แม่น้ำยาลฺวี่

พิกัด: 39°52′N 124°19′E / 39.867°N 124.317°E / 39.867; 124.317
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แม่น้ำยาลู่)
แม่น้ำยาลฺวี่ (อัมนก)
ที่ตั้งของแม่น้ำยาลฺวี่
ที่มาของชื่อภาษาแมนจู: "ชายแดนระหว่างสองประเทศ"
ที่ตั้ง
ประเทศจีน และเกาหลีเหนือ
มณฑล/จังหวัดจี๋หลิน, เหลียวหนิง (จีน), รยังกัง, ชากัง, พย็องอันเหนือ, เขตบริหารพิเศษชินอึยจู (เกาหลีเหนือ)
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำทะเลสาบสวรรค์ตอนใต้, ชายแดนจีน-เกาหลีเหนือ, ภูเขาแพ็กดู
 • พิกัดภูมิศาสตร์41°58′8″N 128°4′24″E / 41.96889°N 128.07333°E / 41.96889; 128.07333
ปากน้ำอ่าวเกาหลี
 • พิกัด
39°52′N 124°19′E / 39.867°N 124.317°E / 39.867; 124.317
ความยาว790 กิโลเมตร (490 ไมล์)
แม่น้ำยาลฺวี่
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ绿
ชื่อภาษาเกาหลี
โชซ็อนกึล
ฮันจา
ชื่อภาษาแมนจู
อักษรแมนจู ᠶᠠᠯᡠ ᡠᠯᠠ
อักษรโรมันYalu ula

แม่น้ำยาลฺวี่ (จีนตัวย่อ: 鸭绿江; จีนตัวเต็ม: 鴨綠江; พินอิน: Yālǜ Jiāng; อังกฤษ: Yalu River) หรือ แม่น้ำอัมนก (เกาหลี압록강; ฮันจา鴨綠江; อาร์อาร์Amnokkang; เอ็มอาร์Amnokgang; อังกฤษ: Amnok River) เป็นแม่น้ำที่เป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างจีน และเกาหลีเหนือ และมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์เกาหลีอย่างมาก

ภูมิศาสตร์[แก้]

จุดเริ่มต้นของแม่น้ำที่ความสูง 2,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลบนภูเขาแพ็กดูบนพรมแดนระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำไหลลงใต้สู่เขตเมืองฮเยซาน (혜산시) ก่อนจะเลี้ยวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร ถึงเขตเมืองหลินเจียง (临江市) จากนั้นวกกลับลงทางใต้เป็นระยะอีก 300 กิโลเมตร เพื่อไหลลงสู่อ่าวเกาหลี ระหว่างเมืองตานตง (丹东市) และเมืองชินอึยจู (신의주시) โดยเป็นเส้นกั้นพรมแดนของมณฑลจี๋หลิน และมณฑลเหลียวหนิงของประเทศจีน กับจังหวัดรยังกังจังหวัดชากัง จังหวัดพย็องอันเหนือ และเขตบริหารพิเศษชินอึยจูของประเทศเกาหลีเหนือ

แม่น้ำมีความยาว 795 กิโลเมตร (494 ไมล์) โดยลุ่มแม่น้ำมีขนาดกว่า 30,000 ตารางกิโลเมตร แควที่สำคัญที่สุดของแม่น้ำยาลฺวี่ได้แก่แม่น้ำในประเทศเกาหลีเหนือคือ แม่น้ำชางจิน (장진강; 長津江), แม่น้ำฮอชอน (허천강; 虛川江), แม่น้ำทกโร (독로강; 禿魯江) และแม่น้ำในประเทศจีนคือ แม่น้ำอ้าย (璦河) และแม่น้ำหุน (浑江) ตลอดความยาวส่วนใหญ่ของแม่น้ำไม่สามารถเดินเรือได้สะดวก[1] โดยแม่น้ำส่วนใหญ่จะกลายเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาวและสามารถเดินเท้าข้ามฝั่งได้[2]

ความลึกของแม่น้ำยาลฺวี่อยู่ระหว่างส่วนที่ตื้นบางพื้นที่ทางด้านตะวันออกของเมืองฮเยซานมีความลึก 1 เมตร (3 ฟุต 3 นิ้ว) ไปจนถึงส่วนที่ลึกของแม่น้ำใกล้ทะเลเหลืองมีความลึก 2.5 เมตร (8 ฟุต 2 นิ้ว)[3] ปากแม่น้ำเป็นที่ตั้งของพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นกแม่น้ำอัมนก ซึ่งประกาศโดยองค์กรอนุรักษ์นกสากล (Birdlife International)[4]

เกาะในแม่น้ำยาลฺวี่มีประมาณ 205 เกาะ ตามสนธิสัญญาพรมแดนจีน–เกาหลีเหนือ ค.ศ. 1962 แบ่งอาณาเขตของเกาะตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแต่ละเกาะ เกาหลีเหนือครอบครอง 127 เกาะและจีน 78 เกาะ เนื่องจากเกณฑ์การแบ่งทำให้เกาะบางเกาะเช่นเกาะฮวางกึมพยอง (황금평도) เป็นของเกาหลีเหนือแม้ที่ตั้งจะอยู่ติดกับฝั่งประเทศจีน

ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ในอดีตแม่น้ำแห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรโครยอ ได้ก่อตั้งราชธานีแคซอง (ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตจิอัน) และสร้างป้อมปราการตลอดแนวแม่น้ำ[5]

ก่อนจะถูกรัฐประหารในเวลาต่อมาโดยขุนศึกคนสำคัญของอาณาจักรคือ อี ช็องเกย (ภายหลังมีชื่อว่า พระเจ้าแทโจ แห่งโชชอน) และสถาปนาราชวงศ์โชชอนในเวลาต่อมา โดยจุดที่ อี ซ็องเกย ได้หันทัพกลับแคซองก่อนจะกลับไปรัฐประหารคือเกาะวีฮวากลางแม่น้ำ[6]

แม่น้ำสายนี้เป็นยังเป็นจุดทางยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและเกาหลี ในสงครามหลายครั้งได้แก่

ยุทธการที่แม่น้ำยาลวี่​ ค.ศ. 1894 ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

ยุทธการที่แม่น้ำยาลวี่​ ค.ศ. 1904 ในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

ยุทธการใกล้แม่น้ำยาลวี่​ ค.ศ. 1950 สงครามเกาหลี

ยุคที่ถูกปกครองโดยญี่ปุ่น (ค.ศ. 1910–1945) ทางตอนไต้ของแม่น้ำได้ถูกเปลี่ยนเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเกือบ 20% ของผลผลิตทางอุตสาหกรรมทั้งหมดของญี่ปุ่นขณะนั้น มาจากนิคมอุตสาหกรรมในเกาหลี

ในสงครามเกาหลี แม่น้ำสายนี้ยังเป็นชนวนที่จีนได้เข้าร่วมสงครามยกกองทัพขนาดใหญ่ข้ามแม่น้ำเข้ามาในสมรภูมิ หลังจากกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติละเลยคำเตือนของจีนได้เคลื่อนพลเข้าใกล้แม่น้ำ ณ ตอนนั้นการสู้รบทำให้สะพานถูกทำลายเหลือเพียงสะพานเดียวซึ่งในปัจจุบันเป็นสะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างซึนอึยจู ประเทศเกาหลีเหนือ และ ตานตง ประเทศจีน

หุบเขาทางตะวันตกของแม่น้ำเป็นจุดที่มีการต่อสู้ทางอากาศระยะประชิด (dogfight) เพื่อครองน่านฟ้าอันโด่งดังซึ่งถูกขนานนามว่า “ตรอกซอยแห่งมิก” เพราะปรากฎเครื่องบินรบ MiG-15 ของฝ่ายจีน รัสเซีย และ เกาหลีเหนือในบริเวณดังกล่าวจำนวนมาก[7]

แม่น้ำแห่งนี้ยังเป็นจุดที่ผู้ลี้ภัยชาวเกาหลีเหนือใช้ข้ามฝั่งไปยังจีน แต่ก็ไม่มากเท่าแม่น้ำตูเมนที่เป็นจุดที่ใช้ในการอพยพข้ามฝั่งมากที่สุด[8]

ตามความเห็นของนักวิชาการ แม่น้ำยาลวี่ถือเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างจีน-เกาหลีที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงตลอดประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1000 ปี[9]

เศรษฐกิจ[แก้]

แม่น้ำสายนี้เป็นที่ตั้งของเขื่อนซุปพุง เขื่อนสำคัญในการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากน้ำและเป็นหนึ่งในเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียมีขนาดสูง 106 เมตร ยาว 460 เมตร โดยสร้างไว้ต้นน้ำก่อนจะถึงเมืองซึนอึยจู ประเทศเกาหลีเหนือ นอกจากนี้แม่น้ำยังเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางโดยเฉพาะสำหรับขนส่งลำเลียงไม้ที่ตัดบริเวณป่าริมแม่น้ำ เป็นแหล่งประมงสำหรับคนท้องถิ่น ปลายน้ำต่อเขื่อนซุปพุงคือเขื่อนไตพิงวัน ส่วนเขื่อนที่อยู่ต้นน้ำต่อเขื่อนซุปพุงคือเขื่อนอันบอง โดยทั้งหมดเป็นเขื่อนที่ผลิตไฟฟ้าได้

บริเวณปากแม่น้ำเหนือตานตงใกล้กับเมืองฮูชานเป็นชุมชนเกาหลีเหนือซึ่งมีสภาพยากจนและไม่มีไฟฟ้าใช้[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sediments in Korea Bay and Incheon Bay, North and South Korea". www.eosnap.com. 25 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2021.
  2. "A trip to the North Korea-China border, in photos". NK News. 29 พฤษภาคม 2015.
  3. "Yalu River | river, Asia". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2021.
  4. "Amrok River estuary". Important Bird Areas factsheet. BirdLife International. 2013. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2013.
  5. World Heritage Centre. "Capital Cities and Tombs of the Ancient Koguryo Kingdom" (ภาษาอังกฤษ). UNESCO/WHC.
  6. "What Is Hwanggumpyong Island?". english.chosun.com (ภาษาอังกฤษ). Chosunilbo. 10 มิถุนายน 2011.
  7. Zhang, Shu Guang (1995). Mao's military romanticism: China and the Korean War, 1950–1953. Modern war studies. Lawrence (Kan.): University press of Kansas. ISBN 978-0-7006-0723-5.
  8. Asian Boss. What North Korean Defectors Think Of North Korea | STAY CURIOUS #1. ghostarchive.org.
  9. "Oldest border in the world". koreatimes (ภาษาอังกฤษ). 5 เมษายน 2020.
  10. "We took a boatride on the Yalu River across the Sino-Korean Border. Here's what we saw". Visit North Korea (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 พฤศจิกายน 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มีนาคม 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]