โจว เอินไหล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจว เอินไหล
周恩来
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976
ประธานาธิบดีเหมา เจ๋อตง
รองต้ง ปีวู่
เฉิน หยุน
หลิน เปียว
เติ้ง เสี่ยวผิง
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปฮั่ว กั๋วเฟิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958
หัวหน้ารัฐบาลตัวเอง
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปเฉิน อี้
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์ ลำดับที่หนึ่ง
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม ค.ศ. 1973 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976
ประธานเหมา เจ๋อตง
ก่อนหน้าหลิน เปียว (ในปี 1971)
ถัดไปฮั่ว กั๋วเฟิง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มีนาคม ค.ศ. 1898
เมืองหวยอัน มณฑลเจียงซู จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต8 มกราคม ค.ศ. 1976 (77 ปี)
กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
คู่สมรสเติ้ง อิ่งเชา
ลายมือชื่อ

โจว เอินไหล (จีนตัวย่อ: 周恩来; จีนตัวเต็ม: 周恩來; พินอิน: Zhōu Ēnlái; 5 มีนาคม ค.ศ. 1898 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976) เป็นนายกรัฐมนตรีจีน คนที่ 1 โจวเป็นหัวหน้ารัฐบาลประชาชนจีน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1949 จนกระทั่งเสียชีวิตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1976 โจวทำหน้าที่อยู่ภายใต้ประธานเหมาเจ๋อตง และมีส่วนสำคัญในการเถลิงอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ และต่อมาในการรวบรวมการควบคุม จัดตั้งนโยบายการต่างประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจของจีน

ด้วยการที่เป็นนักการทูตที่มีทักษะและความสามารถ โจวดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1958 ได้ให้การสนับสนุนในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับชาติตะวันตกในภายหลังสงครามเกาหลี เขาได้เข้าร่วมในการประชุมที่เจนีวา ปี ค.ศ. 1954 และการประชุมบันดุง ปี ค.ศ. 1955 และได้ให้การช่วยเหลือในการประพันธ์โน้ตดนตรีเพื่อต้อนรับการมาเยือนจีนของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ปี ค.ศ. 1972 เขาได้ช่วยกำหนดนโยบายเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ดุเดือดกับสหรัฐอเมริกา ไต้หวัน สหภาพโซเวียต(ภายหลังปี ค.ศ. 1960) อินเดีย และเวียดนาม

โจวได้เอาชีวิตรอดจากการกำจัดแก่เหล่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ในขณะที่เหมาได้ทุ่มเทให้กับเวลาส่วนใหญ่ในการต่อสู้ทางการเมืองและงานทางด้านอุดมกาณ์ โจวเป็นแรงผลักดักหลักที่อยู่เบื้องหลังของสถานการณ์ภายในประเทศในช่วงส่วนใหญ่ของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ความพยายามของเขาในการบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของพวกยุวชนแดงและความพยายามของเขาในการปกป้องคนอื่นจากความโกรธเกรี้ยวของพวกเขา ทำให้เขาได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงระยะหลังของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

เมื่อสุขภาพของเหมาเริ่มย่ำแย่ลงในปี ค.ศ. 1971 และ ค.ศ. 1972 และภายหลังจากการเสียชีวิตของหลิน เปียวที่ถูกตราหน้าว่าเป็นคนทรยศจนเป็นที่น่าอับอายของจีน โจวได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานที่หนึ่งแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ที่เว้นว่างไว้โดยคณะกรรมการส่วนกลางที่ 10 ในปี ค.ศ. 1973 และถูกกำหนดให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเหมา (บุคคลที่สามที่ถูกกำหนดเอาไว้รองลงจากหลิว เช่าฉี และหลิน) แต่ยังคงต้องต่อสู้กับแก๊งออฟโฟร์ในการช่วงชิงการเป็นผู้นำของจีน การปรากฏตัวต่อสาธารณะครั้งสำคัญและครั้งสุดท้ายของเขาคือ การประชุมครั้งแรกของสภาประชาชนแห่งชาติครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1975 ซึ่งเขาได้นำเสนอรายงานการทำงานของรัฐบาล จากนั้นเขาได้หลุดพ้นจากสายตาของสาธารณชนเพื่อไปรักษาพยาบาลและเสียชีวิตในอีกหนึ่งปีต่อมา ความโศกเศร้าเสียใจของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมากมายมหาศาลซึ่งการเสียชีวิตของเขาได้ปลุกปั่นให้ประชาชนชาวปักกิ่งหันไปโกรธแค้นต่อแก๊งออฟโฟร์ จนนำไปสู่กรณีเทียนอันเหมิน ปี ค.ศ. 1976 แม้ว่าโจวจะได้รับการสืบทอดตำแหน่งโดยฮั่ว กั๋วเฟิง ในฐานะรองประธานคนที่หนึ่งและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งเป็นผู้นำของจีน แต่เติ้ง เสี่ยวผิง พันธมิตรของโจวก็สามารถเอาชนะแก๊งออฟโฟร์ทางการเมืองลงได้และเข้ามาแทนที่ฮั่วจนกลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ในปี ค.ศ. 1978

ประวัติ[แก้]

โจวเอินไหลมีภูมิลำเนาเป็นชาวเมืองเส้าซิง มณฑลเจ้อเจียง ในขณะที่ความจริงแล้ว เขาเกิดที่เมืองหวยอัน(淮安) มณฑลเจียงซู ในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ.1898 ซึ่งเป็นรกรากของฝ่ายมารดา บรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนของตระกูลโจวที่เมืองเส้าซิงนี้ ล้วนเป็นที่ปรึกษาให้กับข้าราชการในเมือง ซึ่งอาชีพดังกล่าวได้รับความนิยมสูงสุดจน รับรู้กันว่ามีชาวเส้าซิงมากมายที่ประจำอยู่ตามหน่วยงานราชการทั่วประเทศของจีน นอกเหนือไปจากการเป็นพ่อค้า

โจวรำลึกถึงผู้ให้กำเนิดของตนว่า ยายของเขาเป็นหญิงชาวนาในชนบทของหวยอิน(淮阴) ดังนั้น ในร่างกายเขาก็มีเลือดของชาวนาไหลเวียนอยู่ด้วย ส่วนมารดานั้นเป็นผู้หญิงที่มีหน้าตางดงาม และจิตใจอ่อนโยน แต่น่าเสียดายที่ต้องเสียชีวิตตั้งแต่ยังสาวเมื่อมีอายุได้เพียง 35 ปี

เนื่องจากป่วยเป็นวัณโรค อันมีสาเหตุมาจากการทำงานหนักเกินไปหลังจากที่ปู่เสียชีวิตลงโดยไม่เหลือมรดกไว้ให้ครอบครัวเลย ปู่ของโจวเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 50 ปี ในช่วงที่มีชีวิตอยู่ก็ไม่ได้สร้างทรัพย์สมบัติใด ๆ ไว้

มีเพียงบ้านที่อาศัยเท่านั้น เมื่อมาถึงรุ่นพ่อ ครอบครัวก็ถึงคราวลำบาก ซึ่งทั้งบิดาและอาของเขาต่างรับราชการ โดยบิดาของโจวมีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลด้านเอกสาร ส่วนอาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา ซึ่งรวมกันแล้วรายได้ก็ยังไม่เพียงพอ

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า โจว เอินไหล ถัดไป
ไม่มี
นายกรัฐมนตรีจีน
(ค.ศ. 1949 – 1976)
ฮั่ว กั๋วเฟิง