แอสปาร์แตม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอสปาร์แตม[1]
Aspartame
Ball-and-stick model of aspartame
ชื่อ
Pronunciation /ˈæspərtm/ or /əˈspɑːrtm/
IUPAC name
Methyl L-α-aspartyl-L-phenylalaninate
ชื่ออื่น
N-(L-α-Aspartyl)-L-phenylalanine,
1-methyl ester
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
2223850
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ดรักแบงก์
ECHA InfoCard 100.041.132 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 245-261-3
เลขอี E951 (glazing agents, ...)
KEGG
UNII
  • InChI=1S/C14H18N2O5/c1-21-14(20)11(7-9-5-3-2-4-6-9)16-13(19)10(15)8-12(17)18/h2-6,10-11H,7-8,15H2,1H3,(H,16,19)(H,17,18)/t10-,11-/m0/s1 checkY
    Key: IAOZJIPTCAWIRG-QWRGUYRKSA-N checkY
  • InChI=1/C14H18N2O5/c1-21-14(20)11(7-9-5-3-2-4-6-9)16-13(19)10(15)8-12(17)18/h2-6,10-11H,7-8,15H2,1H3,(H,16,19)(H,17,18)/t10-,11-/m0/s1
    Key: IAOZJIPTCAWIRG-QWRGUYRKBV
  • O=C(O)C[C@H](N)C(=O)N[C@H](C(=O)OC)Cc1ccccc1
คุณสมบัติ
C14H18N2O5
มวลโมเลกุล 294.307 g·mol−1
ความหนาแน่น 1.347 g/cm3
จุดหลอมเหลว 246.5 องศาเซลเซียส (475.7 องศาฟาเรนไฮต์; 519.6 เคลวิน)[3]
จุดเดือด สลายตัว
ละลายได้ทีละน้อย
ความสามารถละลายได้ ละลายได้น้อยในเอทานอล
pKa 4.5–6.0[2]
ความอันตราย[4]
NFPA 704 (fire diamond)
NFPA 704 four-colored diamondHealth 1: Exposure would cause irritation but only minor residual injury. E.g. turpentineFlammability 1: Must be pre-heated before ignition can occur. Flash point over 93 °C (200 °F). E.g. canola oilInstability 0: Normally stable, even under fire exposure conditions, and is not reactive with water. E.g. liquid nitrogenSpecial hazards (white): no code
1
1
0
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

แอสปาร์แตม หรือ Aspartame เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล (จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารชนิดหนึ่ง) ซึ่งไม่ให้พลังงาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aspartyl-phenylalanine-1-methyl ester ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือกรดอะมิโน 2 ตัวต่อกันได้แก่ กรดแอสปาร์ติก และ ฟีนิลอะลานีน

แอสปาร์แตมมีความหวานกว่าน้ำตาลซูโครส (น้ำตาลทราย) ประมาณ 180–200 เท่า ในปัจจุบันผลิตออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ เช่น "NutraSweet", "Pal Sweet", "Equal", และ "Canderel" แอสปาร์แตมเป็นส่วนประกอบในอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มกว่า 5,000 ชนิด ที่วางขายทั่วโลก โดยทั่วไปเราจะใช้แอสปาร์แตมผสมเครื่องดื่ม หรือทำอาหารให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน สำหรับในประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ที่มีแอสปาร์แตมเป็นส่วนประกอบ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้มีคำเตือนบนฉลากของบรรจุภัณฑ์ว่า "ผู้ที่มีสภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย ผลิตภัณฑ์นี้มีฟีนิลอะลานีน" ซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งไม่สามารถย่อยฟีนิลอะลานีนได้ (ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ราว 1 คนต่อประชากร 100,000 คน)

โครงสร้างสารของแอสปาร์แตมจะเปลี่ยนไปเมื่อโดนความร้อนและเมื่อเก็บไว้นาน จึงไม่ควรใช้แอสปาร์แตมปรุงอาหารร้อน ๆ และไม่ควรเก็บไว้นาน ๆ

อ้างอิง[แก้]

  1. Budavari S, บ.ก. (1989). "861. Aspartame". The Merck Index (11th ed.). Rahway, NJ: Merck & Co. p. 859. ISBN 978-0-911910-28-5.
  2. Rowe RC (2009). "Aspartame". Handbook of Pharmaceutical Excipients. Pharmaceutical Press. pp. 11–12. ISBN 978-1-58212-058-4.
  3. Haynes WM, บ.ก. (2016). CRC Handbook of Chemistry and Physics (97th ed.). CRC Press. p. 3.30. ISBN 978-1498754293.
  4. "Aspartame". PubChem, National Library of Medicine, US National Institutes of Health. 27 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2017. สืบค้นเมื่อ 2 June 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]