ม็อบฉับพลัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แฟลชม็อบ)
แฟลชม็อบแสดงการต่อสู้ด้วยหมอน ในดาวน์ทาวน์ของโตรอนโต (พ.ศ. 2548) เพื่อให้ผู้คนที่ผ่านไปมาประหลาดใจ

ม็อบฉับพลัน หรือทับศัพท์ว่า แฟลชม็อบ (อังกฤษ: flash mob หรือ flashmob)[1] คือการรวมตัวของกลุ่มคนในสถานที่หนึ่งอย่างฉับพลัน เพื่อแสดงสิ่งแปลกตาและดูเหมือนไม่มีจุดมุ่งหมายในช่วงระยะเวลาอันสั้น จากนั้นจึงสลายตัว มักจะทำเพื่อจุดประสงค์การบันเทิง การล้อเลียน หรือการแสดงออกทางศิลปะ[2][3] แฟลชม็อบเกิดขึ้นโดยการนัดกันผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม เครือข่ายสังคม หรือการส่งอีเมลต่อ ๆ กัน[4][5]

ศัพท์คำนี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยทั่วไปไม่ได้ใช้กับเหตุการณ์หรือการแสดงที่จัดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง (เช่น การประท้วง) การโฆษณาเชิงพาณิชย์ การจัดฉากโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์ หรือผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการว่าจ้าง[6][7] กรณีถ้ามีจุดประสงค์ที่ได้วางแผนไว้เพื่อกิจกรรมทางสังคมดังกล่าวจะเรียกว่า สมาร์ตม็อบ (smart mob) แทน

ในปี 2563 การจัดกิจกรรม แฟลชม็อบ เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทย โดยใช้กิจกกรมดังกล่าวเพื่อแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง และมีการกระจายตัวตามสถานที่ราชการและสถานที่สำคัญ ต่าง ๆ ทั่วประเทศ[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Facebook flashmob shuts down station". CNN.com. February 9, 2009.
  2. "Va-va-voom is in the dictionary". BBC. July 8, 2004. สืบค้นเมื่อ May 5, 2010.
  3. "Mixed feelings over Philadelphia's flash-mob curfew". BBC. August 12, 2011.
  4. Carey, James. Communication as Culture: Essays on Media and Society (New York: Unwin Hyman, 1989).
  5. Sandra Shmueli (August 8, 2003). "'Flash mob' craze spreads". CNN.
  6. "Manifestul Aglomerarilor Spontane / A Flashmob Manifesto". December 5, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ December 27, 2011.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. Ed Fletcher (December 23, 2010). "Failed choral 'flash mob' may not have qualified for term". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ December 30, 2010.
  8. "แฟลชม็อบที่ธนาธรบอก คืออะไร มีที่มาที่ไปยังไง". posttoday.com.