เหงียน วัน เถี่ยว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหงียน วัน เถี่ยว
เถี่ยวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2509
ประธานาธิบดีเวียดนามใต้คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
21 ตุลาคม 2510 – 21 เมษายน 2518
นายกรัฐมนตรีเหงียน กาว กี่
เหงียน ฟาน ล็อก
ทราน วัน เฮือง
ทราน เทียน เคียม
เหงียน บา แคน
รองประธานาธิบดีเหงียน กาว กี่ (2510–2514) ทราน วัน เฮือง (2514–2518)
ก่อนหน้าตัวเอง
(ในตำแหน่งประธานคณะกรรมการนำชาติ)
ถัดไปเจิ่น วัน เฮือง
ประธานคณะกรรมการนำชาติ
ดำรงตำแหน่ง
14 มิถุนายน 2508 – 21 ตุลาคม 2510
นายกรัฐมนตรีเหงียน กาว กี่
ก่อนหน้าฟาน คัช ซู
ถัดไปยุบตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน ค.ศ. 1923(1923-04-05)
ฟานซาง-ท้าปจ่าม จังหวัดนิญถ่วน อินโดจีนของฝรั่งเศส
เสียชีวิต29 กันยายน ค.ศ. 2001(2001-09-29) (78 ปี)
บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ
พรรคการเมืองแนวร่วมสังคมประชาธิปไตยแห่งชาติ
คู่สมรสเหงียน ถิ มาย อันห์
บุตรสาม (ลูกชายสอง ลูกสาวหนึ่ง)
วิชาชีพนายทหาร
นักการเมือง
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ รัฐเวียดนาม
เวียดนามใต้
สังกัด กองทัพแห่งรัฐเวียดนาม
กองทัพบกแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม
ประจำการ2486–2510
ยศ พลโท (Trung Tướng)
บังคับบัญชาผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารดาลัต (2499–2503)
ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 (2503–2504)
ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 1 (2504–2505)
ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 (2505–2507)
ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่ 4 (2507–2508)
ผ่านศึกความพยายามรัฐประหารเวียดนามใต้ ค.ศ. 1960
รัฐประหารเวียดนามใต้ ค.ศ. 1963

พลโท เหงียน วัน เถี่ยว (เวียดนาม: Nguyễn Văn Thiệu, ภาษาเวียดนาม: [ŋʷǐənˀ vān tʰîəwˀ] ( ฟังเสียง); 5 เมษายน พ.ศ. 2466 – 29 กันยายน พ.ศ. 2544) เป็นประธานาธิบดีของเวียดนามใต้ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 จนถึง พ.ศ. 2518[1][2] เขาลี้ภัยออกนอกประเทศไปก่อนที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์จะยึดประเทศได้ เสียชีวิตเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2544 ด้วยโรคหลอดเลือดสมอง

ประวัติ[แก้]

เถี่ยวเกิดเมื่อ 5 เมษายน พ.ศ. 2466 ในครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เข้าทำงานในกองทัพรัฐบาลฝรั่งเศส ผ่านการฝึกจากสถาบันการทหารแห่งชาติ ที่เมืองเว้ และรับรัฐการทหารต่อมาในสมัยของโง ดิ่ญ เสี่ยมที่เป็นประธานาธิบดี

ต่อมา เหงียน วัน เถี่ยว เป็นหนึ่งในคณะรัฐประหารที่โค่นล้มเสี่ยมในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ทำให้เขาได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีและได้เป็นประธานาธิบดีในที่สุด ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง เหงียน วัน เถี่ยวต่อต้านการเจรจากับฝ่ายคอมมิวนิสต์หรือเวียดนามเหนือ และไม่ยอมให้ข้อตกลงระหว่างเวียดนามเหนือและสหรัฐฯที่ไม่เป็นทางการรวมเข้าในข้อตกลงสันติภาพปารีสว่าด้วยเวียดนามในเดือนมกราคม พ.ศ. 2516 อย่างไรก็ตามเขาตัดสินใจผิดพลาด ทำให้กองทัพเวียดนามใต้ถอยทัพหลังการโจมตีที่บวนมาถวตในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ถึงจะมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยแต่ก็ทำให้เวียดนามใต้พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงและรัฐบาลของเขาต้องล้มไป

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

เถี่ยวเกิดที่ฟานซาง เป็นบุตรของเจ้าของที่ดินรายเล็ก ฐานะดี ที่กาเงินจากเกษตรกรรมและประมง เถี่ยวเป็นบุตรคนสุดท้องจากลูก ๆ ทั้ง 5 คน[3] บางรายงานระบุว่าเถี่ยวเกิดในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 แต่กลับใช้วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2466 แทน เนื่องจากวันเกิดที่สองนั้นเป็นมงคลยิ่งกว่า[4] บรรดาพี่ชายหาเงินเพื่อให้เขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนชนชั้นนำที่ดำเนินกิจการโดยฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมเวียดนามในขณะนั้น[4] ถึงแม้ว่าในตอนนั้นยังไม่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก (เขาเปลี่ยนศาสนาหลังแต่งงาน) เถี่ยวเข้าเรียนที่เพลเลริน ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิกของฝรั่งเศสที่เว้ และกลับบ้านเกิดหลังเรียนเสร็จ[5]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรวรรดิญี่ปุ่นบุกรุกอินโดจีนของฝรั่งเศสและควบคุมบริเวณนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นเข้ายึดครองจังหวัดนิญถ่วนใน พ.ศ. 2485 แต่ปฏิกิริยาจากคนในท้องที่กลับเงียบสงัด และเถี่ยวทำงานในทุ่งข้าวกับพ่ออีก 3 ปี[3]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ใน พ.ศ. 2494 เถี่ยวแต่งงานกับ เหงียน ถิ มาย อันห์ ลูกสาวของผู้ประกอบการเวชสมุนไพรวิทยาที่ร่ำรวยจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เธอนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และเถี่ยวหันมานับถือศาสนานี้ใน พ.ศ. 2501 นักวิจารณ์อ้างว่าที่เขาทำเช่นนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการขึ้นยศทหาร เนื่องจากโง ดิ่ญ เสี่ยมสนับสนุนคนที่นับถือโรมันคาทอลิก[4][6] ทั้งคู่มีลูกชายสองคนและลูกสาวคนเดียว[7]

เครื่องอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์เวียดนามใต้[แก้]

โดยจะเรียงลำดับเกียรติที่สูงไปหาต่ำ[8]

  • เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นประถมาภรณ์
  • เหรียญบุญญาภินิหารทหาร
  • เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารบก)
  • เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารอากาศ)
  • เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารเรือ)
  • เหรียญสรรเสริญราชการ (ทหารบก)
  • แกลแลนทรี่ครอส ประดับใบปาล์ม (ใบปาร์ม 3 ใบ)
  • เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียด ชั้นที่ 1
  • เหรียญแห่งความประพฤติดี ชั้นที่ 2
  • เหรียญรณรงค์เวียดนาม
  • เหรียญรับราชการทหาร ชั้นที่ 2

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ronald B. Frankum Jr. Historical Dictionary of the War in Vietnam, 2011 p.331 "Nguyễn Văn Thiệu"
  2. Bruce M. Lockhart, William J. Duiker The A to Z of Vietnam, 2010, p.283. "Nguyễn Văn Thiệu"
  3. 3.0 3.1 Lamb, David (1 October 2001). "Nguyen Van Thieu, 78; S. Vietnam's President". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
  4. 4.0 4.1 4.2 Butterfield, Fox (1 October 2001). "Nguyen Van Thieu Is Dead at 76; Last President of South Vietnam". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
  5. "Nguyen Van Thieu". The Daily Telegraph. UK. 1 October 2001. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
  6. "South Viet Nam: A Vote for the Future". Time. 15 September 1967.
  7. Stowe, Judy (2 October 2001). "Nguyen Van Thieu". The Independent. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2009. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
  8. รายชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์เวียดนามใต้
  • ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548. หน้า 295

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]