โครโนทริกเกอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครโนทริกเกอร์
ผู้พัฒนาสแควร์
ผู้จัดจำหน่าย
  • สแควร์ (ซูเปอร์แฟมิคอม & เพลย์สเตชัน)
  • สแควร์เอนิกซ์ (นินเท็นโด DS, mobile, วินโดวส์)
กำกับ
อำนวยการผลิตKazuhiko Aoki
ออกแบบฮิโรโนบุ ซากางูจิ[1]
ศิลปินAkira Toriyama
เขียนบท
แต่งเพลง
ชุดโครโน
เครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอม, เพลย์สเตชัน, นินเท็นโด DS, i-mode, ไอโอเอส, แอนดรอยด์, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แอปเปิ้ลทีวี
วางจำหน่าย
11 มีนาคม 1995
  • ซูเปอร์แฟมิคอม
    • JP: 11 มีนาคม 1995
    • NA: 11 สิงหาคม 1995[4]
  • เพลย์สเตชัน
    • JP: 2 พฤศจิกายน 1999
    • NA: June 29, 2001
  • นินเท็นโด DS
    • JP: 20 พฤศจิกายน 2008
    • NA: 25 พฤศจิกายน 2008
    • AU: 3 กุมภาพันธ์ 2009
    • EU: 6 กุมภาพันธ์ 2009
  • i-mode
    • JP: 25 เมษายน 2011
  • ไอโอเอส
    • ทั่วโลก: 8 ธันวาคม 2011
  • แอนดรอยด์
    • JP: 22 ธันวาคม 2011
    • ทั่วโลก: 29 ตุลาคม 2012
  • ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
    • ทั่วโลก: 27 กุมภาพันธ์ 2018
แนวเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, หลายผู้เล่น[5]

โครโนทริกเกอร์ (อังกฤษ: Chrono Trigger) เป็นวิดีโอเกมแนวเล่นตามบทบาท พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยสแควร์ สำหรับเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมใน ค.ศ. 1995 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นชุดวิดีโอเกม โครโน ทีมพัฒนา โครโนทริกเกอร์ ประกอบด้วยนักออกแบบสามคนที่สแควร์ขนานนามว่า "Dream Team" ซึ่งประกอบด้วยฮิโรโนบุ ซากางูจิ ผู้สร้างชุดเกม ไฟนอลแฟนตาซี ที่ประสบความสำเร็จของสแควร์ Yuji Horii นักออกแบบอิสระและผู้สร้างชุดเกม ดราก้อนเควสต์ ยอดนิยมของเอนิกซ์ และอากิระ โทริยามะ นักวาดการ์ตูนที่โด่งดังจากผลงานของเขาอย่าง ดราก้อนเควสต์ และ ดราก้อนบอล นอกจากนี้ Kazuhiko Aoki ยังเป็นผู้อำนวยการผลิตเกม[6] มาซาโตะ คาโตะ เป็นนักเขียนบทเนื้อเรื่องส่วนใหญ่ ในขณะที่นักแต่งเพลง Yasunori Mitsuda ประพันธ์เพลงประกอบส่วนใหญ่ก่อนที่จะล้มป่วยและการประพันธ์เพลงประกอบที่เหลือถูกสานต่อโดย โนบูโอะ อูเอมัตสึ ผู้แต่งเพลงประกอบเกม ไฟนอลแฟนตาซี[3] โดยเนื้อเรื่องของเกมจะเกี่ยวกับกลุ่มนักผจญภัยที่เดินทางผ่านการเดินทางข้ามเวลาเพื่อป้องกันภัยพิบัติทั่วโลก

เมื่อตัวเกมได้วางจำหน่าย โครโนทริกเกอร์ ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์และถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในวิดีโอเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล นิตยสาร นินเท็นโดเพาเวอร์ ได้บรรยายแง่มุมต่าง ๆ ของ โครโนทริกเกอร์ ว่าเป็นการปฏิวัติซึ่งรวมถึงตอนจบที่หลากหลาย, ภารกิจเสริมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการพัฒนาตัวละคร, ระบบการต่อสู้ที่ไม่เหมือนใคร และกราฟิกที่มีรายละเอียด[7] โครโนทริกเกอร์ กลายเป็นวิดีโอเกมที่ขายดีเป็นอันดับสามประจำ ค.ศ. 1995 ในประเทศญี่ปุ่น และขายได้ 2.65 ล้านชุดทั่วโลกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003

สแควร์ได้วางจำหน่ายตัวเกมเวอร์ชันพอร์ดโดย Tose ในประเทศญี่ปุ่น สำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน ใน ค.ศ. 1999 ซึ่งต่อมาได้ถูกบรรจุใหม่พร้อมการพอร์ดเกม ไฟนอลแฟนตาซี IV ในชื่อ ไฟนอลแฟนตาซีโครนิเคิล ในอเมริกาเหนือ โครโนทริกเกอร์ ยังได้รับการปรับปรุงเล็กน้อยซึ่งได้ถูกพอร์ดอีกครั้งโดย Tose และได้วางจำหน่ายสำหรับนินเท็นโด DS ในอเมริกาเหนือและญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2008 และภูมิภาค PAL ใน ค.ศ. 2009[8] ตัวเกมเวอร์ชันนินเท็นโด DS ขายได้ 790,000 ชุดภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 หลังจากประมาณหนึ่งปีของการขาย[9] โครโนทริกเกอร์ ยังได้รับการพอร์ดลงไปยังโทรศัพท์มือถือ i-mode,[10] เวอร์ชวลคอนโซล,[11] เพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก,[12] ไอโอเอส,[13] แอนดรอยด์[14] และ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์[15]

ใน ค.ศ. 2019 ในช่วงการเปลี่ยนปีรัชศกจากยุคเฮเซสู่ยุคเรวะ เกม โครโนทริกเกอร์ ได้ถูกยกให้เป็นเกมที่ดีที่สุดแห่งยุคเฮเซ จากการโหวตของผู้อ่านในนิตยสาร แฟมิซือ[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. V-Jump Festival 1994 (VHS tape). Japan: Shueisha. 1994. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2008.
  2. Studio BentStuff, บ.ก. (2009). Chrono Trigger Ultimania (ภาษาญี่ปุ่น). Square Enix. p. 581. ISBN 978-4-7575-2469-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Procyon Studio: Interview with Masato Kato". Cocoebiz.com. November 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2011. สืบค้นเมื่อ June 3, 2007.
  4. "Chrono Trigger". Nintendo of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2007.
  5. "Chrono Trigger Multiplayer Hands-on". 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2011. สืบค้นเมื่อ May 4, 2011.
  6. Square Co. (August 22, 1995). Chrono Trigger (Super NES). Square Soft. Keizo Kokubo: Well then, open the Gates to the Dream Team! ... / Developer's Ending: Cheers! You made it to one of the endings! You're now a member of the Dream Team!
  7. "Epic Center: Chrono Trigger". Nintendo Power. 74: 52. July 1995.
  8. "Chrono Trigger for Nintendo DS". Square Enix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2013. สืบค้นเมื่อ February 16, 2009.
  9. "Results Briefing Session for the Fiscal Year ended March 31, 2009" (PDF). Square Enix. May 25, 2009. p. 28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 26, 2014. สืบค้นเมื่อ July 16, 2010.
  10. "Chrono Trigger | Square Enix". Square Enix. January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2011. สืบค้นเมื่อ February 2, 2011.
  11. "Chrono Trigger Time Warps to Virtual Console Next Month | Siliconera". Siliconera.com. March 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2011. สืบค้นเมื่อ March 26, 2011.
  12. "Chrono Trigger Coming to PS3". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2011. สืบค้นเมื่อ April 22, 2011.
  13. "TGS '11: Square Enix announces Chrono Trigger for iOS and Android, Dragon Quest Monsters and Ithadaki Street also revealed". Pocket Gamer. September 16, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2016.
  14. "Square Enix Market - Chrono Trigger". Square Enix. 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2012. สืบค้นเมื่อ June 25, 2012.
  15. Schreier, Jason (กุมภาพันธ์ 27, 2018). "Chrono Trigger Gets Surprise Release On PC". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 27, 2018. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 27, 2018.
  16. "Japan: Here's Famitsu's Top 20 Games Of The Heisei Era". Mynintendonews.com. April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ October 14, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]