แบงท์ เอ็ดเลียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบงท์ เอ็ดเลียน (ขวา) กับสมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน

แบงท์ เอ็ดเลียน (สวีเดน: Bengt Edlén; 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 190610 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993) เป็นทั้งศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และนักดาราศาสตร์ชาวสวีเดนผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านสเปกโทรสโกปี เขาได้เข้าร่วมในการแก้ ปริศนาโคโรนา ซึ่งเป็นเส้นเงาที่ไม่สามารถระบุได้ในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์ โดยเชื่อกันอย่างคร่าวๆว่าน่าจะมาจากธาตุไม่ปรากฏชื่อมาจนบัดนี้โดยเรียกว่าโคโรเนียม ในภายหลัง แบงท์ เอ็ดเลียน ได้แสดงให้เห็นว่าเส้นเหล่านั้นมาจากการแตกตัวของเหล็กที่แตกตัวเป็นไอออน (Fe-XIV) การค้นพบของเขาไม่ได้รับการยอมรับในทันที ตั้งแต่ไอออนไนซ์ได้รับการอ้างอิงว่าต้องมีอุณหภูมิที่ล้านองศา หลังจากนั้นอุณภูมิของโคโรนาดวงอาทิตย์ก็ได้รับการตรวจสอบ

นอกจากนี้ เขายังมีผลงานสำคัญในการวิเคราะห์สเปกตรัมของดาววูล์ฟ-ราเยท์[1][2]

แบงท์ เอ็ดเลียน ได้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยลุนด์ใน ค.ศ. 1944–1973 เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกแห่งราชสำนักวิทยาศาสตร์สวีเดนใน ค.ศ. 1947 เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในนอร์เชอปิงใน ค.ศ. 1926 และได้เข้ามหาวิทยาลัยอุปซอลากระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกใน ค.ศ. 1934 [3]

แบงท์ เอ็ดเลียน ได้รับเหรียญทองจากสมาคมดาราศาสตร์หลวงใน ค.ศ. 1945 สำหรับการแก้ปริศนาโคโรนา, [4] เหรียญฮาวเวิร์ด เอ็น. พ็อตส์ ใน ค.ศ. 1946 สำหรับการวิจัยรังสีอัลตร้าไวโอเลตไกลสุด[5] และเหรียญเฮนรี เดรเปอร์ของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา[6] ใน ค.ศ. 1968

อ้างอิง[แก้]

  1. Beals, C. S. (1933). "Classification and temperatures of Wolf-Rayet stars". The Observatory. 56: 196–197. Bibcode:1933Obs....56..196B.
  2. Swings, P. (1942). "The Spectra of Wolf-Rayet Stars and Related Objects". Astrophysical Journal. 95: 112–133. Bibcode:1942ApJ....95..112S. doi:10.1086/144379.
  3. Hockey, Thomas (2009). The Biographical Encyclopedia of Astronomers. Springer Publishing. ISBN 978-0-387-31022-0. สืบค้นเมื่อ August 22, 2012.
  4. "Winners of the Gold Medal of the Royal Astronomical Society". Royal Astronomical Society. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.
  5. "The Franklin Institute Awards - Laureate Search". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  6. "Henry Draper Medal". National Academy of Sciences. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]