แอนดรูว์ เวคฟิลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Andrew Wakefield
เกิดค.ศ. 1957 (อายุ 66–67 ปี)
Eton, Berkshire, United Kingdom
สัญชาติBritish
การศึกษาKing Edward's School, Bath
ศิษย์เก่าSt Mary's Hospital Medical School, London
อาชีพFormer physician, researcher
มีชื่อเสียงจากMMR vaccine controversy

แอนดรูว์ เจอเรอมี เวคฟิลด์ (อังกฤษ: Andrew Jeremy Wakefield) เกิดเมื่อ ค.ศ. 1957[1][2] เป็นอดีตแพทย์ทางเดินอาหารและอดีตนักวิจัยทางการแพทย์ชาวอังกฤษ ซึ่งถูกถอนใบอนุญาตจากแพทยสภาแห่งประเทศอังกฤษเนื่องจากเหตุฉ้อฉลเรื่องงานวิจัยในปี ค.ศ. 1998 และคดีประพฤติมิชอบอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับข้ออ้างซึ่งถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นจริงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการให้วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR) กับการเกิดภาวะออทิสติกและโรคลำไส้[3][4][5][6][7]

หลังงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ นักวิจัยคนอื่นๆ ไม่สามารถทำซ้ำผลการวิจัยของเวคฟิลด์เพื่อยืนยันสมมติฐานว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีน MMR กับภาวะออทิสติก[8] หรือความสัมพันธ์ระหว่างภาวะออทิสติกกับโรคทางเดินอาหารได้[9] Brian Deer นักข่าวจาก The Sunday Times ได้ทำการสืบสวนไว้เมื่อ ค.ศ. 2004 พบว่ามีการปกปิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างเวคฟิลด์กับงานวิจัยนี้[10] และผู้ร่วมวิจัยคนอื่นๆ ได้ถอนชื่อตัวเองออกจากการสนับสนุนการตีความผลการวิจัย[11] แพทยสภาแห่งประเทศอังกฤษได้ทำการสอบสวนเวคฟิลด์และอดีตผู้ร่วมงานอีกสองคนในข้อกล่าวหาประพฤติมิชอบ[12] โดยอาศัยข้อมูลจากผลการสืบของ Deer รวมทั้งข้อมูลที่ว่าผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะออทิสติกที่เข้าร่วมงานวิจัยของเวคฟิลด์ได้รับการตรวจแบบรุกล้ำหลายรายการโดยไม่มีความจำเป็น เช่น การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง[13] และยังพบอีกว่าเวคฟิลด์ดำเนินการวิจัยนี้โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันฯ

คณะกรรมการตัดสินของแพทยสภาแห่งประเทศอังกฤษได้ออกคำตัดสินเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 ว่าเวคฟิลด์ผิดจริงในข้อกล่าวหา 36 ข้อ ในจำนวนนี้รวมถึงการประพฤติมิชอบ 4 คดี และการทารุณกรรมเด็กที่บกพร่องทางพัฒนาการอีก 12 คดี[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BBCProfile
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ManBehind
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WakefieldarticleBMJ
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ retractions
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Time_great_frauds
  6. "GMC LRMP". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014.
  7. "briandeer.com" (pdf). สืบค้นเมื่อ 31 May 2014.
  8. Madsen KM, Hviid A, Vestergaard M, และคณะ (November 2002). "A population-based study of measles, mumps, and rubella vaccination and autism". N. Engl. J. Med. 347 (19): 1477–82. doi:10.1056/NEJMoa021134. PMID 12421889.
  9. Black C, Kaye JA, Jick H (August 2002). "Relation of childhood gastrointestinal disorders to autism: nested case-control study using data from the UK General Practice Research Database". BMJ. 325 (7361): 419–21. doi:10.1136/bmj.325.7361.419. PMC 119436. PMID 12193358.
  10. Deer, Brian (22 February 2004). "Revealed: MMR research scandal". The Sunday Times. London. สืบค้นเมื่อ 16 February 2017. {{subscription required}~}
  11. McKee, Maggie (4 March 2004). "Controversial MMR and autism study retracted". New Scientist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2007. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
  12. "MMR doctor 'to face GMC charges'". BBC News. 12 June 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2007. สืบค้นเมื่อ 10 August 2007.
  13. Ferriman A (March 2004). "MP raises new allegations against Andrew Wakefield". BMJ. 328 (7442): 726. doi:10.1136/bmj.328.7442.726-a. PMC 381348. PMID 15612092.
  14. Deer, Brian. "General Medical Council, Fitness to Practise Panel Hearing, 28 January 2010, Andrew Wakefield, John Walker-Smith & Simon Murch" (PDF). briandeer.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2010. สืบค้นเมื่อ 6 January 2011.