เหตุการณ์ยึดมัสยิดอัลฮะรอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุการณ์ยึดมัสยิดอัลฮะรอม

ทหารซาอุดีกำลังโจมตีที่ชั้นใต้ดินของมัสยิดอัลฮะรอม ค.ศ. 1979
วันที่20 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม ค.ศ. 1979
สถานที่
ผล

ฝ่ายซาอุดีอาระเบียชนะโดยเด็ดขาด

คู่สงคราม

ซาอุดีอาระเบีย

ปากีสถาน

อัลอิควาน[2]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
  • ซาอุดีอาระเบีย c. 10,000 Saudi National Guard members
  • ปากีสถาน หน่วยคอมมานโด 50 นาย[1]
ทหาร 300–600 นาย[3]
ความสูญเสีย
  • ถูกฆ่า 127 คน[4]
  • บาดเจ็บ 451 คน
  • ถูกฆ่า 117 คน[5]
  • ไม่ทราบจำนวนผู้บาดเจ็บ
  • ถูกประหารชีวิต 68 คน

เหตุการณ์ยึดมัสยิดอัลฮะรอม เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ค.ศ. 1979 เมื่อกลุ่มหัวรุนแรงต้องการที่จะโค่นราชวงศ์ซะอูด ยึดครองมัสยิดอัลฮะรอม ที่มักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัด อับดุลลอฮ์ อัลเกาะฮ์ตานีได้อ้างว่าตนเป็นมะฮ์ดี (ผู้ฟื้นฟูอิสลาม) แล้วเรียกให้มุสลิมทุกคนเชื่อฟังเขา โดยประมาณสองสัปดาห์ กองกำลังพิเศษของซาอุดีอาระเบียได้รับการสนับสนุนจากกองทัพปากีสถานและฝรั่งเศส[6] แล้วสู้เพื่อยึดมัสยิดกลับคืนมา[7]

เรื่องนี้ทำให้โลกอิสลามตกใจ เพราะมีการยึดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม, นำตัวประกันจากผู้แสวงบุญ และการตายของผู้ก่อการร้าย, กองกำลังรักษาความปลอดภัย และตัวประกันมากกว่าร้อยชีวิต การยึดได้สิ้นสุดลงภายในสองสัปดาห์และมัสยิดได้ถูกทำความสะอาดให้เรียบร้อย[8] อัลเกาะฮ์ตานีถูกฆ่าในระหว่างการจับกุม แต่ญุฮัยมานและผู้ติดตามอีก 67 คนถูกจับแล้วถูกประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะ[9]

หลังจากการโจมตี สมเด็จพระราชาธิบดีคอลิด บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด ทรงตรัสว่าให้เคารพกฎชะรีอะฮ์ (กฎหมายอิสลาม) มากกว่าเดิม[10] พระองค์ทรงแนะนำให้อุลามะและนักอนุรักษ์ศาสนาให้มีกำลังใจ และทหารเข้มงวดมากขึ้น[11]

เบื้องหลัง[แก้]

การยึดครองเริ่มโดยญุฮัยมาน อัล-อุตัยบี โดยที่เขาคิดว่า มุฮัมมัด อับดุลเลาะฮ์ อัลเกาะฮ์ตานี ผู้เป็นน้องเขยจะเป็นมะฮ์ดีคนต่อไป ผู้ที่มายังโลกก่อนวันสิ้นโลก ผู้ติดตามได้อธิบายว่า เขาสมควรเป็นมะฮ์ดีคนต่อไปเพราะชื่อของเกาะฮ์ตานีและพ่อของเขาเป็นชื่อเดียวกันกับศาสดามุฮัมมัดและพ่อของเขา และมีรายงานว่า "คนที่มีชื่อของตนเองและพ่อของเขาจะมีชื่อเดียวกันกับมุฮัมหมัดและพ่อของเขา และเขาจะมาจากทางเหนือของมักกะฮ์" เพื่อยืนยันความเชื่อนี้ วันที่โจมตีจึงเป็นวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 ซึ่งเป็นวันเแรกของ ฮ.ศ. 1400 ตามปฏิทินฮิจเราะห์ แล้วมีการเชื่อมโยงไปยังธรรมเนียมของมุญาดิดที่ว่า บุคคลที่จะทำให้อิสลามกลับคืนดั่งเดิมจะมาทุก ๆ ศตวรรษ[12]

การยึดมัสยิด[แก้]

ในช่วงเช้าของวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 เช็คมุฮัมหมัด อัล-สุบายิล อิหม่ามประจำมัสยิดกำลังเตรียมตัวละหมาดพร้อมกับคนประมาณ 50,000 คน ในช่วงประมาณ 5:00 น. เขาถูกขัดจังหวะโดยการปิดตา ประตูถูกปิดทุกบาน และสังหารตำรวจสองนายที่ติดอาวุธกระบองไม้สำหรับตีคนที่ไม่ฟังพวกเขาเท่านั้น[13] จำนวนผู้ก่อการร้ายมี "อย่างน้อย 500 คน"[14] หรือ "สี่ถึงห้าร้อย" และรวมถึงจำนวนเด็กและผู้หญิงบางคนที่เข้าร่วมกองทหารของ อัล-อุตัยบี

หลังจากนั้นผู้ก่อการร้ายได้ปล่อยตัวประกันส่วนใหญ่และขังส่วนที่เหลือในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พวกเขาจัดกองกำลังป้องกันที่ชั้นบนของมัสยิด และคนยิงสไนเปอร์ที่มินาเร็ต ไม่มีใครที่อยู่ข้างนอกรู้ว่ามีตัวประกันกี่คน ทหารกี่นาย และพวกเขาจัดการตั้งทัพอย่างไร

จำนวนผู้เสียชีวิต[แก้]

มีควันลอยขึ้นจากซอฟา-มัรฺวะฮ์ ค.ศ.1979

การต่อสู้ได้ยืดเยื้อไปกว่าสองสัปดาห์ และมีรายงานทางการว่า "มีนักแสวงบุญ, ทหาร และคนเคร่งในลัทธิ 255 ถูกฆ่า" และ "ได้รับบาดเจ็บไป 560 คน ... อย่างไรก็ตาม นักการทูตได้อธิบายว่าอาจมีจำนวนมากกว่านั้น"[15] กำลังทหารเสียชีวิตไป 127 คน และบาดเจ็บไป 451 คน

ผลที่ตามมา[แก้]

ผู้ต้องขัง, การสอบสวน และการประหาร[แก้]

ผู้รอดชีวิตภายใต้การคุมของทหารซาอุ (ค.ศ. 1979)
ผู้รอดชีวิตภายใต้การคุมของทหารซาอุ (ค.ศ. 1979)

อัล-กอฮ์ตานีถูกฆ่าในระหว่างการจับกุม แต่ญุฮัยมานและผู้ติดตามอีก 67 คนถูกจับแล้วถูกประหารชีวิตโดยการตัดหัว พวกเขาไม่ได้รับการผ่อนปรน พร้อม 7 ข้อหาใหญ่ ดังนี้:

  • สร้างความรุนแรงที่มัสยิด อัล-ฮะรอมอันศักดิ์สิทธิ์
  • สร้างความรุนแรงในเดือนมุฮัรรอมอันศักดิ์สิทธิ์
  • ฆ่าคนมุสลิมและคนอื่น ๆ
  • ไม่เชื่อฟังเจ้าหน้าที่
  • ระงับการละหมาดที่มัสยิด อัล-ฮะรอม
  • อ้างตนเองว่าเป็นมะฮ์ดี
  • มีข้อหาเกี่ยวกับการฆ่าคนบริสุทธิ์[16][17]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Da Lage, Olivier (2006). Géopolitique de l'Arabie Saoudite (ภาษาฝรั่งเศส). Complexe. p. 34. ISBN 2804801217.
  2. Lacey 2009, p. 13.
  3. "THE SIEGE AT MECCA". 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2016. สืบค้นเมื่อ October 17, 2018.
  4. "Pierre Tristam, "1979 Seizure of the Grand Mosque in Mecca", About.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
  5. Riyadh (10 January 1980). "63 Zealots beheaded for seizing Mosque". Pittsburgh Post-Gazette. สืบค้นเมื่อ 12 November 2010.
  6. "How Did the Seizure of the Mosque and Mecca Influence al-Qaeda?". สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
  7. Miller, Flagg (2015). The Audacious Ascetic: What the Bin Laden Tapes Reveal About Al-Qa'ida. Oxford University Press. ISBN 9780190613396. Not since the tenth century had such a maverick crew occupied Islam's holiest sanctuary, and for nearly two weeks Saudi Special Forces assisted by Pakistani and French commandos fought pitched battles to reclaim the compound.
  8. Benjamin, The Age of Sacred Terror (2002) p. 90
  9. Mackey, Sandra. The Saudis: Inside the Desert Kingdom. Updated Edition. Norton Paperback. W.W. Norton and Company, New York. 2002 (first edition: 1987). ISBN 0-393-32417-6 pbk., p. 234.
  10. [1] Wright, Sacred Rage, (2001), p. 155
  11. Lacey, Robert (2009). Inside the Kingdom : Kings, Clerics, Modernists, Terrorists, and the Struggle for Saudi Arabia. Viking. p. 48. `Those old men actually believed that the Mosque disaster was God's punishment to us because we were publishing women's photographs in the newspapers, says a princess, one of Khaled's nieces. The worrying thing is that the king [Khaled] probably believed that as well . . Khaled had come to agree with the sheikhs. Foreign influences and bida'a were the problem. The solution to the religious upheaval was simple--more religion.
  12. Benjamin, The Age of Sacred Terror, (2002) p. 90
  13. Wright, Looming Tower, (2006), p. 101 – softcover
  14. 1979 Makkah – Grand Mosque aka Holy Mosque, Global Security
  15. Wright, Robin B., 1948| Sacred Rage: The Wrath of Militant Islam| Simon & Schuster| c 2001, p. 148
  16. Commins, David (2009). The Wahhabi Mission and Saudi Arabia. I.B.Tauris. p. 168.
  17. Salame, Ghassan (1987). "Islam and politics in Saudi Arabia". Arab Studies Quarterly. ix (3): 321.

บรรณานุกรม[แก้]