เลิฟสตอรี (เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"เลิฟสตอรี"
ภาพหน้าปกซิงเกิล "เลิฟสตอรี" โดยเทย์เลอร์ สวิฟต์ ซึ่งมีภาพของเทย์เลอร์ สวิฟต์ในผมถักเปียและชุดรัดตัวสีขาว
ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
จากอัลบั้มเฟียร์เลส
วางจำหน่าย15 กันยายน ค.ศ. 2008 (2008-09-15)
บันทึกเสียงมีนาคม 2008
สตูดิโอแบล็กเบิร์ด (แนชวิลล์)
แนวเพลงคันทรีป็อป
ความยาว3:57
ค่ายเพลงบิกมะชีน
ผู้ประพันธ์เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์
โปรดิวเซอร์
ลำดับซิงเกิลของเทย์เลอร์ สวิฟต์
"ชูดัฟเซดโน"
(2008)
"เลิฟสตอรี"
(2008)
"ไวต์ฮอร์ส"
(2008)
มิวสิกวิดีโอ
"เลิฟสตอรี" ที่ยูทูบ

"เลิฟสตอรี" (อังกฤษ: Love Story) เป็นเพลงของนักร้องนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ เพลงเขียนโดยสวิฟต์ และผลิตโดยนาธาน แชปแมน ร่วมกับสวิฟต์ เพลงออกจำหน่ายในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2008 ผ่านสังกัดบิกแมชีนเรเคิดส์ เป็นซิงเกิลนำของสตูดิโออัลบั้มที่สองของสวิฟต์ เฟียร์เลส (2008) เนื้อเพลงเล่าเรื่องเกี่ยวกับคนรักของสวิฟต์ที่ไม่เป็นที่นิยมในครอบครัวและเพื่อน ๆ ของเธอ จากเหตุการณ์จำลองดังกล่าว สวิฟต์นำบทกวี โรเมโอและจูเลียต (1597) ของวิลเลียม เชกสเปียร์ มาใช้เป็นแรงบันดาลใจแต่งเพลงนี้ อย่างไรก็ตาม แทนที่จะจบด้วยเนื้อหาโศกนาฎกรรม เธอแทนที่ด้วยฉากจบแบบมีความสุข (happy ending) เพลงมีจังหวะปานกลาง เสียงร้องแบบโซปราโนเหมือนฝัน ขณะที่เสียงดนตรีเพลงค่อย ๆ ดังขึ้นต่อเนื่อง เนื้อเพลงบอกเล่าจากมุมมองของจูเลียต

เพลงประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยนักวิจารณ์ชื่นชมรูปแบบการเขียนเพลงของสวิฟต์ และเนื้อเรื่องในเพลง เพลงยังประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ ขายได้มากกว่า 8 ล้านซิงเกิลทั่วโลก กลายเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล ในสหรัฐ เพลงขึ้นอันดับที่สี่บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 และขายได้ 5.8 ล้านซิงเกิลผ่านดิจิทัลดาวน์โหลด กลายเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดของสวิฟต์นับถึงปัจจุบัน และเป็นซิงเกิลดาวน์โหลดของนักร้องคันทรีหญิงเดี่ยวที่ขายดีที่สุดด้วย เพลงยังเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดในสหรัฐ และเคยเป็นซิงเกิลคันทรีดิจิทัลที่ขายดีที่สุดตลอดกาลด้วย ซิงเกิลได้รับการรับรองระดับแพลตินัม 8 ครั้งจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) ในต่างประเทศ "เลิฟสตอรี" เป็นซิงเกิลอันดับหนึ่งเพลงแรกในประเทศออสเตรเลีย ตามด้วย "เชกอิตออฟ" ใน ค.ศ. 2014 เพลงได้รับการรับรองระดับแพลตินัม 3 ครั้งจากสมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงออสเตรเลีย (ARIA) เพลงเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดทั่วโลก ยอดขายมากกว่า 8 ล้านซิงเกิล (จากข้อมูลของสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ หรือ IFPI)

มิวสิกวิดีโอกำกับโดยเทรย์ แฟนจอย ซึ่งเคยกำกับวิดีโอให้กับสวิฟต์แล้วหลายเพลง วิดีโอเป็นละครอิงประวัติศาสตร์ที่มีอิทธิพลจากสมัยกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และสมัยรีเจนซีของอังกฤษ (1813) เนื้อเรื่องติดตามสวิฟต์และนักแสดง จัสติน แกสตัน ขณะพบกันที่มหาวิทยาลัยและจินตการตนอยู่ในยุคเก่า "เลิฟสตอรี" ได้รับการสนับสนุนผ่านการแสดงสดหลายครั้ง เพลงนี้ถูกรวมในทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่ 1-4 ของสวิฟต์ ได้แก่ เฟียร์เลสทัวร์ (2009–10) สปีกนาวเวิลด์ทัวร์ (2011–12) เดอะเรดทัวร์ (2013–14) และ เดอะ 1989 เวิลด์ทัวร์ (2015) ตามลำดับ "เลิฟสตอรี" ยังถูกนำไปร้องใหม่โดยศิลปินหลายคน รวมถึงโจ แม็กเอลเดอร์รี และฟอร์เอฟเวอร์เดอะซิกเคสต์คิดส์

การแต่งเพลงและแรงบันดาลใจ[แก้]

เพลง "เลิฟสตอรี" เกิดขึ้นช่วงท้ายการผลิตอัลบั้มเฟียร์เลส[1] สวิฟต์แต่งเพลง "เลิฟสตอรี" เล่าเรื่องเกี่ยวกับผู้ชายคนหนึ่ง เธอไม่เคยคบหาเขาจริงจัง เธอแนะนำเขาให้ครอบครัวและเพื่อน ๆ รู้จัก แต่ครอบครัวและเพื่อน ๆ ต่างไม่ปลื้มชายคนนี้[2] "สถานการณ์กับเขานั้นค่อนข้างซับซ้อน แต่ฉันไม่สนใจ" สวิฟต์กล่าว[3] สวิฟต์ยังรู้สึกว่าเป็นครั้งแรกที่เธอเชื่อมโยงเนื้อเพลงเข้ากับบทละครโรเมโอและจูเลียต ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ซึ่งเป็นบทละครที่เธอโปรดปราน เธออธิบายว่า "คนที่อยากให้พวกเขาอยู่ด้วยกันก็คือพวกเขาเอง"[2] เธอได้แนวคิดเกี่ยวกับเพลงนี้เมื่อเธอไตร่ตรองถึงสถานการณ์ดังกล่าวว่า "ฉันคิดว่า มันยาก แต่มันเป็นเรื่องจริง มันสำคัญ มันไม่ง่ายแต่มันเป็นเรื่องจริง" จากนั้นเธอแต่งเพลงให้ใจความเกี่ยวข้องกับความคิดดังกล่าว จนในที่สุดได้วางอยู่ในเนื้อเพลง "เลิฟสตอรี" ท่อนรีเฟรนท่อนที่สอง[4] ทุกเหตุการณ์ในเพลง ยกเว้นตอนจบ บรรยายตามเรื่องจริงของสวิฟต์ ตอนท้ายเพลงแตกต่างจากตอนจบของละครโรเมโอและจูเลียต "ฉันรู้สึกว่าพวกเขามีคำมั่นสัญญาต่อกัน และสำหรับพวกเขาแล้วมันต่างก็ดูบ้า และถ้าเนื้อเรื่องดำเนินแตกต่างออกไปบ้าง มันอาจจะเป็นเรื่องเล่าที่ดีที่สุด และเป็นเรื่องราวความรักที่ดีที่สุดเท่าที่มี แต่มันเป็นโศกนาฏกรรม" แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เธอเลือกแต่งให้จบแบบมีความสุข (happy ending)[5] เนื้อเพลงทั้งเพลง ยกเว้นท่อนจบ บรรยายจากเหตุการณ์จริงของสวิฟต์ บทสรุปของเพลงแตกต่างจากละครโรเมโอและจูเลียต "ฉันรู้สึกว่าพวกเขามีคำสัญญาต่อกันและหลงใหลซึ่งกันและกันมาก และถ้าเรื่องราวแตกต่างจากเดิมเล็กน้อย ก็คงจะเป็นเรื่องราวความรักที่ดีที่สุดเท่าที่จะมีใครเล่าได้ และมันก็เป็นหนึ่งในเรื่องราวความรักหลาย ๆ เรื่องที่ถูกเล่ามา แต่กลับเป็นโศกนาฏกรรม" แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เธอเลือกที่จะแต่งให้จบอย่างมีความสุข[5] เธอใช้ตัวละครที่เธอโปรดปราน และออกแบบแนวคิดในตอนจบใหม่ที่เธอเชื่อว่าเหมาะสมกับพวกเขา[6] เธอเชื่อว่ามันจะเป็นฉากจบในอุดมคติที่ผู้หญิงหลาย ๆ คนหวังให้เป็น รวมถึงเธอด้วย[4] "คุณต้องการผู้ชายสักคนที่ไม่ได้สนใจว่าใครจะคิดอะไร ใครจะพูดอะไร" แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องเล่า สวิฟต์กล่าวว่ามันเป็นประสบการณ์ที่สนุกดีที่ได้แต่งเพลงออกมาเกี่ยวกับสิ่งนี้[3] สวิฟต์แต่งเพลงนี้บนพื้นห้องนอน ใช้เวลาประมาณ 12 นาที มีความรู้สึกได้แรงบันดาลใจจนนำมาใส่ในเพลงได้ไม่สิ้นสุด[2]

สวิฟต์กับคนรักของเธอสานต่อความสัมพันธ์ต่อไป แต่แยกทางกันในเวลาต่อมา เนื่องจากมาพบกันได้ยาก[5] สำหรับสวิฟต์แล้ว เพลงนี้คล้ายเป็น[[สุทรรศนนิยม]]เกี่ยวกับความรักและประเด็นที่ว่าการพบเจอกับคนที่ใช่เป็นเรื่องที่เกินข้อสงสัย[6] เธอมอง "เลิฟสตอรี" เป็นหนึ่งในเพลงที่โรแมนติกที่สุดของเธอ แม้ว่าเธอไม่เคยมีความสัมพันธ์จริงจังกับคนที่กล่าวถึงในเพลง[2] สวิฟต์พูดถึงเพลงเมื่อนึกย้อนกลับไปว่า "มันเกี่ยวกับความรักที่คุณต้องซ่อนไว้เพราะมันไม่มีทางเป็นไปด้วยดี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ฉันนำเสนอในทิศทางของโรเมโอและจูเลียต พ่อแม่ของเราทะเลาะกัน ฉันเชื่อมโยงมันกับความรักที่คุณไม่สามารถประนีประนอมได้ ความรักที่บางครั้งสังคมก็ไม่ยอมรับ [หรือ] บางครั้งเพื่อน ๆ ของคุณก็ไม่ยอมรับ"[7]

การบันทึกเสียง[แก้]

"เลิฟสตอรี" บันทึกเสียงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 ที่แบล็กเบิร์ดสตูดิโอส์ในแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี โดยมีนาธาน แชปแมน และอีกหลายคนเป็นโปรดิวเซอร์เพลง[8] แชปแมนผลิตทุกเพลงยกเว้นหนึ่งเพลงในอัลบั้มแรก เทย์เลอร์ สวิฟต์[9] และร่วมผลิตทุกเพลงในอัลบั้มเฟียร์เลส[10] สวิฟต์ร้องเพลงนี้ใส่ไมโครโฟนชนิดแท่งรุ่น เอแวนโทน ซีวี-12 ผลิตโดยเอแวนต์อิเล็กทรอนิกส์ ไมโครโฟนมีแท่งสำรองที่เรย์ เคนเนดี นักร้องคันทรี โปรดิวเซอร์เพลง และวิศวกรเสียง ออกแบบและผลิตให้แชปแมนยืม แชปแมนใช้ไมโครโฟนนี้เป็นการทดลองชั่วคราว แม้ว่าเขาเคยทดสอบไมโครโฟนหลายตัวให้สวิฟต์ เขาไม่เคยหาตัวที่เหมาะกับเสียงร้องของสวิฟต์อย่างสมบูรณ์แบบได้เลย เมื่อสวิฟต์มาที่บ้านของแชปแมนเพื่อปรับแต่งซิงเกิลจากอัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์ เธอชอบไมโครโฟนตัวนี้ทันที[8] "เมื่อเธอสวมไมโครโฟนและพูดว่า 'ทดสอบ' ทันใดนั้น แทบจะทันที เธอกล่าวว่า 'นี่คือไมค์ฉัน ฉันรักไมค์ตัวนี้ ฉันอยากจะใช้ไมค์ตัวนี้ไปตลอดเลย' เธอไม่รู้ว่ามันคืออะไร เธอแค่รักมัน ผมก็เลยตามเลยกับสิ่งที่เหมาะสมกับเธอ เราใช้ไมค์ตัวนี้ตั้งแต่นั้นมา และมันทำให้เสียงเธอไพเราะจริง ๆ" แชปแมนกล่าว[8]

"เลิฟสตอรี" บันทึกเสียงด้วยโปรแกรมโปรทูลส์และใช้เสียงร้องตามร่องเสียง ซึ่งสวิฟต์ร้องสดร่วมกับวงดนตรี วงดนตรีประกอบด้วยกีตาร์โปร่ง กีตาร์เบส และกลองชุด[8] เครื่องดนตรีชนิดอื่น แชปแมนบันทึกทับอีกที เขากล่าวว่า "ผมคิดว่ามีกีตาร์โปร่งเก้าตัวบรรเลงอยู่ในเพลง และผมบันทึกเสียงร้องเบื้องหลังทับกันหลายชั้น ซึ่งเป็นเสียงของผมเองร้องว่า 'อา'"[8] การปรับแต่งเสียงทำโดยแชด คาร์ลสัน ที่สตูดิโอดี ในแบล็กเบิร์ดสตูดิโอส์ โดยใช้เครื่องมือชุดเอพีไอเลกาซีพลัส ได้แก่ ไมโครโฟนอะแวนโทน ซีวี-12 เนเว 1073 และทิวบ์เทค ซีแอล-1บี ผสมเสียงโดยจัสติน เนียแบงก์ ที่สตูดิโอเอฟ ด้วยอุปกรณ์ชุดโซลิดสเตตลอจิก 9080 เค และเจเนเลก 1032 ในระหว่างนั้น แชปแมนบันทึกเสียงทับที่สตูดิโออี[8] "เลิฟสตอรี" และเพลงอื่น ๆ ในอัลบั้ม ผ่านกระบวนการมาสเตอร์โดยแฮงก์ วิลเลียมส์ ที่มาสเตอร์มิกซ์สตูดิโอส์ในแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี[10] เพลงผสมเสียงด้วยแอร์เพลย์โดยแชปแมน เขาดึงสิ่งที่เนียแบงก์ทำไว้ในแล็ปท็อปแม็กโอเอส และใช้แอปเปิลลอจิกสร้างเพลงเวอร์ชันป็อป แชปแมนใช้แล็ปท็อปทำเวอร์ชันรีมิกซ์และสร้างองค์ประกอบดนตรีใหม่ ๆ ด้วย เขาปิดเสียงเครื่องดนตรีคันทรีและแทนที่ด้วยองค์ประกอบดนตรีที่ทำให้เป็นดนตรีป็อป โดยแทนที่แบนโจและฟิดเดิลด้วยกีตาร์ไฟฟ้า ดนตรีท่อนเปิดเพลงเวอร์ชันป็อปเป็นวงวนลอจิกในเครื่องกำหนดจังหวะดนตรี อัลตราบีต เสียงกีตาร์ไฟฟ้าใหม่ทั้งหมดทำด้วยอุปกรณ์แอมพลิทิวบ์สตอมป์ไอ/โอ[8]

การตอบรับ[แก้]

"เลิฟสตอรี" เป็นที่ชื่นชมของนักวิจารณ์ เคต คีเฟอร์จากนิตยสารเพสต์จัดให้เป็นเพลงที่ดีที่สุดของสวิฟต์ และเสริมว่า เมื่อรู้เนื้อเพลงเพลงนี้แล้ว ถ้าไม่ร้องตามคงเป็นไปไม่ได้[11] ชอน ดูลีย์ จากเว็บไซต์อะเบาต์ดอตคอมจัดให้เป็นเพลงที่เปลี่ยนผ่านสวิฟต์จาก "ดาราหน้าใสเป็นซูเปอร์สตาร์ข้ามแนวเพลง" ดูลีย์มองว่าเพลงประสบความสำเร็จเนื่องจากเนื้อหาในเนื้อเพลงที่แตกต่างไป ซึ่งสรุปได้ว่า "ฉันปรารถนาว่าชายหนุ่มคนนี้จะรู้ว่าฉันรู้สึกอย่างไรกับเขา"[12] ขณะที่วิจารณ์อัลบั้มเฟียร์เลส ดูลีย์เลือกเพลง "เลิฟสตอรี" ให้เป็นเพลงที่ดีที่สุดในอัลบั้ม[13] โจนาธาน คีฟ จากนิตยสารสแลนต์ชื่นชมสวิฟต์ในความพยายามที่จะรวมองค์ประกอบที่ซับซ้อน อย่างละครโรเมโอและจูเลียต และตราบาปสีเลือด แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากความงุ่มง่าม อธิบายไม่ได้ และจินตนาการที่ไม่มีจุดหมาย คีฟมองว่าความสำเร็จมาจากท่อนสร้อยที่โดดเด่น[14] เจมส์ รี้ด จากหนังสือพิมพ์เดอะบอสตันโกลบคิดเป็นเช่นอื่นว่า เสน่ห์ของสวิฟต์อยู่ที่ทักษะการแต่งเพลงของเธอ[15]

เฟรเซอร์ แม็กอัลไพน์จากบีบีซีกล่าวว่า "เลิฟสตอรี" เป็นเพลงป็อปที่น่าประหลาดใจ และเนื่องจากมันเล่าเรื่องราวความรักจริง ๆ มันจึงอบอุ่นหัวใจและดึงผู้ฟังเข้าสู่โลกนิทานที่น่าตื่นเต้นและโรแมนติก[16] อย่างไรก็ตม เธอรู้สึกว่าการร้องเพลงของสวิฟต์นั้นไม่น่าแปลกใจ แต่อดไม่ได้ที่จะชื่นชมการถ่ายทอดอารมณ์ แม็กอัลไพน์กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าจะเป็นเพลงโรแมนติกชัดเจนและมีเป้าหมายคือผู้ฟังอายุน้อย แต่ "เลิฟสตอรี" แค่เป็นเพลงที่น่ารักที่สวิฟต์พิสูจน์ตนเองว่าเป็นเจ้าหญิงเพลงป็อปที่แท้จริง[16] คริส นีล จากนิตยสารคันทรีวีกลีเรียกเพลง "เลิฟสตอรี" ว่า "เพลงดังเพลงแรกที่เดือดพล่าน"[17] เดบอราห์ อีแวนส์ ไพรซ์ จากนิตยสารบิลบอร์ดวิจารณ์เพลงไปในทางชื่นชอบและเรียกว่า "ข้อเสนอที่มีเสน่ห์" ไพรซ์กล่าวว่า "เลิฟสตอรี" แสดงให้เห็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของสวิฟต์ ซึ่งก็คือการแต่งเพลงและการร้องเพลงที่เหมาะสมกับอายุที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟังของเธอและคนอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ เธอจึงคาดการณ์ว่าเพลงจะประสบความสำเร็จมากในอุตสาหกรรมดนตรีคันทรี[18] อะเล็กซ์ แม็กเฟอร์สัน จากหนังสือพิมพ์บริติช เดอะการ์เดียน บรรยายว่าเพลงเกิดจาก "ความรู้สึกสนุกสนานแบบกะทันหัน" ซึ่งเขากล่าวว่าความรู้สึกนี้เกิดกับเพลง "ไมน์" (2010)[19] ด้วย เทสต์ออฟคันทรีจัดเพลงให้อยู่อันดับที่ 17 ในรายชื่อเพลงคันทรีที่ดีที่สุดตลอดกาล[20]

รางวัล[แก้]

"เลิฟสตอรี" เข้าชิงรางวัลพีเพิลส์ชอยส์อะวอดส์ สาขา "คันทรียอดนิยม" ในงานประกาศรางวัลพีเพิลส์ชอยส์อะวอดส์ ครั้งที่ 35 แต่พ่ายให้กับเพลง "ลาสต์เนม" (2008) ของแคร์รี อันเดอร์วูด[21] เพลงได้เข้าชิงรางวัล "เพลงยอดนิยม" ในงานประกาศรางวัลนิกเคโลเดียนออสเตรเลียนคิดส์ชอยส์อะวอดส์ 2009 แต่พ่ายให้กับเพลง "ไอก็อตตาฟิลิง" (2009) ของเดอะแบล็กอายด์พีส์[22] และในงานประกาศรางวัลทีนชอยส์อะวอดส์ 2009 ก็มีผลรางวัลเหมือนกัน โดยพ่ายให้กับเพลง "ครัช" (2008) ของเดวิด อาร์ชูเลตา ซึ่งเข้าชิงรางวัล "ชอยส์มิวสิก: เลิฟซอง"[23][24] ในปี ค.ศ. 2009 "เลิฟสตอรี" ได้เป็น "เพลงคันทรีแห่งปี" ประกาศโดยองค์กรเผยแพร่ดนตรี[25]

พฤติการณ์เชิงพาณิชย์[แก้]

อเมริกาเหนือ[แก้]

ในชาร์ตประจำวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2008 "เลิฟสตอรี" เปิดตัวที่อันดับ 16 ในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ขายได้มากกว่า 97,000 ดิจิทัลดาวน์โหลด[26] ในสัปดาห์ต่อมา "เลิฟสตอรี" ขึ้นไปถึงอันดับที่ 5 ขายได้ 159,000 ดาวน์โหลด[27] หลังจากอยู่ในสิบอันดับแรกได้สองสัปดาห์ ในชาร์ตประจำวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2008 เพลงตกลงมาอันดับที่ 13 และอยู่ในยี่สิบอันดับแรกนาน 11 สัปดาห์ติดต่อกัน และกลับไปที่สิบอันดับแรก ในอันดับที่ 7 ในชาร์ตประจำวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2009[28][29] ในชาร์ตประจำวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2009 เพลงขึ้นอันดับที่ 4 กลายเป็นซิงเกิลที่ขึ้นชาร์ตสูงที่สุดของสวิฟต์ในขณะนั้น[30] หลายสัปดาห์ต่อมา "เลิฟสตอรี" ยังคงทำยอดขายได้ดีตลอด ใช้เวลาในสิบอันดับแรกนาน 14 สัปดาห์ และอยู่ในชาร์ตทั้งหมด 49 สัปดาห์[30][31] ซิงเกิลนี้เป็นหนึ่งในเพลงจากอัลบั้มเฟียร์เลส 13 เพลงที่ติดสี่สิบอันดับแรกในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ทำลายสถิติเพลงจากอัลบั้มเดียวเข้าชาร์ตที่สี่สิบอันดับแรกได้มากที่สุด[32] อัลบั้มได้รับการรับรองระดับแพลตินัม 8 ครั้งจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา[33] และขายได้มากกว่า 5 ล้าน จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011[34] กลายเป็นเพลงที่ขายดีที่สุดของสวิฟต์ และเคยเป็นซิงเกิลคันทรีที่ขายดีที่สุดตลอดกาล (ถูกแทนที่ด้วยเพลง "นีดยูนาว" ของเลดีแอนทีเบลลัม)[35][36] และเป็นซิงเกิลดิจิทัลที่ขายดีที่สุดอันดับที่ 9 นับถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 "เลิฟสตอรี" ขายได้ 5,872,000 หน่วยในสหรัฐ[37]

"เลิฟสตอรี" ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดเรดิโอซองส์โดยมีจำนวนการฟังในทุกช่องทางการรับฟังทั้งหมด 106 ล้านครั้ง และถูกโค่นอันดับโดยเพลง "ฮาร์ตเลส" ของคานเย เวสต์[38] ในชาร์ตบิลบอร์ดฮอตเพลงคันทรี "เลิฟสตอรี" เปิดตัวที่อันดับ 25 ในชาร์ตประจำวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2008 เพลงขึ้นถึงสิบอันดับแรกในสัปดาห์ที่สี่ที่อันดับเก้า และในสัปดาห์ที่เก้า เพลงขึ้นอันดับหนึ่งกลายเป็นเพลงอันดับหนึ่งเพลงที่สามของสวิฟต์ และเป็นเพลงที่ขึ้นอันดับหนึ่งได้เร็วที่สุด[39][40] เพลงอยู่ในอันดับที่หนึ่งได้นานสองสัปดาห์และอยู่ในชาร์ตบิลบอร์ดฮอตเพลงคันทรีได้รวม 13 สัปดาห์[41] ในชาร์ตบิลบอร์ดป็อปซองส์ เพลงเปิดตัวที่อันดับ 34 ในชาร์ตประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008[42] เพลงขึ้นอันดับหนึ่งในสัปดาห์ที่ 15 ในชาร์ตประจำวีนที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 กลายเป็นเพลงคันทรีที่ขึ้นอันดับสูงสุดบนชาร์ตนี้ได้นับตั้งแต่เพลง "ยัวร์สติลเดอะวัน" ของชะไนยา ทเวน ที่เคยขึ้นสูงสุดที่อันดับสามในปี ค.ศ. 1998[43] "เลิฟสตอรี" ยังขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ดอะดัลต์คอนเทมโพรารี และอันดับสามบนชาร์ตบิลบอร์ดอะดัลต์ป็อปซองส์ และปรากฏในชาร์ตบิลบอร์ดละตินป็อปซองส์ที่อันดับ 35 ด้วย[30][44]

ในประเทศแคนาดา "เลิฟสตอรี" เข้าชาร์ตที่อันดับ 88 ในชาร์ตประจำวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2008[45] เพลงขึ้นสูงสุดที่อันดับที่สี่ในชาร์ตประจำวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2008 กลายเป็นเพลงของสวิฟต์เพลงแรกที่ขึ้นสิบอันดับแรกได้ในประเทศ[46] ซิงเกิลอยู่ในสิบอันดับแรกได้นาน 10 สัปดาห์ และอยู่ในชาร์ตนาน 52 สัปดาห์[31] เพลงอยู่อันดับที่แปดในชาร์ตสิ้นปีของแคนาดา และได้รับการรับรองระดับแพลตินัมสองครั้งโดยองค์กรมิวสิกแคนาดา จากยอดขายดิจิทัลดาวน์โหลด 160,000 ครั้ง[47][48]

ยุโรปและโอเชียเนีย[แก้]

"เลิฟสตอรี" เปิดตัวที่อันดับที่ 22 ในสหราชอาณาจักร ในชาร์ตประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ในสัปดาห์ถัดมา เพลงขึ้นถึงอันดับสอง[49] กลายเป็นซิงเกิลของสวิฟต์ที่ขึ้นชาร์ตสูงที่สุด ร่วมกับเพลง "ไอนูว์ยูเวอร์ทรับเบิล" และ "เชกอิตออฟ" และเป็นเพลงที่ติดสิบอันดับเพลงแรกในสหราชอาณาจักร[50] เพลงอยู่ในสิบอันดับแรกนาน 7 สัปดาห์ และอยู่ในชาร์ตรวม 32 สัปดาห์[49] ซิงเกิลได้รับการรับรองระดับแพลตินัมโดยองค์กรตัวแทนอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงบริติช (BPI) หลังจากขายได้เกิน 600,000 หน่วย[51] ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2012 "เลิฟสตอรี" เข้าชาร์ตในสหราชอาณาจักรอีกครั้งที่อันดับ 55 ในประเทศไอร์แลนด์ "เลิฟสตอรี" ขึ้นถึงอันดับที่สาม[52] ในแผ่นดินใหญ่ เพลงขึ้นอันดับสิบในชาร์ตยูโรเปียนฮอต 100 ซิงเกิลส์[30] อันดับที่หกในประเทศฮังการี[53] อันดับที่เจ็ดในประเทศนอร์เวย์[54] และอันดับที่สิบในประเทศสวีเดน[55] เพลงติดชาร์ตได้ดีในประเทศอื่น ๆ เช่น เดนมาร์ก เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส โดยขึ้นถึงยี่สิบอันดับแรก[55]

ในประเทศออสเตรเลีย "เลิฟสตอรี" เปิดตัวที่อันดับ 38 บนชาร์ตประจำวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2009 หลังจากขึ้นชาร์ตได้สองสัปดาห์ "เลิฟสตอรี" ขึ้นอันดับสอง และค้างอยู่นานหกสัปดาห์ก่อนขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์จประจำวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2009 กลายเป้นเพลงแรกและเพลงเดียวของสวิฟต์ที่ขึ้นอันดับหนึ่งในประเทศ จนถึงเพลง "เชกอิตออฟ" ในปี ค.ศ. 2014 ในสัปดาห์ถัดมา เพลงตกลงมาอันดับสองและขึ้นอันดับหนึ่งอีกสัปดาห์ และอยู่ในห้าสิบอันดับแรกสัปดาห์สุดท้ายในชาร์ตประจำวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2009[56] ซิงเกิลได้รับการรับรองระดับแพลตินัมสามครั้งจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงออสเตรเลียหลังขายได้มากกว่า 210,000 หน่วย[57] "เลิฟสตอรี" ติดอันดับสิบในชาร์ตสิ้นปีของชาร์ตซิงเกิลออสเตรเลีย ในชาร์ตประจำวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 "เลิฟสตอรี" เข้าชาร์ตในประเทศนิวซีแลนด์ที่อันดับ 33 หลังอยู่ในชาร์ตได้เก้าสัปดาห์ เพลงขึ้นถึงอันดับสามในชาร์ตประจำวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2009[58] เพลงได้รับการรับรองระดับแพลตินัมโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงนิวซีแลนด์หลังขายได้มากกว่า 15,000 หน่วย[59] โดยรวมแล้ว "เลิฟสตอรี" ขายได้มากกว่า 7.9 ล้านหน่วยทั่วโลก กลายเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล[60][61][62]

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

มิวสิกวิดีโอของเพลง "เลิฟสตอรี" กำกับโดยเทรย์ แฟนจอย ซึ่งเคยกำกับวิดีโอให้สวิฟต์หลายซิงเกิลจากอัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์ สวิฟต์ตัดสินใจร่วมงานกับแฟนจอยอีกครั้งเพราะเธอสามารถหาจุดสมดุลเกี่ยวกับแนวคิดของมิวสิกวิดีโอระหว่างเขาและเธอได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอชื่นชมอยู่ลึก ๆ[63] วิดีโอมีท้องเรื่องย้อนยุคที่มีอิทธิพลจากสมัยกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และสมัยรีเจนซี สวิฟต์เคยต้องการถ่ายทำมิวสิกวิดีโอย้อนยุคมานานแล้วเพราะมันแตกต่างจากมิวสิกวิดีโอสมัยใหม่ที่เธอเคยถ่ายทำ ขณะที่เธอแต่งเพลงนี้ เธอจินตนาการถึงยุคเก่า และแฝงกลิ่นอายยุคเก่าไว้ในเนื้อเพลง[64] เธอเชื่อว่าโครงเรื่องของเพลง "เลิฟสตอรี" เป็นบทที่ไม่กำหนดเวลาตายตัว "ฉันคิดว่ามันอาจเกิดขึ้นในยุค 1700 1800 หรือ 2008 ก็ได้"[63] ดังนั้น เธอจึงมองหาคุณสมบัติที่ตรงกับพฤติกรรมของคนรักของเธอ[65] สวิฟต์มองหาคุณสมบัติดังกล่าวโดยชมภาพยนตร์ล่วงหน้าหกเดือนเพื่อมองหานักแสดงชายเพื่อตีความบทบาท คนรู้จักคนหนึ่งของสวิฟต์ที่เคยติดตามรายการแนชวิลล์สตาร์ ซีซันหก แนะนำผู้เข้าแข่งขันชื่อ จัสติน แกสตัน จากนั้นสวิฟต์มองดูรูปเขา และสรุปว่าเขาเหมาะสมกับมิวสิกวิดีโอของเธอ[66] แกสตันตรงกับความต้องการของสวิฟต์ ซึ่งสวิฟต์ให้เขาเป็น "เจ้าชายทรงเสน่ห์ที่มีชีวิตในยุค 1800"[65] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแกสตันเข้าแข่งขันรายการแนชวิลล์สตาร์อยู่ เขาจึงมาแสดงในมิวสิกวิดีโอไม่ได้ สุดท้ายแล้วแกสตันถูกคัดออกและสวิฟต์ติดต่อเขาทันทีเพื่อให้มาแสดงในมิวสิกวิดีโอ[63] สวิฟต์ประทับใจการแสดงของแกสตันมาก "ฉันประทับใจการแสดง [อารมณ์] ของเขาในวิดีโอมาก เขาไม่ต้องพูดอะไร เขาแค่ต้องจ้องตานิ่ง ๆ และมันออกมาดูดีมาก"[66]

วิดีโอถ่ายทำที่ปราสาทแห่งหนึ่ง ฝ่ายบุคลากรศึกษาปราสาทหลายแห่งในสหรัฐและไม่สามารถเลือกหลังที่มีสภาพเหมาะสมต่อการถ่ายทำได้ พวกเขาพิจารณาเดินทางไปยุโรปเพื่อหาปราสาท แต่ได้รับแจ้งว่าพบปราสาทแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี ชื่อว่า ปราสาทกวินน์ สร้างในปี ค.ศ. 1973 และได้รับเลือกให้เป็นฉากของมิวสิกวิดีโอ[63] เสื้อผ้าของนักแสดงจัดหาโดยแจ็กการ์ดแฟบริกส์ ยกเว้นชุดเดรสของสวิฟต์ในฉากระเบียง ชุดของสวิฟต์ออกแบบโดยแซนดี สปิกา ออกแบบตามแรงบันดาลใจและคำแนะนำของสวิฟต์[63][64] "เธอชอบที่จะใส่ตัวเธอเป็นอินพุตลงในชุดเดรสของเธอ" สปิกากล่าว สองคนคุยกันเกี่ยวกับชุดเดรสสองเดือนก่อนถ่ายทำ มีการเตรียมฉากให้สมจริง[63] วิดีโอใช้เวลาถ่ายทำสองวันในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 ในเทนเนสซี ในวันแรก ถ่ายทำฉากที่ระเบียงและสนามหญ้า ในฉาก มีคนวางแผ่นซีดีเพลย์แบ็กฉบับดัดแปลงที่มีเสียงแหลมสูง ด้วยเหตุนี้ สวิฟต์ให้กองถ่ายคนหนึ่งยืมไอพอดเพื่อเล่นเพลงฉบับดั้งเดิม[63] ขณะถ่ายทำอีกฉากหนึ่ง ดวงอาทิตย์กำลังจะตก และการถ่ายทำค่อนข้างจะเป็นไปอย่างเร็ว ในฉากนั้น แฟนจอยแนะนำให้สวิฟต์จูบกับแกสตัน แต่สวิฟต์ปฏิเสธเพราะเธอเชื่อว่ามันเหมาะกับฉากที่หวานกว่า ในวันที่สอง ถ่ายทำที่มหาวิทยาลัยคัมเบอร์แลนด์ ในเลบานอน รัฐเทนเนสซี โดยถ่ายทำที่ห้องเต้นรำ[67] สวิฟต์เรียนท่าเต้นในห้องเต้นรำก่อนถ่ายทำสิบห้านาที มีนักเต้นรำประมาณ 20 คนเต้นอยู่ในฉาก[63]

วิดีโอเริ่มด้วยสวิฟต์ สวมเสื้อกันหนาวสีดำและกางเกงยีนส์ เดินอยู่ในมหาวิทยาลัยและสังเกตเห็นแกสตันนั่งอ่านหนังสืออยู่ใต้ต้นไม้ ขณะที่พวกเขาสบตากัน วิดีโอเปลี่ยนยุคเป็นยุคเก่าที่ดูเหมือนศตวรรษที่ 18 (แต่ปราสาทสร้างในปี ค.ศ. 1973) โดยสวิฟต์ยืน สวมชุดรัดรูปและเสื้อคลุม ร้องเพลงอยู่ที่ระเบียง หลังจากนั้น แกสตันร่วมงานสังสรรค์และเห็นสวิฟต์ใส่ชุดคลุมที่ดูประณีต กำลังคุยกับผู้หญิงคนอื่น ๆ อยู่ สวิฟต์และแกสตันและคนอื่น ๆ ร่วมเต้นรำในห้องเต้นรำ หลังเต้นรำ แกสตันกระซิบที่หูสวิฟต์ จากนั้นฉากแสดงสวิฟต์กำลังถือโคมไฟมองหาบางอย่างตอนกลางคืน เธอพบกับแกสตันและทั้งสองคนเดินด้วยกัน จับมือกัน และให้อาหารม้าที่บ่อน้ำ จากนั้นทั้งสองคนเดินแยกทางกัน หลังจากนั้น สวิฟต์ยืนบนระเบียงมองออกไปที่หน้าต่าง เธอพบแกสตันวิ่งมาหาเธอ และเธอรีบวิ่งลงบันไดทันที สวิฟต์และแกสตันพบกันและจับมือกัน จากนั้นวิดีโอกลับมาที่ยุคปัจจุบัน แสดงแกสตันเดินมาหาสวิฟต์และจ้องตากัน และวิดีโอจบลง ฉากคัตซีนแสดงการเต้นรำในห้องเต้นรำและสวิฟต์ร้องเพลงที่ฉากระเบียง ในยูทูบ วิดีโอนี้มีผู้ชมมากกว่า 340 ล้านครั้ง

การตอบรับของวิดีโอ[แก้]

วิดีโอฉายครั้งแรกในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2008 ทางช่องซีเอ็มที[68] แมนดี เบียร์ลีจากเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลีมีประเด็นว่าวิดีโอแสดงวิวัฒนาการความเป็นศิลปินในตัวสวิฟต์เพราะมันดูแพงและทำให้เธอสงสัยว่ามีอะไรเกี่ยวกับสวิฟต์ที่จะเปลี่ยนไปบ้าง อย่างไรก็ตาม เธอกล่าวว่า "กังวลแต่ฉันไม่อาจต้านทานวิวัฒนาการของเทย์เลอร์ สวิฟต์ จากเพลง 'ทิม แม็กกรอว์' จนถึงเพลงล่าสุด 'เลิฟสตอรี'" เบียร์ลียังเปรียบเทียบการแสดงของสวิฟต์กับการแสดงของเคียรา ไนต์ลีย์ด้วย[69] เฟรเซอร์ แม็กอัลไพน์จากบีบีซีเชื่อว่าสวิฟต์เล่นเป็นเจ้าหญิง ดังนั้นมันจะทำให้ผู้หญิงหลายคนอิจฉา[16] วิดีโอได้เข้าชิงรางวัล "วิดีโอแห่งปี" ในงานประกาศรางวัลอะคาเดมีออฟคันทรีมิวสิกอะวอดส์ ครั้งที่ 45 แต่พ่ายให้กับเพลง "เวทินออนอะวูแมน" ของแบรด เพสลีย์[70][71] ในงานซีเอ็มทีมิวสิกอะวอดส์ 2009 วิดีโอได้รับรางวัล "วิดีโอแห่งปี" และ "วิดีโอนักร้องหญิงแห่งปี"[72] เพลงยังได้รับรางวัลคันทรีมิวสิกแอสโซซิเอชันอะวอร์ด สาขา "มิวสิกวิดีโอแห่งปี" ในงานมิวสิกแอสโซซิเอชันอะวอดส์ ครั้งที่ 43[73] วิดีโอได้รับรางวัล "วิดีโอเพลงสากลที่ชื่นชอบ" ในงานมิกซ์มิวสิกอะวอดส์ 2010 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ด้วย[74]

เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)[แก้]

"เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)"
ภาพหน้าปกของ "เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" ที่มีเทย์เลอร์ สวิฟต์ ในชุดสีขาว
ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
จากอัลบั้มเฟียร์เลส (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)
วางจำหน่าย12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 (2021-02-12)
สตูดิโอแบล็กเบิร์ด (แนชวิลล์)
แนวเพลงคันทรีป็อป
ความยาว3:56
ค่ายเพลงรีพับลิก
ผู้ประพันธ์เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์
โปรดิวเซอร์
  • เทย์เลอร์ สวิฟต์
  • คริสโตเฟอร์ โรว์
ลำดับซิงเกิลของเทย์เลอร์ สวิฟต์
"คอนีย์ไอแลนด์"
(2021)
"เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)"
(2021)
"แก๊สโซลีน"
(2021)
Lyric video
"เลิฟสตอรี" (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) ที่ยูทูบ

หลังจากเซ็นสัญญาฉบับใหม่กับรีพับลิกเรเคิดส์ สวิฟต์เริ่มบันทึกสตูดิโออัลบั้มแรกของเธอจากหกอัลบั้มแรกใหม่ รวมถึงเฟียร์เลสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020[75] การตัดสินใจเกิดขึ้นหลังจากข้อพิพาทสิทธิ์ในการถือครองเพลง ค.ศ. 2019 ระหว่างสวิฟต์กับผู้จัดการ สกูตเตอร์ เบราน์ ซึ่งซื้อกิจการบิกมะชีนเร็กเคิดส์ รวมถึงมาสเตอร์ในอัลบั้มของสวิฟต์ที่ค่ายเพลงได้ออกจำหน่าย[76][77] การบันทึกแคตตาล็อกของเธอใหม่ทำให้สวิฟต์เป็นเจ้าของต้นฉบับเพลงมาสเตอร์ใหม่โดยสมบูรณ์ รวมถึงการอนุญาตลิขสิทธิ์เพลงของเธอ ซึ่งจะลดคุณค่าของเพลงมาสเตอร์ที่มีเจ้าของโดยบิกมะชีน[78]

สวิฟต์บันทึกเพลง "เลิฟสตอรี" อีกครั้งและตั้งชื่อว่า "เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" ข้อความที่ตัดตอนมาจากการบันทึกซ้ำถูกนำมาใช้ในโฆษณาของ แมตช์.คอม ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020[79] "เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" เป็นเพลงที่บันทึกซ้ำเพลงแรกที่เธอปล่อยออกมา[80] พร้อมให้ดาวน์โหลดและสตรีมในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 ก่อนการเปิดตัวอัลบั้มที่บันทึกซ้ำในชื่อ เฟียร์เลส (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) ในเดือนเมษายน[81][82] "เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" เวอร์ชันอีดีเอ็ม รีมิกซ์โดยโปรดิวเซอร์ชาวสวีเดน เอลวิรา วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2021 และรวมอยู่ใน เฟียร์เลส (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) เวอร์ชันดีลักซ์[83]

ชาร์ต[แก้]

การรับรอง[แก้]

การรับรองยอดการจำหน่ายของ "เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)"
ประเทศ การรับรอง จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย
United Kingdom (BPI)[101] Silver 200,000double-dagger

double-daggerตัวเลขสตรีมมิงและยอดขายขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว

ประวัติการจำหน่าย[แก้]

รายการวันที่วางจำหน่ายและรูปแบบของ "เลิฟสตอรี (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)"
ภูมิภาค วันที่ รูปแบบ เวอร์ชัน ค่าย อ้างอิง
หลากหลาย 12 กุมภาพันธ์ 2021
ต้นฉบับ รีพับลิก [102]
26 มีนาคม 2021 เอลวิรารีมิกซ์ [103]

อ้างอิง[แก้]

  1. Scaggs, Austin (January 25, 2010). "Taylor's Time: Catching Up With Taylor Swift". Rolling Stone. Jann Wenner. สืบค้นเมื่อ February 1, 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Interview with Taylor Swift". Time. Time Warner. April 23, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-31. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
  3. 3.0 3.1 Swift, Taylor. "Cut By But". Bigmachinerecords.com. Big Machine Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-27. สืบค้นเมื่อ March 12, 2010.
  4. 4.0 4.1 Bells, Leigh (November 28, 2008). "Taylor Swift Responds!". Teen Vogue. Condé Nast Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-25. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
  5. 5.0 5.1 5.2 Lewis, Randy (October 26, 2008). "She's writing her future". Los Angeles Times. Tribune Company. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
  6. 6.0 6.1 Roznovsky, Lindsey (November 10, 2008). "Taylor Swift's fascination with Fairy Tales comes through on new album". CMT News. Viacom. สืบค้นเมื่อ February 13, 2011.
  7. ""Oh, Romeo, Romeo": Taylor Swift's "Love Story"". Great American Country. Scripps Networks Interactive. September 15, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 Walsh, Christopher (March 17, 2009). "Taylor Swift — Love Story". ProAudio Review. The Wicks Group. สืบค้นเมื่อ February 14, 2011.
  9. Morris, Edward (December 1, 2006). "When She Thinks "Tim McGraw," Taylor Swift Savors Payoff: Hardworking Teen to Open for George Strait Next Year". CMT News. Viacom. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
  10. 10.0 10.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ liner
  11. Kiefer, Kate (June 4, 2009). "Six Great Taylor Swift Songs". Paste. Paste Media Group LLC. สืบค้นเมื่อ April 17, 2010.
  12. Dooley, Sean. "Top 10 Taylor Swift Songs". About.com. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ March 15, 2010.
  13. Dooley, Sean. "The Blossoming of Taylor Swift – The Artist". About.com. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
  14. Keefe, Jonathan (November 16, 2008). "Taylor Swift: Fearless". Slant Magazine. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
  15. Reed, James (November 10, 2008). "Young country star's 'Fearless' proves she's just that, and more". The Boston Globe. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
  16. 16.0 16.1 16.2 McAlpine, Fraser (February 28, 2009). "Taylor Swift – 'Love Story'". BBC Online. BBC. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
  17. Neal, Chris (December 29, 2008). "Fearless: Taylor Swift". Country Weekly. American Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
  18. Caulfield, Keith (October 11, 2008). "Singles: Love Story". Billboard. New York: Nielsen Business Media, Inc. 120 (41): 68. ISSN 0006-2510. สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
  19. Macpherson, Alex (December 9, 2010). "Taylor Swift: Speak Now: The albums we missed". The Guardian. Guardian Media Group. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
  20. Pacella, Megan (June 24, 2012). "No. 17: Taylor Swift, 'Love Story' – Top 100 Country Songs". Taste of Country. Taste of Country. สืบค้นเมื่อ May 29, 2014.
  21. "People's Choice Awards 2009 Nominees". Pleopleschoice.com. People's Choice Awards. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
  22. Knox, David (September 20, 2009). "2009 Kid's Choice Awards: Nominees". TV Tonight. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
  23. "Teen Choice Awards 2009 nominees". The Los Angeles Times. Tribune Company. June 15, 2009. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  24. "Teen Choice Awards 2009 Music". Teen Choice Awards. News Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-19. สืบค้นเมื่อ October 19, 2009.
  25. "BMI Country Awards 2009 Big Winners". BMI.com. Broadcast Music Incorporated. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  26. Cohen, Jonathan (September 18, 2008). "Pink Notches First Solo Hot 100 No. 1". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  27. Cohen, Jonathan (September 25, 2008). "T.I. Back Atop Hot 100, Kanye Debuts High". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  28. "Hot 100 – Week of October 18, 2008". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  29. Cohen, Jonathan (December 24, 2008). "Beyonce Celebrates Xmas Atop Hot 100". Billboard. Nielsen Business Media. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 "Love Story – Taylor Swift". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  31. 31.0 31.1 "Taylor Swift – Love Story – Music Charts". aCharts.us. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  32. Pietroluongo, Silvio (November 12, 2009). "Rihanna's 'Roulette' Lands In Hot 100's Top 10". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ January 3, 2010.
  33. "American single certifications – Taylor Swift – Love Story". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  34. Grein, Paul (May 25, 2011). "Week Ending May 22, 2011. Songs: Flooding The Zone". Yahoo! Music. Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-30. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
  35. Grein, Paul (April 7, 2011). "Chart Watch Extra: Lady A Makes Country History". Yahoo! Music. Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ April 9, 2011.
  36. Grein, Paul (August 6, 2010). "Chart Watch Extra: Top 20 Songs In Digital History". Yahoo! Music. Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-15. สืบค้นเมื่อ October 2, 2010.
  37. Matt Bjorke (July 22, 2015). "The Top 30 Digital Country Singles: July 22, 2015". Roughstock.
  38. "Radio Songs: week-ending March 7, 2009". Billboard.com. Billboard.com. March 7, 2009. สืบค้นเมื่อ March 7, 2009.
  39. "Hot Country Songs: week-ending October 18, 2008". Billboard.com. Billboard.com. October 18, 2008. สืบค้นเมื่อ October 18, 2008.
  40. "Hot Country Songs: week-ending November 22, 2008". Billboard.com. Billboard.com. November 22, 2008. สืบค้นเมื่อ November 22, 2008.
  41. "Hot Country Songs: week-ending November 22, 2008". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. November 22, 2008. สืบค้นเมื่อ November 22, 2008.
  42. "Pop Songs: week-ending November 29, 2008". Billboard.com. Billboard.com. November 29, 2008. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
  43. Trust, Gary (December 15, 2009). "Best of 2009: Part 1". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  44. "Love Story [Music Video] – Taylor Swift". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  45. "Canadian Hot 100 – Week of October 18, 2008". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
  46. 46.0 46.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ canada
  47. "Best of 2009 – Canadian Hot 100 Songs". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
  48. "Canadian certifications – Taylor Swift – Love Story". Music Canada. สืบค้นเมื่อ July 11, 2011.
  49. 49.0 49.1 "Chart Stats – Taylor Swift – Love Story". Chartstats.com. The Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  50. "Chart Stats – Taylor Swift". Chartstats.com. The Official Charts Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  51. "British single certifications – Taylor Swift – Love Story". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011. Select singles in the Format field. Type Love Story in the "Search BPI Awards" field and then press Enter.
  52. "Discography Taylor Swift". Irish-charts.com. Irish Recorded Music Association. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
  53. "Top 40 album- és válogatáslemez- lista – 200952". Mahasz (ภาษาฮังการี). Magyar Hanglemezkiadók Szövetsége. สืบค้นเมื่อ June 18, 2010.
  54. "Taylor Swift – Love Story (Song)". Norwegieancharts.com. VG-lista. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
  55. 55.0 55.1 "Taylor Swift – Love Story (Song)". Swedishcharts.com. Sverigetopplistan. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
  56. "Taylor Swift – Love Story (Song)". Australian-charts.com. Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
  57. "ARIA Charts – Accreditations – 2009 Singles" (PDF). Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ January 2, 2010.
  58. "Taylor Swift – Love Story (Song)". Charts.org.nz. Recording Industry Association of New Zealand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
  59. "Latest Gold / Platinum Singles". RadioScope. Recording Industry Association of New Zealand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2010. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
  60. "Digital Music Sales Around the World" (PDF). IFPI.org. International Federation of the Phonographic Industry. January 21, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-26. สืบค้นเมื่อ March 6, 2011.
  61. http://www.billboard.com/articles/chartbeat/480278/ask-billboard-taylor-swifts-career-sales
  62. http://www.mtv.com/news/articles/1627833/eminem-best-selling-artist-decade.jhtml
  63. 63.0 63.1 63.2 63.3 63.4 63.5 63.6 63.7 "On the Set Behind the Scenes at 'Love Story'". Taylor Swift: On the Set. 22:00 นาที. Great American Country. {{cite episode}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  64. 64.0 64.1 "Video Replay: Taylor Swift – Love Story". CMT. Viacom. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
  65. 65.0 65.1 "On the Set Behind the Scenes 'White Horse'". Taylor Swift: On the Set. 22:00 นาที. Great American Country. {{cite episode}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  66. 66.0 66.1 Lewis, Randy (October 16, 2008). "Who's that Romeo in Taylor Swift's "Love Story" video?". Los Angeles Times. Tribune Company. สืบค้นเมื่อ February 17, 2011.
  67. "Taylor Swift on the Set: Love Story". Great American Country. Scripps Network Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
  68. "Taylor Swift Premiering New Video on CMT". CMT News. Viacom. September 12, 2008. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
  69. Bierly, Mandi (September 17, 2008). "How much do you love Taylor Swift's 'Love Story' video?". Entertainment Weekly. Time Warner. สืบค้นเมื่อ February 17, 2011.
  70. "Nominations announced for the 44th Annual Academy of Country Music Awards" (Press release). Academy of Country Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
  71. "Winners announced for the 44th Annual Academy of Country Music Awards" (Press release). Academy of Country Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
  72. "2009 CMT Music Awards: Winners". CMT. Viacom. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
  73. "2009 CMA Awards: Winners". CMT. Viacom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-22. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
  74. "The MYX Music Awards 2010 Winners". MYXph.com. MYX. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
  75. Melas, Chloe (November 16, 2020). "Taylor Swift Speaks Out about Sale of Her Masters". CTV News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2020. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
  76. "Taylor Swift Wants to Re-record Her Old Hits". BBC News. August 22, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2019. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  77. Finnis, Alex (November 17, 2020). "Taylor Swift Masters: The Controversy around Scooter Braun Selling the Rights to Her Old Music Explained". i. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2021. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.
  78. Shah, Neil (2021-04-09). "Taylor Swift Releases New Fearless Album, Reclaiming Her Back Catalog". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-09-25.
  79. Shaffer, Claire (2020-12-02). "Taylor Swift Drops Her First Re-Recorded Song – in an Ad for Match". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-12.
  80. Lipshutz, Jason (February 11, 2021). "Taylor Swift Announces Re-Recorded Fearless Album: Updated 'Love Story' Out Tonight". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2021. สืบค้นเมื่อ February 11, 2021.
  81. Willman, Chris (February 11, 2021). "Taylor Swift Sets Fearless: Taylor's Version as First in Her Series of Full-Album Do-Overs". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2021. สืบค้นเมื่อ February 11, 2021.
  82. Legaspi, Claire Shaffer (February 12, 2021). "Taylor Swift Releases Lyric Video for Re-Recorded 'Love Story'". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2021. สืบค้นเมื่อ February 12, 2021.
  83. Kaufman, Gil (March 26, 2021). "Taylor Swift Surprise Releases Dancefloor 'Elvira Remix' of 'Love Story'". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2021. สืบค้นเมื่อ April 13, 2021.
  84. "Taylor Swift – Love Story (Taylor's Version)". ARIA Top 50 Singles. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
  85. "Taylor Swift – Love Story (Taylor's Version)" (in Dutch). Ultratip. สืบค้นเมื่อ March 5, 2021.
  86. "Taylor Swift Chart History (Euro Digital Song Sales)". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 18, 2021.
  87. "Taylor Swift Chart History (Global 200)". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 23, 2020.
  88. "Official Irish Singles Chart Top 50". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ February 19, 2021.
  89. "EHR Top 40 – 2021.03.05". European Hit Radio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2021. สืบค้นเมื่อ 30 August 2021.
  90. "Top 20 Most Streamed International & Domestic Singles in Malaysia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2021. สืบค้นเมื่อ March 6, 2021 – โดยทาง Facebook.
  91. "Netherlands Single Tip Chart". MegaCharts. February 20, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2021. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
  92. "Taylor Swift – Love Story (Taylor's Version)". Top 40 Singles. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
  93. "Taylor Swift – Love Story". AFP Top 100 Singles. สืบค้นเมื่อ March 3, 2021.
  94. "RIAS Top Charts". Recording Industry Association Singapore. February 23, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2021. สืบค้นเมื่อ March 2, 2021.
  95. "Veckolista Singlar, vecka 7" (ภาษาสวีเดน). Sverigetopplistan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2021. สืบค้นเมื่อ February 19, 2021.
  96. "Official Singles Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
  97. Cohen, Jonathan (September 25, 2008). "T.I. Back Atop Hot 100, Kanye Debuts High". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  98. "Taylor Swift Chart History (Country Airplay)". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 13, 2021.
  99. "Rolling Stone Top 100, February 12 – February 18, 2021". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2021. สืบค้นเมื่อ February 25, 2021.
  100. "Hot Country Songs – Year-End 2021". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2021. สืบค้นเมื่อ December 2, 2021.
  101. "British single certifications – Taylor Swift – Love Story (Taylor's Version)". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ August 19, 2022.
  102. "Love Story (Taylor's Version) – Single by Taylor Swift". Spotify. February 12, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2021. สืบค้นเมื่อ February 17, 2021.
  103. "Love Story (Taylor's Version) [Elvira Remix] – Single by Taylor Swift". Spotify. March 23, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2021. สืบค้นเมื่อ March 26, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]