โยฮันน์ โซฟฟานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยฮันน์ โซฟฟานี

โยฮันน์ โซฟฟานี (อังกฤษ: Johann Zoffany หรือ Johann Zoffani หรือ Johann Zauffelij) (13 มีนาคม ค.ศ. 1733 - 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1810) เป็นจิตรกรชาวเยอรมันของสมัยฟื้นฟูคลาสสิกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ที่ทำงานเป็นจิตรกรในอังกฤษ และมีงานเขียนในสถาบันศิลปะหลายสถาบันในอังกฤษเช่นที่หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน และ หอศิลป์เทท

โซฟฟานีเกิดที่ฟรังเฟิร์ตแต่มาทำงานในอังกฤษ และกลายเป็นช่างเขียนที่เป็นที่นิยมในราชสำนักอังกฤษ โดยเฉพาะการได้รับการโปรดปรานจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระราชินีชาร์ลอตต์ โซฟฟานีเขียนภาพเหมือนของทั้งสองพระองค์อย่างมีเสน่ในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ — รวมทั้งภาพ “สมเด็จพระราชินีชาร์ลอตต์และพระราชโอรสธิดาองค์โตสองพระองค์” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1764 ที่เป็นภาพในห้องแต่งพระองค์ โซฟฟานีมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีความยโสในงานเขียนของตนเอง และกล่าวกันว่ามีปากมีเสียงอย่างรุนแรงกับศิลปินหลายคน และมักจะวาดภาพล้อของจิตรกรที่ไม่ชอบหน้าที่ "เป็นงานออกแบบที่ดีที่สุดของงานของโซฟฟานี และเลียนแบบธรรมชาติอย่างละเอียดละออ..."[1]

โซฟฟานีมีชื่อเสียงในการเขียนภาพเหมือนของนักแสดงผู้มีชื่อเสียงในบทที่เล่น เช่นภาพของเดวิด การ์ริคในภาพ "การ์ริคในบทแฮมเล็ท" และ "การ์ริคในบทคิงเลียร์" ภาพเขียนประเภทนี้บางครั้งก็เรียกว่า "ภาพเหมือนสังสรรค์ในโรงละคร" ซึ่งเป็นประเภทย่อยของ "ภาพเหมือนสังสรรค์" (Conversation piece) ซึ่งเป็นภาพเขียนประเภทที่นิยมกันเมื่อชนชั้นกลางเลื่อนฐานะกันขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เพราะภาพเหมือนสังสรรค์มักจะมีขนาดเล็ก ฉะนั้นจึงมีราคาไม่สูงนัก และมักจะเป็นภาพเหมือนหมู่อย่างไม่เป็นทางการของครอบครัว หรือ กลุ่มคนที่รู้จักกัน ซึ่งเป็นลักษณะการเขียนที่เริ่มขึ้นในเนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศส และมานิยมกันในอังกฤษหลังจาก ค.ศ. 1720 โซฟฟานีได้รับการบรรยายว่าเป็นผู้มีความสามารถในการเขียนภาพประเภทนี้ ขณะเดียวกันกับที่เป็นจิตรกรที่ไม่มีฝีมือเท่าใดนัก[2] ที่หมายความว่าภาพเหมือนสังสรรค์เป็นจิตรกรรมที่มีคุณค่าต่ำ

ในบั้นปลายของชีวิตโซฟฟานีมีชื่อเสียงในการเขียนภาพขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยผู้คนในภาพ และ งานศิลปะที่เป็นที่รู้จักกัน ภาพ "ห้องทริบิวนาในหอศิลป์อุฟฟิซิ" เป็นภาพที่แน่นไปด้วยรายละเอียด - แม้ว่าห้องทริบิวนาในหอศิลป์อุฟฟิซิเองที่แสดงงานศิลปะในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จะเต็มไปด้วยงานศิลปะ แต่โซฟฟานีก็ไปนำภาพเขียนจากส่วนอื่นของหอศิลป์อุฟฟิซิเข้ามาเพิ่มเติมในภาพเข้าไปอีก

อ้างอิง[แก้]

  1. Ellis Waterhouse, Painting in Britain 1530 to 1790, Fourth Edition, New York, Viking Penguin, 1978; p. 317. See also pp. 315-19.
  2. Waterhouse, p. 315.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โยฮันน์ โซฟฟานี

ระเบียงภาพ[แก้]