โรงเรียนชลประทานวิทยา

พิกัด: 13°53′56″N 100°30′32″E / 13.89900°N 100.50896°E / 13.89900; 100.50896
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนชลประทานวิทยา
ตราประจำโรงเรียนชลประทานวิทยา
ที่ตั้ง
แผนที่


ประเทศไทย
พิกัด13°53′56″N 100°30′32″E / 13.89900°N 100.50896°E / 13.89900; 100.50896
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญศักดิ์ ศรี สามัคคี และพิริยะ
สถาปนา2 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (68 ปี 327 วัน)
ผู้ก่อตั้งหม่อมหลวงชูชาติ กำภู
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2
ผู้จัดการนายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์
ผู้อำนวยการดร.นิตยา เทพอรุณรัตน์
จำนวนนักเรียน6,480 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2562)[1]
ชั้นเรียนอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น (ม.4)
สี   ชมพู-น้ำเงิน
เพลงมาร์ชชลประทานวิทยา
สัญลักษณ์พระพิรุณทรงเมฆ
สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ต้นไม้ประจำโรงเรียนต้นชมพูพันธุ์ทิพย์
แผนการเรียนแผนการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ - ภาษา
ห้องเรียนพิเศษ สสวท
ห้องเรียนอากาศยาน

ห้องเรียนพิเศษ EMSP
เว็บไซต์http://www.cpw.ac.th

โรงเรียนชลประทานวิทยา[2] เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี โดยมีกรมชลประทานเป็นเจ้าของ ตั้งอยู่เลขที่ 201 หมู่ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 โรงเรียนชลประทานวิทยา มีเนื้อที่ประมาณ 56 ไร่ มีอาคารเรียน 10 หลังและอาคารเรียนประกอบล้อมรอบสนามฟุตบอล และสนามกรีฑา ผังของโรงเรียนท่านนั้นอาจารย์ประหยัด ไพทีกุล นำแบบอย่างมาจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

ปัจจุบันโรงเรียนชลประทานวิทยามีนักเรียน 6,482 คน ชาย 3,378 คน หญิง 3,104 คน มีครู 305 คน มีห้องเรียนทั้งหมด 138 ห้องในปีการศึกษา 2551 และเพิ่มขึ้นเป็น 141 ในปีการศึกษา 2557 โดยโรงเรียนทำการสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดสอนดังนี้

  • แผนการเรียนที่ 1 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนที่ 2 แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
  • แผนการเรียนที่ 3 แผนการเรียนตามแนวทางสสวท
  • แผนการเรียนที่ 4 แผนการเรียน โครงการส่งเสริมศักยภาพภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (EMSP)
  • แผนการเรียนที่ 5 แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
  • แผนการเรียนที่ 6 แผนการเรียนอุตสาหกรรมการ

ปีการศึกษา 2561 นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เป็นผู้จัดการ และดร.นิตยา เทพอรุณรัตน์ เป็นผู้อำนวยการ

โรงเรียนชลประทานวิทยาประกอบด้วยอาคารเรียนที่ทันสมัย และมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่พร้อมสำหรับการเรียนการสอนภายในห้องเรียน และยังมีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการเคมี ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการชีววิทยา และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีการรักษาความปลอดภัยจากกล้อง CCTV ทั่วโรงเรียน มีความร่มรื่น น่าอยู่ น่าเรียน และปลอดภัย ดังวิสัยทัศน์ของโรงเรียนชลประทานวิทยา

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนชลประทานวิทยาเปิดสอนวันแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2498[2] โดยดำริของหม่อมหลวงชูชาติ กำภู อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เนื่องจากในขณะนั้น กรมชลประทานกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ที่จังหวัดชัยนาท และมีโครงการที่จะก่อสร้างเขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตาก ในการนี้จะต้องมีการย้ายหน่วยงานบางหน่วยงานของกรมชลประทานจากสามเสนมาอยู่ที่อำเภอปากเกร็ด ทำให้ข้าราชการต้องย้ายสถานที่ทำงาน ท่านหม่อมหลวงชูชาติ กำภู มีความห่วงใยในเรื่องสถานศึกษาของบุตรหลานข้าราชการกรมชลประทาน จึงให้ท่านอาจารย์ประหยัด ไพทีกุล หัวหน้าแผนกอาณาบาลกรมชลประทานในขณะนั้น ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 การจัดตั้งโรงเรียนนั้นเต็มไปด้วยปัญหา เพราะเวลานั้นโรงเรียนต่าง ๆ ได้เปิดภาคเรียนของปีการศึกษา 2498 ไปแล้วถึง 4 วัน (เปิดเรียนวันที่ 16 พฤษภาคม) และการจัดตั้งโรงเรียนต้องขออนุญาตภายในเดือนกุมภาพันธ์ โดยให้อาจารย์ประหยัด ไพทีกุลเป็นผู้จัดการโรงเรียน และอาจารย์โกศล ภาสวณิช เป็นอาจารย์ใหญ่

รายละเอียดของอาคารเรียนในโรงเรียน[3][แก้]

ไฟล์:ตึกชูชาติวิทโยทัย.jpg
ตึกชูชาติวิทโยทัย หรืออาคาร 1
  • อาคาร 1 อาคารชูชาติวิทโยทัย เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501 อาคารนี้เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถม 6 แต่ในปีการศึกษา 2550 ได้เปลี่ยนห้องเรียนบางส่วนเป็นของชั้นประถม 3 และมีห้องพยาบาลและงานอนามัย อยู่ที่ชั้นแรก และมีห้องวิชาการ ห้องอาจารย์ใหญ่อยู่ชั้นบน รวมถึงห้องเรียนชั้นประถม 6 อีก 6 ห้อง ในปัจจุบันเป็นอาคารบัญชาการ มีห้องของฝ่ายต่างๆและห้องผู้บริหาร และตึกนี้เป็นตึกของมัธยมและฝ่ายผู้บริหาร
  • อาคาร 2 อาคารชูชาติ อนุสรณ์ เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น สร้างเมื่อง พ.ศ. 2521 ปัจจุบันเป็นอาคารเรียนของชั้นประถม 6 เป็นส่วนใหญ่ และข้างๆอาคารนี้ก็จะเป็นโรงอาหาร 2 ไว้ให้นักเรียนมาซื้ออาหารรับประทานตอนกลางวันและก่อนกลับบ้าน
  • อาคาร 3 อาคารประหยัด ไพทีกุล เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยชั้นล่างสุดเป็นโรงอาหาร ชั้นที่ 2 เป็นห้องเรียนของชั้นประถม 2 และชั้น 3 เป็นห้องเรียนของชั้นประถม 3 ส่วนบริเวณด้านหน้าเป็นลานอเนกประสงค์ สำรหับจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
  • อาคาร 4 อาคารชลประทานสามัคคี เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2531 เป็นอาคารเรียนของระดับชั้นประถม 4 และ 5 เดิมชั้นมัธยมปลายก็เรียนอยู่ที่อาคารนี้ด้วย แต่ได้มีการย้ายไปเรียนที่อาคาร 100 ปี ชูชาติอนุสรณ์ ในอาคารนี้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 5 อยู่ที่ชั้น 2
  • อาคาร 5 อาคารอนุบาล เป็นอาคาร2 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2532 เป็นอาคารสำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัย ตั้งแต่อนุบาล 1 ถึง อนุบาล 3 และด้านหน้าอาคารมีลานสำหรับทำกิจกรรมนันทนาการตอนเช้า และมีเครื่องเล่นสนามสำหรับนักเรียนอนุบาล
  • อาคาร 6 อาคาร 11 ห้อง เป็นอาคารชั้นเดียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นอาคารเรียนสำหรับชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2
  • อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ เป็นอาคารชั้นเดียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ของโรงเรียน และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 อยู่บริเวณด้านหน้า อาคารชูชาติวิทโยทัย (อาคาร 1)
  • อาคาร 7 อาคาร 3 ห้อง เป็นอาคารประกอบชั้นเดียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 เป็นห้องดนตรี ห้องนาฏศิลป์ ห้องสุขศึกษา
  • อาคาร 8 เป็นอาคาร 24 ห้อง มี 2 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 ใช้เป็นห้องเรียนของชั้นประถม 1 และ 2 และมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 - 4
  • อาคาร 40 ปี ช.ป.ว. เป็นอาคาร 2 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 มีห้องสมุดอยู่ที่ชั้น 1 และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ชั้น 2 โดยมีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 3 ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ และห้องปฏิบัติการทางเคมี
  • อาคารเสื่อรำแพน เป็นอาคารชั้นเดียว ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2546 ในอดีตเคยเป็นอาคารเก่าแก่ทรุดโทรม เมื่อได้ปรับปรุงใหม่ อาคารนี้เป็นส่วนของครูและเป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2บางส่วน และยังมีห้องเรียนสำหรับวิชาการงานอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมต้น
  • อาคารประกอบ (อาคารดนตรี ศิลปะ และจริยธรรม) ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2550 เป็นอาคารประกอบ สำหรับการเรียนการสอนในวิชาดนตรีไทย - สากล นาฏศิลป์ ศิลปะ และจริยธรรมในช่วงชั้นที่ 1 - 2
  • อาคาร 50 ปี ช.ป.ว. เริ่มสร้างประมาณปีการศึกษา 2547 และเปิดใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นอาคาร 2 ชั้น เป็นอาคารของนักเรียนในหลักสูตร English Program ด้านหน้าเป็นสนามบาสเก็ตบอล ถัดมาอีกเล็กน้อยคือสำนักปกครอง อาคารปกครองเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
  • อาคาร 100 ปี ชูชาติอนุสรณ์ เป็นอาคาร เรียน 6 ชั้น เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ประมาณปีการศึกษา 2548 และเปิดใช้อาคารครั้งแรกในปีการศึกษา 2550 ในปีการศึกษา 2551 อาคารนี้ใช้ในการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในบางห้องและในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด โดยมีห้องพักครูบริเวณโถงลิฟท์โดยสาร มีหอประชุมและเวทีที่ชั้นล่าง ห้องปฏิบัติการทางภาษาของช่วงชั้นที่ 3 - 4 หน้าอาคารเป็นสนามบาสเก็ตบอล 2 สนาม สนามวอลเลย์บอล 2 สนาม สนามแบทมินตัน 2 สนาม สนามตะกร้อ 2 สนามและสนามฟุตซอลอีก 1 สนาม ด้านหลังอาคารเป็นลานจอดรถ โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาและปรับปรุงอาคารนี้ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้มากที่สุด
  • หอประชุม 60 ปี ชูชาติกำภู เป็นอาคาร4ชั้น ชั้นแรกเป็นชั้นโถงใช้สำหรับประกอบการเรียนนอกสถานที่หรือทำกิจกรรม ปกติสามารถมานั่งพักผ่อนได้ ชั้นที่ 2 ประกอบด้วยห้องสมุดและมีห้องคอมพิวเตอร์ทางซ้ายและขวา ชั้นที่ 3 เป็นห้องประชุมใหญ่สำหรับจัดการประชุมหรือทำกิจกรรม ชั้นที่ 4 เป็นชั้นห้องเก็บของ อาคารนี้มีทางเดินลอยฟ้า ต่อกับ อาคารที่จอดรถ
  • อาคาร 12 (ที่จอดรถ) มีไว้สำหรับจอดรถคุณครู มีทางเดินลอยฟ้าต่อกับอาคาร 100 ปี
  • อาคาร Hangar 99 อาคารสำหรับการเรียนการสอนของนักเรียนในห้องเรียนพิเศษอากาศยานซึ่งมีเครื่องบินและ Model เครื่องบิน
  • อาคาร English program

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

การแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนโรงเรียนชลประทานวิทยา[แก้]

การแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนชลประทานวิทยาเริ่มดำเนินการครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2539 ได้รับการสนับสนุนการจัดการแข่งขันโดย อาจารย์ ไพจิตร เสงี่ยมลักษณ์ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนชลประทานวิทยาในขณะนั้น

  • รูปแบบการแข่งขันนั้นใช้ระบบแบ่งสายการแข่งขันเป็น สาย A และสาย B โดยในแต่ละสายแข่งขันพบกันหมดนำทีมอันดับ 1 และ 2 ของแต่ละสายมาไขว้ตัดเชือกพบกันในรอบ 4 ทีม ทีมผู้ชนะของแต่ละแมชต์ผ่านเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศผู้แพ้เข้าชิงอันดับ 3 ซึ่งครั้งแรกที่จัดการแข่งขันนั้นมีทีมเข้าร่วม 10 ทีม สมาชิกผู้เล่นในทีมต้องศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 - มัธยมศึกษาปีที่ 6
  • ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนโรงเรียนชลประทานครั้งที่ 1 (ปี 2539) อันดับ 1 ทีมคิงเธอมายอย (มัธยมศึกษาปีที่ 6) อันดับ 2 อันดับ 3 อันดับ 4 ทีมโชว์ห่วย (มัธยมศึกษาปีที่ 3)
  • ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนโรงเรียนชลประทานครั้งที่ 2 (ปี 2540) อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3 อันดับ 4
  • ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนโรงเรียนชลประทานครั้งที่ 3 (ปี 2541) อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3 อันดับ 4 ทีมหนุ่มทิพย์ (มัธยมศึกษาปีที่ 5)
  • ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนโรงเรียนชลประทานครั้งที่ 4 (ปี 2542) อันดับ 1 อันดับ 2 ทีมแมลงวัลขยันยิง (มัธยมศึกษาปีที่ 6) อันดับ 3 อันดับ 4 ทีมม้าผยองคะนองสนาม (มัธยมศึกษาปีที่ 6)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "จำนวนนักเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.
  2. 2.0 2.1 "ประวัติโรงเรียนชลประทานวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.
  3. "แผนผัง อาคารเรียน และสถานที่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]