชตั้งอยู่ในเกาะใต้
ไครสต์เชิร์ช
ไครสต์เชิร์ช
ไครสต์เชิร์ชตั้งอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์
ไครสต์เชิร์ช
ไครสต์เชิร์ช
พิกัด: 43°31′48″S 172°37′13″E / 43.53000°S 172.62028°E / -43.53000; 172.62028
ประเทศธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
เกาะเกาะใต้
แคว้นแคนเทอร์บิวรี
ผู้มีอำนาจในอาณาเขตสภาเทศบาลเมืองไครสต์เชิร์ช
วาร์ดสคาบสมุทรแบงก์ส
เบอร์วูด
แคชเมอร์
ใจกลางเมือง
ริมชายฝั่ง
เฟนดัลตัน
ฮาลส์เวลล์
แฮร์วูด
ฮีธโคท
ฮอร์นบาย
อินเนส
ลินวูด
ปาปานูอี
ริคคาร์ตัน
สเปรยดัน
ไวไมรี
ตั้งถิ่นฐานโดยสหราชอาณาจักรค.ศ.1848
ตั้งชื่อจากไครสต์เชิร์ช, ออกซ์ฟอร์ด
การปกครอง
 • นายกรัฐมนตรีเลียนน์ ดาลซีล
พื้นที่
 • Territorial1,426 ตร.กม. (551 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง607.73 ตร.กม. (234.65 ตร.ไมล์)
ความสูง[1]20 เมตร (70 ฟุต)
ประชากร
 (2022)
 • Territorial389,300 คน
 • ความหนาแน่น270 คน/ตร.กม. (710 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง377,900 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง620 คน/ตร.กม. (1,600 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมCantabrian
เขตเวลาUTC+12 (NZST)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+13 (NZDT)
รหัสไปรษณีย์8011, 8013, 8014, 8022, 8023, 8024, 8025, 8041, 8042, 8051, 8052, 8053, 8061, 8062, 8081, 8082, 8083
รหัสพื้นที่03
iwiงาอีตาฮู, คาตีมาโมเอ
เว็บไซต์www.ccc.govt.nz
www.ecan.govt.nz

ไครสต์เชิร์ช เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะใต้ ประเทศนิวซีแลนด์ และเป็นชุมชนเมืองที่เป็นที่นิยมเป็นอันดับ 3 ของนิวซีแลนด์ ไครสต์เชิร์ชเป็นหนึ่งในสามเมืองที่อยู่ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของเกาะใต้ ทางเหนือฝั่งน่านน้ำเพนนินซูล่า ตั้งแต่ปี 2006 บริเวณเขตนี้อยู่ใต้เขตการปกครองของเมืองไครสต์เชิร์ช จากการสำรวจสำมะโนประชากรเมืองไครสต์เชิร์ช ณ วันที่ 5 มีนาคม ปี 2013 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 341,469 คน

ชื่อเมืองไครสต์เชิร์ช ถูกตั้งขึ้นโดยสมาคมแคนเทอเบอรี่ (ตั้งอยู่บริเวณรอบเมืองแคนเทอเบอรี่ ) ชื่อเมืองนี้เป็นที่ยอมรับจากการประชุมสมาคมครั้งแรกในวันที่ 27 มีนาคม 1848 โดยการแนะนำจาก นายจอห์น โรเบิร์ต ก๊อตเร่ ผู้ที่เคยเข้าโบสถ์คริสต์ เมืองออกซ์ฟอร์ด ช่วงแรกนักเขียนบางท่าน เรียกเมืองนี้ว่า เมืองโบสต์คริสต์(Christ Church) แต่หลังจากมีการประชุมกรรมการสมาคมได้กำหนดให้เมืองนี้ ชื่อว่า เมืองไครสต์เชิร์ช(Christchurch) และเมืองไครสต์เชิร์ชได้ตั้งเป็นเมืองโดยมีพระราชกำหนด กำหนดตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 1856 อย่างเป็นทางการซึ่งถือว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในนิวซีแลนด์

แม่น้ำที่ไหลผ่านใจกลางเมือง(แหล่งน้ำขนาดใหญ่จากสวนสาธารณะในเมือง) ชื่อว่า เอวอน ตั้งชื่อตามพี่น้องคณบดีผู้บุกเบิกเพื่อระลึกถึงสก็อตติส เอวอน ผู้ที่ทำให้เกิดทางน้ำไหลผ่านภูเขาแอร์ไชร์ใกล้กับฟาร์มของบรรพบุรุษของเขา และทางน้ำไหลผ่านสู่เครส์(The Clyde แม่น้ำทางฝั่งตะวันออกของสก็อตแลนด์)

ชื่อ เมารี สำหรับเมืองไครสต์เชิร์ช คือ โอเทาทาหิ - Ōtautahi ("สถานที่ของเทาทาหิ - Tautahi") จุดกำเนิดของชื่อสถานที่นี้มาจากแม่น้ำเอวอน ใกล้ถนนคิลมอลล์ และ สถานีดับเพลิงไครสต์เชิร์ช สถานที่นี้เป็นที่อยู่อาศัยของ Ngāi Tahu หัวหน้า Te Potiki Tautahi เจ้าของบ้านท่าน้ำเลฝวี่(Port Levy) ฝั่งน้ำเพนซิลซูล่า โอเทาทาหิ - Ōtautahi เป็นชื่อที่นำมาใช้ในปี 1930 ก่อนที่ Ngāi Tahu จะเรียกดินแดนไครสต์เชิร์สว่า คารายเทียน่า (Karaitiana) คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษของชาวคริสเตียน ชื่อย่อของเมืองที่ชาวนิวซีแลนด์มักเรียก คือ เชิร์ช (Chch) สำหรับสัญลักษณ์ทางภาษาของนิวซีแลนด์* ชื่อเมืองจะแสดงสัญลักษณ์มือ เป็นรูปตัวซี (C) สองครั้ง โดยการแสดงสัญลักษณ์ครั้งที่สองนับจากทางขวาของตัวแรก และในขณะเดียวกัน ก็สื่อสารด้วยการขยับปากว่า "ไครสต์เชิร์ช"

*สัญลักษณ์ทางภาษาของนิวซีแลนด์ (New Zealand Sign Language หรือ NZSL) คือ ภาษาหลักที่ใช้ในสังคมคนพิการทางหู ของประเทศนิวซีแลนด์

ประวัติ[แก้]

High, Manchester and Lichfield Streets in Christchurch, 1923
ChristChurch Cathedral before its partial collapse in the 2011 earthquakes

ภาพรวม[แก้]

หลักฐานทางโบราณคดีที่ถูกค้นพบที่ถ้ำ เรดคลิฟฟ์ ในปี 1876 บ่งชี้ได้ว่าบริเวณเมืองไครสต์เชิร์ช เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของนักล่าชนเผ่าเมา ก่อนปี 1250 คริสตกาล ผู้บุกเบิกรุ่นแรกถูกติดตามโดยชนเผ่านไวทาฮา กลุ่มอพยพจากชายฝั่งตะวันออกของเกาะเหนือสมัยศตวรรษที่ 16 สงครามระหว่างชนเผ่า กลุ่มไวทาฮา (มาจากการรวมตัวของ 3 คน) ถูกยึดอำนาจโดยชนเผ่า Ngati Mamoe ในทางกลับกันชนเผ่า Ngāi Tahu ก็ควบคุมกลุ่ม Ngati Mamoe เช่นกัน จนกระทั่งการมาตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป จากการสำรวจมีการซื้อที่ดินที่ Putaringamotu (Riccarton สมัยใหม่) โดยพี่น้องเวลเลอร์ นักล่าปลาวาฬจากโอทาโก และ ซิดนีย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชาวยุโรปที่มาตั้งถิ่นฐานเช่นกัน นำโดยนายเฮอริออท และ แมคกวิลเร่ และพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเมืองไครสต์เชิร์ชที่ยังคงมีให้เห็นในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนปี 1840 พี่น้องตระกูลดีนส์ ได้ครอบครองทรัพย์สินและอาศัย ที่อยู่อาศัยที่ถูกทิ้งรกร้างในปี 1843 The First Four Ships (เรือ 4 ลำแรก) ถูกเช่าโดยสมาคมแคนเทอเบอรี่ และซื้อในปี 792 โดยนักแสวงบุญแคนเทอเบอรี่ นำมาสู่อ่าวลีทเทลตัล การแล่นเรือเหล่านี้ ที่มีชื่อว่า แรนดอฟ(Randolph), ชาร์ลอต เจน(Charlotte Jane), เซอร์ จอร์ท เซมัวร์ (Sir George Seymour), และ เครสซี่(Cressy) เรือชาร์ลอต เจน มาถึงเป็นลำแรกในวันที่ 16 ธันวาคม ปี 1850. นักแสวงบุญแคนเทอเบอรี่ จึงเกิดแรงบัลดาลใจที่จะสร้างเมืองรอบโบสถ์ และวิทยาลัย โดยใช้ต้นแบบเมืองจากโบสต์คริสต์ ในเมืองออกซฟอร์ด

ชื่อ "โบสต์ คริสต์" ถูกตั้งก่อนที่การแล่นเรืองจะมาถึง จากการประชุมสมาคมครั้งแรก วันที่ 27 มีนาคม 1848 และชื่อดังกล่าวก็ไม่เป็นที่รู้จัก จึงมีการแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็น ไครส์เชิร์ช ตามชื่อเมืองในเมือง ดอร์เซต, ประเทศอังกฤษ และตั้งชื่อโบสต์แคนเทอเบอรี่ (โบสต์ คริสต์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในเมืองอ๊อกฟอร์ด) ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ชื่อไครสต์เชิร์ชได้รับการยอมรับทั่วไป

กับตันโจเซฟ โทมัส หัวหน้านักสำรวจของสมาคมแคนเทอเบอรี่ ได้สำรวจบริเวณโดยรอบสถานที่แห่งนี้ ช่วงเดือนธันวาคม 1849 เขาได้รับหน้าที่ในการก่อสร้างถนนจาก พอร์ต คูเปอร์ ต่อมาก็ ลีทเทลตัล สู่ไครสต์เชิร์ช โดยผ่าน ซัมเนอร์ (ชานเมืองริมทะเลในไครสต์เชิร์ช) อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราต้องทำมักจะยากกว่าที่คิดไว้ การก่อสร้างถนนหยุดชะงักเมื่อเจอรอยเท้าสูงชัน และรอยเท้าของสัตว์จำพวกม้าอยู่ระหว่างท่าเรือและหุบเขาเฮลท์คอต (สถานที่เข้าสู่แหล่งที่ตั้งถิ่นฐานที่อุดมสมบูรณ์) รอยเท้าเหล่านี้กลายเป็นที่รู้จักในนามของ เส้นทางบังเหียน เพราะว่าเส้นทางนั้นชั้นทำให้ม้าจำเป็นต้องมีบังเหียนไว้คอยนำทาง สินค้าที่หนักมาก หรือขนาดใหญ่ถูกขนส่งโดยกลุ่มม้า ที่บังคับด้วยบังเหียนและถูกส่งลำเลียงไปยังเรือเล็ก ระยะทาง 8 ไมล์ (13 กิโลเมตร) ผ่านเส้นทางน้ำบริเวณชายฝั่งไปขึ้นที่ปากแม่น้ำ เฟอรี่มีท เส้นทางรถไฟสาธารณะแห่งแรกในนิวซีแลนด์ คือ เฟอรี่มีท เริ่มเปิดใช้ในปี 1863 เส้นทางจากเฟอรี่มีท ถึงเมืองไครสต์เชิร์ช เนื่องจากการเดินทางที่ลำบากจากพอร์ต ฮิลล์ และอันตรายที่เกิดจากการขนส่งสินค้าทางเรือไปที่ ซัมเนอร์ บาร์ จึงมีการเปิดอุโมงค์รรถไฟ ผ่าน พอร์ต ฮิลล์ ไปยัง ลีทเทลตัล ในปี 1867

ไครสต์เชิร์ช กลายเป็น เมืองแห่งแรกในนิวซีแลนด์ ตั้งแต่มีพระราชกำหนด ในวันที่ 31 กรกฎาคม 1856 หลายเมืองได้รับการฟื้นฟูตามสถาปัตยกรรมกอธิค โดยสถาปนิค เบนจามิน เม้าส์ฟอร์ท ในยุคสมัยนั้น ไครสต์เชิร์ช เคยเป็นที่ทำการบริหารของสภาเมืองแคนเทอเบอรี่ แต่ถูกยกเลิกในปี 1876 ต่อมาในปี 1947 เกิดภัยพิบัติไฟไหม้ ห้างสรรพสินค้าของบอลแลนเน่ ในเขตเมืองชั้นใน มีคน 41 คนถูกไฟคอกตาย ทำให้ต้องรื้อถอนโครงสร้างอาคาร และ อุโมงค์ถนนลีทเทลตัล อยู่ระหว่าง ลีทเทลตัล และ ไครสต์เชิร์ช ได้เปิดใช้ในปี 1964. ไครสต์เชิร์ช ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬา "British Commonwealth เกม" ในปี 1974.

แผ่นดินไหว ปี 2010–2012[แก้]

The collapsed Pyne Gould Building. Thirty of the building's two hundred workers were trapped within the building following the February earthquake.[2]

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน ปี 2010 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ริกเตอร์ ได้ทำลายเมืองไครสต์เชิร์ช และเขตเมืองแคนเทอเบอรี่ เช้ามืดเวลา 4.35 ใกล้กับดาร์ฟิลด์ ทางฝั่งตะวันตกของเมือง จุดเกิดแผ่นดินไหวลึกลงใต้พื้นดินขนาด 10 กิโลเมตร (6.2 ไมล์) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เมืองถูกทำลายบริเวณกว้าง และมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุนี้โดยตรง

6 เดือนต่อมา ในอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ ปี 2011 เกิดแผ่นดินไหวครั้งที่ 2 วัดขนาดแรงสั่นได้ 6.3 ริกเตอร์ ช่วงเที่ยง เวลา 12:51 ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวใกล้เมืองมากขึ้น ใกล้กับ ลีทเทลตัล แผ่นดินไหวระดับความลึก 5 กิโลเมตร (3 ไมล์) ลึกใต้ผิวพื้นดิน แม้ว่าจะวัดความขนาดของแผ่นดินไหวด้วยวิธีวัดขนาดของแผ่นดินไหวด้วยพลังาน จะน้อยกว่าแผ่นดินไหวครั้งก่อน แต่ความหนาแน่นและความรุนแรงที่สั่นอยู่ใต้พิ้นดินนั้นเมื่อวัดด้วยเครื่องวัด MM IX นับว่ารุนแรงที่สุดที่เคยบันทึกมาในบริเวณเขตเมือง และมีผู้เสียชีวิตจำนวนทั้งหมด 185 คนในของคนที่มีสัญชาติ จากในบรรดาผู้ประสบภัยกว่า 20 ประเทศ ยอดของวิหารโบสต์ไครส์เชิร์ชหักและเสียหายเป็นวงกว้าง นั่นเป็นเหตุให้ตึกและโครงสร้างพื้นฐานของเมืองไครส์เชิร์ชที่ไม่แข็งแรงตั้งแต่แผ่นดินไหวในวันที่ 4 กันยายน 2010 รวมถึงแผ่นดินไหวย่อยๆ(aftershocks) ที่ตามมาหลังจากแผ่นดินไหวรุนแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดินสลายตัวบริเวณชานเมืองตะวันออก ทำให้ยอดรวมค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกันภัยประเมินมูลค่าสำหรับใช้ในการสร้างเมืองใหม่ ประมาณ 20-30 พันล้านเหรียญนิวซีแลนด์

วันที่ 13 มิถุนายน 2011 ไครสต์เชิร์ช เผชิญกับแผ่นดินไหวย่อยขนาดใหญ่ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกขนาด 5.6 ริกเตอร์ ลึกจากผิวดิน 9 กิโลเมตร(6 ไมล์) เวลา 13:00 นาฬิกา บริเวณเขตซัมเนอร์ เมืองไครสต์เชิร์ช และตามมาอีกครั้งขนาด 6.3 ริกเตอร์ ลึกจากผิวดิน 6 กิโลเมตร(4 ไมล์) เวลา 14:20 นาฬิกาในบริเวณเดิม ส่งผลให้ดินเกิดการสลายตัวและสร้างความเสียหายมากยิ่งขึ้นแต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้

แผ่นดินไหวครั้งถัดไปวันที่ 23 ธันวาคม 2011 จากการสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกาวัดขนาดแผ่นดินไหวได้ 5.8 ริกเตอร์ ทางด้านฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ระยะทาง 26 กิโลเมตร(16 ไมล์) ลึกจากผิวดิน 4.7 กิโลเมตร(2.9 ไมล์) เวลา 13:58 มีแผ่นดินไหวย่อยตามมาอีกหลายลูก และอีก 80 นาทีต่อมามีแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ในบริเวณเดิม และมีแผ่นดินไหวย่อยตามมามากกว่าที่เราคาดคิดไว้ รถพยาบาลเซนต์จอห์น มีผลรายงานออกมาว่า หลักจากแผ่นดินไหวทั้งสองครั้ง มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อยทั้งที่บ้านและตามสถานธุรกิจ และไม่ได้กังวลกับการบาดเจ็บแต่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าอาจจะเกิดการถล่มของตึกในเวลานั้น สนามบินไครสต์เชิร์ชถูกปิดในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งไฟฟ้าและการประปาหยุดให้บริการที่เมืองนิวบริทัล และเขตเมืองปาร์คแลนด์เสียหายรุนแรง รวมทั้งถนนและทางเท้า

เมืองไครสต์เชิร์ชได้รับแรงสั่นสะเทือนอีกครั้งในวันที่ 2 มกราคม 2012 ครั้งแรกวัดขนาดได้ 5.1 ริกเตอร์ เวลา 01:27 นาฬิกา และในอีก 5 นาทีต่อมา ตามมาด้วยแผ่นดินไหวย่อยอีก 4.2 ริกเตอร์ และเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งที่สองอีกครั้ง เวลา 05:45 นาฬิกา ขนาด 5.5 ริกเตอร์ เป็นเหตุให้ไฟฟ้าทางฝั่งชานเมืองตะวันออกของเขตปาร์คแลนด์ เมืองนิวบริทัล, เชอร์เลย์, ดาร์ลิ่งตัน, บลูวูด, สเปนเซรอ์วิลล์ และเมืองริชมอนด์ หยุดให้บริการ จากเหตุครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนบริเวณโดยรอบ จำนวนกว่า 10,000 หลังคาเรือน

จากการบันทึก บริเวณเขตเมืองแคนเทอร์เบอร์ลี่เผชิญกับแผ่นดินไหวจำนวน 4,423 ครั้ง ขนาด 3 ริกเตอร์ขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2010 ถึง 3 กันยายน 2012.

ตึกมากกว่า 1000 ตึก ย่านธุรกิจใจกลางเมือง (CBD:The central business district) ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของกลุ่มตึกทั้งหมดบนถนน 4 สายหลักถูกทำลายลงเพราะเหตุแผ่นดินไหว ส่วนตึกเล็กหลายตึกยังคงรื้อถอน หรือรอตัดสินใจว่าจะรื้อถอนหรือไม่ต่อไปในอนาคต ภาพรวมของตึกในเมืองตั้งแต่เกิดเหตุแผ่นดินไหว ดูจาก:รายชื่อตึกสูงที่สุดในเมืองไครสต์เชิร์ช.

Cherry blossom trees in Spring bloom and a historic water wheel, located on a small island in the Avon River at the corner of Oxford Terrace and Hereford Street, Hagley Park in the city centre.

การฟื้นฟูหลังแผ่นดินไหว[แก้]

เมืองเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากแผ่นดินไหว ย่านใจกลางเมืองถูกสร้างใหม่ตามแผนฟื้นฟูส่วนกลางเมืองไครสต์เชิร์ช เก็บถาวร 2014-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เริ่มจากการสร้างเมือง ขยายเมืองเติบโตในส่วนของที่พักอาศัย คาดการณ์ว่าจะมีบ้านใหม่ประมาณ 50,000 หลังบริเวณมหานครไครสต์เชิร์ช ให้เสร็จสิ้นในปี 2028 ตามแผนการฟื้นฟูการใช้พื้นที่ เก็บถาวร 2013-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน(LURP).

ความคิดริเริ่มต่างๆในการฟื้นฟูเมืองใหม่หลังจากแผ่นดินไหวเริ่มมีปริมาณมากขึ้น โดยจัดให้มีมาตรการฟื้นฟูในช่วงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เช่น โครงการ Gap Filler, Life in Vacant Spaces และ Greening the Rubble เป็นต้น

ประตูสู่ขั้วโลกใต้ แอนตาร์กติก[แก้]

ไครสต์เชิร์ช มีประวัติศาสตร์ของการมีส่วนร่วมในการสำรวจแอนตาร์กติก ทั้ง โรเบิร์ต โฟลคอน สก็อต และ เอิร์นเนต แชคลีทัล โดยใช้ท่าเรือลีทเทอตัลเป็นจุดทางออกสำหรับการเดินทาง และจุดศูนย์กลางเมืองมีรูปปั้นของสก็อตที่ปั้นโดยภรรยาม้ายของเขา ชื่อว่า แคทลีท สก็อต ภายในเมือง มีพิพิธภัณฑ์แคนเทอเบอรี่ ที่ไว้จัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์มากมายและเรื่องราวของการสำรวจขั้วโลกใต้ ท่าอากาศยานนานาชาติไครสต์เชิร์ช ใช้เป็นฐานหลักสำหรับรองรับผู้คนจากนิวซีแลนด์ อิตาลี และมีโปรแกรมองค์กรสำรวจขั้วโลกแอนตาร์กติกของสหรัฐอเมริกา

ศูนย์นานาชาติแอนตาร์กติก มีทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน พิพิธภัณฑ์ และศูนย์เยี่ยมชมที่จะเน้นกิจกรรมเกี่ยวกับแอนตาร์กติกในปัจจุบัน กองทัพเรือสหัฐ และกองทัพอากาศของสหรัฐที่ปกป้องเขตแดน เสริมกำลังด้วยชาวนิวซีแลนด์และกองทัพอากาศของออกเตรเลีย ใช้ท่าอากาศยานไครสต์เชิร์ชเป็นเส้นทางหลักในการลำเลียงตามเส้นทางเพื่อไปที่ที่ สถานีฐานแมคเมอร์ดูและสก็อต ในแอนตาร์กติก ศูนย์กระจายสินค้าเสื้อผ้า(CDC) ในไครสต์เชิร์ช มีมากกว่า 140,000 ชิ้นสำหรับพื้นที่ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นมาก(ECW) เริ่มแรกมีจำนวนประมาณ 2000 ชิ้น องค์กรสำรวจขั้วโลกแอนตาร์กติกของสหรัฐอเมริกา ได้เข้าร่วมกับโครงการนี้ด้วยในช่วงฤดูกาลปี 2007-08

ภูมิศาสตร์[แก้]

Satellite image showing Christchurch and surrounding areas.
View of the Christchurch region from the สถานีอวกาศนานาชาติ.

ไครสต์เชิร์ชตั้งอยู่ในเขตเมืองแคนเทอเบอรี่ ใกล้กับศูนย์กลางทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะใต้ (ตะวันออกของแผ่นดินแคนเทอเบอรี่) ไครสต์เชิร์ชตั้งอยู่ใกล้ทางตอนใต้สุดของอ่าวปิกาซุส และ สุดเขตทางทิศตะวันออกตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและปากแม่น้ำเอวอนและแม่น้ำเฮลท์โค ทางตอนใต้และทางใต้ฝั่งตะวันออกเป็นเมืองท่าเรือที่ติดกับทางลาดภูเขาไฟของเขาพอร์ต ฮิลล์ ซึ่งถูกแยกมาจากแม่น้ำเพนนิลซูล่า ในปี 2006 แม่น้ำเพนนิลซูล่าได้ถูกรวมเข้ากับเมืองไครสต์เชิร์ช ส่งผลให้พื้นที่ของเมืองเป็นสามเหลี่ยม ในขณะที่มีประชากรเพิ่มขึ้นเพียง 8,000 คนเท่านั้น ทางตอนเหนือของเมืองติดกับแม่น้ำไวมาการีรี

ไครสต์เชิร์ช เป็น หนึ่งในแปดเมืองคู่ ของโลกที่มีความใกล้เคียงลักษณะเมืองแบบแอนทิพโพดัล ครึ่งหนึ่งของกลุ่มคู่เมืองแบบแอนทิพโพดัลอยู่ในนิวซีแลนด์ และสเปน/โมรอคโค เมืองโครูน่า, สเปน ซึ่งมีรูปร่างคล้ายแบบแอนทิพโพดัลของเมืองไครสต์เชิร์ช

ไครสต์เชิร์ช เป็น หนึ่งในสี่กลุ่มเมืองของโลกที่มีการวางแผนอย่างระมัดระวังในการสร้างเมืองตามแบบโครงสร้างให้รอบจุดศูนย์กลางเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบเมืองที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะประกอบไปด้วยสวนสาธารณะล้อมรอบจุดศูนย์กลางของเมือง เมืองแรกที่สร้างตามแบบนี้ คือ เมืองฟิลาเดเพีย สหรัฐ ต่อมาก็เป็นเมืองซาวันน่า(Savannah) และเมืองอาดีเลย์(Adelaide) และจึงเป็นเมืองไครสต์เชิร์ช ไครสต์เชิร์ช จึงถือได้ว่าเป็นเมืองมรดกที่สำคัญและมีรูปแบบเมืองที่แข็งแกร่งสำหรับการพัฒนาเมืองต่อไปในอนาคต

ไครสต์เชิร์ช เป็น หนึ่งในเมืองที่มีคุณภาพแหล่งน้ำสูงที่สุดในโลก ด้วยการจัดอันดับแหล่งน้ำโดยเทียบจากความบริสุทธิ์และความสะอาดที่สุดในโลก การกรองน้ำตามแหล่งทางธรรมชาติที่ผ่านสถานีสูบน้ำกว่า 50 สถานีบริเวณรอบเมือง (จากชั้นหินอุ้มน้ำ ผ่านออกมาจากเชิงเขาทางตอนใต้ของเทือกเขาแอลป์)

เซ็นทรัลซิตี้[แก้]

July snowfall on Cobham Intermediate School grounds

ศูนย์กลางของเมืองไครสต์เชิร์ช คือ จัตุรัสวิหาร ปัจจุบันบริเวณโดยรอบเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหว โดยมีโบสถ์แองลีคัลเป็นจุดสังเกต ซึ่งก็คือ ไครสต์เชิร์ช บริเวณโดยรอบจัตุรัส ประกอบไปด้วย ถนนสี่สายหลักแห่งไครสต์เชิร์ช (สายเบียเล่ย์, สายฟิตเจอรัล, สายมัวร์เฮ้าส์ และสายดีนส์) บริเวณนี้ถือว่าเป็นย่านธุรกิจใจกลางเมือง(เซ็นทรัลซิตี้) เซ็นทรัลซิตี้ มีจำนวนที่อยู่อาศัยโดยรอบรวมถึงโซนชั้นในตะวันออก โซนชั้นในตะวันตก วงแหวนเอวอน ย่านถิ่นชนพื้นเมืองชาวเมา และวิคเตอเรีย แต่ตึกที่พักอาศัยจำนวนมากในย่านใจกลางเมืองถูกรื้อถอนหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011. จัตุรัสวิหาร ที่ตั้งอยู่บนทางข้ามของสองถนนหลัก ประกอบด้วยถนนโคลัมโบ และ ถนนวอร์เชตเตอร์.

จัตุรัสวิหาร ถือว่าได้ว่าเป็นหัวใจของเมืองไครสต์เชิร์ช เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดผู้คนจำนวนมาก (จนกระทั่งแผ่นดินไหวเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011) เช่น สถานที่ "พ่อมดแห่งนิวซีแลนด์" โดย เอียน แบลคเคนเบอรี่ ชาแนลล และสถานที่ "เรย์ คอมฟอร์ต" ชื่อผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ จะเป็นวันที่มีตลาด ซุ้มอาหารและรถกาแฟ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ผับและภัตตาคาร และมีศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว กิจกรรมเหล่านี้ที่จัดบริเวณจัตุรัสวิหารเป็นกิจกรรมที่หวังให้การสร้างเมืองคืบหน้าเร็วขึ้น ปัจจุบันนี้ "พ่อมดแห่งนิวซีแลนด์" เปิดให้บริการแล้วจากกถนนนิว รีเจ้นท์.

เซ็นทรัลซิตี้ รวมถึงส่วนของถนนคนเดินแห่งแคชเชล และ ถนนยกระดับ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปก่อนแผ่นดินไหวว่า "ซิตี้ มอลล์" ซึ่งได้รับการตกแต่งใหม่ในปี 2008/09 ห้างสรรพสินค้ามีลักษณะเด่นโดยเฉพาะ การออกแบบที่นั่ง ดอกไม้ และสวนกล่อง ต้นไม้จำนวนมาก พื้นปู และการขยายเส้นทางรถรางสู่ใจกลางเมือง. การขยายเส้นทางรถรางใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แต่เกิดเหตุแผ่นดินไหวเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011 ก่อน หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว ตึกส่วนใหญ่ในห้างสรรพสินค้าแคชเชลถูกรื้อถอน พื้นที่แหล่งช๊อปปิ้งถูกเรียกใหม่ว่า ห้างสรรพสินค้า "Re:START" ถูกเปิดบนถนนแคชเชลติดกับห้างสรรพสินค้าของบอลเลนเน่ ในเดือนตุลาคม ปี 2011. ห้างสรรพสินค้า "Re:START" สร้างมาจากคอนเทนเนอร์ขนส่งสีสันสวยงาม โดยนำมาปรับให้เป็นร้านบ้านค้าปลีก อนุสรณ์สถาน "สะพานรีเมมบรานซ์" เพื่อระลึกถึงสงครามที่มีผู้คนล้มตาย ตั้งอยู่บริเวณสุดทางฝั่งตะวันตกของห้าง และกำลังจะได้รับการซ่อมแซม หลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง จึงมีความหวังที่จะซ่อมแซมให้เสร็จสมบูรณ์บางส่วนเพื่อระลึกวันครบรอบ 100 ปีสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเดือนสิงหาคม ปี 2014 และซ่อมแซมเสร็จสมบูรณ์ให้ทันวันแห่งความทรงจำของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพื่อระลึกถึงผู้เสียสละชีวิตในสงคราม(วันแอนแซก) ในปี 2015.

โซนศูนย์วัฒนธรรม มีฉากหลังสีสันสดใสมีชีวิตชีวา มีการเปลี่ยนแปลงภาพศิลปะ วัฒนธรรม และผลงานมรดกทางวัฒนธรรมตลอดเวลา ไว้สำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว บริเวณโดยรอบพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ทั้งศูนย์ศิลปะ, พิพิธภัณฑ์แคนเทอเบอรี่ และศูนย์แสดงศิลปะ ทั้งหมดนี้อยูในบริเวณโซนศูนย์วัฒนธรรม กิจกรรมหลักของโซนนี้เป็นพื้นที่อิสระ มีแผนที่พกพาสำหรับบริการนักท่องเที่ยว พื้นที่บริเวณนี้เปิดให้บริการช้ากว่าที่อื่นเนื่องจากต้องมีการซ่อมแซมและฟื้นฟูพื้นที่ หลังเหตุแผ่นดินไหว

ในปี 2010 สภาเมืองไครสต์เชิร์ชได้ประกาศ "แผนปฏิบัติการเพื่อเมือง" ซึ่งมีโปรแกรมการพัฒนาเมืองไปจนถึงปี 2022 เพื่อปรับปรุงพื้นที่สาธารณะภายในใจกลางเมืองเพื่อดึงดูดผู้คนที่อาศัยอยู่ภายในเมืองและนักท่องเที่ยว แผนงานหลักที่จะเริ่มทำ คือ ลดมลพิษจากรถยนต์ส่วนตัว และเพิ่มความสะดวกให้กับคนที่เดินทางเท้าและคนขี่จักรยาน แผนนี้ขึ้นอยู่กับรายงานการเตรียมการประชุมสภาโดย บริษัท ออกแบบที่มีชื่อเสียงจากเดนมาร์ก ชื่อว่า "Gehl Architects" ตั้งแต่ เหตุแผ่นดินไหวเมืองไครสต์เชิร์ช กุมภาพันธ์ ปี 2011 สถาปนิกเมืองเวลลิงตัน เอียน แอทฟิล์ด ได้เลือกที่จะปรับแผนใหม่ถึงแม้ว่าจะมีข้อเสนอแนะที่หลากหลายจำนวนมากให้ส่งเสริมการสร้างเมืองใหม่ในย่านใจกลางเมือง.

ย่านเซ็นทรัลซิตี้ ได้ถูกปิดถาวรหลังเหตุแผ่นดินไหวในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ และเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนมิถุนายน ปี 2013 แต่ยังมีถนนบางส่วนถูกปิดเนื่องจากความเสียหายหลังจากแผ่นดินไหว การซ่อมแซมสาธารณูปโภค และอาคารที่ได้รับความเสียหาย

ชานเมืองชั้นใน[แก้]

(หมุนตามเข็มนาฬิกา, เริ่มจากทิศเหนือของใจกลางเมือง)

ชานเมืองชั้นนอก[แก้]

(หมุนตามเข็มนาฬิกา, เริ่มจากทิศเหนือของใจกลางเมือง)

เมืองโดยรอบ[แก้]

ภูมิอากาศ[แก้]

แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
Christchurch (วิธีอ่าน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
38
 
23
12
 
 
42
 
22
12
 
 
45
 
21
10
 
 
46
 
18
8
 
 
64
 
15
5
 
 
61
 
12
2
 
 
68
 
11
2
 
 
64
 
13
3
 
 
41
 
15
5
 
 
53
 
17
7
 
 
46
 
19
9
 
 
49.5
 
21
11
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร

ไครสต์เชิร์ช มีอากาศอบอุ่นและมีฝนตกปานกลาง อุณหภูมิสูงสุดแต่ละวัน คือ 22.5 องศาเซลเซียส (73 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนมกราคม และ 11.3 องศาเซลเซียส (52 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนกรกฎาคม. จากการจัดกลุ่มสภาพอากาศของคอปเปน ไครสต์เชิร์ชมีภูมิอากาศตามแหล่งมหาสมุทร (Cfb) ในช่วงฤดูร้อน ในเมืองจะอากาศสบายและมีลมทะเลปานกลางจากทางตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จากอุณหภูมิบันทึกไว้ที่ 41.6 องศาเซลเซียส (107 องศาฟาเรนไฮต์) ใกล้เคียงกับเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1973. ลักษณะอากาศที่เป็นจุดเด่น ก็คือ นอร์ทเวสเตอร์ เป็นลมร้อน บางครั้งความแรงลมเทียบเท่าพายุ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินเล็กน้อยแต่เป็นพื้นที่วงกว้าง. ไครสต์เชิร์ชเคยมีปรากฏการณ์แบบเขตเกาะร้อน เหมือนเมืองอื่น ๆ เช่น โตเกียว และ นิวยอร์ก ทำให้อุณหภูมิอุ่นกว่าอุณหภูมิจริงในย่านเขตเมืองชั้นใน.

ในช่วงฤดูหนาวอากาศทั่วไปจะลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส (32 องศาฟาเรนไฮต์) ในตอนกลางคืน โดยเฉลี่ยแล้วใน 1 ปี จะมีน้ำค้างแข็งบนพื้นดินประมาณ 99 วัน ช่วงหิมะตกจะเกิดโดยเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี แม้ว่าบางปีไม่มีการบันทึกว่ามีหิมะตกก็ตาม ช่วงที่หนาวที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอุณหภูมิ −7.1 องศาเซลเซียส (19 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่ 18 กรกฎาคม 1945 อุณหภูมิต่ำสุดเป็นอันดับ 3 ที่เคยบันทึกไว้ มักจะเกิดในเมืองหลักๆของนิวซีแลนด์

ช่วงกลางคืนของฤดูหนาว บริเวณรอบๆเขา ฟ้าจะโปร่งแต่มีลมหนาวจัด บ่อยครั้งมีการรวมกันของชั้นอากาศทำให้ชั้นอากาศแปรปรวนเหนือเมืองเมื่อเจอกับควันรถและควันจากโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองทำให้เกิดหมอกควัน เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ควันทั่วเมืองลอสแอนเจลิส หรือเมืองเม็กซิโก แต่ควันที่เกิดในเมืองไครสต์เชิร์ชบ่อยครั้งมักจะเกินเกณ์ที่องค์การอนามัยโลก ระบุไว้จึงจัดว่ามีมลพิษทางอากาศ ข้อจำกัดป้องกันการเกิดมลพิษทางอากาศ สภาเมืองสั่งห้ามการปล่อยควันในเมืองตั้งแต่ปี 2006 และในปี 2008 สภาเมืองสั่งห้ามการใช้เตาเผาไม้นานกว่า 15 ปี ในขณะเดียวกันก็ระดมทุนที่ปรับระบบทำความร้อนภายในครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ประชากร[แก้]

Boatsheds on the Avon River

พื้นที่ที่บริหารจัดการโดยสภาเมืองไครสต์เชิร์ชมีประชากรจำนวน 366,000 คน (ประมาณการในเดือนมิถุนายน 2013) ทำให้เมืองไครสต์เชิร์ชเป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของนิวซีแลนด์ และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในเกาะใต้.

เขตเมืองไครสต์เชิร์ชมีประชากรทั้งหมด 375,800 คน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประชากรทั้งหมด รองจากเมืองโอ็คแลนด์ และเมืองเวลลิงตัน.

ประวัติประชากร
ปีสำรวจจำนวนประชากร จำนวนประชากร ±%
1981 281,721 [4] -
1986 288,948 [4] 2.6%เพิ่มขึ้น
1991 296,061 [4] 2.5%เพิ่มขึ้น
1996 316,611 [4] 6.9%เพิ่มขึ้น
2001 323,956 [4] 2.3%เพิ่มขึ้น
2006 348,435 [4] 7.6%เพิ่มขึ้น
2013 341,469 [5] -2.0%ลดลง

เชื้อชาติ[แก้]

จากตารางการจัดกลุ่มประชากรของเมืองไครสต์เชิร์ช ได้บันทึกการสำรวจสำมะโนประชากรนิวซีแลนด์ เทียบปี 2001 กับปี 2006 พบว่าเปอร์เซนต์การเพิ่มของประชากรมากกว่า 100% บางส่วนนับจำนวนประชากรมากกว่าหนึ่งกลุ่ม จากภาพปี 2006 อ้างอิงเมืองไครสต์เชิร์ชไม่รวมเขตเมืองทั้งหมด จำนวนประชากรชาวยุโรปลดลงอย่างเห็นได้ชัดสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มคนที่เลือกที่เป็นชนชาติ 'ชาวนิวซีแลนด์' แม้ว่าจะไม่ได้เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มการสำรวจสำมะโนประชากรก็ตาม

ประมาณ 62% ของเกาะใต้เป็นชุมชนชาวเกาะแปซิฟิกที่อาศัยอยู่ในเมืองไครสต์เชิร์ชและรอบเขตเมืองแคนเทอเบอรี่ ประมาณเท่ากับ 11,500 คน. คนเชื้อสายซามัว มีประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรชาวเกาะแปซิฟิก. นอกจากนี้ยังมีชุมชนเล็ก ๆ ของหมู่เกาะFijians, Niueans, Tokelauans และ Tongans พำนักอยู่ในเมือง

กลุ่มชนชาติ สำมะโนประชากรปี 2001 สำมะโนประชากรปี 2006
เปอร์เซนต์ จำนวนคน[6] ค่าเฉลี่ยประจำชาติ เปอร์เซนต์ จำนวนคน[7] ค่าเฉลี่ยประจำชาติ
ชาวยุโรป 89.8 291,594 75.4 255,366 67.6
ชาวนิวซีแลนด์ n/a n/a 12.9 43,671 11.1
ชาวเอเซีย 5.5 17,703 7.9 26,631 9.2
ชาวเมาลี 7.2 23,421 7.6 25,725 14.7
ชาวเกาะแปซิฟิก 2.4 7,713 2.8 9,465 6.9
ชาวตะวันออกกลาง/ชาวละตินอเมริกา/ชาวแอฟริกา n/a n/a 0.8 2,862 0.9
อื่นๆ 0.6 2,073 <0.1 114 <0.1
รวมจำนวนผู้มีสัญชาติ 324,666 (คน) 338,748 (คน)

จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2006 พบว่ามีคนที่สามารถพูดได้หลายภาษาในแต่ละภูมิภาค จากข้อมูลที่ได้จากประชากรเมืองไครสต์เชิร์ช พบว่า 86% พูดได้ภาษาเดียว, 12% พูดได้สองภาษา และ 2% สามารถพูดได้มากกว่าสามภาษาหรือมากกว่านั้น.

เศรษฐกิจ[แก้]

อุตสาหกรรมการเกษตร ถือเป็นเศรษฐกิจหลักของเมืองไครต์เชิร์ช เมืองนี้เป็นเมืองอุตสาหกรรมบนฐานของประเทศเกษตรกรรมมายาวนาน พีจีจี ไวส์สัน คือ ผู้นำธุรกิจเกษตรในนิวซีแลนด์มีฐานธุรกิจอยู่ที่เมืองไครสต์เชิร์ชซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของไพน์กูลด์กินเนสส์(พีจีจี) เพราะเป็นบริษัทที่มีหุ้นเดิมและมีสถานีให้บริการในเกาะใต้. บริษัทช่วยนำเทคนิคการเลี้ยงกวางในต่างประเทศและพีจีจี ไวส์สันได้กระจายธุรกิจไปยังต่างประเทศรวมถึงธุรกิจฟาร์มโคนมในอุรุกวัย ส่วนธุรกิจเกษตรอื่นๆในไครสต์เชิร์ชมีมอลต์สกัด การพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชและการตกแต่งพันธุกรรม การผลิตขนสัตว์และเนื้อสัตว์แปรรูป และเทคโนโลยีชีวภาพย่อยๆโดยใช้ผลิดผลจากเนื้อสัตว์เป็นหลัก. ธุรกิจการรีดนมและผลิตภัณฑ์นมเติบโตดีและผลิตภัณฑ์มีมูลค่าสูงในตลาดโลก ระบบชลประทานช่วยให้ปลูกพืชในพื้นดินแห้งแล้งได้ และมีการใช้แรงงานเพิ่มขึ้นทำให้หยุดการลดลงของประชากรในชนบท ฟาร์มเลี้ยงและปลูกพืชส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนรูปแบบไปทำธุรกิจรีดนมและผลิตภัณฑ์นม การเปลี่ยนแปลงของบริษัทธุรกิจเกษตรเหล่านี้ทำให้เกษตรกรหลายท่านได้ย้ายจากทางใต้ของเกาะเหนือมาสู่แหล่งฐานการผลิตนม เช่น บริเวณโซนทารานากิ และโซนไวกาโต

การปลูกพืช ยังคงเป็นที่นิยมในบริเวณนี้ใช้สำหรับการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชหลัก เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ถั่วและพืชต่างๆ กระบวนการผลิตเหล่านี้ล้วนผลิตจากเมืองไครสต์เชิร์ช ในปีที่ผ่านมาเขตเกษตรกรรมเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมไวน์เริ่มเติบโตที่เขตไวพารา และเริ่มมีอุตสาหกรรมปลูกพืชสวนหรือปลูกพืชเรือนกระจก เช่น ขบวนการผลิตมะกอก เป็นต้น ในส่วนของฟาร์มเลี้ยงกวาง ซึ่งเป็นผู้นำในขบวนการผลิตแบบใหม่โดยใช้เขากวางในการผลิตยาของชาวเอเซียและใช้เป็นสารกระตุ้นความต้องการทางเพศ ไวน์ท้องถิ่นคุณภาพสูงมีส่วนดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองแคนเทอเบอรี่และไครสต์เชิร์ชมากยิ่งขึ้น

ปีก่อนหน้านี้ เมืองไครสต์จัดเป็นเมือง 1 ใน 2 เมืองที่เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมหนักของนิวซีแลนด์ เช่น บริษัทแอนเดอร์สัน ผู้ผลิตงานเหล็กสำหรับสร้างสะพาน อุโมงค์และเขื่อนพลังงานไฟฟ้าในช่วงแรกๆของการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจุบันนี้การผลิตส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์หลอดไฟ ไฟฟ้าโดยมีตลาดหลักอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียโดยมีบริษัทผู้บุกเบิกจากตระกูลสจ๊วต ซึ่งมีพนักงานเป็นจำนวนมาก ก่อนหน้าที่โรงงานผลิตเสื้อขนาดใหญ่ได้ย้ายฐานการผลิตไปแถบเอเซีย เมืองไครสต์เชิร์ชมีโรงงานผู้ผลิตรองเท้าถึง 5 โรงงานแต่ก็ยกเลิกผลิตและใช้วิธีนำเข้าจากต่างประเทศแทน ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมที่เน้นทางเทคโนโลยีเป็นหลักได้เติบโตมากขึ้นในไครสต์เชิร์ช "แองกัส เทส" ผู้ก่อตั้งอิเลคทรอนิกส์เทส(ผู้ผลิตมือถือและสัญญาณวิทยุ) ส่วนบริษัทอื่นที่มีการหมุนเวียนหลังจากนี้ก็มีบริษัสวิตซ์เทคของนายเดนิส แชปแมน โดยแชปแมนถือเป็นผู้ดูแลบริษัทอิเลคทรอนิกส์เทสด้วย. ในส่วนบริษัซอฟต์แวร์ กิล ซิมสัน ผู้ก่อตั้งบริษัท LINC ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Jade ต่อมาบริษัทเหล่านี้ได้ผันมาเป็นคณะไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยทางด้านวิศวกรรมแห่งแคนเทอเบอรี่ รวมไปถึง "Pulse data" ได้พัฒนากลายเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ที่เรานำไปใช้ได้ (อุปกรณ์ช่วยในการอ่านและคอมพิวเตอร์สำหรับคนตาบอดที่มีข้อจำกันในการมองเห็น) และการสื่อสารแบบ CES(การเข้ารหัสข้อมูล) ผู้ค้นพบ "Pulse data" ได้ย้ายจากมหาวิทยาลัยทางด้านวิศวกรรมแห่งแคนเทอเบอรี่ไปทำงานที่บริษัทวอร์มาลย์เมื่อพวกเขาได้สร้างบริษัท "Pulse data" โดยบริหารการจัดการผ่านตัวกลางที่ทำหน้าที่ดูแลแทนพวกเขา

เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยแคนเทอเบอรี่ทางด้านวิศวกรรม และคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรและนักวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และสถาบันโพลีเทคนิคแห่งไครสต์เชิร์ช ได้มีการเตรียมแนวทางในการอบรมนักเทคนิคและวิศวกรโดยมีรูปแบบคล้ายกับมหาวิทยาลัยลินคอร์นที่มีบทบาทสำคัญในธุรกิจเกษตรในเมืองไครสต์เชิร์ช เช่นกัน ด้านการท่องเที่ยวก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญของเศรษฐกิจท้องถิ่น การเล่นสกีแบบใกล้ชิดของสกีฟิลด์รีสอร์ต และจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวแหล่งอื่นทางตอนใต้ของเทือกเขาแอลป์ รวมทั้งโรงแรม คาสิโนและสนามบินที่จะได้ท่านจะได้พบกับบริการมาตรฐานระดับนานาชาติของเมืองไครสต์เชิร์ชซึ่งเป็นที่พักระหว่างการเดินทางของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เมืองนี้เป็นเมืองที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นเพราะมีสัญลักษณ์รอบๆจัตุรัสวิหารเหมือนที่ประเทศญี่ปุ่น

อ้างอิง[แก้]

Notes

  1. "NZ Topographic Map". Land Information New Zealand. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2017. สืบค้นเมื่อ 25 September 2017.
  2. "Christchurch Earthquake: Workers trapped in crushed buildings". New Zealand Herald. 22 February 2011.
  3. "Climate Data and Activities". NIWA Science. สืบค้นเมื่อ 15 October 2013.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-04. สืบค้นเมื่อ 2014-07-01.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-07-01.
  6. 2001 Regional Summary เก็บถาวร 2007-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Statistics New Zealand
  7. แม่แบบ:NZ Quickstats

Bibliography

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Official organisations

Culture and information

Tourism and maps

แม่แบบ:Territorial Authorities of New Zealand แม่แบบ:Christchurch City, New Zealand แม่แบบ:New Zealand topics แม่แบบ:Banks Peninsula แม่แบบ:Commonwealth Games Host Cities