เอดา เลิฟเลซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะไรต์ออนะระเบิล
เคาน์เตสแห่งเลิฟเลซ
The Countess of Lovelace
เอดา เลิฟเลซ (พ.ศ. 2358-2395)
เกิด10 ธันวาคม ค.ศ. 1815(1815-12-10)
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1852(1852-11-27) (36 ปี)
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
สัญชาติอังกฤษ
บุพการี

ออกัสตา เอดา คิง เคานต์เตสแห่งเลิฟเลซ (อังกฤษ: Augusta Ada King, Countess of Lovelace) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักเขียนชาวอังกฤษ ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก[1]

ประวัติ[แก้]

เอดาเป็นธิดาคนเดียวของของลอร์ดไบรอนที่ 6 กวีผู้มีชื่อเสียงและเลดี้ไบรอน นักคณิตศาสตร์[2] เธอเกิดเมื่อปีค.ศ. 1815 หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ก็แยกทางกัน แม่ของเอดาจึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ เธอได้รับการศึกษาในด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ผิดแปลกจากสตรีชนชั้นสูงทั่วไป

พออายุสิบเจ็ดปี มีผู้แนะนำให้เอดารู้จักกับอาจารย์ซัมเมอร์วิลล์แห่งเคมบริดจ์ สตรีเก่งแห่งยุคที่เคยแปลงานของปีแยร์-ซีมง ลาปลัส มาเป็นภาษาอังกฤษ เอดาจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนีจนได้รู้จักกับชาลส์ แบบบิจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ในที่สุด ในงานวันนั้น ตอนที่แบบบิจกล่าวว่า "จะเป็นอย่างไรถ้าเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถคิดผล แต่สามารถประมวลผลนั้นได้ด้วย"[3] แต่ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบบิจเลย มีเพียงเอดาที่รู้สึกสนใจแนวคิดนี้ จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือการสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์[4] (analytical engine) ของแบบบิจ

หลังจากนั้นไม่นาน เอดาได้แต่งงานกับท่านเอิร์ลแห่งเลิฟเลซและมีบุตรด้วยกันสามคน ในช่วงสิบปีทั้งเอดาและแบบบิจยังเป็นเพื่อนกันทางจดหมาย และแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเครื่องวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ โดยจดหมายของทั้งสองถูกเก็บไว้อย่างดีในยุคนี้ เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย (ทั้งเรื่องจริง และจินตนาการ) เช่น เอดาบอกว่า เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้ จะมีความสามารถที่จะแต่งเพลงที่ซับซ้อน สร้างภาพกราฟิก นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้ ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำแบบบิจว่า ให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมืออันนี้ ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา

ต่อมา แผนการทำงานที่แบบบิจเขียนขึ้นมาชิ้นนั้น ก็ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เอดาก็ช่วยเขียนบรรยาย รายละเอียดการทำงานของเครื่องวิเคราะห์ แต่สุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหา และเธอเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมดลูก ในปี พ.ศ. 2395 เมื่ออายุได้ 36 ปี ซึ่งเป็นวัยเดียวกับที่บิดาของเธอเสียชีวิต[5]

ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เอดาได้รู้จัก และอาสาช่วยงาน พร้อมทั้งอุปการะ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ รวมทั้งนักเขียนหลายคน เช่น เซอร์ เดวิด บริวสเตอร์ คนคิดคาไลโดสโคป, ชาลส์ วีตสตัน, ชาลส์ ดิกคินส์, และ ไมเคิล ฟาราเดย์

ในปีค.ศ. 1979 กระทรวงกลาโหมสหรัฐ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านหญิงเอดาว่า ภาษา "ADA"

อ้างอิง[แก้]

  1. J. Fuegi and J. Francis, "Lovelace & Babbage and the creation of the 1843 'notes'". IEEE Annals of the History of Computing 25 No. 4 (October–December 2003): 16–26. Digital Object Identifier
  2. "Ada Lovelace Biography". biography.com.
  3. what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight
  4. Fuegi J, Francis J (October–December 2003). "Lovelace & Babbage and the creation of the 1843 'notes'". Annals of the History of Computing. 25 (4): 16–26. doi:10.1109/MAHC.2003.1253887. See pages 19, 25
  5. "December 1852 1a * MARYLEBONE – Augusta Ada Lovelace", Register of Deaths, GRO.