แซนซิบาร์

พิกัด: 05°54′S 39°18′E / 5.900°S 39.300°E / -5.900; 39.300
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่ตั้งของแซนซิบาร์ริมชายฝั่งประเทศแทนซาเนีย

แซนซิบาร์ (อังกฤษ: Zanzibar; สวาฮีลี: Zanzibar; อาหรับ: زنجبار, อักษรโรมัน: zanjibār) คือภูมิภาคเกาะกึ่งปกครองตนเองที่รวมเข้ากับแทนกันยีกาใน ค.ศ. 1964 เพื่อสถาปนาสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย โดยเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอินเดียที่อยู่ห่างจากแอฟริกาแผ่นดินใหญ่ 25–50 km (16–31 mi) และประกอบด้วยเกาะเล็กหลายแห่งกับเกาะใหญ่สองแห่ง คือ: อุงกูจา (เกาะหลัก, นิยมเรียกว่าเกาะแซนซิบาร์) แลพเกาะเพมบา แซนซิบาร์ซิตี เมืองหลักของแซนซิบาร์ ตั้งอยู่บนเกาะอุงกูจา และสโตนทาวน์ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งมรดกโลก

อุตสาหกรรมหลักของแซนซิบาร์คือเครื่องเทศ, แรฟเฟีย และการท่องเที่ยว[1] เครื่องเทศหลักที่ผลิตได้แก่กานพลู จันทน์เทศ อบเชย และพริกไทย การท่องเที่ยวในแซนซิบาร์เป็นกิจกรรมล่าสุดที่รัฐบาลเข้ามาสนับสนุน ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 19,000 คนใน ค.ศ. 1985[2] ไปเป็น 376,000 คนใน ค.ศ. 2016[3] ตัวหมู่เกาะเข้าถึงได้ผ่านท่าเรือ 5 แห่ง และท่าอากาศยานนานาชาติอาเบด อามานี คารูเมที่สามารถรองรับผู้โดยสารถึง 1.5 ล้านคนต่อปี[4]

ระบบนิเวศทางทะเลของแซนซิบาร์เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสาหร่าย (algaculture) และมีระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งอนุบาลปลาสำหรับประชากรปลาในมหาสมุทรอินเดีย ที่มากไปกว่านั้น ระบบนิเวศบนบกที่เป็นอยู่ของ Zanzibar red colobus กับ Zanzibar servaline genet สัตว์เฉพาะถิ่น และเสือดาวแซนซิบาร์ สัตว์ที่หายากหรือสูญพันธ์ุแล้ว[5][6] ความกดดันจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการประมง เช่นเดียวกันกับภัยขนาดใหญ่กว่าอย่างการเพิ่มของระดับน้ำทะเลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค[7]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

คำว่า Zanzibar มาจากภาษาอาหรับว่า ซันญิบาร (زنجبار [zandʒibaːr]) ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียว่า แซงบอร์ (زنگبار [zæŋbɒːɾ]) โดยเป็นคำประสมของ แซง (زنگ [zæŋ], "ดำ") + บอร์ (بار [bɒːɾ], "ชายฝั่ง")[8][9][10] เทียบกับ ทะเลซันจญ์ ชื่อนี้เป็นหนึ่งในชื่อสถานที่หลายชื่อที่มีต้นกำเนิดคำที่คล้ายกัน โดยหมายถึง "ดินแดนคนผิวดำ" หรือความหมายที่คล้ายกัน ซึ่งสื่อถึงผู้อยู่อาศัยที่มีผิวดำ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Exotic Zanzibar and its seafood". 21 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2011. สืบค้นเมื่อ 11 June 2011.
  2. Lange, Glenn-Marie (2015-02-01). "Tourism in Zanzibar: Incentives for sustainable management of the coastal environment". Ecosystem Services. Marine Economics and Policy related to Ecosystem Services: Lessons from the World's Regional Seas (ภาษาอังกฤษ). 11: 5–11. doi:10.1016/j.ecoser.2014.11.009. ISSN 2212-0416.
  3. Yussuf, Issa (19 April 2017). "Tanzania: Number of Tourists to Zanzibar Doubles As Tourist Hotels Improve Service Delivery". allAfrica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2017. สืบค้นเมื่อ June 4, 2019.
  4. "Zanzibar forms Airports Authority, modernises aviation infrastructure". Business Times (Tanzania). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013.
  5. Li, Joanna (2018-06-07). "Zanzibar Leopard Captured on Camera, Despite Being Declared Extinct". Inside Edition. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-08-16.
  6. Seaburn, Paul (2018-06-12). "Extinct 'Evil' Zanzibar Leopard Seen Alive in Tanzania". Mysterious Universe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-06-26.
  7. Khamis, Zakaria A.; Kalliola, Risto; Käyhkö, Niina (2017-11-15). "Geographical characterization of the Zanzibar coastal zone and its management perspectives". Ocean & Coastal Management (ภาษาอังกฤษ). 149: 116–134. Bibcode:2017OCM...149..116K. doi:10.1016/j.ocecoaman.2017.10.003. ISSN 0964-5691. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2021. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  8. Harper, Douglas. "zanzibar". Online Etymology Dictionary.
  9. Richard F. Burton (2010). The Lake Regions of Central Africa. New York: Cosimo, Inc. p. 38. ISBN 978-1-61640-179-5.
  10. Mehrdad Shokoohy (2013). Muslim Architecture of South India: The Sultanate of Ma'bar and the Traditions of Maritime Settlers on the Malabar and Coromandel Coasts (Tamil Nadu, Kerala and Goa). New York: Routledge. p. 137. ISBN 978-1-136-49977-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2023. สืบค้นเมื่อ 10 July 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

05°54′S 39°18′E / 5.900°S 39.300°E / -5.900; 39.300