โรงเรียนบัวงามวิทยา

พิกัด: 14°50′16″N 105°13′56″E / 14.837666°N 105.232112°E / 14.837666; 105.232112
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนบัวงามวิทยา
Baungam Wittaya School
ที่ตั้ง
213 หมู่ 13 ถนนเดชอุดม–บุณฑริก ตำบลบัวงาม

, , ,
34160
พิกัด14°50′16″N 105°13′56″E / 14.837666°N 105.232112°E / 14.837666; 105.232112
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ว. (B.W.)
ประเภทโรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น[3]
คำขวัญสุวิชชา จรณสัมปันโน โส เสฏโฐ มนุสเสส (ผู้รู้ดีและปฏิบัติดี เป็นผู้เจริญ)
สถาปนา21 มีนาคม พ.ศ. 2528[2] (39 ปี 29 วัน)
ผู้ก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการ
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส34100994
ผู้อำนวยการกุสุมา ดาวประสงค์
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1–6
จำนวนนักเรียน835 คน[1](2560)
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
สี  ชมพู   แดง
เพลงมาร์ชบัวงามวิทยา
โทรศัพท์045-867122
โทรสาร045-867122
ดอกไม้บัวหลวง
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

โรงเรียนบัวงามวิทยา (อังกฤษ: ฺBuangam Wittaya School) เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี[3][4] สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29[5] ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2528 ตามประกาศการจัดตั้งของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง ณ ขณะนั้นอยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ต่อมาได้ถูกถ่ายโอนเข้าสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2554[2]

ปัจจุบันโรงเรียนบัวงามวิทยามีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 835 คน แบ่งเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 400 คน และมัธยมศึกษาตอนปลาย 435 คน[1]

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนบัวงามวิทยาก่อตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2528[2] เนื่องมาจากในขณะนั้นในพื้นที่ตำบลบัวงามและตำบลโดยรอบยังไม่มีโรงเรียนที่เปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา[6] โดยโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เปิดสอนอยู่ใกล้ที่สุด ณ ขณะนั้นมีเพียง 2 แห่ง คือ โรงเรียนเดชอุดม (ก่อตั้ง พ.ศ. 2509)[7] และโรงเรียนบุณฑริกวิทยาคาร (ก่อตั้ง พ.ศ. 2514)[8] ซึ่งอยู่ห่างออกไปมากกว่า 20 กิโลเมตร แต่ด้วยการเดินทางที่ยากลำบากในสมัยนั้น ทำให้วัยรุ่นในพื้นที่ไม่มีโอกาสได้เข้ารับการศึกษาต่อหลังจากจบการศึกษาระดับประถมศึกษา คณะกรรมการสภาตำบลบัวงามจึงนำปัญหาดังกล่าวเข้าปรึกษากับนายเสรีศรี สำอางค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งศึกษาธิการอำเภอเดชอุดมในขณะนั้น จนนำไปสู่การจัดตั้งโรงเรียนบัวงามวิทยาขึ้นมาในที่สุด โดยพื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างโรงเรียนนั้นได้รับการบริจาคจากชาวบ้านชุมชนบ้านหนองสนมจำนวนทั้งสิ้น 36 ไร่ [2][6] โดยชุมชนดังกล่าวนั้นตั้งอยู่ทางตอนเหนือของตำบลบัวงาม[9]

ในระยะแรกนั้นโรงเรียนบัวงามวิทยาอยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้ถูกถ่ายโอนเข้าสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย[2][6]

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

การจัดการเรียนการสอน[แก้]

โรงเรียนบัวงามวิทยาเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1–3[แก้]

  1. แผนการเรียนปกติ

ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4–6[แก้]

การแบ่งประเภทการเรียนการสอนของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในแต่ละปีการศึกษานั้นจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของโรงเรียนฯ ในการจัดการเรียนการสอนในแผนนั้น ซึ่งในบางปีการศึกษาอาจไม่มีเปิดรับสมัครนักเรียนในแผนที่โรงเรียนขาดความพร้อม ทั้งนี้สามารถแบ่งแผนการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนบัวงามวิทยา ได้ดังนี้

  1. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  2. แผนการเรียนศิลปะ–พละศึกษา
  3. แผนการเรียนศิลปะ-ภาษาต่างประเทศ
  4. แผนการเรียนศิลปะ–คอมพิวเตอร์
  5. แผนการเรียนคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรทวิศึกษา
  6. แผนการเรียนเกษตรกรรม หลักสูตรทวิศึกษา

กิจกรรมเสริมหลักสูตร[แก้]

เครือข่ายความร่วมมือ[แก้]

ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษา[แก้]

ครูใหญ่โรงเรียนบัวงามวิทยา
ลำดับ รายนามครูใหญ่ วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ผู้อำนวยการโรงเรียนบัวงามวิทยา
ลำดับ รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
ไม่มีข้อมูลก่อนหน้า
1. ทวีศักดิ์ ยิ่งอำนวยชัย ไม่มีข้อมูล
2. สมภาร ทองมั่น ไม่ทราบแน่ชัด – พ.ศ. 2542 [10]
3. เกษมสุข เพชรดี ไม่มีข้อมูล [11]
4. เสถียร บุราชรินทร์ พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2560 [2][12]
5. กุสุมา ดาวประสงค์ พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน [2]

เกียรติประวัติของโรงเรียน[แก้]

  • เหรียญทองประเภทกีฬาฟุตซอลชาย รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ในกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 ประจำปี 2553[11]
  • เหรียญทองประเภทกรีฑาเปตอง ทีมชาย 3 คน รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี ในกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 ประจำปี 2553[11]
  • ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลช้าง-เอฟเวอร์ตัน จูเนียร์ คัพ 2016 รอบคัดเลือกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[13][14][15]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 งานสารสนเทศ โรงเรียนบัวงามวิทยา (2560). "โรงเรียนบัวงามวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 งานสารสนเทศ โรงเรียนบัวงามวิทยา (2560). "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-07. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม. "โรงเรียนรร.บัวงามวิทยา". สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ปองพล จันทร์พวง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559). "ค่ายเทคโนโลยีจากพี่สู่น้องสัญจร ครั้งที่ 3" ณ โรงเรียนบัวงามวิทยา". สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=, |date= และ |archivedate= (help)
  5. สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559). "แจ้งรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่) รุ่นที่4" (PDF). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=, |date= และ |archivedate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (2558). "รายงานการประเมินตนเอง โรงเรียนบัวงามวิทยา ปีการศึกษา 2558" (PDF). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  7. Santiparb Piromtrakool. "ประวัติโรงเรียนเดชอุดม". โรงเรียนเดชอุดม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  8. Super admin (23 ธันวาคม พ.ศ. 2556). "ประวัติโรงเรียน". โรงเรียนบุณฑริกวิทยาคาร. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-17. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม (23 ธันวาคม พ.ศ. 2556). "แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=, |date= และ |archivedate= (help)
  10. โรงเรียนนาจะหลวย. "ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  11. 11.0 11.1 11.2 ดวงดาว (27 มกราคม พ.ศ. 2553). "ฟุตซอลอุบล คว้าเหรียญทอง กีฬานักเรียน อปท.แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27". ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ ไกด์อุบลดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=, |date= และ |archivedate= (help)
  12. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (28 มีนาคม พ.ศ. 2560). "ม.ราชภัฏอุบลฯ MOU 9 สถานศึกษาใน จ.อุบลฯ พัฒนาบุคลากร บริการทางวิชาการแก่ชุมชนสังคม". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  13. กรกช ภูมี (31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559). "นักฟุตบอลเยาวชน 13ปี โรงเรียนบัวงามวิทยา คว้าแชมป์"ช้าง-เอฟเวอร์ตัน จูเนียร์ คัพ"ภาคอีสาน". สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=, |date= และ |archivedate= (help)
  14. ปิติศักดิ์ โชติพิบูลย์ทรัพย์ (30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559). "แชมป์อีสาน! บัวงามวิทยาคว้าตั๋วใบที่ 4 ลุยช้าง-เอเวอร์ตันคัพ". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. Football Channel Thailand (13 มิถุนายน พ.ศ. 2559). "ช้าง-เอฟเวอร์ตัน จูเนียร์ คัพ 2016 ได้ 8 ทีมตัวแทนลุยรอบชิงฯ". Footballchannelasia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=, |date= และ |archivedate= (help)